ร้านนายอินทร์
มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรย้ายไปรวมกับบทความ อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (อภิปราย) |
ร้านนายอินทร์[1] เป็นร้านค้าปลีกหนังสือในเครือบริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีแสดงความสามารถของนักเขียน อีกทั้งเป็นแรงสนับสนุนให้เกิดงานเขียนใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพในสังคมไทย ร้านนายอินทร์ได้จัดการประกวด รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เป็นครั้งแรกเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2542 นั้น ร้านนายอินทร์ริเริ่มโครงการประกวดรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ด้วยการจัดประกวดต้นฉบับ ประเภทสารคดีเป็นประเภทแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 จึงเพิ่มประเภทของประกวดเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก และวรรณกรรมเยาวชนด้วย กระทั่งปีพุทธศักราช 2548 จึงได้จัดประกวดประเภท เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และนวนิยาย รวมประเภทการประกวดจากอดีตถึงปัจจุบันคือ 6 ประเภท[2]
รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด กำหนดรับผลงานต่างๆเข้าประกวดล่วงหน้า 1 ปี มีกำหนดปิดรับผลงานภายในพฤศจิกายนของปีก่อนหน้า และประกาศผลรางวัลในเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคมของปีที่ประกาศรางวัล อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีอาจไม่มีผลงานใดที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของการประกวดประเภทนั้นเลย
ประเภทของรางวัล
แก้รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด แบ่งประเภทของผลงานที่เข้าประกวดเป็น 6 ประเภท ดังนี้
พ.ศ. | สารคดี | หนังสือ/นิทานภาพสำหรับเด็ก | วรรณกรรมเยาวชน | เรื่องสั้น | กวีนิพนธ์ | นิยาย |
---|---|---|---|---|---|---|
2543 | สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ ภูฏาน มนต์เสน่ห์ในอ้อมกอดหิมาลัย โดย พิสมัย จันทวิมล
สารคดีรางวัลพิเศษ ได้แก่ กล่องไปรษณีย์สีแดง โดย อภิชาติ เพชรลีลา สารคดีที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่ จากอาสำถึงหยำฉ่า ตำนานคนกวางตุ้งกรุงสยาม โดย ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง |
- | - | - | - | - |
2544 | สารคดีที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่ ตะลุยแคชเมียร์ โดย เปรมฤทัย โตกิจเจริญ และ สิบทะเล โดย ธิดารัตน์ น้อยสุวรรณ | หนังสือภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ เพื่อนใหม่ของลุงหมี ของ ลำพู แสงลภ
หนังสือภาพสำหรับเด็กรางวัลพิเศษ ได้แก่ เด็กชายปากกว้าง ของ สุดไผท เมืองไทย |
วรรณกรรมเยาวชนยอดเยี่ยม ได้แก่ เด็กหญิงนางฟ้า โดย ดาราราย และส้มสีม่วง ของ ดาวกระจาย | - | - | - |
2545 | สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ ฮูย่า! Tadpole ไอ้ลูกกบ โดย อุดมพร สมพงษ์
สารคดีที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่ diet diary ไม่เหลือบ่ากว่าแรง โดย เชาวฤทธิ์ ตั้งโชคประเสริฐ |
หนังสือภาพสำหรับเด็กที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่ ยิ้มของจืด ของ เล็ก มานนท์ | วรรณกรรมเยาวชนยอดเยี่ยม ได้แก่ ปราสาทกระต่ายจันทร์ โดย จันทร์เจ้า
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพิเศษ ได้แก่ ครุฑน้อย ของ คอยนุช |
- | - | - |
2546 | สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ คูนดอกสุดท้าย โดย จุลินทร์ ศรีสะอาด
สารคดีรางวัลพิเศษ ได้แก่ บ้านไม้ริมทางรถไฟ โดย ราชศักดิ์ |
หนังสือภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ บ้องแบ๊ว โดย พรรณทิพย์ บริบูรณ์ / ทวี ศิริธนชัย | วรรณกรรมเยาวชนยอดเยี่ยม ได้แก่ เจ้าชายไม่วิเศษ ของ ปรีดา อัครจันทโชติ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพิเศษ ได้แก่ เด็กหญิงสวนกาแฟ ของ เม น้อยนาเวศ |
- | - | - |
2547 | สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ เย็นวันเสาร์ เช้าวันอาทิตย์ ของ คามิน คมนีย์
สารคดีรางวัลพิเศษ ได้แก่ บางปู นกนางนวล และผองเพื่อนนกน้ำอพยพ โดย พอพล นนทภา |
หนังสือภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ ลูกบอลเที่ยวชายหาด โดย วิภาวี ฉกาจทรงศักดิ์ | วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพิเศษ ได้แก่ มัจฉานุผจญภัย โดย คีตกาล | - | - | - |
2548 | สารคดีรางวัลพิเศษ ได้แก่ เล่นกับโลกไกลบ้าน โดย กิจการ ช่วยชูวงศ์ และญี่ปุ่นหลากมุม โดย โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ บุหลันแรม โดย เงาจันทร์ | กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ นิราศจักรวาล ของ ชัยพร ศรีโบราณ | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล |
2549 | สารคดีรองชนะเลิศ ได้แก่ เนปาล จักรวาลกลางอ้อมกอดของขุนเขา โดย เกรียงไกร เกิดศิริ และต้นทางจากมะละแหม่ง โดย องค์ บรรจุน | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ เก๊าะซารี...มิตรภาพและความตาย โดย ปกาศิต แมนไทยสงค์
เรื่องสั้นรองชนะเลิศ ได้แก่ พรายทะเล โดย เทิดไท นามแทน และการมาถึงและการจากไปของรถไฟสังกะสี โดย ธีรวิชย์ วงศ์มุสิก |
ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | นวนิยายยอดเยี่ยม ได้แก่ รังเลือด ของ สาคร พูลสุข |
2550 | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ สมภารระดับ 8 โดย ทัศนาวดี
เรื่องสั้นรองชนะเลิศ ได้แก่ เพลงชีวิต 2505 โดย สร้อยสัตตบรรณ และ หลง โดย ภู กระดาษ |
กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่เรื่อง มหาชเล โดย วรภ วราภา | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล |
2551 | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | นิทานภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ ฮัดเช้ย โดย กนกวรรณ์ เล็กดำรงศักดิ์ | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ ดอยรวก โดย นทธี ศศิวิมล
เรื่องสั้นรองชนะเลิศ ได้แก่ คนรักธรรมชาติ โดย ณัฐวัฒน์ อุทธังกร และสาย-สัม-พันธ์ โดย หมึกสีม่วง |
กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่เรื่อง เราอยู่คนละฟากของภูผา โดย เตือนจิต นวตรังค์ ชินธเนศ
กวีนิพนธ์รองชนะเลิศ ได้แก่เรื่อง ชิ้นส่วนจากสงคราม โดย มูฮัมหมัดฮาริส กาเหย็ม และแดดต่างจังหวัดในภาพเขียน โดย โกสินทร์ ขาวงาม |
นวนิยายยอดเยี่ยม ได้แก่ กรงมนุษย์ โดย พจนารถ พจนปกรณ์ |
2552[3] |
สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ แม่น้ำสีเขียวคราม โดย บำเพ็ญ ไชยรักษ์ |
ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ ฆาตกร โดย วิทยากร โสวัตร
เรื่องสั้นรองชนะเลิศ ได้แก่ ท่อนแขน โดย สร้อยสัตตบรรณ และที่เกิดเหตุ โดย อนุสรณ์ ศรีคำขวัญ[4] |
กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ นัยน์ตาของโคเสี่ยงทาย โดย วิสุทธิ์ ขาวเนียม
กวีนิพนธ์รองชนะเลิศ ได้แก่ ใจชรา โดย วรภ วรภา และวิทยาศาสตร์กถา โดย พลัง เพียงพิรุฬห์ |
ไม่มีผลงานได้รับรางวัล |
2553[5] | สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ ไปเป็นเจ้าชาย...ในแคว้นศัตรู โดย คามิน คมนีย์ | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | วรรณกรรมเยาวชนยอดเยี่ยม ได้แก่ เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์ โดย สาคร พูลสุข | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ บ้านสัตว์เลี้ยง โดย กิติวัฒน์ ตันทะนันท์
เรื่องสั้นรองชนะเลิศ ได้แก่ 3.2 กิโล โดย จัตวาลักษณ์ และมนุษย์ตับหวาน โดย บุณชิต ฟักมี |
กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ร้านหนังสือเทพนิยายที่ชายแดน โดย อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ
กวีนิพนธ์รองชนะเลิศ ได้แก่ ผืนผ้าในสงคราม โดย จรรยา อำนาจพันธุ์พงศ์ และเหตุที่ข้าพเจ้าเข้าโรงพยาบาล โดย พัฒนะ ปฐมพงศ |
ไม่มีผลงานได้รับรางวัล |
2554[6] | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | นิทานภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ คุณช้างโต ช่วยหน่อยได้ไหม (คุณช้างโต หัวใจกระจิดริด) โดย วีระยุทธ์ เลิศสุทธิชัย | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ เหตุการณ์แม่บ้านกรีดร้อง โดย วรณัฐ ตั้งขบวนบุตร
เรื่องสั้นรองชนะเลิศ ได้แก่ เต้นรำไปบนท่อนแขนอ่อนนุ่ม โดย นทธี ศศิวิมล และ เสียงกระซิบของชัยฏอน โดย ปราชญ์ วิปลาส |
กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ความตายของสันติสุข โดย อังคาร จันทาทิพย์
กวีนิพนธ์รองชนะเลิศ ได้แก่ ความทรงจำ โดย ชัชชล อัจนากิตติ และ ณ ขณะเวลาหนึ่ง โดย ธีระสันต์ พันธศิลป์ |
นวนิยายยอดเยี่ยม ได้แก่ ในรูปเงา (รูปเงาอันเงียบเหงา) โดย เงาจันทร์ |
2555[7] | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | วรรณกรรมเยาวชนยอดเยี่ยม ได้แก่ เกาะที่มีความสุขที่สุดในโลก โดย ลินดา โกมลารชุน | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ ชายชราเบาหวาน โดย ชินรัตน์ สายอุ่นใจ
เรื่องสั้นรองชนะเลิศ ได้แก่ เรื่องการตามหาหนังสือนิยายที่หล่นหายไปในเทศกาลรางวัลซีไรต์ โดย วุฒินันท์ ชัยศรี |
กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ หัวใจไดโนเสาร์ โดย จามรี ตันไพฑูรย์ดิถี
กวีนิพนธ์รองชนะเลิศ ได้แก่ เด็กทารกในเมืองบาดาล โดย จรรยา อำนาจพันธุ์พงศ์ และหน้าตู้แช้เครื่องดื่ม โดย วิสุทธิ์ ขาวเนียม |
ไม่มีผลงานได้รับรางวัล |
2556[8] | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | หนังสือภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ มัลกี้กลัวความมืด โดย คัจฉกุล แก้วเกศ | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ จุนอิจิ กับคอร์ปัส แคลโลซัม ในตอนที่การกระจัดเท่ากับศูนย์ โดย ณฐกร กิจมโนมัย | กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ บ้านไม่มีใครอยู่ โดย อังคาร จันทาทิพย์ | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล |
2557[9] | สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ เรื่องเล่าจากยอดภูเขาน้ำแข็ง โดย ดาวเดียวดาย | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ หอนาฬิกาที่หาช่างซ่อมไม่ได้ โดย นฤพนธ์ สุดสวาท | กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ สถานการณ์ปกติ โดย บัญชา อ่อนดี | นวนิยายยอดเยี่ยม ได้แก่ กาหลมหรทึก โดย ปราปต์ |
2558[10] | สารคดียอดเยี่ยม ได้แก่ สะกดรอยสินไซ โดย นัทธ์หทัย วนาเฉลิม | หนังสือภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ มีใครอยู่มั้ย โดย ปิยา วัชระสวัสดิ์ | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล | เรื่องสั้นยอดเยี่ยม ได้แก่ จะขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดย จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท | กวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ สก๊อย โดย สมหญิง | ไม่มีผลงานได้รับรางวัล |
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ร้านนายอินทร์
- กติการางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เก็บถาวร 2016-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
แก้- ↑ ร้านนายอินทร์
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
- ↑ "นักเขียนนายอินทร์อะวอร์ด ปี 2552 | OK NATION". www.oknation.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "คำบอกเล่าของ "อนุสรณ์ ศรีคำขวัญ" | บทความงานวิจัย | Happy Reading". www.happyreading.in.th.
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/68385
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/politic/101273
- ↑ https://www.dek-d.com/writer/29978/
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/culture/168729
- ↑ http://www.posttoday.com/ent/thai/322157
- ↑ http://www.mbookstore.com/news/254/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E2%80%9C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E2%80%9D-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E2%80%9C%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E2%80%9D-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%91%E0%B9%96-/[ลิงก์เสีย]