เมืองพระสีหนุ (เขมร: ក្រុងព្រះសីហនុ, กรงเปรียะสีหนุ), กำปงโสม (เขมร: កំពង់សោម; ก็อมปวงโสม) หรือ ซียานุกวีล (ฝรั่งเศส: Sihanoukville) เป็นเมืองชายทะเลยอดนิยมมากที่สุดของประเทศกัมพูชา และเป็นเมืองเอกของจังหวัดพระสีหนุ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ 246 กิโลเมตร ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีประชากร 89,846 คน

เมืองพระสีหนุ

ក្រុងព្រះសីហនុ

กำปงโสม
เมือง
บน: ศูนย์การค้าในเมือง กลางซ้าย: ป้ายบอกทางในตำบล 4 กลางขวา: Sculpture at Independence Beach ล่าง: เกาะรง
บน: ศูนย์การค้าในเมือง
กลางซ้าย: ป้ายบอกทางในตำบล 4
กลางขวา: Sculpture at Independence Beach
ล่าง: เกาะรง
เมืองพระสีหนุตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
เมืองพระสีหนุ
เมืองพระสีหนุ
ที่ตั้งของเมืองพระสีหนุในประเทศกัมพูชา
พิกัด: 10°38′N 103°30′E / 10.633°N 103.500°E / 10.633; 103.500พิกัดภูมิศาสตร์: 10°38′N 103°30′E / 10.633°N 103.500°E / 10.633; 103.500
ประเทศ กัมพูชา
จังหวัดจังหวัดพระสีหนุ
อำเภออำเภอกรุงพระสีหนุ
ก่อตั้ง1964
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการEav Chanvatanak
พื้นที่
 • ทั้งหมด80 ตร.กม. (30 ตร.ไมล์)
ความสูง15 เมตร (45 ฟุต)
ประชากร
 • ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 89,846 คน
 • เขตเมืองเพิ่มขึ้น 66,723
 • ความหนาแน่นเขตเมือง834 คน/ตร.กม. (2,160 คน/ตร.ไมล์)
 • อำเภอเพิ่มขึ้น 89,846
เขตเวลาUTC+07
รหัสไปรษณีย์18000
รหัสพื้นที่034

เมืองพระสีหนุมีชายหาดทั้งหมด 5 แห่ง ว่ากันว่าที่สวยที่สุด คือ หาดสุขาและหาดโอจือเตียล (Occheuteal) เมืองพระสีหนุติดอันดับ 8 ในการจัดอันดับ 10 สุดยอดหาดในเอเชีย โดยหนังสือพิมพ์ Sunday Herald Sun ของ ประเทศออสเตรเลีย[1]

ที่มาของชื่อ แก้

ชื่อทางการของเมืองในภาษาเขมร[2] คือ กรง (กรุง, นคร, เมือง) เปรียะ (พระ) สีหนุ (พระนามของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน) รวมกันเป็น "เมืองพระสีหนุ" พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ขึ้นครองราชย์ 2484-2498, 2536-2547) ยังทรงเป็นที่เคารพนับถือเป็นบิดาของชาติ[3] คำว่า "สีหนุ" มาจากภาษาสันสกฤต แบ่งเป็นคำภาษาบาลี 2 คำ ได้แก่ สีห (สิงห์) และ หนุ (กราม, ขากรรไกร)

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • Vann, hokchrea (2003). Modern Khmer Cities. Cambodia: Reyum Press. ISBN 9789995055349.
  • Chandler, David (1993). A History of Cambodia. Cambodia: Allen & Unwin. ISBN 9781863734653.
  • Cœdès, George (1966). The making of South East Asia. University of California Press. ISBN 0-520-05061-4.
  • Kitagawa, T. 2005, "'Kampot' of the belle epoque: from the outlet of Cambodia to a colonial rule", in Southeast Asian Studies = Tonan Ajia kenkyu, vol. 42, no. 4,
  • Kampot of the Belle Epoque: From the Outlet of Cambodia to a Colonial Resort
  • Henri Mouhot: Travels in Siam, Cambodia, Laos, and Annam, White Lotus Co, Ltd., ISBN 974-8434-03-6
  • Cœdès, George (1968). The Indianized States of Southeast Asia. University of Hawaii Press. ISBN 978-0824803681.
  • Philpotts, Robert (2006). A Port for Independence. England: Blackwater Books. ISBN 2-9513524-0-9.

อ้างอิง แก้

  1. "หาดเขมรติด 10 อันดับ "ดีที่สุด" ในเอเชีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
  2. "Sihanoukville, Preah S". Cambodia Geographic Names Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-12. สืบค้นเมื่อ May 12, 2015.
  3. Cat Barton (September 7, 2007). "Cambodia: King Father Sihanouk holds ECCC at bay". Asian Human Rights Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-08. สืบค้นเมื่อ February 5, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

รัฐบาล แก้

อุตสาหกรรม แก้

ข้อมูล ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ แก้

งานศึกษาต่างๆ แก้