พรรคธรรมาธิปัตย์ (พ.ศ. 2498)
พรรคธรรมาธิปัตย์ พรรคการเมืองที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เป็นลำดับที่ 9/2498[1]
พรรคธรรมาธิปัตย์ | |
---|---|
หัวหน้า | เปี่ยม บุณยะโชติ |
เลขาธิการ | ล้วน เวกชาลิกานน |
ก่อตั้ง | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2498 |
ถูกยุบ | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (2 ปี) |
ที่ทำการ | 506 ถนนหลานหลวง เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคธรรมาธิปัตย์ ได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งพรรคต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2498 มีร้อยตำรวจเอก เปี่ยม บุณยะโชติ เลขานุการส่วนตัวของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคและมีนายล้วน เวกชาลิกานนท์ อดีต ส.ส.นครปฐม เป็นเลขาธิการพรรค
ที่ทำการพรรคตั้งอยู่เลขที่ 506 ถนนหลานหลวง ซี่งตั้งอยู่ข้าง บ้านมนังคศิลา อันเป็นที่ทำการของ พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคการเมืองของจอมพล ป.
การเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พรรคธรรมาธิปัตย์ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฏว่าทางพรรคได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 10 ที่นั่ง คือ
- ฉลอง ประจันบาน (กาฬสินธุ์)
- ล้วน เวกชาลิกานน (นครปฐม)
- ทนง นิยมะสินธุ์ (นนทบุรี)
- บุญล้อม ศรีสุวรรณ (สมุทรสาคร) เสียชีวิตในเวลาต่อมา
- เพ่ง ลิมปะพันธุ์ (สุโขทัย)
- เลิศ สัมพันธารักษ์ (ชัยภูมิ)
- ฉ่ำ จำรัสเนตร (นครศรีธรรมราช)
- ร้อยตำรวจเอก เปี่ยม บุณยะโชติ (นครศรีธรรมราช)
- โสภณ เอี่ยมอิทธิพล (นราธิวาส)
- เปลื้อง คชภักดี (พัทลุง)
การเลือกตั้ง 15 ธันวาคม 2500
แก้ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 ได้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ธันวาคม 2500 พรรคธรรมาธิปัตย์ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งอีกครั้งแต่ในคราวนี้ทางพรรคไม่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรแม้แต่ที่นั่งเดียว
ยุบพรรค
แก้พรรคธรรมาธิปัตย์ถูกยุบตามคำสั่งคณะปฏิวัติที่มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองธรรมาธิปัตย์
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้บรรดาพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงไป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2016-05-26.