พรรคสยามใหม่ (พ.ศ. 2518)

อดีตพรรคการเมืองไทย

พรรคสยามใหม่ พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่ได้จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยได้จดทะเบียนต่อ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อปี 2518 มีนาย เปรม มาลากุล ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรค[1]

พรรคสยามใหม่
หัวหน้าเปรม มาลากุล ณ อยุธยา
รองหัวหน้าเติม สืบพันธุ์
เลขาธิการสม วาสนา
ก่อตั้งมกราคม 2518
สภาผู้แทนราษฎร
3 / 269
สภาผู้แทนราษฎร
1 / 279
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง

แก้

พรรคสยามใหม่ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป จำนวน 2 ครั้ง คือ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 พรรคสยามใหม่ได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 3 คน[2] นำโดย เปรม มาลากุล ณ อยุธยา หัวหน้าพรรคจาก จังหวัดอุตรดิตถ์ สม วาสนา เติม สืบพันธุ์ จาก จังหวัดอุดรธานี

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 พรรคสยามใหม่ได้ ส.ส. เข้าสภาเพียง 1 คนคือ นายเปรม มาลากุล ณ อยุธยา จากจังหวัดอุตรดิตถ์

การยุบพรรค

แก้

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 บรรดาพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอันสิ้นสุดลง และห้ามตั้งพรรคการเมือง[3] แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว[4]

ยุคฟื้นฟู

แก้

กลุ่มสยามใหม่ นำโดยนายเปรม มาลากุล ณ อยุธยา ได้ฟื้นฟูพรรคสยามใหม่ขึ้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 โดยใช้ชื่อ กลุ่มสยามปฏิรูป เนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ถูกกำหนดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 แต่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองออกมาบังคับใช้ ดังนั้น บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญจึงยกเว้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นการรวมตัวอขงนักการเมืองในรูปแบบของ "กลุ่มการเมือง"[5] กลุ่มสยามปฏิรูปได้ลงเลือกตั้งใน วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยทางได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้นเพียง 1 คนคือนาย เปรม มาลากุล ณ อยุธยา จากเขต 2 จังหวัดอุตรดิตถ์ [6]

ต่อมาทางกลุ่มสยามปฏิรูปได้จับมือรวมตัวกับกลุ่มสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์และ ส.ส. ที่ไม่สังกัดพรรคอีก 6 คนนำโดยนาย ประมวล กุลมาตย์ ส.ส. ชุมพรตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ในชื่อว่า กลุ่มสยามปฏิรูปสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และหลังจากนั้นทางกลุ่มได้จับมือกับกลุ่มของพันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ และกลุ่มชาติประชาชนของเรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ ก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ในนาม พรรคสยามประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2526 ทำให้บทบาทของทางกลุ่มสยามปฏิรูปยุติลงนับแต่บัดนั้น

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง (39 พรรค)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  3. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6
  4. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2534
  5. ชาย ไชยชิต และ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 วันที่ 22 เมษายน 2522 ออนไลน์ : สถาบันพระปกเกล้า
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.