พระบรมดิลก เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 4 ในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระสุริโยทัย โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 2 รองจากพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระองค์สิ้นพระชนม์ชีพพร้อมพระราชมารดาในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

พระบรมดิลก
พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ประสูติไม่ปรากฏ
สิ้นพระชนม์3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2091
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระบิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระมารดาพระสุริโยทัย

พระประวัติ แก้

พระบรมดิลก เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระสุริโยทัย มีพระเชษฐากับพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐา คือ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช พระสวัสดิราช พระเทพกษัตรีย์ ประสูติเมื่อครั้งพระราชบิดายังมีพระอิสริยยศเป็น พระเทียรราชา เป็นพระมหาอุปราชประทับอยู่ที่วังชัย[1] สมเด็จพระไชยราชาธิราชพระเชษฐาของพระราชบิดาของพระองค์สวรรคต พระยอดฟ้าพระราชโอรสจึงได้สืบราชสมบัติต่อ เนื่องจากพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์อยู่มาก เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่จึงได้ทูลเชิญพระเที่ยรราชาและท้าวศรีสุดาจันทร์ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[2] แต่ท้าวศรีสุดาจันทร์ก็พยายามกดดันให้พระเทียรราชาออกจากตำแหน่ง[3] เพื่อที่ตนจะได้เป็นผู้สำเร็จราชการแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นเพื่อหลบหลีกความกดดันจากท้าวศรีสุดาจันทร์ จึงได้เสด็จออกผนวช ณ วัดราชประดิษฐาน จนถึงสมัยขุนวรวงศาธิราชได้ครองกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายสมเด็จพระศรีสุริโยทัย เมื่อพระราชสวามีออกผนวช พระองค์จึงได้พาพระราเมศวร พระมหินทร์ พระสวัสดิราช พระบรมดิลก และพระเทพกษัตรี เสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักชานเมือง[4] เมื่อพระราชบิดาสึกออกมา และสามารถล้มล้างราชบัลลังก์ของขุนวรวงศาธิราชได้ และเสด็จครองราชย์ พระองค์ก็ได้ดำรงพระอิสริยศเป็นพระราชธิดา ประทับในพระราชวังหลวง

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2091 หลังพระราชบิดาของพระองค์ครองราชย์ได้ 7 เดือน พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้พระมหากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพลงมา หมายจะยึดอยุธยาเป็นประเทศราช พระราชบิดาของพระองค์จึงเตรียมการรับศึก[5]

สิ้นพระชนม์ แก้

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก[6]นอกเหนือจากพระองค์แล้ว พระมเหสี พระสุริโยทัย พร้อมกับพระราชธิดา พระบรมดิลก ซึ่งเสด็จบนหลังช้างทรงเช่นกัน พระองค์และพระราชมารดาได้แต่งกายเป็นทหารอย่างชาย โดยสมเด็จพระสุริโยทัยทรงแต่งกายอย่างพระมหาอุปราช นอกจากนี้ พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ พระราเมศวร พระมหาอุปราชและทายาทผู้มีสิทธิ์โดยตรง และพระมหินทร์ ได้ตามเสด็จพระราชบิดาไปด้วย[7][8]

กองทัพอยุธยาจัดขบวนออกเคลื่อนทัพไปทางเหนือจนถึงบริเวณทุ่งภูเขาทอง[6] ไม่นานก็พบกับทัพหน้าของพม่าโดยมีพระเจ้าแปรเป็นแม่ทัพ ทั้งสองขบวนก็ปะทะกัน พระเจ้าแปรและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทำยุทธหัตถีกัน ซึ่งเป็นแบบธรรมเนียมในเวลานั้น[9] แต่ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียทีและหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้[7][10] พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์[6] นอกจากนี้ พระเจ้าแปรยังทรงทำให้พระบรมดิลกได้รับบาดเจ็บ ทั้งสองพระองค์เสด็จสวรรคตบนช้างทรงเชือกเดียวกัน[11][10][12] มีการเล่าว่า พระเจ้าแปรไม่ทรงทราบว่าพระองค์กำลังรบกับสตรีอยู่จนกระทั่งพระองค์ทรงฟันศัตรูบริเวณไหล่ ในจังหวะที่ร่างกายทรุดลงจนหมวกเหล็กที่สวมไว้หลุดออกนั้น พระองค์จึงทรงเห็นผมยาวของสตรี

พระราเมศวรและพระมหินทร์ทรงขับช้างเข้ากันข้าศึก และขับทัพหน้าของพม่าออกจากทุ่ง จากนั้นทรงนำช้างพร้อมทั้งพระศพสมเด็จพระราชชนนีและพระขนิษฐภคินีกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ใช้เวลาในการรวบรวมกองทัพแล้วจึงถอยกลับเข้าพระนครเช่นกัน[7][10]

ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรได้อัญเชิญพระนาม “บรมดิลก” มาเป็นชื่อสระน้ำแห่งหนึ่งภายในมหาวิทยาลัย[13] [14] เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ระลึกถึงและจดจำพระวีรกรรมของพระองค์ในฐานะขัตติยนารีวีรสตรีของแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

มีนักแสดงผู้รับบท พระบรมดิลก ได้แก่

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์อธิบายประกอบ สำนักงานพิมพ์โอเดียนสโตร์ จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. ๒๕๑๐
  2. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2553. พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 95
  3. คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 492-494
  4. พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สำนักงานพิมพ์คลังวิทยา จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. ๒๕๑๐
  5. ไทยรบพม่า เล่ม ๑ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักงานพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. ๒๕๔๖
  6. 6.0 6.1 6.2 วีรสตรีไทย: สมเด็จพระสุริโยทัย เก็บถาวร 2010-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ ฉบับที่ ๒๑. สืบค้น 28 สิงหาคม 2553
  7. 7.0 7.1 7.2 Wood p. 113
  8. Damrong Rajanubhab p. 18
  9. Thaiwaysmagazine.com - Elephant Duel: The Honorary Combat on Elephant Back เก็บถาวร 2013-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 2010-02-06
  10. 10.0 10.1 10.2 Damrong Rajanubhab p. 19
  11. Wood p. 112
  12. Harvey p. 159
  13. "มหาวิทยาลัยนเรศวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  14. มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อัญเชิญพระนาม “บรมดิลก”

ดูเพิ่ม แก้