กติกาสัญญาวอร์ซอ

องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน[1] (อังกฤษ: Treaty of Friendship, Co-operation, and Mutual Assistance; รัสเซีย: Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи, อักษรโรมัน: Dogovor o druzhbe, sotrudnichestve i vzaimnoy pomoshchi) รู้จักกันดีในชื่อ กติกาสัญญาวอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw Pact)[2] เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของคณะกรรมาธิการเพื่อการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันหรือ โคเมคอน (Council for Mutual Economic Assistance; CoMEcon) ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)[3][4][5][6] ในปี พ.ศ. 2498 จากการลงนามในสนธิสัญญาปารีส พ.ศ. 2497[7][8][9][10][11] แต่ก็ยังถือว่าก่อตั้งขึ้นเพราะสหภาพโซเวียตต้องการดำรงอำนาจควบคุมทางการทหารในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออกด้วยเช่นกัน[12]

สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ
และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
รัสเซีย: Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи
คําขวัญสหภาพแห่งสันติภาพและสังคมนิยม
(รัสเซีย: Союз мира и социализма)
ก่อตั้ง14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498
ล่มสลาย1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
ประเภทพันธมิตรทางการทหาร
สํานักงานใหญ่มอสโก, สหภาพโซเวียต
สมาชิก
แอลเบเนีย แอลเบเนีย
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2511)1

บัลแกเรีย บัลแกเรีย
เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย
เยอรมนีตะวันออก เยอรมนีตะวันออก
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2533)2
ฮังการี ฮังการี
โปแลนด์ โปแลนด์
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2533)
โรมาเนีย โรมาเนีย

สหภาพโซเวียต สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
ผู้บัญชาการสูงสุด
อีวาน โคเนฟ (คนสุดท้าย)
หัวหน้าคณะเจ้าพนักงาน
วลาดีมีร์ โลบอฟ (คนสุดท้าย)
1 - แอลเบเนียถอนตัวออกจากกติกาสัญญาวอร์ซอในเดือนกันยายน พ.ศ. 2511 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ
2 - วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2533 เยอรมันตะวันออกถอนตัวออกจากกติกาสัญญาวอร์ซอเนื่องจากการรวมประเทศ และได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือแทน

แม้ว่ากติกาสัญญาวอร์ซอจะก่อตั้งขึ้นเพื่อคานอำนาจ[13] หรือต่อกร[14] กับองค์การเนโท แต่ไม่ปรากฏการเผชิญหน้าโดยตรงของทั้งสองฝ่าย หากแต่ความขัดแย้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการต่อสู่ทางแนวคิดและอุดมการณ์ ทั้งสนธิสัญญาเนโทและกติกาสัญญาวอร์ซอต่างทำให้เกิดการขยายกองกำลังทางทหารและบูรณาการความร่วมมือในหมู่ประเทศสมาชิกของตน[14] โดยปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นก็คือการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2511 (รัฐสมาชิกเข้าร่วมทุกแห่งยกเว้นแอลเบเนียและโรมาเนีย)[13] ซึ่งทำให้แอลเบเนียถอนตัวออกจากกติกาสัญญาดังกล่าวภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนหลังจากนั้น ต่อเอกภาพขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอเริ่มสั่นคลอนจากการแผ่ขยายของการปฏิวัติ พ.ศ. 2532 ทั่วทั้งภูมิภาคยุโรปตะวันออก ซึ่งเริ่มจากขบวนการเอกภาพ (Solidarity movement) ในโปแลนด์[15] และการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532

ทั้งเยอรมนีตะวันออกและโปแลนด์ถอนตัวออกจากกติกาสัญญาในปี พ.ศ. 2533 ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ที่ประชุมของรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศจากรัฐสมาชิกที่เหลืออยู่ห้าแห่งประกาศให้กติกาสัญญาดังกล่าวยุติบทบาทลง ตามมาด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ซึ่งแม้ว่าอดีตสาธารณรัฐโซเวียตส่วนมากจะรวมกลุ่มกันตั้งองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมแห่งใหม่ขึ้นมาไม่นานหลังจากนั้น แต่รัฐสมาชิกนอกสหภาพโซเวียตของกติกาสัญญาวอร์ซอเดิมจำนวนเจ็ดแห่งกลับไปเข้าร่วมกับองค์การเนโทแทน (เยอรมนีตะวันออกที่ผ่านการรวมประเทศกับเยอรมนีตะวันตก; สาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวักในฐานะรัฐอธิปไตยที่แยกออกจากกัน)

ประวัติ

แก้

สหภาพโซเวียตกล่าวโจมตีว่าองค์การเนโทมีวัตถุประสงค์เพื่อรุกราน จึงได้ตั้งองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอขึ้นในปี พ.ศ. 2498 และมีชื่อเต็มและชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาวอร์ซอแห่งความร่วมมืออย่างมิตรไมตรีและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือ องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Treaty on Friendship Cooperation and Mutual Aid; Warsaw Treaty Organization)

องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอมีข้อบททำนองเดียวกับข้อห้าขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือที่ว่าการโจมตีสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่งจะถือว่าเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งหมด และข้อห้าของกติกาสัญญายังได้ระบุถึงการบัญชาการทหารร่วมกันด้วย กติกาสัญญาวอร์ซอได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการที่กรุงปรากในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

รัฐสมาชิก

แก้

รัฐสมาชิกทั้งแปดแห่งในกติกาสัญญาวอร์ซอให้สัตยาบันว่าจะร่วมกันปกป้องรัฐสมาชิกใดก็ตามที่ถูกโจมตี ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์ในหมู่รัฐสมาชิกเป็นแบบความสัมพันธ์สองทาง ไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของอีกฝ่าย และเคารพอำนาจอธิปไตยและอิสรภาพทางการเมืองของกันและกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลของรัฐสมาชิกทุกแห่งในกติกาสัญญานี้ล้วนแต่ถูกสหภาพโซเวียตควบคุมทางอ้อมด้วยกันทั้งสิ้น

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506 สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกภายใต้มาตรา 9 ของกติกาสัญญานี้ แต่เนื่องจากความสัมพันธ์จีน-โซเวียตที่ร้าวฉานมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้มองโกเลียมีสถานะเพียงรัฐผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 สหภาพโซเวียตจึงยินยอมให้ตั้งฐานกำลังในมองโกเลีย

ยุคหลังกติกาสัญญาวอร์ซอ

แก้

อดีตประเทศสมาชิกกติกาสัญญาวอร์ซอส่วนใหญ่ได้หันไปเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ โดยวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2542 ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก และโปแลนด์ได้เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2547 บัลกาเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย และสโลวาเกียก็ได้เข้าร่วมเช่นเดียวกัน

ตราสัญลักษณ์

แก้

ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกในปี พ.ศ. 2530

แก้

แม้ว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต แต่ทั้งสองรัฐเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติแยกกันต่างหาก จึงถูกจำแนกเป็นรัฐสมาชิกแยกจากกันในรายนามนี้

 
การประชุมผู้แทนเจ็ดประเทศในสนธิสัญญาวอร์ซอว์ในเดือนพฤษภาคม 2530 จากซ้ายไปขวา: กุสตาว ฮูซาก, ตอดอร์ ซีฟกอฟ, เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์, มีฮาอิล กอร์บาชอฟ, นีกอลาเอ ชาวูเชสกู, วอยแชค ยารูแซลสกี, และ ยาโนช กาดาร์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Text of Warsaw Pact" (PDF). United Nations Treaty Collection. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  2. "Text of Warsaw Pact" (PDF). United Nations Treaty Collection. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  3. Yost, David S. (1998). NATO Transformed: The Alliance's New Roles in International Security. Washington, DC: U.S. Institute of Peace Press. p. 31. ISBN 1-878379-81-X.
  4. "Formation of Nato and Warsaw Pact". History Channel. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
  5. "The Warsaw Pact is formed". History Channel. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
  6. "In reaction to West Germany’s NATO accession, the Soviet Union and its Eastern European client states formed the Warsaw Pact in 1955." Citation from: NATO website. "A short history of NATO". nato.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 24 December 2015.
  7. Broadhurst, Arlene Idol (1982). The Future of European Alliance Systems. Boulder, Colorado: Westview Press. p. 137. ISBN 0-86531-413-6.
  8. Christopher Cook, Dictionary of Historical Terms (1983)
  9. The Columbia Enclopedia, fifth edition (1993) p. 2926
  10. The Warsaw Pact Reconsidered: International Relations in Eastern Europe, 1955-1969 Laurien Crump Routledge,page 21-22, 11.02.2015
  11. The Oder-Neisse Line: The United States, Poland, and Germany in the Cold War Debra J. Allen page 158 "Treaties approving Bonn's participation in NATO were ratified in May 1955...shortly thereafter Soviet Union...created the Warsaw Pact to counter the perceived threat of NATO"
  12. "Warsaw Pact: Wartime Status-Instruments of Soviet Control". Wilson Center. สืบค้นเมื่อ 5 October 2013.
  13. 13.0 13.1 Amos Yoder (1993). Communism in Transition: The End of the Soviet Empires. Taylor & Francis. p. 58. ISBN 978-0-8448-1738-5.
  14. 14.0 14.1 Bob Reinalda (11 September 2009). Routledge History of International Organizations: From 1815 to the Present Day. Routledge. p. 369. ISBN 978-1-134-02405-6.
  15. [1] เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Cover Story: The Holy Alliance By Carl Bernstein Sunday, June 24, 2001

ดูเพิ่ม

แก้

ภาษาอื่น

แก้

บทบันทึก

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้