การบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ
การบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ เป็นเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตและพันธมิตรหลักของสหภาพโซเวียตตามกติกาสัญญาวอร์ซอรุกรานเชโกสโลวาเกียเพื่อยับยั้งการปฏิรูปทางการเมืองของอเล็กซานเดอร์ ดุปเชค ในช่วงปรากสปริง
ฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอรุกรานเชโกสโลวาเกีย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ปรากสปริงและสงครามเย็น | |||||||
ประชาชนชาวเชโกสโลวาเกียกำลังถือธงชาติเชโกสโลวาเกียผ่านรถถังโซเวียตที่ไฟไหม้ในกรุงปราก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
กติกาสัญญาวอร์ซอ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย ฮังการี โปแลนด์ เยอรมนีตะวันออก[1] |
เชโกสโลวาเกีย แอลเบเนีย โรมาเนีย[2] ยูโกสลาเวีย[3] | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เลโอนิด เบรจเนฟ นีโคไล ปอดกอร์นืย อะเลคเซย์ โคซีกิน อันเดรย์ เกรชโค อีวาน ยาคูบอฟสกี ววาดึสวัฟ กอมูว์กา Florian Siwicki ยาโนช กาดาร์ Lajos Czinege ตอดอร์ ซีฟกอฟ การสนับสนุนทางการทูต: วัลเทอร์ อุลบริชท์ |
อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค ลุดวิค สโวโบดา มาร์ติน ดิซัว การสนับสนุนทางการทูต: เหมา เจ๋อตง ยอซีป บรอซ ตีโต เอ็นเวอร์ ฮอกซา นีกอลาเอ ชาวูเชสกู | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหาร 500,000 นาย (27 กองพล) รถถัง 6,300 คัน อากาศยาน 800 ลำ และปืนใหญ่ 2,000 กระบอก |
ทหาร 200,000-600,000 นาย (30 กองพล) ในช่วงสองถึงสามวันสามารถเรียกระดมพลได้ 2,500,000 นาย[โปรดขยายความ] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 96 นาย (จากอุบัติเหตุ 84 นาย) และบาดเจ็บ 87 นาย[4] เสียชีวิต 10 นาย (จากอุบัติเหตุและฆ่าตัวตาย)[5] เสียชีวิต 4 นาย (จากอุบัติเหตุ) เสียชีวิต 2 นาย | พลเรือนเสียชีวิต 108 คน และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 500 คน |
ในคืนวันที่ 20 - 21 สิงหาคม ค.ศ. 1968 สหภาพโซเวียตและพันธมิตรหลักในกติกาสัญญาวอร์ซออันได้แก่บัลแกเรีย ฮังการี เยอรมนีตะวันออก และโปแลนด์ รุกรานสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวาเกีย[6]ในปฏิบัติการดานูบด้วยกองกำลังทหาร 500,000 นาย[7] ทั้งนี้โรมาเนียและแอลเบเนียซึ่งเป็นรัฐสมาชิกของกติกาสัญญาวอร์ซอปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในปฏิบัติการดังกล่าว ในขณะที่ฝ่ายเชโกสโลวาเกียมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 500 คน และเสียชีวิต 108 คน[8][9]
การรุกรานครั้งนี้ประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด ส่งผลให้การปฏิรูปและการเปิดเสรีในเชโกสโลวาเกียหยุดชะงักลง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างอำนาจของฝ่ายซ้ายภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย (KSČ) ให้เข้มแข็งขึ้น
อ้างอิง
แก้- ↑ Stolarik, M. Mark (2010). The Prague Spring and the Warsaw Pact Invasion of Czechoslovakia, 1968: Forty Years Later. Bolchazy-Carducci Publishers. pp. 137–164. ISBN 9780865167513.
- ↑ Conflicted Memories: Europeanizing Contemporary Histories, edited by Konrad H. Jarausch, Thomas Lindenberger, p. 43
- ↑ "Back to the Business of Reform". Time Magazine. 16 August 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-24. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
- ↑ "The Soviet War in Afghanistan: History and Harbinger of Future War". Ciaonet.org. 1978-04-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-02-13.
- ↑ Skomra, Sławomir. "Brali udział w inwazji na Czechosłowację. Kombatanci?" (ภาษาโปแลนด์). Agora SA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 21 September 2013.
- ↑ globalsecurity.org (27 April 2005). "Global Security, Soviet occupation of Czechoslovakia". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 19 January 2007.
- ↑ Soviet Invasion of Czechoslovakia. Globalsecurity.org. Retrieved on 23 June 2011.
- ↑ Soviet invasion of 1968 to have its own web page. Aktualne.centrum.cz. Retrieved on 23 June 2011.
- ↑ August 1968 – Victims of the Occupation – Ústav pro studium totalitních režimů. Ustrcr.cz. Retrieved on 23 June 2011. (เช็ก)