วรรณคดีสโมสร

สโมสรในประเทศสยาม

วรรณคดีสโมสร จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดีวรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา หนังสือที่พิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น 5 ประเภท

วรรณคดีสโมสร
พระราชลัญจกรพระคเณศร์
ก่อตั้ง23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457
ยุติพ.ศ. 2468
สํานักงานใหญ่จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
ภาษาทางการ
ภาษาไทย
ผู้ก่อตั้ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ แก้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชกฤษฎีกา ตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "วรรณคดี" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษ

คณะกรรมการของวรรณคดีสโมสรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือดี หนังสือที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานรางวัล และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ นับเป็นการมอบรางวัลทางวรรณกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย[1]

ตามพระราชกฤษฎีกา ได้แบ่งประเภทของหนังสือไว้ 5 ประเภท[2] ดังนี้

  1. กวีนิพนธ์ คือ งานประพันธ์โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์
  2. ละครไทย คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นกลอนแปด
  3. นิทาน คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นร้อยแก้ว
  4. ละครพูด คือ เนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับแสดงบนเวทีใช้หลักการน้ำเสียง ความชัดเจน
  5. ความอธิบาย คือ การแสดงศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ตำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร

วรรณคดีสโมสร ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2468 แต่หลังจากนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงก่อตั้ง "สมาคมวรรณคดี" ขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 และยังใช้มาตรฐานเดิมในการพิจารณาวินิจฉัย หนังสือกลอนลิลิต อยู่[3]

วรรณคดีสโมสร 14 ประเภท[4] แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ร้อยเรื่องเมืองไทย: วรรณคดีสโมสร, บุคคลสำคัญของโลกชาวไทย
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
  3. พิเชฐ แสงทอง, วรรณกรรมท้องถิ่น เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.