เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2348 ประวัติอื่น ๆ มีปรากฏน้อยเต็มที นอกเสียจากผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) | |
---|---|
เสียชีวิต | พ.ศ. 2348 |
บุตร | เจ้าจอมพุ่ม เจ้าจอมมารดานิ่ม นายเกต นายพัด |
บิดามารดา | เจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦาชัย (บุญมี) ท่านผู้หญิงเจริญ |
ประวัติแก้ไข
เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่มในรัชกาลที่ 2, เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ 2, นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นสกุล บุญ-หลง[ต้องการอ้างอิง]
รับราชการแก้ไข
มีหลักฐานระบุได้ว่าท่านได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรวิชิต ตำแหน่งนายด่านเมืองอุทัยธานี ครั้นเมื่อถึงปลายรัชกาล ที่เหตุระส่ำระสายเกิดจลาจลในพระนคร ท่านได้ลอบส่งคนนำหนังสือแจ้งเหตุภายในพระนครไปถวายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ภายหลังคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ซึ่งกำลังยกกองทัพไปตีเขมร[ต้องการอ้างอิง]
หลวงสรวิชิต (ในเวลานั้น) ออกไปรับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกถึงทุ่งแสนแสบ แล้วบอกข้าราชการต่าง ๆ จากนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เข้ามาปราบเหตุจลาจลในพระนคร แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อเหตุการณ์ในพระนครสงบเรียบร้อย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระยาพิพัฒโกษา และในที่สุดเมื่อตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เป็นเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการทางหัวเมืองชายทะเลทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง]
เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้นอกจากมีความสามารถในเชิงบริหารกิจการบ้านเมือง และเป็นนักรบแล้ว ยังมีความสามารถในเชิงอักษรศาสตร์เป็นที่ยกย่องว่าเป็นกวีฝีปากเอก มีสำนวนโวหารไพเราะ ทั้งร้อยกรองหลากหลายชนิด และสำนวนร้อยแก้วที่มีสำนวนโวหารไพเราะไม่แพ้กัน
ผลงานแก้ไข
เท่าที่ทราบ
- แต่งในสมัยธนบุรี
- ลิลิตเพชรมงกุฎ
- อิเหนาคำฉันท์
- แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์
- สามก๊ก งานแปล
- ราชาธิราช งานแปล
- กากีคำกลอน หรือ กากีกลอนสุภาพ
- ร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
- ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
- โคลงสุภาษิต
- กลอนและร่ายจารึกเรื่องสร้างภูเขาทองที่วัดราชคฤห์
- ลิลิตศรีวิชัยชาดก
- สมบัติอมรินทร์คำกลอน