สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกษัตรีย์[2] หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกษัตรเจ้า[3] เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระสุริโยทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ต่อมาเข้าเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช[1] พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง

พระเทพกษัตรีย์
บาทบริจาริกาในสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช[1]
พระราชสวามีสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ประสูติ)
ล้านช้าง (เสกสมรส)
พระราชบิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระราชมารดาพระสุริโยทัย

พระประวัติ แก้

สู่ราชสำนักล้านช้าง แก้

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุเนื้อความใกล้เคียงกัน แต่ต่างปี คือในปี พ.ศ. 2093 (ฉบับพันจันทนุมาศ) หรือ พ.ศ. 2107 (ฉบับหลวงประเสริฐ) สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงมีพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ขอพระเทพกษัตรีย์ ผู้สืบเชื้อสายมาแต่พระสุริโยทัยไปเป็นพระมเหสี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ทรงตอบรับไปอย่างดี แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาที่คณะทูตจากล้านช้างเดินทางมารับตัวที่กรุงศรีอยุธยา พระเทพกษัตรีย์ก็ทรงประชวรหนัก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็มิทราบว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะทรงรับปากไว้แล้วจึงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระแก้วฟ้า พระราชธิดาซึ่งเกิดกับพระสนมไปแทนพระเทพกษัตรีย์ แต่เมื่อสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงทราบว่าขัตติยนารีที่ถูกส่งมามิใช่พระเทพกษัตรีย์ ก็ทรงเสียพระทัยจึงส่งพระแก้วฟ้ากลับคืนมา ครั้นเมื่อพระเทพกษัตรีย์ทรงหายจากอาการพระประชวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงส่งพระราชธิดาออกเดินทางไปพร้อมกับเถ้าแก่และทาสชายหญิงอย่างละ 500 คนในปี พ.ศ. 2095 ในเอกสารของไทยระบุว่า ระหว่างเดินทาง ได้ถูกทหารพม่าซึ่งดักซุ่มที่ตำบลมะเริง เมืองเพชรบูรณ์ ออกสกัดและจับตัวพระเทพกษัตรีย์ไป[2][3]

ขณะที่เอกสารของลาวระบุว่าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงรับพระเทพกษัตรีย์ไปหนองหาน มิได้ถูกพม่าชิงตัวไป[4] โดยใน พงศาวดารล้านช้าง ระบุว่าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงรับพระเทพกษัตรีย์และพระแก้วฟ้าไว้ในตำแหน่งบาทบริจาริกา ดังปรากฏความตอนหนึ่งว่า "...[สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช] ได้ยังราชธิดาพระยาเชียงใหม่มาเปนนางอรรคมเหษี จึงได้ลูกสาวท้าวเชียงธงมาเปนบาทบริจา จึงได้ลูกสาวพระยาเขมรัฐ ๓ คน ได้ลูกสาวพระยาเชียงรุ้ง ๒ คน แล้วได้ลูกสาวองจัวกางลานผู้ ๑ แล้วได้ลูกสาวแกวองแสนเมืองอานามผู้ ๑ แล้วได้ลูกสาวเจ้าบัวดึกผู้ ๑ แล้วได้ราชกัญญานีศรีอโยทธยาชาวใต้ ๒ คนมาเปนบริจาริก อยู่เสวยศุขสนุกนักในบ้านเมืองแห่งตนคราวนั้นแล"[1]

สงครามช้างเผือก แก้

มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว ระบุว่า ในช่วงที่พระเมกุฏิสุทธิวงศ์แห่งอาณาจักรล้านนาทรงแข็งเมือง พระเจ้าบุเรงนองโปรดให้อะวะสะโตมางจอ พระชามาดา, พระมหาอุปราช พระราชโอรส และมางแรจอถิง พระราชาภาคินัย แยกทัพออกเป็นสามทางไปตีเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงหนีรอดไปได้ แต่ฝ่ายพม่าได้ควบคุมตัวพระมเหสีสามพระองค์คือ พระนางสี (มเหสีใหญ่), พระนางมนุรา (คาดว่าคือพระเทพกษัตรีย์) พระราชธิดาพระเจ้าอโยธยา, พระนางศิริมา พระราชธิดาพระเจ้าเชียงตุง ตลอดจนบรรดาสนม อำมาตย์ สิ่งของเงินทอง และพลเมืองเป็นอันมาก[5] ส่วน พระราชพงศาวดารพม่า พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ระบุว่า พม่าจับพระมเหสีของกษัตริย์ล้านช้างได้สามพระองค์ คือ พระมหานารี, พระมโนรา (พระราชธิดากรุงสยาม) และฟ้าสิริมา (บุตรีเจ้าฟ้าเชียงตุง) และทรงอธิบายว่าพระมโนรานั้นน่าจะเป็นพระแก้วฟ้ามากกว่าพระเทพกษัตรีย์ เพราะล้านช้างยังมิได้ส่งพระแก้วฟ้าคืนตามที่พงศาวดารไทยกล่าวไว้[6]

พงศาวดารเมืองหลวงพระบางฉบับศาลาลูกขุน ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2112 สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงยกทัพไปช่วยกรุงศรีอยุธยาจากการโจมตีของพม่า แต่ถูกทัพของพระมหาอุปราช สะโตมางจอ พระชามาดาพระเจ้าหงสาวดี และตองอูบุริงมางของเจ้าเมืองตองอูล้อมตีจนแตกทัพ แต่ก็หนีกลับล้านช้างได้ หลังพระเจ้าหงสาวดีทรงยึดกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว จึงยกทัพไปตีเวียงจันทน์ พม่าใช้เวลาเจ็ดเดือนเพื่อตามหาสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแต่ทว่าไม่พบ พระเจ้าหงสาวดีจึงยกทัพกลับ[5]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

พระเทพกษัตรีย์เป็นตัวละครในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ดังนี้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "พงศาวดารล้านช้าง". ประชุมพงศาวดารเล่ม 44. พระนคร : ครุสภา, 2512, หน้า 161-164
  2. 2.0 2.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 102-104
  3. 3.0 3.1 ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 411
  4. "เล่าให้อ่าน โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้". Minimore Makers. 6 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 ลำดับกษัตริย์ลาว, หน้า 100-101
  6. พระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 161
  7. "สุริโยไท ฉบับสู่ตลาดโลก เพิ่มฉากใหญ่เน้นเรื่องของอารมณ์". สยามโซน. 12 เมษายน 2545. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "สุริโยไท". ภาพยนตร์ไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "กษัตริยา". เรื่องย่อละครไทย. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. สยามโซน https://www.siamzone.com/movie/m/4366. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ข้อความ "date 1 สิงหาคม 2557" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ""ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" อภิมหาซีรีส์ยิ่งใหญ่ เปิดศักราชปี 2560". ผู้จัดการออนไลน์. 22 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

บรรณานุกรม แก้

  • นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพระราชพงศาวดารพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550. 1136 หน้า. ISBN 978-974-7088-10-6
  • สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545. 368 หน้า. ISBN 974-418-118-4
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9