ฉันท์
ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของการประพันธ์ประเภทร้อยกรองในวรรณคดีไทยที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา แต่งเมื่อ พ.ศ. 1703 เป็นที่มาของ คัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทย[1] เมื่อคัมภีร์วุตโตทัยแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย กวีจึงได้ปรับปรุงให้เหมาะกับขนบร้อยกรองไทย เช่น จัดวรรค เพิ่มสัมผัส และเปลี่ยนลักษณะครุ-ลหุแตกต่างไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความไพเราะของภาษาไทยลงไป
ฉันท์ ในคัมภีร์วุตโตทัยได้แปลงเป็นฉันท์ไทยครบทั้ง 108 ชนิด ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยนายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติมจนครบถ้วนและจัดพิมพ์รวมเล่มทั้งหมดในปี พ.ศ. 2474 ใช้ชื่อว่า ฉันทศาสตร์
นอกเหนือจากฉันท์ทั้ง 108 ชนิดดังกล่าวแล้ว กวีได้ทดลองประดิษฐ์ฉันท์ในรูปแบบใหม่ ๆ โดยดัดแปลงจากฉันท์เดิมบ้าง โดยเลียนเสียงเครื่องดนตรีบ้าง หรือโดยแรงบันดาลใจจากฉันท์ต่างประเทศ หรือชื่อบุคคลสำคัญบ้าง อย่างไรก็ตาม ฉันท์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ล้วนจัดอยู่ในประเภทฉันท์วรรณพฤติทั้งสิ้น[2]
ฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัย
แก้มีทั้งสิ้น 108 ชนิด แบ่งเป็น ฉันท์วรรณพฤติ ซึ่งบังคับพยางค์ จำนวน 81 ชนิด กับ ฉันท์มาตราพฤติ ซึ่งบังคับมาตรา จำนวน 27 ชนิด
ฉันท์วรรณพฤติ
แก้ฉันท์วรรณพฤติ มีทั้งสิ้น 81 ชนิด บังคับจำนวนพยางค์ ตั้งแต่ บาทละ 6 พยางค์ ถึง 25 พยางค์ แต่ ฉันท์ที่คนไทยนิยมแต่ง มีเพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่
จิตรปทาฉันท์ 8
แก้หนึ่งบทมี 4 บาท บาทละ 8 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 4 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอน
ลักษณะครุ-ลหุเหมือนกับทุกบาท คือ ครุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
เหตุพินาศ | อนุศาสน์ แสดง | |
ฉัพพิธะแจง | นรปรีชา |
เชิญมละโทษ | ดุจพรรณนา | |
จักยศถา | วรสวัสดี |
ฉันทภิปราย | อธิบายบท | |
คามภิรพจน์ | ศุภสารศรี |
จิตระปทา | พฤตินามมี | |
จินตกวี | รนิพนธ์แถลง | |
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
วิชชุมมาลาฉันท์ 8
แก้วิชชุมมาลาฉันท์ มีความหมายว่า "ระเบียบแห่งสายฟ้า" ประกอบด้วยครุล้วน จึงใช้บรรยายความอย่างธรรมดา
หนึ่งบทมี 4 บาท บาทละ 8 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 4 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอน
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
แรมทางกลางเถื่อน | ห่างเพื่อนหาผู้ | |
หนึ่งในนึกดู | เห็นใครไป่มี |
หลายวันถั่นล่วง | เมืองหลวงธานี | |
นามเวสาลี | ดุ่มเดาเข้าไป |
ผูกไมตรีจิต | เชิงชิดชอบเชื่อง | |
กับหมู่ชาวเมือง | ฉันอัชฌาสัย |
เล่าเรื่องเคืองขุ่น | ว้าวุ่นวายใจ | |
จำเป็นมาใน | ด้าวต่างแดนตน | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
มาณวกฉันท์ 8
แก้มาณวกฉันท์ มีความหมายว่า "ประดุจเด็กหนุ่ม" ใช้แต่งบรรยายความที่รวดเร็ว
หนึ่งบทมี 4 บาท บาทละ 8 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ส่งสัมผัสแบบกลอน
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ครุ-ลหุ-ลหุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ล่วงลุประมาณ | กาลอนุกรม | |
หนึ่งณนิยม | ท่านทวิชงค์ |
เมื่อจะประสิทธิ์ | วิทยะยง | |
เชิญวรองค์ | เอกกุมาร |
เธอจรตาม | พราหมณไป | |
โดยเฉพาะใน | ห้องรหุฐาน |
จึงพฤฒิถาม | ความพิสดาร | |
ขอ ธ ประทาน | โทษะและไข | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
ปมาณิกฉันท์ 8
แก้หนึ่งบทมี 4 บาท บาทละ 8 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 4 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอน
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาทคือ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ประดิษฐ์ประดับ | ประคับประคอง | |
ละเบงละบอง | จำแนกจำนรร |
ระเบียบและบท | สุพจน์สุพรรณ์ | |
จะเฉิดจะฉัน | วิเรขวิไล |
ลิลิตลิลาศ | มิคลาดมิคล้อย | |
ก็เรียบก็ร้อย | อำพนอำไพ |
จะจัดจะแจง | ผิแขงผิไข | |
แถลงไถล | ก็เสื่อมก็ทราม | |
— (ฉันทศาสตร์) |
อุปัฏฐิตาฉันท์ 11
แก้หมายถึงฉันท์ที่กล่าวสำเนียงอันดังก้องให้ปรากฏ
หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง | ชนะคล่องประสบสม | |
พราหมณ์เวทอุดม | ธก็ลอบแถลงการณ์ |
ให้วัลลภะชน | คมะดลประเทศฐาน | |
กราบทูลนฤบาล | อภิเผ้ามคธไกร | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
แก้อินทรวิเชียรฉันท์ มีความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี 11 แต่ต่างกันเพียงที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์ มีข้อบังคับ ครุและลหุ
หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
บงเนื้อก็เนื้อเต้น | พิศะเส้นสรีร์รัว | |
ทั่วร่างและทั้งตัว | ก็ระริกระริวไหว |
แลหลังก็หลั่งโล- | หิตโอ้เลอะหลั่งไป | |
เพ่งผาดอนาถใจ | ตละล้วนระรอยหวาย | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 11
แก้หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ทิชงค์เจาะจงเจตน์ | กละห์เหตุยุยงเสริม | |
กระหน่ำและซ้ำเติม | นฤพัทธะก่อการ |
ละครั้งระหว่างครา | ทินะวาระนานนาน | |
เหมาะท่าทิชาจารย์ | ธก็เชิญเสด็จไป | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
อุปชาติฉันท์ 11
แก้หนึ่งบทมี 4 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ
- บาทที่ 1 และบาทที่ 4 เป็นอุเปนทรวิเชียรฉันท์ คือ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
- บาทที่ 2 และบาทที่ 3 เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
พิธีณะฉันทศาสตร์ | อุปชาตินามเห็น | |
เชลงลักษณลำเค็ญ | กลนัยสลับกัน |
นาเนกะบัณฑิตย์ | จะประกิจประกอบฉันท์ | |
พินิจฉบับบรรพ์ | บทแน่ตระหนักใจ | |
— (ประชุมจารึกวัดประเชตุพนฯ) |
สาลินีฉันท์ 11
แก้หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ-ครุ ลหุ-ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
พราหมณ์ครูรู้สังเกต | ประจักษ์เหตุตระหนักครัน | |
ราชาวัชชีสรร | พะจักสู่พินาศสม |
ยินดีบัดนี้กิจ | จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ | |
ทำมาด้วยปรากรม | และอุตสาหะแห่งตน | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
สวาคตาฉันท์ 11
แก้หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 7 พยางค์ วรรคหลัง 4 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ข้าสดับสุมะทะนา | วจะว่าวอน | |
ใจก็นึกกรุณะหล่อน | ฤดิสงสาร |
เล็งก็รู้ณพะหุเหต | ทุขะเภทพาล | |
ใคร่จะช่วยและอุปะการ | ยุวะนารี | |
— มัทนะพาธา, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
วังสัฏฐฉันท์ 12
แก้หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 12 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 7 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
อนี้และนามวัง | สฐะดั่งฉบับนิพนธ์ | |
ประกอบวิธียล | บทแบบก็แยบขบวน |
ดิเรกะวิญญู | ชนะรู้แลใคร่แลครวญ | |
สนุกเสนอควร | สุขจิตรประดิษฐ์ณะฉันท์ | |
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
อินทวงศ์ฉันท์ 12
แก้หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 12 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 7 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ราชาประชุมดำ- | ริหะโดยประการะดัง | |
ดำรัสตระบัดยัง | วจนัตถ์ปวัตติพลัน |
ให้ราชภัฏโป | ริสะไปขมีขมัน | |
หาพราหมณ์ทุพลอัน | บุระเนระเทศะมา | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
โตฎกฉันท์ 12
แก้หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 12 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
มะทะนาดนุรัก | วรยอดยุพะดี | |
และจะรักบมิมี | ฤดิหน่ายฤระอา |
ผิวะอายุจะยืน | ศะตะพรรษะฤกว่า | |
ก็จะรักมะทะนา | บมิหย่อนฤดิหรรษ์ | |
— มัทนะพาธา, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ภุชงคประยาตฉันท์ 12
แก้ภุชงคประยาตฉันท์ 12 มีความหมาย "งูเลื้อย" มีทำนองที่สละสลวย มักใช้แต่งกับเนื้อหาที่มีการต่อสู้ บทสดุดี บทชมความงาม บทถวายพระพร และบทสนุกสนาน นอกจักนั้นยังสามารถใช้แต่งบรรยายความให้รวดเร็วได้
หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 12 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ลหุ-ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ทิชงค์ชาติ์ฉลาดยล | คเนกลคนึงการ | |
กษัตริย์ลิจฉวีวาร | ระวังเหือดระแวงหาย |
เหมาะแก่การจะเสกสัน | ปวัตติ์วัญจะโนบาย | |
มล้างเหตุพิเฉทสาย | สมัคคิ์สนธิ์สโมสร | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
กมลฉันท์ 12
แก้หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 12 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ทวิโลกยาฤๅคุณ | ก็บุลยบันดาล | |
อภิมงคลาลาญ | ทุวิบากวิบัติภัย |
คณะฉันทสรรค์นาม | กรตามบุราณไข | |
บทกลอนกระมลไพ | เราะหพร้องลบองแสดง | |
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
วสันตดิลกฉันท์ 14
แก้วสันตดิลกฉันท์ มีความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดังจอมเมฆในฤดูใบไม้ผลิ (ฤดูฝน)" เป็นหนึ่งในฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด เนื่องจากอ่านแล้วฟังได้รื่นหู รู้สึกซาบซึ้งจับใจ มักใช้แต่งชมความงาม และสดุดีความรักหรือของสูง
หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 14 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 8 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
แสงดาววะวาวระกะวะวับ | ดุจะดับ บ เด่นดวง | |
แขลับก็กลับพิภพะสรวง | มิสะพรึบพะพราวเพรา |
เคยเห็นพระเพ็ญ ณ รัศมี | รัชนีถนัดเนา | |
เหนือนั่นแน่ะพลันจะสละเงา | กลเงินอร่ามงาม | |
— เหมือนพระจันทร์ข้างแรม, ชิต บุรทัต |
มาลินีฉันท์ 15
แก้ชื่อฉันท์แปลว่า ดอกไม้ เป็นฉันท์ที่แต่งยากแต่ทว่ามีความงามประดุจดอกไม้ ทำนองฉันท์สั้นกระชับในตอนต้น แล้วราบรื่นในตอนปลาย เป็นฉันท์ที่มีท่วงทำนองเคร่งขรึมน่ายำเกรง กวีมักใช้แต่งเพื่ออวดความสามารถในการใช้ศัพท์และเป็นเชิงกลบท
หนึ่งบทมี 15 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคแรก 8 พยางค์ วรรคสอง 4 พยางค์ วรรคสุดท้าย 3 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ-ครุ ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
กษณะทวิชะรับฐา | นันดร์และที่วา | |
จกาจารย์ |
นิรอลสะประกอบภาร | พีริโยฬาร | |
และเต็มใจ | ||
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
ประภัททกฉันท์ 15
แก้หนึ่งบทมี 15 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรแรก 7 พยางค์ วรรคสอง 4 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 4 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
สุวุติปภัททกา | รจิตนา | |
มกรประกาศ |
บทคณฉันทศาสตร์ | นิกรปราชญ์ | |
ประพฤติเพียร |
พจนพิจิตรเรียน | อลสะเพียร | |
มโนวิจารณ์ |
วิบุลยปรีชญาณ | พลจะชาญ | |
ฉลาดนิพนธ์ | ||
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
วาณินีฉันท์ 16
แก้หนึ่งบทมี 16 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคแรก 7 พยางค์ วรรคสอง 4 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 5 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
นรนฤนาทภิบาล | กลประมาณ | |
ประเล่ห์อุประมา |
จะประพฤติราชกิจา | นุกิจสา \ | |
ธุธรรม์บอาธรรม์ |
บุพบทวากยวรร | ณวุดิฉัน | |
ทวณินีนาม | ||
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ 18
แก้หนึ่งบทมี 18 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคแรก 11 พยางค์ วรรคสอง 4 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 3 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
เสวกพึงศึกษาณสุวสดิดอุด- | ||
ดมดิเรกดุจ | วิการกถา |
ฉันท์นี้ธีเรศอ้างกุสุมิตลดา | ||
เวลลิตานา | มกรขนาน | |
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ 19
แก้หนึ่งบทมี 19 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรแรก 12 พยางค์ วรรคสอง 4 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 3 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ ลหุ-ครุ-ครุ-ครุ-ครุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ขบวรเลบงเพรงพากย์พร้องก็เพราะพจนกลอน | ||
เสนอกระวีวร | ทฤษฎี |
ลบองเมฆวิปผุชชาติตาสุวุฒิกลมี | ||
ฉันทคัมภีร์ | พฤโตทัย | |
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ 19
แก้สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ มีความหมาย "เสือผยอง" ใช้แต่งบทไหว้ครู บทโกรธ และบทยอพระเกียรติ
หนึ่งบทมี 19 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคแรก 12 พยางค์ วรรคสอง 5 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 2 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ ครุ-ครุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
พร้อมเบญจางคประดิษฐ์สฤษติตษฎี | ||
กายจิตร์วจีไตร | ทวาร |
ไหว้คุณพระสุคตอนาวรณญาณ | ||
ยอดศาสดาจารย์ | มุนี |
อีกคุณสุนทรธรรมะคัมภิรวิธี | ||
พุทธ์พจน์ประชุมตรี | ปิฎก | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
อีทิสังฉันท์ 20
แก้อีทิสังฉันท์ 20 เป็นฉันท์ที่มีจังหวะกระแทกกระทั้น ฉะนั้นจึงใช้แต่งบรรยายความรัก ความวิตก และความโกรธ
หนึ่งบทมี 20 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรแรก 9 พยางค์ วรรคสอง 8 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 3 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี | ||
ประดุจมโนภิรมย์ระตี | ณ แรกรัก |
แสงอรุณวิโรจน์นภาประจักษ์ | ||
แฉล้มเฉลาและโศภินัก | ณ ฉันใด |
หญิงและชาย ณ ยามระตีอุทัย | ||
สว่าง ณ กลางกมลละไม | ก็ฉันนั้น | |
— มัทนะพาธา, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สัทธราฉันท์ 21
แก้ฉันท์ที่มีลีลาวิจิตรประดุจสตรีเพศผู้ประดับด้วยพวงมาลัย
หนึ่งบทมี 21 พยางค์ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรแรก 7 พยางค์ วรรคสอง 7 พยางค์ วรรคสาม 4 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 3 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก
ลักษณะครุ-ลหุ คือ
ครุ-ครุ-ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ | ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ | |
ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ | ลหุ-ครุ-ครุ |
ตัวอย่างคำประพันธ์
อรรถแสดงแห่งเหตุพิเศษผล | นิกรวิธุรชน | |
เชิญประกอบกล | ประกาศสาร |
รังสรรค์ฉันทพากยโบราณ | บุนรจนวิถาร | |
สัทธราขนาน | ณนามกร | |
— (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ) |
ฉันท์มาตราพฤติ
แก้ฉันท์มาตราพฤติ เป็นฉันท์ที่บังคับมาตรา โดยกำหนดให้พยางค์เสียงหนักคือ พยางค์ครุเป็นพยางค์ละ 2 มาตรา ส่วนพยางค์เสียงเบา คือ พยางค์ลหุ เป็นพยางค์ละ 1 มาตรา ในคัมภีร์วุตโตทัยมีฉันท์มาตราพฤติ 27 ชนิด ตั้งแต่บทละ 45 มาตรา จนถึง 68 มาตรา แบ่งเป็น 4 พวกใหญ่ ๆ คือ
อริยชาติฉันท์
แก้มี ๗ ชนิด ได้แก่ อริยฉันท์, อริยสามัญญฉันท์, อริยปัฐยาฉันท์, อริยวิปุลาฉันท์, อริยจปลาฉันท์, อริยมุขจปลาฉันท์ และ อริยชฆนจปลาฉันท์
คีติชาติฉันท์
แก้มี ๔ ชนิด ได้แก่ คีติฉันท์, อุปคีติฉันท์, อูคีติฉันท์ และอริยคีติฉันท์
เวตาฬิยชาติฉันท์
แก้มี ๙ ชนิด ได้แก่ เวตาฬิยฉันท์, โอปัจฉันทสกะฉันท์, อาปาตลิฉันท์, ลักขณันตฉันท์, อุทิจจวุตติฉันท์, ปัจจวุตติฉันท์, ปวัตตกฉันท์, อปรันติกฉันท์ และจารุหาสินีฉันท์
มัตตาสมกชาติฉันท์
แก้มี ๗ ชนิด ได้แก่ อจลฐิติฉันท์, มัตตาสมกฉันท์, วิสิโลกฉันท์, วานวาสิกฉันท์, จิตราฉันท์, อุปจิตราฉันท์ และปาทากุลกฉันท์
ฉันท์มาตราพฤติเป็นฉันท์ที่กำหนดมาตรา ไม่กำหนดคณะฉันท์ ผู้แต่งสามารถพลิกแพลงอักษรใช้ได้หลายแบบในมาตราที่กำหนด ทำให้ดูขาดระเบียบ และไม่กำหนดฉันทลักษณ์ที่แน่นอนลงได้ รวมทั้งกำหนดจังหวะอ่านลำบาก กวีจึงไม่นิยมใช้ฉันท์มาตราพฤติในงานกวีนิพนธ์ จะมีก็แต่ในตำราฉันท์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเท่านั้น[2]
ฉันท์ประดิษฐ์ขึ้นใหม่
แก้การประดิษฐ์ฉันท์ใหม่ของกวีตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ามี 2 ลักษณะ[1]คือ
- ฉันท์ที่ประดิษฐ์จากฉันท์เดิมในคัมภีร์วุตโตทัย
- ฉันท์ที่ประดิษฐ์ใหม่จากแหล่งที่มาอื่น
ฉันท์ที่ประดิษฐ์จากฉันท์เดิมในคัมภีร์วุตโตทัย
แก้ฉันท์ที่ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยอยุธยาและปรากฏชื่อในจินดามณี
แก้มี ๓ ชนิด คือ วิเชียรดิลกฉันท์, ดิลกวิเชียรฉันท์ และโตฎกดิลกฉันท์
- วิเชียรดิลกฉันท์ เกิดจากการผสมระหว่างอินทรวิเชียรฉันท์ กับวสันตดิลกฉันท์ หนึ่งบทมี ๒ บาท ๒๕ พยางค์ บาทแรกเป็นอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ พยางค์ บาทที่ ๒ เป็นวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ พยางค์ มีบังคับระหว่างบาทกับระหว่างบท ตัวอย่าง
เคยพาดพระหัตถ์เหนือ(๕) | อุรราชกัลยา(๖) | |
กอดเกี้ยวคือกาญจนลดา(๘) | อันโอบอ้อมทุมามาลย์(๖) |
พิศพักตรมณฑลศศิ | บริสุทธิเปรียบปาน | |
เปรมร่วมมฤธูรสุบันดาน | รดีดัดบันเจิดใจ | |
— (จินดามณี) |
- ดิลกวิเชียรฉันท์ เกิดจากการผสมระหว่างวสันตดิลกฉันท์ กับอินทรวิเชียรฉันท์ หนึ่งบทมี ๒ บาท ๒๕ พยางค์ บาทแรกเป็นวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ พยางค์ บาทที่ ๒ เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ พยางค์ มีบังคับสัมผัสระหว่างบาทกับสัมผัสระหว่างบท ตัวอย่าง
อุรประทับอรถนัง(๘) | บรามัสสิวรไวย(๖) | |
จุมพิตริมไร(๕) | โอษฐคันฐกัลยา(๖) |
บริสังคติพระอุระองค์ | อานุชพนิดา | |
สมสนุกนิเสน่หา | รสราคเอมอร | |
— (จินดามณี) |
- 'โตฎกวิเชียรฉันท์ เกิดจากการผสมระหว่างโตฎกฉันท์ กับวสันตดิลกฉันท์ หนึ่งบทมี ๒ บาท ๒๖ พยางค์ บาทแรกเป็นโตฎกฉันท์ ๑๒ พยางค์ บาทที่ ๒ เป็นวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ พยางค์ มีบังคับสัมผัสระหว่างบาทกับสัมผัสระหว่างบท ตัวอย่าง
วรรังษิประไพ(๖) | บุรโชติพรายพรรณ(๖) | |
เสตาเจนิรัตนสรรพ(๘) | ปริโตปิลังโค(๖) |
หรคัณหปิงคำ | กปิโลโลปิตโต | |
สิหัษรโทโพอรุโณ | ภาศรัศศมี | |
— (จินดามณี) |
ฉันท์ที่ประดิษฐ์ในสมัยรัตนโกสินทร์
แก้- กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ทรงประดิษฐ์ฉันท์ขึ้น ๕ ชนิด ในพระนิพนธ์เฉลิมเกียรติกษัตรีคำฉันท์ โดยผสมฉันท์ ๔ ชนิดได้แก่ อินทรวิเชียรฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ ภุชงคปยาตฉันท์ และอินทวงศ์ฉันท์ เข้าด้วยกันเกิดเป็น ภุชพงศ์ฉันท์ (ผสมระหว่างภุชงคปยาตฉันท์กับอินทวงศ์ฉันท์) วสันตวงศ์ฉันท์ (ผสมระหว่างวสันตดิลกฉันท์กับอินทวงศ์ฉันท์) วสันตปยาตฉันท์ (ผสมระหว่างวสันตดิลกฉันท์กับภุชงคปยาตฉันท์) ภุชงควิเชียรฉันท์ (ผสมระหว่างภุชงคปยาตฉันท์กับอินทรวิเชียรฉันท์) และอินทรลิลาตฉันท์ (ผสมระหว่างอินทรวิเชียรฉันท์กับภุชงคปยาตฉันท์)
ตัวอย่างวสันตวงศ์ฉันท์ 15
ผัวเมียพม่าทุพละพาศน์ | หินะชาตินิวาศพนอม | |
ขัดแคลนนิแสนทุรนะตรอม | อุระเท้งเขยงขยัน |
ทำตาลก็นานนิตยะเพียง | ผละเลี้ยงชีวินละวัน | |
เกิดบุตรีก็สุดจะปิยะฉัน | ชิวะพ่อพะนอถนอม | |
— (เฉลิมเกียรติกษัตรีคำฉันท์) |
ตัวอย่างอินทรลิลาตฉันท์ 11
ผ่านฟ้าพญาเสือ | ดุร้ายเหลือและโลภโกง | |
เสมือนต้อนตะโพงโขลง | พศกหาภุกาเมนทร์ |
ไทเอือนพระเหมือนม่าน | เพราะบักอานกะการเกณฑ์ | |
เดือดดาลกะบาลเบน | ขบถไท้ผิใครชวน | |
— (เฉลิมเกียรติกษัตรีคำฉันท์) |
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หรือ ครูเทพได้นำเอาอินทรวิเชียรฉันท์มาแต่งสลับกับวสันตดิลกฉันท์ ใช้ชื่อว่า อินทวสัสตดิลกฉันท์ ดังตัวอย่าง
ราตรีก็แม่นมี | ขณะดีและร้ายปน | |
ไป่ผิดกะคนคน | คุณโทษประโยชน์ถม |
ราตรีกลีกลพิโรธ | หฤโหดกระหึมลม | |
มืดตื้อกระพือพิรุณพรม | และฤเราจะแยแส | |
— (โคลงกลอนของครูเทพ เล่ม ๒) |
- ชิต บุรทัต ได้แทรกครุ - ลหุ เพิ่มในกาพย์สุรางคนางค์ 28 ทำให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น คนรุ่นต่อมาจึงมักเรียกเป็น สุรางคนางค์ฉันท์ 28 และเห็นว่าเหมาะสำหรับข้อความที่คึกคัก สนุกสนาน โลดโผน ตื่นเต้น
ตัวอย่างคำประพันธ์
สะพรึบสะพรั่ง | ||
ณหน้าและหลัง | ณซ้ายและขวา |
ละหมู่ละหมวด | ก็ตรวจก็ตรา | |
ประมวลกะมา | สิมากประมาณ |
นิกายเสบียง | ||
ก็พอก็เพียง | พโลปการ |
และสัตถภัณ | ฑสรรพภาร | |
จะยุทธราญ | กะเรียกระดม | |
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต |
- ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร หรือนามปากกา คมทวน คันธนู ประดิษฐ์ฉันท์ใหม่ 15 ชนิด โดย
- ผสมฉันเดิมสองแบบเข้าด้วยกัน 9 ชนิด ได้แก่
- ทวนไฟฉันท์ 39 (สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 ผสมกับอีทิสังฉันท์ 20)
- เหมันตดิเรกฉันท์ 15 (วสันตดิลกฉันท์ 14 ผสมกับอินทวงศ์ฉันท์ 12) (ซ้ำกับวสันตวงศ์ฉันท์ 11 ของ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)
- อุเปนทรวังสัฏฐฉันท์ 23 (อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 11 ผสมกับวังสัฏฐฉันท์ 12)
- วงศ์วิเชียรฉันท์ 23 (อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ผสมกับอินทวงศ์ฉันท์ 12)
- นาคเล่นน้ำฉันท์ 26 (ภุชงคปยาตฉันท์ 12 ผสมกับวสันตดิลกฉันท์ 26)
- อินทวงศ์วังสัฏฐฉันท์ 12 (อินทวงศ์ฉันท์ 12 ผสมกับวังสัฏฐฉันท์ 12)
- ภุชงควิเชียรฉันท์ 12 (ภุชงคปยาตฉันท์ 12 ผสมกับอินทรวิเชียรฉันท์ 11)
- วิเชียรภุชงค์ฉันท์ 11 (อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ผสมกับภุชงคปยาตฉันท์ 12) (ซ้ำกับอินทรลิลาตฉันท์ 11 ของ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)
- อินทรวสันตฉันท์ 25 (อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ผสมกับวสันตดิลกฉันท์ 14)
- เปลี่ยนแปลงครุลหุในฉันท์เดิม 6 ชนิด ได้แก่
- ธนูฝนฉันท์ 17 (เพิ่มจากวสันตดิลกฉันท์ 14 อีก 3 พยางค์)
- คิมหันตดรงฉันท์ 29 (เพิ่มลหุในวรรคที่ 2 ของวสันตดิลก 14)
- คันฝุ่นฉันท์ 11 (ดัดแปลงอุปัฏฐิตาฉันท์ 11)
- คมแฝกฉันท์ 40 (ดัดแปลงจากวิชชุมมาลาฉันท์ 8) บางทีเรียก ฉันท์ 40 หรือ อัษฎาดุริยางค์
- ตัวอย่างคำประพันธ์
- ผสมฉันเดิมสองแบบเข้าด้วยกัน 9 ชนิด ได้แก่
ความลับจะดำมืด | ความชืดจะชินชา | |
ด้วยเล่ห์ ณ เวลา | มองฟ้าสิอาจม |
คนไทยไฉนเล่า | โง่เง่าและงายงม | |
หลงชื่นระรื่นชม | นานนมนิยมมา |
ต่างเห็นจะเป็นเหยื่อ | เฝ้าเชื่อและบูชิต | |
ยิ่งคาดอนาถผิด | เจ็บจิตอนิจจา |
ฝังปลูกกระดูกผี | กี่ปีก็เปรมปรา | |
โคตรใครจะไคลคลา | ไพร่ฟ้าสิหน้าเขียว | |
— สามแพร่งชีวิตคำฉันท์, คมทวน คันธนู |
- นิรนามฉันท์ 20 (กำหนดครุลหุลงในกาพย์ฉบัง)
- อินทรธนูฉันท์ 12 (ดัดแปลงจากอินทวงศ์ฉันท์ 12)
ฉันท์ที่ประดิษฐ์ใหม่จากแหล่งที่มาอื่น
แก้- พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ทรงประดิษฐ์ฉันท์ ๓ ชนิด คือ สยามรัตนฉันท์, สยามวิเชียรฉันท์ และ สยามมณีฉันท์ จาก อินเมโมเรียม ของ อังกฤษ โดยดัดแปลงสัมผัสให้แตกต่างกัน (ภายหลังมีการค้นพบว่า สยามมณีฉันท์ พ้องกับ ประมาณิกาฉันท์ ในตำราฉันโทมัญชรี ซึ่งมีมากว่า ๑,๐๐๐ ปีแล้ว)
- ตัวอย่าง สยามมณีฉันท์ 8 (สัมผัสแบบกลอนสุภาพ)
ชโยสยาม ณ ยามจะรุ่น | สยามดรุณจะเร็วเจริญ | |
ณ คราวจะเรียนก็เพียรจะเพลิน | ฤ ใครจะเกินสยามดรุณฯ |
กุมาระไทยไฉนจะหลง | จะลืมพระองคะทรงสกุล | |
ยามะรัฐอุบัติเพราะบุญ | พระเดชพระคุณพระราชะวงศฯ |
- สุภร ผลชีวิน ประดิษฐ์ฉันใหม่ ๒ ชนิด คือ เปษณนาทฉันท์ จากเสียงครกกระเดื่องตำข้าว และ มุทิงคนาทฉันท์ จากเสียงจังหวะตะโพนประกอบการรำโทน
- ตัวอย่าง เปษณนาทฉันท์ 16 (สัมผัสแบบกลอนสุภาพ)
ณยามสายัณห์ตะวันย้อยต่ำ | เถอะเร่งเท้าตำจะค่ำแล้วหนอ | |
ตะแล้กแต้กแต้กจะแหลกแล้วพ่อ | กระด้งเขารอจะขอรับไป |
บุรุษรอทีสตีเร่งเท้า | บุรุษยั่วเย้ากระเซ้าเสียงใส | |
กระเดื่องตำข้าวก็กราวเสียงไกล | สนุกน้ำใจสมัยราตรี |
- พันโท สุจิต ศิกษมัต ประดิษฐ์ พิบูลรัชนีฉันท์ เพื่อสดุดีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นางสาวจิรา จันทรานนท์นัยวินิจ นำไปแต่งเผยแพร่ในนามปากกา จิราจันท์
- ตัวอย่าง พิบูลรัชนีฉันท์
โอ้องค์พระทรงสมญา | "ปิยมหาจุฬาลงกรณ์" | |
ไทยสามิภักดิ์ภูธร | หทยเทอดพระเลิศเลอธรรม์ |
แสงสูริย์จรูญจำรัส | รพิประภัสสร์ก็เพียงกลางวัน | |
แสงโสมชโลมแหล่งสรรพ์ | ภพอร่ามก็ยามกลางคืน |
- ถวัลย์ นวลักษณ์กวี ประดิษฐ์ฉันท์ 3 ชนิด คือ ภูมิพลอดุลยเดชฉันท์ และ วชิราโสมสวลีฉันท์ โดยกำหนดครุลหุจากชื่อฉันท์ โดยได้รับพระบรมราชานุญาต ส่วน ฉันท์ 20 เป็นการประดิษฐ์ถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ คราวเสด็จเยือนประเทศไทย พ.ศ. 2515
- ตัวอย่าง ภูมิพลอดุลยเดชฉันท์
รวมปฐมพระจักริวงศ์ | วีระทรงบำราบอมิตร | |
เบญจมงค์วรงค์มหิทธิ์ | ปิยะราชผนิตสยาม |
ดั่งพระเนาวมงค์พระนาม | ไท้พระภัทร "ภูมิพลฯ" | |
ครบฉนำเฉลิมพระชนม์ | ปกประชาพิเศษพิชัย |
- เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประดิษฐ์ รพีพัฒน์ฉันท์ 6 โดยกำหนดครุลหุจากพระนามวรรคแรกของพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ตัวอย่าง
รพีพัฒนศักดิ์ | พระเอกอัครคุณ | |
อร่ามเรือง ณ อรุณ | สถิตทอนิติธรรม |
- ชยศรี สุนทรพิพิธ ชาลี ประดิษฐ์ฉันท์ใหม่ คือ ชยสุนทรฉันท์ 23 ตัวอย่าง
ละครวิทยุ | ประลุวิทยานันท์ | |
กระแสส่งนภาพลัน | ระกะสายกระจายเสียง |
มิเปลืองฉากธนะ | ผิแสดงก็สรรเพียง | |
ประโลมโลกนิยายเรียง | รจเรขรำพันครวญ |
- พันเอก ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ได้ประดิษฐ์ กลาโหมกีรติฉันท์ 12 ใน กลาโหมคำฉันท์ เมื่อ พ.ศ. 2552 ตัวอย่าง
สยามชาติเจริญรุ่ง | คติมุ่งจรุงมั่น | |
วิบูลย์สุขขจายครัน | ศุภนันทนาการ |
ผดุงกิจการแผ้ว | ก่อทแกล้ววิวัฒน์งาน | |
สฤษฎีวิถีภาร | ฐิติสานลุมั่นคง |
- พรหมเทพ ชัยกิตติวณิชย์ ประดิษฐ์ฉันท์ใหม่ คือ สุริยดิลกฉันท์ เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยผสมผสานวสันตดิลกฉันท์กับกลอนวะกะหรือทังกะของญี่ปุ่น กล่าวคือ สองวรรคสุดท้ายจบคล้ายกลอนทังกะ แต่ใช้จำนวนพยางค์ 8 พยางค์ให้เท่ากับวรรคแรกของวสันตดิลกฉันท์ ในขณะที่ในกลอนทังกะ 2 วรรคสุดท้ายมีจำนวนพยางค์วรรคละ 7 พยางค์ญี่ปุ่น ตัวอย่าง
ในศุภวารติถิมาส | นรราษฏร์ก็จงรัก | |
แต่งปาฏลีสตุติภัก | ดิเฉลิมพระชนมา |
องค์เทพรัตนสุดา | พรมังคลาฐิตะนิรันดร์ | |
- ภูวรินทร์ กนกพรไพบูลย์ ประดิษฐ์ฉันท์ใหม่ คือ ภูวรอินทรฉันท์ ๑๖ เป็นฉันท์ที่มีรากฐานมาจากอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ และมีจำนวนคำเหมือนกลอน ๘ โดยที่ ๑ บท มี ๔ วรรค และในแต่ล่ะวรรคมี ๘ คำ โดยที่วรรคแรกของภูวรอินทรฉันท์จะนำวรรคที่ ๑ ของอินทรวิเชียรฉันท์มา และนำ ๓ คำแรกของวรรคที่สองมาต่อท้าย และวรรคที่สองของภูวรอินทรฉันท์จะนำวรรคที่ ๑ ของอินทรวิเชียรฉันท์มาและนำ ๓ คำสุดท้ายของวรรคที่สองมาต่อท้าย ส่วนวรรคที่ ๓ และ ๔ จะเหมือนกับวรรคที่ ๑ และ ๒ ตามลำดับ ใน ๑ บท
- ตัวอย่าง
แก้วกัลยาสวยบริสุทธิ์ | ความงามฤดีผุดสกาวใส | |
ผิวพรรณอนงค์นางระอุใจใจ | นวลขาวมิใครเทียบบ่เทียมเคียง |
ปรางเจ้ากมลเย้าจิตแผ้ว | วาจาก็เพริศแพร้วระรื่นเสียง | |
ทุมถันระริกตั้งอุระเรียง | ทำได้พินิจเพียงมิได้ยล |