เขียว สัมพัน (เขมร: ខៀវ សំផន เขียว สํผน; เกิด 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1931) เป็นอดีตประธานสภาเปรซิเดียมแห่งกัมพูชาประชาธิปไตยในช่วงปี ค.ศ. 1976 ถึง 1979 ทั้งยังดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของกัมพูชาขณะอยู่ภายใต้การปกครองของเขมรแดง เป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจระดับสูงของเขมรแดง รองจากพล พต

เขียว สัมพัน
ខៀវ សំផន
ประธานสภาเปรซิเดียมแห่งกัมพูชาประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน ค.ศ. 1976 – 7 มกราคม ค.ศ. 1979
นายกรัฐมนตรีพล พต
รองSo Phim
Nhim Ros[1]
ผู้นำพล พต (เลขาธิการ)
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
ถัดไปยุบตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
รักษาการ
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน ค.ศ. 1976 – 14 เมษายน ค.ศ. 1976
ประธานาธิบดีพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
ผู้นำพล พต (เลขาธิการ)
ก่อนหน้าแปน นุต
ถัดไปพล พต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1931-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 (93 ปี)
อำเภอรุมโดล จังหวัดสวายเรียง กัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส
พรรคการเมือง
คู่สมรสSo Socheat[2]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมงเปอลีเย (เศรษฐศาสตรบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยปารีส (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์)

เขียว สัมพันเป็นชาวกัมพูชาเชื้อสายจีน [3][4] เกิดที่จังหวัดสวายเรียง บิดาเป็นผู้พิพากษา จบการศึกษาจากวิทยาลัยสีสุวัตถิ์ และได้ไปศึกษาเศรษฐศาสตร์และการเมืองการปกครองที่มหาวิทยาลัยปารีสจนจบปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1959 และเดินทางกลับประเทศเพื่อเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพนมเปญ ระหว่างนั้นเขียว สัมพันได้ตีพิมพ์จดหมายข่าวภาษาฝรั่งเศส ชื่อ L'Observateur เพื่อเผยแพร่แนวคิดสังคมนิยม จนเป็นที่จับตามองของรัฐบาลเจ้านโรดม สีหนุ ที่เป็นฝ่ายขวาและต่อต้านคอมมิวนิสต์ จนถูกจับตัวเปลื้องผ้าในที่สาธารณะเพื่อให้เป็นที่อับอาย [ต้องการอ้างอิง]

ในเวลาต่อมา เขียว สัมพันกลับได้รับเชิญให้เข้าร่วมพรรคสังคมของเจ้าสีหนุในปี ค.ศ. 1963 นโยบายเศรษฐกิจของเขียว สัมพันกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการชาตินิยมของรัฐบาล เขาได้รับการวางตัวให้เป็นรองหัวหน้าพรรค เพื่อเป็นการคานอำนาจกับลอน นอล ซึ่งเป็นฝ่ายขวาจัด และมีเสียงข้างมากในพรรคสังคม

ภายหลังการลุกฮือของประชาชนที่จังหวัดพระตะบองในปี ค.ศ. 1967 นำมาซึ่งการกวาดล้างผู้มีความคิดนิยมฝ่ายซ้ายโดยกองกำลังของรัฐบาล มีข่าวลือว่าเขียว สัมพันถูกลอบสังหารโดยองครักษ์ของเจ้าสีหนุ ต่อมาเมื่อสีหนุถูกลอน นอลและหม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1970 เจ้าสีหนุเปลี่ยนจุดยืนมาสนับสนุนการต่อสู้ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และตั้งรัฐบาลแนวร่วมแห่งชาติกัมพูชา (GRUNK)

ตัวเขียว สัมพันได้เข้าร่วมกับขบวนการนี้ด้วย โดยดำรงตำแหน่งประธานสภาเปซิเดียม เป็นผู้นำหน้าฉาก ในขณะที่อำนาจที่แท้จริงนั้นอยู่ที่พล พต แม้กระทั่งเมื่อเขมรแดงพ่ายแพ้ต่อกองทัพเวียดนามและเฮง สัมริน และออกจากอำนาจไปในปี ค.ศ. 1979 เขียว สัมพันก็ยังเป็นผู้นำอันดับสองรองจากพล พต และได้รับเลื่อนขึ้นเป็นผู้นำเขมรแดงอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1985 จนกระทั่งกองกำลังเขมรแดงประกาศยอมแพ้ต่อฝ่ายฮุน เซน ในปี ค.ศ. 1998

เขียว สัมพันถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัวในปี ค.ศ. 2007 เพื่อนำตัวขึ้นพิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรสงคราม ที่ศาลพิเศษคดีอาชญากรสงคราม กรุงพนมเปญ [5] ตามคำขอของสหประชาชาติ [6] ในระหว่างการพิจารณาคดี เขียว สัมพันให้การยืนยันมาตลอดว่า ไม่เคยสั่งการในฐานะผู้นำเขมรแดงให้มีการสั่งฆ่าประชาชนชาวเขมร [7] ลุจนวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เขียว สัมพัน และนวน เจีย ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมรกว่าสองล้านคน[8]

อ้างอิง

แก้
  1. https://hdl.handle.net/2027/uiug.30112083082609
  2. "Mrs. SO Socheat". eccc.gov.kh. สืบค้นเมื่อ 21 March 2014.
  3. Bora, Touch (February 2005). "Debating Genocide". The Phnom Penh post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  4. Bora, Touch. "Jurisdictional and Definitional Issues". Khmer Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  5. "Former Khmer Rouge head of state praises Pol Pot in his new book". The International Herald Tribune (The Associated Press). 2007-11-18. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  6. U.N. court likely to try Khmer Rouge leaders in mid 2011 เก็บถาวร 2011-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Assiciate Press
  7. "Khmer Rouge leader seeks release" (HTML). BBC News. 23 April 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
  8. "ศาลพิเศษเขมรลงดาบจำคุกตลอดชีวิต 'นวน เจีย-เขียว สัมพัน'". ไทยรัฐ. 7 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า เขียว สัมพัน ถัดไป
แปน นุต   นายกรัฐมนตรีกัมพูชาประชาธิปไตย
(1976)
  พล พต
เจ้านโรดม สีหนุ
(ประมุขแห่งรัฐ)
  ประธานสภาเปรซิเดียม
แห่งกัมพูชาประชาธิปไตย

(1976 - 1979)
  เฮง สัมริน
ประธานสภาปฏิวัติประชาชนกัมพูชา
พล พต   นายกรัฐมนตรีกัมพูชาประชาธิปไตย
(1980 - 1982)
  ซอน เซน
เอียง ซารี   นายกรัฐมนตรีกัมพูชาประชาธิปไตย
(1982 - 1991)
  ไม่มี
พล พต   เลขาธิการพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย
(1985 - 1998)
  ยุบพรรค