สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร มีพระนามเดิม หม่อมเจ้ามั่ง พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร | |
---|---|
ประสูติ | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2336 |
สิ้นพระชนม์ | 4 กันยายน พ.ศ. 2402 (66 ปี) |
ราชสกุล | เดชาติวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดานิ่ม ในรัชกาลที่ 2 |
พระประวัติ
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ประสูติเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2336 เวลา 5 ทุ่มเศษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 15 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) กับเจ้าจอมมารดานิ่ม[1]
ในรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2356 ทรงได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเดชอดิศร[2]
ในรัชกาลที่ 3 เมื่อเดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. 1194 ตรงกับวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 เลื่อนเป็นกรมขุนเดชอดิศร[3]
ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 13 ค่ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1213 ตรงกับวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2394 เลื่อนเป็น กรมสมเด็จพระเดชาดิศร เทพยนิกรปิยานุรักษ์ บวรศักดิพิเศษ บรมเชษฐวราธิวงศ พงศานุพงศประดิษฐา สุนทรปรีชานุภาพ ศุภกาพยปฏิภาณ สุตไพศาลอรรถธรรมศาสตร ธรรมิกนารถบพิตร[4] เจ้ากรมเป็นพระยา[1]
พระองค์สิ้นพระชนม์ลงในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2402 พระชันษา 67 ปี พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2403[1] ทรงเป็นต้นราชสกุล เดชาติวงษ์[5]
พระกรณียกิจ
แก้พระองค์ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์ (กรมที่เกี่ยวกับการหนังสือ) ตั้งแต่ในรัชกาลที่ 2 จนตลอดพระชนมายุ ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเดชอดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติ ซึ่งปราชญ์อินเดียแต่งไว้แต่โบราณ มาชำระแก้ไขใหม่เพื่อจารึกลงในแผ่นดินไว้ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร นับเป็นงานชิ้นเอกของท่าน นอกจากนี้ยังทรงนิพนธ์โคลงนิราศเสด็จไปทัพเมืองเวียงจันทน์ และคำฉันท์กล่อมพระโอรส ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ได้กำกับกรมนา
พระโอรส-ธิดา
แก้- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมลมณีรัตน นามเดิม หม่อมเจ้าหญิงนฤมล เดชาติวงศ์ (สิ้นพระชนม์ปีใดไม่ปรากฏ แต่ทราบว่าสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษา 54 ปี)
- หม่อมเจ้าพันแสง เดชาติวงศ์
- หม่อมเจ้าสำลี เดชาติวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2368 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2431 พระราชทานเพลิง ณ วัดระฆังโฆสิตาราม)
- หม่อมเจ้าสวัสดิ์ เดชาติวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2370 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2434) มีหม่อมคือ หม่อมเป้า เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ธิดาเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) มีธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์โฉมฉิน เดชาติวงศ์
- หม่อมเจ้าวิไลย เดชาติวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2370 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2431 พระราชทานเพลิง ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส)
- หม่อมเจ้าจิต เดชาติวงศ์
- หม่อมเจ้าวงกต เดชาติวงศ์
- หม่อมเจ้าอัน เดชาติวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2382)
พระนิพนธ์
แก้- ในสมัยรัชกาลที่3
- โคลงโลกนิติ ( ปี 2374-2378 )
- โคลงภาพต่างภาษา ( ปี 2374-2378 )
- โคลงนิราศเสด็จไปทัพเวียงจันทน์ ( ปี 2370 )
- ในสมัยรัชกาลที่4
- ประกาศพระราชพิธีสารท ฉบับร่ายยาวและร่ายดั้น
- ร่ายยาวประกาศพระราชพิธีพืชมงคลแลจรดพระนังคัลใหม่
- ร่ายยาวประกาศพระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
- ฉันท์สังเวยพระมหาเศวตรฉัตร
- (ฉันท์กล่อมมงคลคเชนทรชำนิเผือกพราย
ฉันท์บทนี้รวมพิมพ์ในหนังสือ ชุมนุมฉันท์ดุษฎีสังเวย เล่ม1)
- ฉันท์ดุษฎีสังเวยพระพุทธบุษยรัตน์
- คำฤษฎี
พระอิสริยยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- หม่อมเจ้ามั่ง (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2336 - พ.ศ. 2349)
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้ามั่ง (พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามั่ง (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2356)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเดชอดิศร (พ.ศ. 2356 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเดชอดิศร (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเดชอดิศร (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนเดชอดิศร (2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร (25 สิงหาคม พ.ศ. 2394 - 4 กันยายน พ.ศ. 2402)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร (พระนามหลังการสิ้นพระชนม์)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร (พระนามหลังการสิ้นพระชนม์สถาปนาในรัชกาลที่ 6)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ราชสกุลวงศ์, หน้า 23
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ : ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓ : ๗๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงประชวรสวรรคต
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
- ↑ "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 232. 3 พฤษภาคม 2457. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (พ.ศ. 2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2481). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่-๓". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สนิทวงศ์ ณอยุธยา)] - ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค)] - ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6