ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ไตรภูมิพระร่วง | |
---|---|
กวี | พระมหาธรรมราชาที่ 1 |
ประเภท | ศาสนา ปรัชญา |
คำประพันธ์ | ร้อยแก้ว |
ยุค | สุโขทัย |
ปีที่แต่ง | พ.ศ. 1864 |
ลิขสิทธิ์ | กรมศิลปากร |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์ |
เป็นวรรณกรรมศาสนาพุทธที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระมหาธรรมราชาที่ 1 รวบรวมจากคัมภีร์ในศาสนาพุทธ มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐานที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) กัป กลียุค วาระสุดท้ายของโลก พระศรีอริยเมตไตรย พระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนึ่งในวรรณกรรมภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่นิยมนำมาเป็นรูปภาพเขียนไว้ตามฝาผนังวัดตั้งแต่สมัยโบราณ
ประวัติ
แก้ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1864 (ปีเก่า) จ.ศ. 683 ม.ศ. 1243 เป็นปีครองราชย์ที่ 6 โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึกซึ้ง ในด้านพุทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดีโลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้ [1] ทั้งนี้ อ.สินชัย กระบวนแสง ได้วิเคราะห์เหตุผลการแต่งไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไท ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองด้วย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากไตรภูมิเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนรก-สวรรค์ สอนให้คนรู้จักการทำความดีเพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ หากแต่ใครทำชั่วประพฤติตนผิดศีลก็จะต้องตกนรก กล่าวคือ ประชากรในสมัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทปกครองนั้นเริ่มมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้การปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้ายเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น การดูแลของรัฐก็ไม่อาจดูแลได้ทั่วถึง พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นมาเพื่อที่ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิตที่สุขสบาย และหากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมทางสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุกคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกันแต่อย่างไร
เนื้อหา
แก้ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภูมิ (แดน) ทั้ง 3 คือ กามภูมิ 11, รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4 ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ 7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้ เรียกว่า เขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า สีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
แก้วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับไตรภูมิ นอกจากนี้ เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัย เรื่องเล่าจากไตรภูมิ สมุดภาพไตรภูมิ ฯลฯ
อ้างอิง
แก้- ↑ นิยะดา เหล่าสุนทร, ไตรภูมิพระร่วง การศึกษาที่มา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แม่คำผาง, 2543 หน้า 11
- เสฐียรโกเศศ, เล่าเรื่องในไตรภูมิ. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา, 2518)