จังหวัดกำปงธม
กำปงธม[2] หรือ ก็อมป็วงทม[2] (เขมร: កំពង់ធំ; แปลว่า ท่าเรือใหญ่) เป็นจังหวัด (เขต) ของประเทศกัมพูชา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเสียมราฐทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, จังหวัดพระวิหารทางทิศเหนือ, จังหวัดสตึงเตรงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดกระแจะทางทิศตะวันออก, จังหวัดกำปงจามและจังหวัดกำปงชนังทางทิศใต้ และติดต่อกับโตนเลสาบทางทิศตะวันตก
จังหวัดกำปงธม ខេត្តកំពង់ធំ | |
---|---|
นาข้าวในอำเภอบาราย | |
แผนที่ประเทศกัมพูชาเน้นจังหวัดกำปงธม | |
พิกัด: 12°42′N 104°53′E / 12.700°N 104.883°E | |
ประเทศ | กัมพูชา |
เมืองหลัก | สตึงแสน |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | Uth Sam An (พรรคประชาชนกัมพูชา) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13,814 ตร.กม. (5,334 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2552)[1] | |
• ทั้งหมด | 708,398 คน |
• ความหนาแน่น | 51 คน/ตร.กม. (130 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+07 |
รหัสโทรศัพท์ | +855 |
รหัส ISO 3166 | KH-6 |
อำเภอ | 8 |
เมืองหลักของจังหวัด คือ สตึงแสน เป็นเมืองชายฝั่งแม่น้ำแสน มีประชากรประมาณ 30,000 คน
จังหวัดกำปงธมเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ที่เป็นสถาปัตยกรรมเขมรเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปราสาทสมโบไพรกุก และปราสาทวัด Andet จังหวัดกำปมธมเป็นหนึ่งในเก้าจังหวัดที่อาณาเขตติดต่อกับโตนเลสาบ และเป็นจังหวัดที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตสงวนชีวมณฑลโตนเลสาบ[3]
ประวัติศาสตร์
แก้ชื่อเดิมของจังหวัด คือ กำปงโพสธม (ท่าเรือ/นครแห่งงูร้าย) ตามตำนานท้องถิ่นเล่าขานกันว่า ที่ท่าเรือริมทะเลสาบใกล้กับแม่น้ำแสน มีงูอาศัยอยู่ในถ้ำทั้ง 2 แห่ง ซึ่งใกล้เคียงกัน เมื่อถึงทุกวันหยุดทางศาสนา งูเหล่านี้จะปรากฏให้ชาวบ้านบริเวณนั้นเห็น จึงเรียกที่แห่งนั้นว่า กำปงโพสธม แต่สุดท้ายงูเหล่านั้นได้หายไป ชื่อจึงสั้นลงเป็น กำปงธม เมื่อถึงยุคอาณานิคมกัมพูชา ฝรั่งเศสได้แบ่งดินแดนกัมพูชาเป็นจังหวัดต่าง ๆ และตั้งชื่อจังหวัดหลาย ๆ จังหวัด เป็นชื่อตามที่ท้องถิ่นกล่าวขาน
กำปงธมเคยเป็นเมืองหลวงอันเรืองอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้นในยุคอาณาจักรฟูนาน[ต้องการอ้างอิง] ปราสาท Sambor Prei Kuk ซึ่งสืบทอดมาจากยุคอาณาจักรเจนละ อยู่ในจังหวัดกำปงธม[4]
ภูมิศาสตร์
แก้พื้นที่ที่อยู่ในเขตสงวนชีวมณฑลโตนเลสาบ จังหวัดกำปงธม มี 2 แห่ง ได้แก่
- บึงโตนเลฉมาร์ (14,560 เฮกตาร์)
- สตึงแสน (6,355 เฮกตาร์)[5]
เขตการปกครอง
แก้จังหวัดกำปงธมแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ
# | ชื่อ | อังกฤษ | เขมร | หน่วยการปกครอง | Geocode |
---|---|---|---|---|---|
1 | บาราย | Baray | បារាយណ៍ | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0601 |
2 | กำปงสวาย | Kampong Svay | កំពង់ស្វាយ | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0602 |
3 | สตึงแสน | Stueng Saen | ស្ទឹងសែន | เทศบาล (กฺรุง, ក្រុង) | 0603 |
4 | ปราสาทบัลลัง | Prasat Ballangk | ប្រាសាទបល្ល័ង្គ | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0604 |
5 | ปราสาทสมโบร์ | Prasat Sambour | ប្រាសាទសំបូរ | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0605 |
6 | สันดัน | Sandan | សណ្ដាន់ | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0606 |
7 | สันตึก | Santuk | សន្ទុក | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0607 |
8 | สโตง | Stoung | ស្ទោង | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0608 |
9 | ท้ายก๊อก | Taing Kouk | តាំងគោក | อำเภอ (สฺรุก, ស្រុក) | 0609 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "General Population Census of Cambodia 2008 – Provisional population totals" (PDF). National Institute of Statistics, Ministry of Planning. 3 September 2008.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ http://www.tsbr-ed.org
- ↑ Kubo, Sumiko; Shimamoto, Sae; Nagumo, Naoko; Yamagata, Mariko; Him, Sophorn; So, Sokuntheary; Chang, Vitharong; Lun, Votey; Shimoda, Ichita; Nakagawa, Takeshi (March 2012). "Geomorphology, Archaeo-stratigraphy, and 14C Ages of Sambor Prei Kuk Pre-Angkorean Site, Central Cambodia" (PDF). BULLETIN of the Graduate School of Education of Waseda University. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
- ↑ Save Cambodia's Wildlife. The Atlas of Cambodia: National Poverty & Environment Maps, SWC, Phnom Penh, Cambodia, 2006, p. 72.