สาธารณรัฐฮังการีที่ 2

สาธารณรัฐฮังการีที่สอง (ฮังการี: Magyar Köztársaság) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาที่จัดตั้งในระยะเวลาอันสั้น ภายหลังจากการล้มเลิกของ ราชอาณาจักรฮังการี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ต่อมาสาธารณรัฐที่สองได้ยุติลงในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1949 โดยถูกแทนที่ด้วยสาธารณรัฐประชาชนฮังการี

สาธารณรัฐฮังการี

Magyar Köztársaság
1946–1949
อาณาเขตของสาธารณรัฐฮังการีใน ค.ศ. 1949
อาณาเขตของสาธารณรัฐฮังการีใน ค.ศ. 1949
เมืองหลวงบูดาเปสต์
ภาษาทั่วไปฮังการี
ศาสนา
คริสต์ · ยิว
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา (1946–1947)
รัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบรัฐสภา (1947–1949)
ประธานาธิบดี 
• 1946-1948
Zoltán Tildy
• 1948-1949
Árpád Szakasits
นายกรัฐมนตรี 
• 1946-1947
Ferenc Nagy
• 1947-1948
Lajos Dinnyés
• 1948-1949
István Dobi
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎร
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
• ก่อตั้ง
1 กุมภาพันธ์ 1946
10 กุมภาพันธ์ 1947
• สิ้นสุด
20 สิงหาคม 1949
พื้นที่
1946[1]93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์)
1947[1]93,011 ตารางกิโลเมตร (35,912 ตารางไมล์)
1949[1]93,011 ตารางกิโลเมตร (35,912 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1949[2]
9204799
สกุลเงินแป็งเกอ / ออโดแป็งเกอ 
โฟรินต์
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946)
สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ฮังการี
 สโลวาเกีย
  1. ส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก
  2. ถึงวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946
  3. บริเวณบราติสลาวาบริดจ์เฮดจนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947

สาธารณรัฐประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการภายหลังจากการยึดครองฮังการีของสหภาพโซเวียตเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยของฮังการีอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ซึ่งราชบัลลังก์ได้ว่างลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1918 ในช่วงแรกของสาธารณรัฐมีลักษณะเป็นรัฐบาลผสมระหว่างฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย โดยส่วนใหญ่จะเป็นพรรคเกษตรกรรายย่อยอิสระ และพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี ด้วยการสนับสนุนจากโซเวียต สมาชิกคอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ได้รับตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระทรวงมหาดไทย ถึงแม้ว่าพรรคเกษตรรายย่อยจะได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1945 จากตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกคอมมิวนิสต์ ทำให้สามารถใช้อุบายทางการเมืองเพื่อกำจัดศัตรูฝ่ายตรงข้ามทีละส่วนอย่างเป็นระบบ ผ่านการวางอุบายทางการเมืองและการวางแผนการที่แยบยล ซึ่งดำเนินการโดยผู้นำคอมมิวนิสต์อย่าง มาทยาช ราโกชี ที่เรียกว่า "กลวิธีชอลอมิ"

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1947 พรรคคอมมิวนิสต์สามารถโค่นล้มพรรคเกษตรรายย่อยได้ในฐานะศัตรูทางการเมืองผ่านการจับกุมและเนรเทศผู้นำหลักของพรรคออกนอกประเทศไปเป็นจำนวนมาก และถูกควบคุมอย่างเข้มข้นจากรัฐบาล พร้อมผู้ติดตามจากนายกรัฐมนตรี จากการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1947 คะแนนเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าพรรคที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์จะได้คะแนนเสียงเท่ากันกับในปี ค.ศ. 1945 และการเลือกตั้งก็เต็มไปด้วยการโกงและการข่มขู่คุกคาม มีการวางแผนการของคอมมิวนิสต์และการใช้กลอุบายเพื่อกวาดล้างพรรคฝ่ายค้านที่เหลือส่วนใหญ่ในปีต่อมา โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ๆ เหตุการณ์นี้สิ้นสุดลง เนื่องจากการรวมตัวกันกับพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมแห่งฮังการีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 เพื่อจัดตั้ง พรรคแรงงานประชาชนฮังการี โดยพื้นฐานแล้วเป็นการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้ชื่อใหม่ ได้มีการโอนกิจการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มาเป็นของรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมของฮังการีได้รับอิทธิพลของโซเวียต และเมื่อประเทศเข้าสู่ขอบเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1949 ประเทศได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นสาธารณรัฐประชาชน โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียวของรัฐที่ถูกต้องตามกฎหมาย ระบอบการปกครองนี้ยังคงดำรงอยู่ต่อไป ยกเว้นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากการปฏิวัติฮังการีในปี ค.ศ. 1956 จนกระทั่งการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในฮังการีในปี ค.ศ. 1989–90

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Élesztős, László, บ.ก. (2004). "Magyarország határai" [Borders of Hungary]. Révai új lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. 13. Szekszárd: Babits Kiadó. p. 895. ISBN 963-9556-13-0.
  2. "Az 1990. évi népszámlálás előzetes adatai". Statisztikai Szemle. 68 (10): 750. October 1990.