นาท ภูวนัย
นายกองเอก อุดมพร คชหิรัญ หรือ นาท ภูวนัย อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นนักแสดงชาวไทยที่เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประจำปีพุทธศักราช 2516-2517 จากเรื่องไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ คู่กับ ภาวนา ชนะจิต และ ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์
เกิด | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2489 อุดมพร คชหิรัญ จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
---|---|
คู่สมรส | นิตยา คชหิรัญ |
บุตร | 4 คน |
อาชีพ | นักแสดง ข้าราชการ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน |
พระสุรัสวดี | นักแสดงนำฝ่ายชาย จากภาพยนตร์เรื่อง "ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ" ประจำปี พ.ศ. 2516 |
ประวัติแก้ไข
นาท ภูวนัย เป็นบุตรของ พันตำรวจเอก(พิเศษ) ศิริ คชหิรัญ ป.ม.,ป.ช.,ท.จ. อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กับ นางพรรณพิมพ์ คชหิรัญ เป็นหลานปู่ ขุนจงใจหาญ (แม้น คชหิรัญ) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนสันติราษฏร์บำรุง และคณะรัฐศาสตร์การปกครอง ที่มหาวิทยาลัยซีบาสเตียน กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ แล้วจึงได้รับราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอและแสดงภาพยนตร์กับละครในเวลาเดียวกันโดยเริ่มจากละครการกุศลทางช่อง 7 เรื่อง ลาก่อนน่านเจ้า และภาพยนตร์เรื่อง แม่ศรีไพร คู่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ จากนั้นจึงมีผลงานทางจอเงินและจอแก้วต่อมาอีกหลายเรื่องโดยรับบทเป็นพระเอก, พระรอง และบทประกบ ต่อมาได้ออกจากวงการบันเทิงและรับราชการจนเกษียณอายุในปีพุทธศักราช 2549 ในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เมื่อ พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ เขต 2 ในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือก
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นิตยา ปานะถึก มีบุตรธิดารวม 4 คน หนึ่งในนั้น คือ จารุศิริ ภูวนัย ซึ่งเป็นนักแสดงเช่นกัน ปัจจุบันยังมีผลงานทางละครเป็นระยะๆ
รับราชการแก้ไข
- รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
- นายอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
- นายอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
- นายอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- นายอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
- นายอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
- นายอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
- ปลัดอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
ผลงานทางภาพยนตร์แก้ไข
พุทธศักราช | เรื่อง | รับบท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2514 | แม่ศรีไพร | ||
2515 | ขวัญใจลูกทุ่ง | ||
หัวใจป่า | |||
หมัดสังหาร | |||
2516 | คู่กรรม | โกโบริ | |
ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ | |||
น้ำเซาะทราย | ภีม ประการพันธ์ | ||
2517 | เพชฌฆาตเหล็ก | ||
2518 | คุณครูที่รัก | ||
มัน | |||
โบตั๋น | |||
มาหยารัศมี | |||
ชายชาติเสือ | |||
แด่คุณครูด้วยคมแฝก | |||
โรงแรมผี | |||
ฝ้ายแกมแพร | |||
นายอำเภอใจเพชร | |||
นักเลงป่าสัก | |||
ไม่มีใครรักฉันจริง | |||
นางเอก | |||
หนี้รัก | |||
2519 | นรกตะรูเตา | ||
เหมือนฝัน | |||
เพลิงทระนง | |||
สันติ วีณา | |||
ชุมแพ | |||
หมัดไทย | |||
8 เหลี่ยม 12 คม | |||
สวรรค์ไม่มีวันรู้ | |||
2520 | เงินคือพระเจ้า | ||
3 นัด | |||
ศาลปืน | |||
กำนันเหี้ยม | |||
ทางเสือผ่าน | |||
ห้าแฉก | |||
ทีใครทีมัน | |||
แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู | |||
เขี้ยวเสือเล็บสิงห์ | |||
2521 | อาณาจักรนักเลง | ||
แผ่นดินสีทอง | |||
จ้าวธรณี | |||
2522 | อยู่อย่างเสือ | ||
2523 | คู่โจร | ||
ด่านเสือเต้น | |||
จระเข้ | |||
มันมือเสือ | |||
2524 | เจ้าพ่อภูเขียว | ||
ดิน น้ำ ลม ไฟ | |||
คุณหญิงพวงแข | |||
มือปืนกระดูกเหล็ก | |||
ดำอำมหิต | |||
สิงห์คะนองปืน | |||
2525 | เพลิงภูหลวง | ||
สี่คิงส์ | |||
นักเลงโตเมืองอีสาน | |||
คนล่าคน | |||
อินทรีบ้านดอน | |||
2526 | ขุนโจร 5 นัด | ||
รอยไม้เรียว | |||
แม่หัวลำโพง | |||
ล่าพยัคฆ์ | |||
เห่าดง | |||
จ้าวภูผา | |||
ทุ่งปืนแตก | |||
ไอ้เก่ง | |||
ลำพูนดำ | |||
นักเลงมหาหิน | |||
ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 9 | |||
นักเลงร้อยคม | |||
สิงห์ด่านเกวียน | |||
คำสั่งเสือ | |||
พยัคฆ์ทมิฬ | |||
กระเบนธง | |||
2527 | พลิกแผ่นดินล่า | ||
ผ่าโลกันต์ | |||
ถล่มด่านปืน | |||
ตีแสกหน้า | |||
พรหมสี่หน้า | |||
ชุมแพ ภาค 2 | |||
รอยไม้เรียว | |||
ดับเจ้าพ่อ | |||
ยอดนักเลง | |||
2528 | นักเลงสิบล้อ | ||
หักด่านเสือ | |||
2529 | เสือภูพาน | ||
มือปราบพญาเหยี่ยว | |||
2544 | สุริโยไท | ||
2555 | ม้ง สงครามวีรบุรุษ |
ผลงานละครแก้ไข
กำกับการแสดงแก้ไข
- แผ่นดินสีทอง ปี 2521
รางวัลแก้ไข
- รางวัลตุ๊กตาทอง (พระสุรัสวดี) ประเภทนักแสดงนำฝ่ายชาย จากภาพยนตร์เรื่อง "ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ" ประจำปี พ.ศ. 2516
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[2]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๔, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓๘๖, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- นาท ภูวนัย พระเอกมาดเท่ห์ สุดสมาร์ท เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นาท ภูวนัย