ธงชาติกัมพูชา (เขมร: ទង់ជាតិកម្ពុជា; ทง่ชาติกมฺพุชา; ต็วงเจียตกำปูเจีย) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: ជាតិ សាសនា ព្រះមហាក្សត្រ ชาติ สาสนา พฺระมหากฺสตฺร) โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ [1]


กัมพูชา
ชื่ออื่น ទង់ជាតិកម្ពុជា (ธงชาติกัมพูชา)
การใช้ ธงชาติและธงชาติประจำเรือ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 16:25
ประกาศใช้ ค.ศ. 1993
(ก่อนหน้านี้ใช้ในช่วง ค.ศ. 1948–1970)
ลักษณะ ธงสามแถบ แถบด้านนอกทั้งสองด้านเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 1 ส่วน แถบตรงกลางเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ตรงกลางแถบสีแดงประดับด้วยรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาว

ประวัติ แก้

นับตั้งแต่สมัยที่กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นต้นมา ธงชาติของกัมพูชาเกือบทุกแบบจะมีรูปปราสาทหินนครวัดอยู่ตรงกลางเสมอ ธงชาติกัมพูชาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงการเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2491 และใช้มาจนถึงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เนื่องจากนายพลลอนนอลได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลสังคมราษฎร์นิยมของสมเด็จกรมพระนโรดมสีหนุ และได้ใช้ธงชาติแบบใหม่แทน

ธงชาติกัมพูชาในระยะต่อมาเปลี่ยนแปลงลักษณะไปตามความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2536 องค์การสหประชาชาติซึ่งเข้ามาควบคุมการเปลี่ยนผ่านอำนาจในกัมพูชา ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อลงประชามติกำหนดทิศทางของประเทศ ผลปรากฏว่า พรรคฟุนซินเปคซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวนิยมเจ้าชนะการเลือกตั้ง ประเทศกัมพูชาจึงกลับมาใช้ชื่อว่าราชอาณาจักรกัมพูชาอีกครั้ง และได้กำหนดให้ใช้ธงชาติช่วง พ.ศ. 2491 - 2512 เป็นธงชาติของกัมพูชาอีกครั้ง ตราบจนทุกวันนี้

ธงชาติกัมพูชาสมัยต่าง ๆ แก้

ภาพธง ระยะเวลาการใช้ สมัยแห่งการใช้ธง
  พ.ศ.1974? - พ.ศ. 2406 ยุคมืดของกัมพูชา
  2406 - 2491 ราชอาณาจักรกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
  9 มีนาคม - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 กัมพูชาสมัยภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
  2491 - 2512 ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)
  2513 - 2518 สาธารณรัฐเขมร (สมัยนายพลลอนนอล)
  2518 - 2522 กัมพูชาประชาธิปไตย (สมัยเขมรแดง)
  2522 - 2532 สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
  2532 - 2534 รัฐกัมพูชา[2]
  2535 - 2536 รัฐกัมพูชา ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ
  2536 - ปัจจุบัน ราชอาณาจักรกัมพูชา

ธงมหาราช แก้

 
ธงมหาราชของกัมพูชา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2536)

ประเทศกัมพูชาได้มีธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ธงนี้เรียกชื่อว่า "ธงมหาราช" เช่นเดียวกับในภาษาไทย ในสมัยราชอาณาจักรกัมพูชายุค พ.ศ. 2491 -2512 ธงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นนอกสีแดง พื้นในสีน้ำเงิน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชาอย่างย่อ ในแบบลายเส้นสีทอง[3] ต่อมาเมื่อมีการฟื้นฟูราชอาณาจักรอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 จึงได้เปลี่ยนธงใหม่เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางเป็นรูปตราแผ่นดินของกัมพูชา ซึ่งใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้