สัก สุตสคาน
นายพลสัก สุตสคาน (Sak Sutsakhan) เป็นนักการเมืองและทหารชาวกัมพูชา ที่มีบทบาทอย่างยาวนานภายในประเทศ เขาเป็นประมุขรัฐคนสุดท้ายของสาธารณรัฐเขมรก่อนจะถูกล้มล้างโดยเขมรแดงใน พ.ศ. 2518 เขาเป็นฝ่ายนิยมสหรัฐที่มักเรียกกันว่าเขมรขาว[1]
สัก สุตสคาน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
សក់ ស៊ុតសាខន | |||||||||||||
ประธานคณะกรรมการสูงสุดเขมร | |||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 12 – 17 เมษายน ค.ศ. 1975 | |||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | ลอง โบเรต | ||||||||||||
ก่อนหน้า | ลอน นอล (ในฐานะประธานาธิบดี) | ||||||||||||
ถัดไป | สมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ในฐานะประธานาธิบดีสูงสุดแห่งรัฐกัมพูชา) | ||||||||||||
| |||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||
เกิด | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928 พระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส | ||||||||||||
เสียชีวิต | 29 เมษายน ค.ศ. 1994 ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐ | (66 ปี)||||||||||||
สัญชาติ | กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1928–1945, 1945–1953) กัมพูชาในอารักขาของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1945) ราชอาณาจักรกัมพูชา (ค.ศ. 1945, 1953–1970) สาธารณรัฐเขมร (ค.ศ. 1970–1975) กัมพูชา (ค.ศ. 1975–1976) กัมพูชาประชาธิปไตย (ค.ศ. 1976–1979) สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา (ค.ศ. 1979–1989) รัฐกัมพูชา (ค.ศ. 1989–1992) กัมพูชา (ค.ศ. 1992–1993) ราชอาณาจักรกัมพูชา (ค.ศ. 1992–1993) | ||||||||||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท | ||||||||||||
พรรคการเมือง | เสรีประชาธิปไตย (ค.ศ. 1990–1993) | ||||||||||||
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร | ||||||||||||
บุตร | 4 คน | ||||||||||||
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยทหารบกกัมพูชา โรงเรียนเสนาธธิการทหารบกฝรั่งเศส | ||||||||||||
อาชีพ | ทหาร นักการเมือง | ||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||
รับใช้ | กัมพูชา สาธารณรัฐเขมร แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร | ||||||||||||
สังกัด | แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร | ||||||||||||
ประจำการ | ค.ศ. 1957–1994 | ||||||||||||
ยศ | พลตรี | ||||||||||||
ชีวิตช่วงแรก
แก้สุตสคานเกิดที่พระตะบองเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470[2] เขาเป็นญาติกับนวน เจียที่ต่อมากลายเป็นผู้นำเขมรแดง เขาได้รับการศึกษาในโรงเรียนนายทหารของฝรั่งเศสในปารีสและกลับมาเป็นทหารในกองทัพกัมพูชา เขาได้รับการสนับสนุนให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในระบอบสังคมของพระนโรดม สีหนุจนได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่อายุน้อยที่สุดในกัมพูชาคือ 29 ปี เมื่อ พ.ศ. 2500
สมัยสาธารณรัฐเขมร
แก้หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2513 โดยลน นล สุตสคานยังคงเป็นทหารในกองทัพรัฐบาลและได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหลายครั้ง รวมทั้งได้รับการยอมรับจากผู้สังเกตการณ์จากสหรัฐในฐานะบุคคลผู้มีความสามารถและไม่เกี่ยวข้องกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง[3]
หลังจากที่ชาวสหรัฐและประธานาธิบดีเซากัม คอยออกจากพนมเปญเมื่อ 12 เมษายน สมาชิกของคณะกรรมการสูงสุด 7 คน นำโดยสุตสคานได้เป็นผู้มีอำนาจปกครองสาธารณรัฐเขมรที่ใกล้ล่มสลาย สุตสคานดำรงตำแหน่งประมุขรัฐและประธานสภาแห่งรัฐซึ่งพยายามเจรจาสงบศึกกับเขมรแดงที่ล้อมพนมเปญอยู่ สุตสคานยังคงอยู่ในพนมเปญจนกระทั่งกองทัพคอมมิวนิสต์เข้าเมืองได้ในวันที่ 17 เมษายนด้วยเฮลิคอปเตอร์เที่ยวสุดท้าย[4] สุตสคานแต่งงานและมีบุตร 4 คน
การลี้ภัยและแนวร่วมปลดปล่อยฯ
แก้สุตสคานลี้ภัยมายังสหรัฐอเมริกาและได้สัญชาติสหรัฐ หลังจากที่เขมรแดงถูกกองทัพที่เวียดนามหนุนหลังโค่นล้มไปเมื่อ พ.ศ. 2522 ซอน ซานและเดียน เดลได้จัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรซึ่งเป็นขบวนการต่อต้านคอมมิวนิสต์และนิยมสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดเพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา มีฐานที่มั่นตามแนวชายแดนไทย สุตสคานเดินทางมาร่วมด้วยใน พ.ศ. 2524 และได้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังติดอาวุธของแนวร่วม
เมื่อมีการจัดตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่าย สุตสคานได้เข้าร่วมประชุมกับซอน เซนจากเขมรแดงและพระนโรดม รณฤทธิ์จากฟุนซินเปกเพื่อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารใน พ.ศ. 2528 และในปีเดียวกันนี้ สุตสคานกับซอน ซานเริ่มมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการดำเนินไปของสงคราม โดยเฉพาะประเด็นความร่วมมือกับกองทัพเจ้าสีหนุซึ่งสุตสคานต้องการร่วมมือด้วย นอกจากความสำเร็จทางด้านภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชาแล้ว ในบริเวณอื่น กองทัพของแนวร่วมปลดปล่อยแพ้กองกำลังของเวียดนามระหว่าง พ.ศ. 2527 – 2528 จนถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
หลังข้อตกลงสันติภาพปารีส พ.ศ. 2534 สุตสคานแยกตัวออกจากกลุ่มของซอนซานและจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม เขาเสียชีวิตที่ดีทรอยต์เมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2537
ผลงาน
แก้ใน พ.ศ. 2523 สุตสคานได้เขียนหนังสือเรื่อง The Khmer Republic at War and the Final Collapse ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองกัมพูชา (ดูได้ที่ The Khmer Republic at War and the Final Collapse)
อ้างอิง
แก้- ↑ Michael Haas, Cambodia, Pol Pot, and the United States: the Faustian pact
- ↑ บางแหล่งบอกว่าเกิดวันที่ 2 สิงหาคม
- ↑ Shawcross, p.232
- ↑ Sutsakhan, Lt. Gen. S. The Khmer Republic at War and the Final Collapse Washington DC: U.S. Army Center of Military History, 1987, p. 168. See also Part 1 เก็บถาวร 2019-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 2 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 3 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Corfield, J. Khmers Stand Up! a history of the Cambodian government 1970-1975, 1994
- Shawcross, W. Sideshow: Kissinger, Nixon and the Destruction of Cambodia, 1979