สาธารณรัฐเขมร

สำหรับพรรคการเมืองปัจจุบันของกัมพูชา ดูที่ พรรคสาธารณรัฐเขมร

สาธารณรัฐเขมร (เขมร: សាធារណរដ្ឋខ្មែរ; ฝรั่งเศส: République Khmère) เป็นรัฐบาลของประเทศกัมพูชาที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2513 โดยมีนายพล ลอนนอล จนถึง นายพลลองโบเรต ที่เป็นประธานาธิบดียุคสาธารณรัฐเขมร และสลายตัวไปเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เขมรแดงยึดกรุงพนมเปญได้ และประกาศจัดตั้งกัมพูชาประชาธิปไตย

สาธารณรัฐเขมร

សាធារណរដ្ឋខ្មែរ  (เขมร)
République khmère  (ฝรั่งเศส)
พ.ศ. 2513–พ.ศ. 2518
คำขวัญ: 'សេរីភាព សមភាព ភាតរភាព វឌ្ឍនភាព និង សុភមង្គល
"เสรีภาพ สมภาพ ภาตรภาพ วัฒนภาพ และศุภมงคล"
เพลงชาติ: '​ដំណើរសាធារណរដ្ឋខ្មែរ
มาร์ชสาธารณรัฐเขมร

ที่ตั้งของสาธารณรัฐเขมร
สถานะสาธารณรัฐ
เมืองหลวงพนมเปญ
ภาษาทั่วไปภาษาเขมร, ภาษาฝรั่งเศส
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
เดมะนิมชาวเขมร
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐระบบรัฐสภาภายใต้เผด็จการทหาร
ประธานาธิบดี 
• พ.ศ. 2513 - 2515
เจง เฮง (ประมุขแห่งรัฐ)
• พ.ศ. 2515 - 2518
ลอน นอล
• พ.ศ. 2518
สัก สุตสคาน (คนสุดท้าย​)
นายกรัฐมนตรี 
• พ.ศ. 2513 - 2514
ลอน นอล
• พ.ศ. 2514 - 2515
สีสุวัตถิ์ สิริมตะ
• พ.ศ. 2515
เซิน หง็อก ถั่ญ
• พ.ศ. 2515 - 2516
ฮาง ทุน ฮัก
• พ.ศ. 2516
อิน ตัม
• พ.ศ. 2516 - 2518
ลอง โบเรต
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเขมร
ยุคประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองกัมพูชา
• รัฐประหารล้มระบอบสังคมราษฎรนิยม
18 มีนาคม พ.ศ. 2513
17 เมษายน พ.ศ. 2518
พื้นที่
พ.ศ. 2513181,035 ตารางกิโลเมตร (69,898 ตารางไมล์)
พ.ศ. 2518181,035 ตารางกิโลเมตร (69,898 ตารางไมล์)
ประชากร
• พ.ศ. 2513
6937995
• พ.ศ. 2518
7097801
สกุลเงินเรียลกัมพูชา
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)
กัมพูชาประชาธิปไตย

ภูมิหลังแก้ไข

ลอน นอล ผู้นำในการรัฐประหารและมีบทบาทสำคัญตลอดสมัยสาธารณรัฐเขมร
นักองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ผู้นำพรรคสาธารณรัฐและอดีตนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเขมร

ได้มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเขมรอย่างเป็นทางการเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2513 โดยกลุ่มฝ่ายขวาที่นิยมสหรัฐอเมริกา นำโดยลน นล และนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ซึ่งได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร 18 มีนาคม พ.ศ. 2513 ล้มล้างรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

สาเหตุหลักของรัฐประหารคือการที่สมเด็จพระนโรดม สีหนุ หันไปสนับสนุนกิจกรรมของเวียดนามเหนือตามแนวชายแดนกัมพูชา ยอมให้มีการขนส่งอาวุธหนักของฝ่ายคอมมิวนิสต์ผ่านพื้นที่กัมพูชาตะวันออก และเศรษฐกิจของกัมพูชาได้รับผลกระทบจากนโยบายของสีหนุที่ประกาศเป็นกลางและต่อต้านสหรัฐอเมริกา[1]

เมื่อสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พ้นจากอำนาจ การปกครองของกัมพูชาจึงเปลี่ยนจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐ แม้ว่าราชบัลลังก์จะว่างมาหลายปีนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตเสด็จสวรรคต ลักษณะของระบอบใหม่เป็นชาตินิยมฝ่ายขวา เป็นการสิ้นสุดความร่วมมือกับเวียดนามเหนือและเวียดกงในยุคสมเด็จพระนโรดม สีหนุและเป็นพันธมิตรกับเวียดนามใต้ในสงครามอินโดจีนที่กำลังดำเนินอยู่ สาธารณรัฐเขมรได้ประกาศเป็นฝ่ายตรงข้ามกับแนวร่วมสหภาพแห่งชาติเขมร ซึ่งเป็นพันธมิตรในแนวชายแดนระหว่างฝ่ายของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ฝ่ายทหารขององค์กรดังกล่าวคือกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพูชาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพประชาชนเวียดนามและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้หรือเวียดกง ซึ่งเข้ามาใช้พื้นที่ของกัมพูชาเพื่อเข้ายึดครองเวียดนามใต้

แม้ว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐเขมรจะเป็นรัฐบาลทหารและได้รับการสนับสนุนทางทหารและการเงินจากสหรัฐอเมริกา แต่กองทัพของรัฐบาลนี้กลับอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกฝนที่พอเพียง ทำให้พ่ายแพ้ต่อกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพูชา กองทัพประชาชนเวียดนาม และเวียดกง สาธารณรัฐเขมรจึงล่มสลายเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดครองพนมเปญได้

รัฐประหารแก้ไข

 
พื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลสาธารณรัฐเขมร (สีขาว) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513

สมเด็จพระนโรดม สีหนุกล่าวอ้างว่าการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2513 เป็นผลจากความร่วมมือของเซิน หง็อก ถั่ญ นักชาตินิยมฝ่ายขวาที่ลี้ภัยออกนอกประเทศ นักองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะ นายกรัฐมนตรีซึ่งเคยเป็นคู่แข่งของสมเด็จพระนโรดม สีหนุในการขึ้นสู่ราชบัลลังก์กัมพูชา และซีไอเอ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นมิตรกับสหรัฐ[2] จริง ๆ แล้วมีหลักฐานน้อยที่แสดงว่าสหรัฐเกี่ยวข้องกับรัฐประหาร เว้นแต่จะมีส่วนหนึ่งของกองกำลังพิเศษของสหรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนและฝึกฝนให้กับทหารของลน นล[3]

เมื่อสมเด็จพระนโรดม สีหนุเดินทางออกจากประเทศไปเยือนฝรั่งเศส ได้เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านเวียดนามในพนมเปญ มีการโจมตีสถานทูตของเวียดนามเหนือและเวียดกง[4] คาดว่าการลุกฮือครั้งนี้ มีฝ่ายของลน นล อยู่เบื้องหลัง ในวันที่ 12 มีนาคม นายกรัฐมนตรีประกาศปิดท่าเรือเมืองพระสีหนุเพื่อระงับการขนส่งอาวุธไปให้เวียดกงและเวียดนามเหนือ และออกคำสั่งให้เวียดกงถอนทหารออกไปจากกัมพูชาภายใน 72 ชั่วโมงหรือภายใน 15 มีนาคม มิฉะนั้นจะใช้กำลังทหาร.[5] แม้ว่าจะเป็นการขัดต่อนโยบายของสีหนุที่ให้ความร่วมมือกับเวียดนามเหนือ แต่ลน นล ได้แสดงตนเป็นผู้กุมชะตากรรมของประเทศ เขาต้องการให้กดดันเวียดนามเหนือมากกว่านี้

การลงมติของสภาแห่งชาติในวันที่ 18 มีนาคม ถูกควบคุมโดยอิน ตัม ลน นลได้ประกาศตัวเป็นผู้นำของประเทศในภาวะฉุกเฉิน ในวันที่ 28 – 29 มีนาคม มีกลุ่มผู้นิยมสีหนุจำนวนมากในหลายจังหวัดออกมาประท้วง ลน นลสั่งให้มีการปราบปรามทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน มีเจ้าหน้าที่ทหารหลายคนเสียชีวิตรวมทั้ง ลน นิล น้องชายของลน นล

ท่าทีของต่างชาติยังไม่แน่นอนกับการสนับสนุนรัฐบาลใหม่ เวียดนามเหนือพยายามเจรจากับลน นล เพื่อรื้อฟื้นข้อตกลงทางการค้าที่ถูกยกเลิกไป แต่ในที่สุดการเจรจาก็สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองสาธารณรัฐเขมร โดยได้ส่ง ชนะ สมุทวณิช เป็นเอกอัครราชทูตคนแรกประจำสาธารณรัฐเขมร[6]

การประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเขมรและกองทัพแห่งชาติเขมรแก้ไข

ดูบทความหลักที่: กองทัพแห่งชาติเขมร
 
ทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาใน เมืองสนัว ประเทศกัมพูชาเมื่อ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2513

ผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหารคือช่วงเวลาระหว่างเมษายน – มิถุนายน พ.ศ. 2513 กองทัพเวียดนามใต้ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังบุกเข้าสู่กัมพูชาตะวันออกเพื่อโจมตีกองทหารของเวียดนามเหนือและเวียดกง ทำให้กองกำลังคอมมิวนิสต์ต้องถอยลึกเข้ามาทางตะวันตกในแผ่นดินกัมพูชามากขึ้น หรือมิฉะนั้นก็เคลื่อนกำลังไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาซึ่งเป็นพื้นที่ของฝ่ายที่ต่อต้านลน นล ลน นลกล่าวว่าเหตุการณ์เป็นการก่อการร้ายในกัมพูชา ทำให้กัมพูชาตกอยู่ในสภาวะอันตราย ในขณะที่สหรัฐอเมริกากล่าวว่าจะไม่มีการใช้ทหารปฏิบัติการภาคพื้นดินในกัมพูชา แต่จะช่วยเหลือกองทัพกัมพูชาแทน

ในวันที่ 9 ตุลาคม ศาลทหารได้ตัดสินประหารชีวิตสมเด็จพระนโรดม สีหนุ สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะ พระมารดาของสีหนุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ในสมัยของสีหนุถูกกักบริเวณ และพระราชินีโมนิก พระมเหสีของสีหนุถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ฝ่ายปฏิวัติได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเขมร ในขณะที่สีหนุได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลราชอาณาจักรสหภาพแห่งชาติกัมพูชาที่ปักกิ่งที่มีฝ่ายคอมมิวนิสต์หนุนหลัง

กองทัพจริง ๆ ของฝ่ายราชวงศ์ในช่วงเวลาที่เกิดรัฐประหารมีเพียง 35,000 คน และขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐมีทหารประมาณ 150,000 คน ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2513 ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มต่อต้านเวียดนาม[7] สหรัฐให้การสนับสนุนในการฝึกหัดทหาร และส่งทหารของเขมรเสรีและกองทัพแขมร์กรอมที่ฝึกในเวียดนามใต้เข้ามาอีก หลายพันคน ทำให้ทหารฝ่ายสาธารณรัฐเพิ่มเป็น 200,000 คน

แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐ แต่กองทัพของสาธารณรัฐเขมรมีปัญหาด้านคอรัปชั่น โดยเฉพาะเงินเดือนของกองทหารที่ไม่มีอยู่จริง และความไร้ประสิทธิภาพของกองทัพ แม้ว่านายทหารของฝ่ายสาธารณรัฐอย่างนักองค์มจะ นโรดม จันทรังสี ซึ่งควบคุมกองพลที่ 13 จะประสบความสำเร็จในบริเวณทางหลวงหมายเลข 4 และที่ราบคีรีรมย์ แต่แม้ทัพนายกองคนสำคัญคนอื่น ๆ มักไร้ประสบการณ์หรือความสามารถ ปฏิบัติการที่สำคัญในการต่อต้านเวียดนามคือปฏิบัติการเจนละ 1 และ 2 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้

เหตุการณ์ทางการเมืองของสาธารณรัฐเขมรแก้ไข

ประวัติศาสตร์กัมพูชา
 
ประวัติศาสตร์ยุคแรก
อาณาจักรฟูนาน (611–1093)
อาณาจักรเจนละ (1093–1345)
อาณาจักรพระนคร (1345–1974)
ยุคมืด
สมัยจตุมุข (1974–2068)
สมัยละแวก (2068–2136)
สมัยศรีสันธร (2136–2162)
สมัยอุดง (2162–2406)
ยุครัฐในอารักขา
ไทยและเวียดนาม
อาณานิคมฝรั่งเศส (2406–2496)
ส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส
ยุคญี่ปุ่นยึดครอง (2484–2489)
หลังได้รับเอกราช
สงครามกลางเมืองกัมพูชา
(2510–2518)
รัฐประหาร พ.ศ. 2513
สาธารณรัฐเขมร
สงครามเวียดนาม พ.ศ. 2513
ยุคเขมรแดง
(2518–2519)
สงครามกัมพูชา–เวียดนาม (2518–2532)
สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา
(2522–2536)
การจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
(2536–ปัจจุบัน)
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536

นอกจากจะเข้าร่วมในสงครามอินโดจีนโดยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มที่นิยมสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา และเวียดนามเหนือแล้ว สาธารณรัฐเขมรยังมีความขัดแย้งกันภายในรัฐบาล ความโดดเด่นทางการเมืองขอสมเด็จงพระนโรดม สีหนุในช่วง พ.ศ. 2493 – 2513 แสดงถึงความเป็นนักการเมืองที่จัดเจนของพระองค์ ในช่วงเริ่มต้น ฝ่ายสาธารณรัฐมีการแบ่งกลุ่มกันภายในเพื่อต่อสู้กับระบอบสีหนุคือฝ่ายของลน นล กับฝ่ายของนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ นักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะเป็นนายกรัฐมนตรีในปีแรกเนื่องจากลน นล มีปัญหาทางด้านสุขภาพ บทบาทของเจ้าสิริมตะมีความโดดเด่นเนื่องจากรูปแบบการบริหารงานและการเป็นเชื้อพระวงศ์ ความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนหนุ่มสาว และคนในเขตเมือง[8] แม้ว่ายังคงมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ เมื่อลน นลเดินทางกลับมาจากการรักษาตัวที่ฮาวายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 ได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในรัฐบาล โดยเฉพาะกับลน นน น้องชายของลน นลที่มีบทบาทมากในกองทัพ ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2514 ลน นลเข้าครอบงำสภาแห่งชาติในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่

พ.ศ. 2515: การกำจัดนักองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะแก้ไข

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 ลน นลและน้องชายได้กำจัดนักองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ให้พ้นจากอำนาจ ลน นนจัดให้นักศึกษาสายอาชีพออกมาเรียกร้องให้เจ้าะสิริมตะลาออก[9] ในที่สุดเจ้าสิริมตะจึงถูกกักบริเวณ[10] ลน นลก้าวขึ้นเป็นประมุขของประเทศ เจง เฮงเข้ามามีบทบาทในรัฐบาลและเซิง งอกทัญ ซึ่งเป็นผู้นำของเขมรเสรีและกองทัพจากขแมร์กรอมเป็นนายกรัฐมนตรี[11] มีกองทัพของสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน[12]

ปลายปีนั้น ลน นลประกาศลงสมัครเป็นประธานาธิบดี อิน ตัม และแก้ว อัน ไม่เพียงแต่จะประกาศลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ยังไม่ยอมถอนตัวอีกด้วย[13] การเลือกตั้งสิ้นสุดลงโดยลน นล เป็นฝ่ายชนะ โดยมีการแทรกแซงของรัฐบาล ซึ่งหากดำเนินไปโดยยุติธรรมแล้ว อิน ตัมน่าจะเป็นผู้ชนะ.[13]

สถานการณ์ทางการเมืองยังคงวุ่นวายตลอดปี พ.ศ. 2515 พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามทั้งสองพรรคคือกรมประชาธิปไตยของอิน ตัม และพรรคสาธารณรัฐของเจ้าสิริมตะปฏิเสธการเข้าร่วมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกันยายน ทำให้พรรคสาธารณรัฐสังคมนิยมของลน นน ชนะอย่างถล่มทลาย เกิดการก่อการร้ายในเมืองหลวงซึ่งคาดว่าเกิดจากการควบคุมของเซิง งอกทัญ[14] ทำให้ทัญที่เพิ่งจะประกาศปิดหนังสือพิมพ์ของเจ้าสิริมตะต้องลาออกและลี้ภัยไปเวียดนามใต้ ฮาง ทุน ฮัก นักการเมืองฝ่ายซ้ายขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[15] ในขณะที่รัฐบาลสาธารณรัฐเขมรอ่อนแอจากความขัดแย้งภายใน กองทัพของเวียดนามเหนือที่รบชนะในปฏิบัติการเจนละได้เข้ามาครอบงำในพื้นที่ตามแนวชายแดนกัมพูชา ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาเข้มแข็งขึ้นในเขตชนบท

พ.ศ. 2516: การเจรจาสงบศึกแก้ไข

ข้อตกลงสันติภาพปารีสเมื่อต้นปี พ.ศ. 2516 ทำให้สงครามกลางเมืองชะงักไประยะหนึ่ง ลน นล ประกาศสงบศึกฝ่ายเดียว แม้ว่ากองทัพของฝ่ายสาธารณรัฐอ่อนแอเต็มที จริง ๆ แล้วมีการติดต่อกันเพียงเล็กน้อยระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐกับฝ่ายเขมรแดงหัวก้าวหน้าคือ ฮู ยวน เวียดนามเหนือกดดันให้พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชายอมรับข้อตกลงสันติภาพ ในขณะที่ยังมีการสู้รบกันบ้างประปราย ผู้นำของเขมรแดงไม่ยอมรับการประนีประนอม

การสู้รบเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 เมื่อกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์โจมตีฝ่ายสาธารณรัฐที่จังหวัดกำปงธม[14] ในเดือนเมษายน กองทัพฝ่ายสาธารณรัฐพ่ายแพ้และเสียฐานที่มั่นในต่างจังหวัด สหรัฐฯ ตัดความช่วยเหลือรัฐบาลของลน นล และพยายามดึงนักงองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะให้เข้ามามีบทบาท และลดบทบาทของลน นน ลง[16] ในวันที่ 24 เมษายน ลน นล ประกาศจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยลน นล, เจ้าสิริมตะ, เจง เฮง และอิน ตัม ความโกรธแค้นสหรัฐอเมริกาที่มาทิ้งระเบิดในกัมพูชาทำให้เขมรแดงได้รับความนิยมมากขึ้น

พ.ศ. 2517: อุดงมีชัยแตกแก้ไข

ช่วงต้นปี พ.ศ. 2517 ลน นลขึ้นมากุมอำนาจแต่เพียงผู้เดียวอีกครั้ง สถานการณ์ทางทหารเลวร้ายลง กองทัพคอมมิวนิสต์บุกเข้าประชิดพนมเปญและเข้ายึดอุดงค์มีชัยเมืองหลวงเก่าได้ในเดือนมีนาคม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ฆ่าเจ้าหน้าที่ของรัฐและครู เผาเมือง แต่ในที่สุดฝ่ายสาธารณรัฐสามารถเข้ายึดเมืองอุดงค์และเส้นทางเข้าสู่ทะเลสาบเขมรคืนมาได้

สิ้นสุดอำนาจแก้ไข

ในช่วงฤดูแล้ง พ.ศ. 2518 กองกำลังเขมรแดงได้ยกเข้ามาล้อมพนมเปญไว้ มีผู้อพยพเข้าในเมืองหลวงมากขึ้น ลน นลได้สั่งให้ส่งเฮลิคอปเตอร์ไปคุ้มกันประชาชนเหล่านั้น การได้รับการสนับสนุนจากจีนทำให้ฝ่ายเขมรแดงมีความเข้มแข็งมากกว่า การพยายามเจรจาสันติภาพล้มเหลวเพราะสีหนุปฏิเสธที่จะเจรจากับลน นลโดยตรง แผนสันติภาพที่ฝรั่งเศสเสนอต่อจีนให้สีหนุกลับไปเป็นประมุขของสาธารณรัฐเขมรล้มเหลวเช่นกัน

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2518 ลน นล ได้ประกาศลาออกและลี้ภัยออกนอกประเทศ กองทัพฝ่ายสาธารณรัฐสลายตัวไป เจ้าสิริมตะ, ลอง โบเรต, ลน นน และนักการเมืองอื่น ๆ ยังคงอยู่ในเมืองหลวงเพื่อจะพยายามเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเขมรแดง จนกระทั่งเมื่อพนมเปญแตกในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 ฝ่ายเขมรแดงได้ประหารชีวิตนักการเมืองในระบอบเก่าทั้งหมด สาธารณรัฐเขมรจึงล่มสลายลง บริเวณสุดท้ายที่อยู่ภายใต้อำนาจของฝ่ายสาธารณรัฐเขมรคือบริเวณปราสาทเขาพระวิหารบนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐสามารถยึดครองไว้ได้ในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2518.[17] และฝ่ายเขมรแดงแย่งชิงมาได้เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2518

อ้างอิงแก้ไข

  1. Milton Osborne, Sihanouk, Prince of Light, Prince of Darkness. Silkworm 1994. ISBN 978-0824816391.
  2. Norodom Sihanouk, My War with the CIA, Pantheon (1972). ISBN 978-0394485430, p.37
  3. Kiernan, B. How Pol Pot came to power, Yale University Press (2004). ISBN 978-0300102628, p.300
  4. Shawcross, W. (1981). Sideshow: Kissinger, Nixon, and the Destruction of Cambodia. New York: Washington Square Books. p. 118. ISBN 0671230700.
  5. Sutsakhan, Lt. Gen. S. The Khmer Republic at War and the Final Collapse Washington DC: U.S. Army Center of Military History, 1987, Part 1, p. 42. เก็บถาวร 2019-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน See also Part 1 เก็บถาวร 2019-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 2 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 3 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  6. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชาและกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร.มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์. 2552. หน้า 93
  7. Kiernan, p.303
  8. Leifer, M. Selected Works on Southeast Asia, Institute of Southeast Asian Studies (no ISBN), p.418
  9. Kiernan, p.347
  10. Kamm, H. Cambodia: report from a stricken land, Arcade (1998). ISBN 978-1611451269, pp.110-112
  11. Kiernan, p.346
  12. Kahin, G. Southeast Asia: a testament, Routledge (2003). ISBN 978-0415299756, p.310
  13. 13.0 13.1 Clymer, K. J. (2004). The United States and Cambodia, 1969-2000. Routledge. p. 55. ISBN 9780415326025.
  14. 14.0 14.1 Clymer, p.65
  15. Kiernan, p.348
  16. Clymer, p.71
  17. Fenton, J. To the bitter end in Cambodia, New Statesman, 25-04-75

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 12°15′N 105°36′E / 12.250°N 105.600°E / 12.250; 105.600