สามารถ พยัคฆ์อรุณ

นักมวยชาวไทย

สามารถ พยัคฆ์อรุณ แชมป์โลกมวยสากลอาชีพคนที่ 10 ของไทย และอดีตยอดนักมวยไทยชื่อดัง

สามารถ พยัคฆ์อรุณ
เกิดสามารถ ทิพย์ท่าไม้ (เดิม)
สามารถ ภพธีรธรรม[1]

5 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)

ประวัติ

แก้

สามารถ มีชื่อจริงว่า สามารถ ทิพย์ท่าไม้ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่ตำบลคลองเขต (ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าข้าม) อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของนายสมนึก กับนางเมค ทิพย์ท่าไม้ เริ่มหัดมวยไทยตั้งแต่อายุ 11 ขวบ โดยใช้ชื่อว่า "สามารถ ลูกคลองเขต"

โดยสามารถมีพี่ชายแท้ ๆ ซึ่งเป็นอดีตนักมวยไทยชื่อดังด้วยคือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ ก้องธรณีเคยชกมวยสากลเหมือนสามารถ ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยครั้งที่ 2 ได้ชิงแชมป์กับแชมป์โลกชาวไทยด้วยกันเองคือ เขาทราย แกแล็คซี่

สามารถมีผลงานในวงการบันเทิงออกมาเป็นระยะ ๆ และในวงการมวยมีค่ายมวยเป็นของตัวเอง และบางครั้งเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเป็นเทรนเนอร์มวยไทยด้วย ปัจจุบันสามารถเปิดค่ายมวย "สามารถ พยัคฆ์อรุณ ยิม" อยู่ที่ซอยสายไหม 31 กรุงเทพฯ และเขายังเป็นกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเป็นนายกสมาคมกีฬามวยไทยนายขนมต้มอีกด้วย [2]

สามารถ พยัคฆ์อรุณ มีบุตรธิดากับภรรยาเก่า 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน บุตรคนที่ 2 คือ กวิน ทิพย์ท่าไม้ และลูกสาวคนเล็ก อาศัยอยู่กับมารดาที่สหรัฐอเมริกา ส่วนบุตรคนโตช่วยงานเป็นครูสอนมวยไทยอยู่ที่สามารถพยัคฆ์อรุณยิม และหย่ากับวลัยทิพย์ ภพธีรธรรม (หญิง) แล้ว

สามารถคบหาดูใจกับ “น้องมอส” ธิดารา เป็นลูกสาวของ เรืองชัย ไทยรุ่งเรือง (ร่วมค่ายยุคเดียวกับ เริงชัย ไทยรุ่งเรือง) อดีตนักมวยไทยรุ่นน้องสามารถ

มวยไทย

แก้

สามารถชกมวยไทยครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรีเมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ชนะคะแนนเพชรอรุณ ศิษย์นิมิต[3] จากนั้นตระเวนชกในแถบจังหวัดภาคตะวันออกถึงร้อยกว่าครั้ง จึงได้เดินทางมาชกในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2522 ที่สนามมวยเวทีลุมพินี โดยอยู่ในการดูแลของโปรโมเตอร์ชื่อดัง ทรงชัย รัตนสุบรรณ

สามารถถือเป็นนักมวยชั้นเชิงแพรวพราว สายตาดี ชกได้สนุก ชนะใจคนดู และประสบความสำเร็จอย่างมากในการชกมวยไทย โดยได้แชมป์ของสนามมวยเวทีลุมพินีถึง 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ รุ่นพินเวท (105 ปอนด์) ชนะคะแนนก้องสมุทร ชูวัฒนะเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2523 รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท (108 ปอนด์) ชนะคะแนนพูนลาภ ศักดิ์นิรันดร์ เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (115 ปอนด์) ชนะคะแนน สิงห์ทอง ประสพชัย เมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2524 และรุ่นเฟเธอร์เวท (126 ปอนด์) ชนะคะแนน สมิงหนุ่ม สิทธิบุญธรรม เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2524[3]

มวยสากลอาชีพ

แก้

สามารถ พยัคฆ์อรุณ เริ่มหันมาชกมวยสากลอาชีพโดยได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่าย เช่น ทรงชัย รัตนสุบรรณ ผู้จัดการและโปรโมเตอร์ สหสมภพ ศรีสมวงศ์ และสุชาติ เกิดเมฆ สามารถชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ชนะคะแนน เนตรน้อย ศ.วรสิงห์ จากนั้น ชกชนะน็อคอีก 9 ครั้ง โดยชนะนักมวยฝีมือดีหลายคนเช่น ช่อ ห้าพลัง ทองเบิ้ม ลูกมาตุลี จากนั้นจึงได้ชิงแชมป์โลกครั้งแรกของสภามวยโลก (WBC) ในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (122 ปอนด์) กับมักมวยชาวเม็กซิกัน กัวดาลูเป ปินตอร์ ผลการชก สามารถชนะน็อกแชมป์โลกไปได้ในยกที่ 5 กลายเป็นแชมป์โลกคนที่ 10 ของไทย

หลังจากได้แชมป์โลกแล้ว สามารถไปชกนอกรอบที่ฝรั่งเศส เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ชนะคะแนน ราฟาเอล กันดาริลญา จากนั้นจึงชกป้องกันตำแหน่งอีกครั้ง ป้องกันตำแหน่งกับ ฆวน คิด เมซา นักมวยชาวเม็กซิกัน ซึ่งเป็นอดีตแชมป์โลกรุ่นนี้ ผลปรากฏว่า สามารถก็เอาชนะทีเคโอ​ไปในยกที่ 12 การชกกับฆวน คิด เมซา ได้รับการกล่าวขานถึงเป็นอย่างมาก เพราะสามารถพิงเชือกโยกหลบหมัดของผู้ท้าชิงด้วยสายตาอันว่องไวนับสิบ ๆ หมัด (ประมาณกันว่า 20 หมัด) และชกสวนหมัดตรงเข้าปลายคางไปเพียงหมัดเดียว ก็เอาชนะทีเคโอ​ผู้ท้าชิงไปได้อย่างน่าประทับใจ[4] โดยการชกครั้งนี้เป็นการชกร่วมรายการเดียวกับ สด จิตรลดา ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลก WBC รุ่นฟลายเวท กับกาบริเอล เบร์นัล ด้วย

หลังจากได้แชมป์โลก สามารถกลายเป็นนักมวยเจ้าสำราญ ฟิตซ้อมไม่เต็มที่และเริ่มมีปัญหาน้ำหนักตัว[3] ในที่สุดเมื่อสามารถเดินทางไปป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 2 เป็นการป้องกันตำแหน่งนอกบ้านถึงประเทศออสเตรเลีย กับนักมวยเจ้าถิ่น เจฟฟ์ เฟเนค (ซึ่งต่อมาเป็นนักมวยชื่อดังระดับโลก เป็นแชมป์โลก 3 รุ่น) การชกครั้งนี้สามารถประสบปัญหาน้ำหนักตัวซึ่งต้องลดอย่างมาก จึงถูกเฟเนคเดินหน้าบุกชกจนเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอ​ในยกที่ 4 อย่างหมดรูป กระนั้นยังมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า สามารถล้มมวยเพราะไม่เชื่อว่าฟอร์มการชกก่อนหน้านั้น 2 ครั้ง จะทำให้สามารถแพ้อย่างง่ายดายเช่นนี้ ซึ่งสามารถได้พิสูจน์ความจริงใจของตนเองด้วยพิธีสาบานที่วัดพระแก้วจนเป็นข่าวครึกโครมในช่วงนั้น และไปบวชอยู่ระยะหนึ่ง[5]

หลังเสียแชมป์โลกแล้ว สามารถยังคงชกมวยสากลต่ออีก 2 ครั้งจึงกลับมาชกมวยไทย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยการชนะนักมวยชั้นนำในสมัยนั้นหลายคน เช่น เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง เป็นต้น จนใน พ.ศ. 2531 สามารถ พยัคฆ์อรุณ ได้รับรางวัลนักมวยไทยยอดเยี่ยม จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา โดยชกชนะรวดในปีนั้น ชนะทั้งพนมทวนเล็ก ศ.สิรินันท์ สำราญศักดิ์ เมืองสุรินทร์ นำพล หนองกี่พาหุยุทธ เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง แต่ต่อมาหลังชกแพ้วังจั่นน้อย ส.พลังชัยไปอย่างบอบช้ำ สามารถก็ประกาศเลิกชกมวยไทยไป[3]

สามารถ พยัคฆ์อรุณ กลับมาชกมวยสากลอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 โดยมี ทรงชัย รัตนสุบรรณ เป็นผู้สนับสนุนอีกเช่นเคย สามารถชกอุ่นเครื่องชนะรวด 5 ครั้ง จึงได้ชิงแชมป์โลกของ WBA ในรุ่นเฟเธอร์เวท กับ เอลอย โรฮัส นักมวยชาวเวเนซุเอลา ในปี พ.ศ. 2537 ที่จังหวัดตรัง ผลการชกคือ สามารถแพ้ทีเคโอไปอย่างสิ้นสภาพในยกที่ 8 ปิดฉากชีวิตในแบบนักมวยทันที[6]

สถิติการชก

แก้

วงการบันเทิง

แก้

ด้วยความเป็นคนหนุ่มหน้าตาดี มีบุคลิกที่โดดเด่น ประกอบกับมีนิสัยเจ้าสำราญ ทำให้มีบุคคลชักชวนเข้าสู่วงการบันเทิง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้ในวงการมวยเลยทีเดียว สามารถมีผลงานในวงการบันเทิงครั้งแรกโดยการออกเทปกับบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในชื่อชุด "ร็อกเหน่อ ๆ " มีเพลงดังที่รู้จักกันดีในยุคนั้นคือเพลง "อ่อนซ้อม" โดยเป็นการล้อเลียนการซ้อมมวยของสามารถเอง ซึ่งมักถูกกล่าวว่าเป็นมวยซ้อมน้อย และได้ออกอัลบั้มชุดต่อ ๆ มาอีกหลายชุด ไม่เพียงเท่านั้น สามารถยังได้ถ่ายแบบ แสดงหนัง ละคร หลายต่อหลายเรื่อง สามารถกลายเป็นดาราชื่อดังชั้นแนวหน้าในระยะเวลาไม่นาน และประสบความสำเร็จในวงการบันเทิงโดยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองจากภาพยนตร์เรื่อง "ขยี้" ร่วมกับลิขิต เอกมงคล ในปี พ.ศ. 2534 เป็นครั้งแรกของไทยจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ที่มีนักแสดงนำชายที่ได้รับรางวัลนี้พร้อมกันถึง 2 คน

ซึ่งในระหว่างที่ยังมีชื่อเสียงอยู่นั้น สามารถมีข่าวคราวว่าคบหาอยู่กับ กันตา ดานาว นักแสดงสาวที่แสดงเรื่องขยี้อยู่ด้วยกัน

ในปี พ.ศ. 2558 สามารถกลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้ง โดยเป็นภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติของตัวเอง ในเรื่อง มาดพยัคฆ์ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เล่าเรื่องด้วยตนเอง โดยภาพยนตร์เรื่องนี้จัดสร้างโดย นาวสตูดิโอ ในเครือเนชั่น[7] และมีการนำมาตัดเป็นตอน ๆ จำนวน 5 ตอน ออกอากาศทางช่อง นาว 26 ตั้งแต่วันที่ 15 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[8]

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

แก้
  • นักเลง (2532) รับบท มือปีนนักเลง
  • โหด (2532) รับบท โหด
  • โอวตี่ 2 (2533) รับบท โอวตี่
  • สงครามเพลงแผน 2 (2533) รับบท มาศ
  • พยัคฆ์สาวเห่าไฟ (2533) รับบท ธีรภักดิ์
  • เพชรพระอุมา (2533) รับบท พรานจัน
  • บ้านผีดุ (2533) รับบท เนศ
  • ตี๋ใหญ่ 2 (2533) รับบท ตี๋ใหญ่
  • ตะบันเพลิง (2533) รับบท สิน
  • คู่เดือด (2533) รับบท คุกกรด
  • คนพันธุ์ดุ (2533) รับบท เหยี่ยว
  • ขยี้ (2533) รับบท วีระศักดิ์
  • เชือดหน่อ ๆ (2533) รับบท คนเก็บหุ่นจำลองไว้ได้
  • เพชฌฆาตเหล็ก (2533) รับบท ประสิทธิ์
  • สองผู้ยิ่งใหญ่ (2533)
  • เพื่อนคู่โหด (2534) รับบท โหด
  • มันขึ้นมาจากโลง (2534)
  • มือขวาอาถรรพ์ (2534) รับบท แชมป์
  • ลำหักลำโค่น (2534) รับบท นักมวย
  • กะหัง (2534) รับบท เมฆ
  • พยัคฆ์ภูผา (2534) รับบท ทิพย์
  • ทะลุฟ้ามาเกิด (2534) รับบท สามารถ
  • คัมภีจ้าวนักเลง (2534) รับบท มือปืนรับจ้าง
  • ระห่ำ 100% (2534) รับบท เชษฐ์
  • เจ้าทรงปืน (2534) รับบท มงคล
  • ขุนพลเพลงนักเลงปืน (2534)
  • ทะนง (ระห่ำสะท้านโลก) (2534) รับบท บิลลี่
  • แบ๊งค์เถื่อน (2534) รับบท แบ๊งค์
  • ยุ่งดะมะด๊อง (2535) รับบท หมวดสามารถ
  • ล้างเมืองคนดุ (2535) รับบท มือปืนรับจ้าง
  • ไม่นิ่มไม่เชือด (2535)
  • 90840 จับตาย (2535) รับบท มือปืนรับจ้าง
  • เพชรเหนือเสือ (2535) รับบท เพชร
  • จับกังกรรมกรเบอร์ 1 (2536) รับบท กล้า
  • หนุ่มมอเตอร์ไซค์ หวานใจสาวโรงงาน (2536) รับบท คนขี้มอเตอร์ไซค์
  • นักรบภูผาเดือด (2536)
  • บ้าทะลุโลก (2536)
  • ลำเพลินลำปืน (2536)
  • เพลงรักข้ามคลอง (2536)
  • หาดรักเพลงสวรรค์ (2537)
  • มือปืนพเนจร (2537) รับบท มือปืนรับจ้าง
  • หน่วยรบสติแตก (2538)
  • หัวใจนางหัวเธอ (2543)
  • หัวใจข้า หัวใจนาง หัวใจหลอมเพชร (2543) รับบท ชาติชาย
  • สุริโยไท (2544) รับบท ไอ้ไป๋
  • เสือตุ๋ยต๊ะติ๊งโหน่ง (2545)
  • ดึก ดำ ดึ๋ย (2546) รับบท มาด
  • ฆ่าโบกปูน (2546)
  • คนปีมะ (2546) รับบท นักมวยที่ขึ้นชกมวยกับนก (รับเชิญ)
  • พยัคฆ์ร้าย 3 สลึง (2546) รับบท ลมหวล
  • The Legend of Suriyothai (2546) รับบท ไอ้ไป๋
  • หักศอก มัจจุราช (2546) รับบท เรฟูจี
  • คู่เสี่ยวหมัดสั่ง (2547)
  • บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม (2547) รับบท มาด
  • 7 ประจัญบาน 2 (2548) รับบท เหมาะ เชิงมวย
  • เจมส์บาน 077 (2548) รับบท แมท
  • ฅนไฟบิน (2549) รับบท นายฮ้อยสิงห์
  • หญิงแกร่งเมื่องถลาง (2549)
  • แซ่บ (2549) รับบท พ่อของแซ่บ
  • ไชยา (2550) รับบท ทิว ไชยา
  • เวิ้งปีศาจ (2550) รับบท แนบ
  • มาดพยัคฆ์ (2558) รับบท สามารถ พยัคฆ์อรุณ
  • ๔๐๐ นักรบขุนรองปลัดชู (2561) รับบท นักมวย (รับเชิญ)
  • สงกรานต์ แสบสะท้านโลกันต์ (2562) รับบท สามารถ
  • คืนรัง (2562) รับบท สามารถ
  • หลวงพี่กะอีปอบ (2563) รับบท อาจารย์ทอง (รับเชิญ)
  • มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2563) รับบท เจ้าของค่ายมวย (รับเชิญ)
  • มนต์รักนักพากย์ (2566) รับบท ลุงหมาน

ผลงานละคร

แก้

ผลงานเพลง

แก้

อัลบั้มรวมเพลง

แก้
  • แด๊นซ์มิวสิก (มีนาคม 2533)
  • ฮอตฮิตติดดาว (27 กุมภาพันธ์ 2533)
  • คู่หู คู่เต้น ชุด 1 (27 กันยายน 2534)
  • Grammy Karaoke รวมเพลง ช.ชาย (2534)
  • Grammy Karaoke 6-7 Pop Rock 1-2 (2534)
  • Grammy Karaoke ชุด 1 (ธันวาคม 2534)
  • ตำนาน 9 ปี 1983-1991 (17 ธันวาคม 2534)
  • Grammy Karaoke 12 คู่หู คู่เต้น (2534)
  • คู่หู คู่เต้น ชุด 2 (11 กันยายน 2535)
  • Thailand Mega Hit (2535)
  • มิวสิควีดีโอ คาราโอเกะ Grammy Vol.17 (2535)
  • มิวสิควีดีโอ คาราโอเกะ Grammy Vol.18 (2535)
  • Grammy 10th Anniversary (พฤศจิกายน 2536)
  • Grammy Inter Chinesse Version (14 กรกฏาคม 2537)
  • Non Stop Big Fun ชุด 3 Big Rock (8 ตุลาคม 2539)
  • รวมฮิตเพลงโจ๊ะ (28 มีนาคม 2540)
  • Big Fun Non Stop 4 (พฤศจิกายน 2540)
  • เพลงบรรเลง แกรมมี่ หลี่ฮุย & หลี่หยาง ชุด 1 (18 กุมภาพันธ์ 2541)
  • เพลงบรรเลง แกรมมี่ หลี่ฮุย & หลี่หยาง ชุด 5 (10 กันยายน 2541)
  • เพลงรักสำเนียงไทย (11 กุมภาพันธ์ 2542)
  • 3 ช่า Party Mix โป๊งโป๊งซึ่ง ชุด 3 (1 มีนาคม 2543)
  • ติดดิน ติดมันส์ (26 มิถุนายน 2544)
  • The Medleys of Your Life - Love Flow (พฤศจิกายน 2551)
  • 25 Years Grammy Songs Hit Rhythm (12 ธันวาคม 2551)
  • Always 1988-1992 (9 เมษายน 2552)
  • Hits Story Love & Dance (ตุลาคม 2552)
  • Thai Disco (2553)
  • Now & Then 2 (21 ตุลาคม 2553)
  • โป๊ง โป๊ง ชึ่ง ซูเปอร์มันส์นอนสต๊อปแดนซ์ ชุด 3 (26 พฤศจิกายน 2553)
  • Big Fun (กันยายน 2554)
  • Music Box Baby Box (กรกฎาคม 2555)
  • 30th Anniversary ชุด 1 (26 มกราคม 2556)
  • Made In Thailand (2556)
  • Love Beat (พฤศจิกายน 2556)
  • UNFORGETTABLE BEST OF THE YEAR 1989 (17 ธันวาคม 2556)
  • Tales of Love (มกราคม 2557)
  • 30th Anniversary The Greatest Memory (มีนาคม 2557)
  • Anniversary Forever Dance (เมษายน 2557)
  • Everyday Is Rock (มิถุนายน 2557)
  • Love Beats 2 (24 ธันวาคม 2557)
  • The Legend of Pop (กุมภาพันธ์ 2558)
  • โจ๊ะกำลัง (26 มีนาคม 2558)
  • จิ๊กโก๋อกหัก (27 สิงหาคม 2558)
  • จิ๊กโก๋ โรแมนติก (กันยายน 2558)
  • เพลงนี้ของพี่เค้า (26 พฤษภาคม 2559)
  • เพลงดังหาฟังยาก (7 ธันวาคม 2559)
  • 33rd Anniversary ชุด 1 (7 ธันวาคม 2559)
  • ฮิตวันนั้น ยันวันนี้ (7 ธันวาคม 2559)
  • รวมเพลงฮิตที่คิดถึง (9 ธันวาคม 2559)
  • ตำนานไทยร็อค ชุด 2 (4 มีนาคม 2560)
  • 80's STAR ดาราจับไมค์ (9 มีนาคม 2560)
  • เพลงนี้ ของพี่เค้า 2 (26 กันยายน 2560)
  • 35th Anniversary Hits ชุด 2 (9 กุมภาพันธ์ 2561)
  • แกรมมี่ฮิตตลอดกาล (29 มีนาคม 2561)
  • Music Box Sweet Dream P.3 (31 พฤษภาคม 2561)
  • รวมเพลง ฮิตดังฝังใจ (23 มกราคม 2562)
  • Chinese Classic Instrumental (P.2) (19 มกราคม 2563)
  • 3 ช่า ปาร์ตี้ (14 กรกฎาคม 2563)
  • ฮิต...ติดดิน Vol.2 (16 พฤศจิกายน 2564)
  • เพลงฮิต เกิดทัน PETRO DANCE 90"S (3 มีนาคม 2565)
  • 40 th GMM Grammy Anniversary Hits POP ON TOP 1983-2002 (10 มีนาคม 2566)
  • Mega Dance 90's (27 มีนาคม 2566)

คอนเสิร์ต

แก้
  • คอนเสิร์ต สามารถ โลกดนตรี (14 พฤษภาคม - 18 มิถุนายน 2532 - 12 เมษายน 2535)
  • คอนเสิร์ต สามารถ 7 สี คอนเสิร์ต (2535)
  • คอนเสิร์ต ปาร์ตี้แม่สี (1 มกราคม 2533)
  • คอนเสิร์ต บิลลี่ เข้มล่วงหน้า 1999 (รับเชิญ) (8 ตุลาคม 2533)
  • คอนเสิร์ต Earth Day (21 เมษายน 2534)
  • คอนเสิร์ต Earth Day 2 (25​ เมษายน​ 2535)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 (29-30 มกราคม 2542)
  • คอนเสิร์ต ละครอินคอนเสิร์ต (2543)
  • ทัวร์คอนเสิร์ต 3 หมัด สะบัดไมค์ (11 เมษายน - 24 พฤษภาคม 2546)
  • คอนเสิร์ต Thailand International Sport Expo 2014 (24 ตุลาคม 2557)

ซิงเกิ้ล

แก้

ศิลปินรับเชิญ

แก้
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง ลืมเลือน ในอัลบั้ม HOT DOG HOT DANCE ของ ไมเคิ่น ตั๋ง (2543)

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ

แก้
  • เพลง สามช่าจงเจริญ ร้องโดย คาราบาว (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ สามารถ)
  • เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ สามารถ พยัคฆ์อรุณ)

ผลงานโฆษณา

แก้

หนังสือ

แก้
  • THE GUITAR รวมเทปเพลงดัง ชุด 9

ออนไลน์

แก้
  • 2564 : - สามารถ VS ฉมวกเพชร กลับมาแก้แค้นแทนเพื่อนรัก ทางช่อง YouTube:มอสทะเล Channel

อ้างอิง

แก้
  1. The Global-Thai Backbone. กองบรรณาธิการ. THE COMPANY. ปีที่ 14 ฉบับที่ 166. กันยายน 2554. เลิฟแอนด์ลิฟเพรส. หน้า 104
  2. รายนามคณะกรรมการสมาคมกีฬ่ามวยอาชีพแห่งประเทศไทย,
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ชายพจน์. มวยดังไทยแลนด์ในอดีต: พยัคฆ์หน้าหยก สามารถ พยัคฆ์อรุณ แชมป์โลกคนที่ 10 ของไทย. นิตยสารมวยโลก. ปีที่ 11 เล่มที่ 866 11-17 เมษายน พ.ศ. 2544 หน้า 41-43
  4. "สามารถ พยัคฆ์อรุณ สมฉายา เพชฌฆาตหน้าหยก โยกหลบหมัด 20 หมัด". ยูทิวบ์. 22 July 2014. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  5. นิตยสารคนเด็ดฉบับพิเศษ. 22 แชมป์โลกชาวไทย โดย สำนักพิมพ์ดวงตา (กรุงเทพ, พ.ศ. 2538)
  6. "สามารถ พยัคฆ์อรุณ Vs เอลอย โรฮัส". ยูทูบ. 27 July 2009. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  7. "มาดพยัคฆ์". เอ็มไทยดอตคอม. 24 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-04. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  8. Playlist มาดพยัคฆ์

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้