ศันสนีย์ สมานวรวงศ์
ศันสนีย์ วัฒนานุกูล (สกุลเดิม สมานวรวงศ์; เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488)[1] ชื่อเล่น นิด เป็นนักพากย์ และนักแสดงหญิงชาวไทย ได้รับฉายา "นางเอกเขี้ยวเสน่ห์"[3] เธอได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2533 สาขาพากย์หญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง นางอาย (2533), รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 19 สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ความจำสั้น แต่รักฉันยาว (2552) และรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาผู้พากย์ดีเด่น จากอนิเมะเรื่อง เซเลอร์มูน คริสตัล (2559)[4]
ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ | |
---|---|
เกิด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488[1] ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
คู่สมรส | ชูชาติ วัฒนานุกูล |
อาชีพ | นักพากย์, นักแสดง, พิธีกร |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2516 – ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง (นักพากย์ - นักแสดง) พ.ศ. 256… |
พระสุรัสวดี | พากย์หญิงยอดเยี่ยม – นางอาย (2533) |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม – ความจำสั้น แต่รักฉันยาว (2552) |
โทรทัศน์ทองคำ | ผู้พากย์ดีเด่น – เซเลอร์มูน คริสตัล (2559) |
ศันสนีย์เข้าเป็นนักแสดงตั้งแต่ พ.ศ. 2516 มีผลงานภาพยนตร์และละครจำนวนหนึ่ง เช่น บ้านทรายทอง (2521) รับบทพจมาน สว่างวงศ์, คู่กรรม (2521) รับบทอังศุมาลิน และ ความจำสั้น แต่รักฉันยาว (2552) รับบท สมพิศ หลังจากนั้นเธอผันตัวเข้าสู่การเป็นนักพากย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 มีงานพากย์หลากหลายทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์ อนิเมะและโทกูซัตสึ มีชื่อเสียงจากการพากย์ตัวละครอนิเมะชั้นนำ เช่น โนบิ โนบิตะ จากเรื่อง โดราเอมอน, โนริมากิ อาราเล่ จากเรื่อง ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่, คิโนมิยะ ทาคาโอะ จากเรื่อง เบย์เบลด ศึกลูกข่างสะท้านฟ้า และคิโนโมโตะ ซากุระ จากเรื่อง ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ เป็นต้น
ประวัติ
แก้ศันสนีย์เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488[1] ที่อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรคนที่เก้าจากพี่น้องทั้งหมดสิบคน บิดาเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำ ซึ่งเสียชีวิตตอนศันสนีย์อายุเพียง 5 ขวบ แต่เธอยังมีแม่และพี่คอยเสียสละ และทำหน้าที่เลี้ยงน้องต่อ ๆ กันมา ซึ่งจะทำงานหารายได้เอาเงินมาให้แม่เพื่อส่งเสียน้อง ๆ ให้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ศันสนีย์เป็นเด็กเรียบร้อยและเป็นลูกที่คุณแม่ห่วงและหวงมากคนหนึ่ง ซึ่งเธอก็รู้ในความรักของแม่ที่มีต่อเธอ หลังกลับจากโรงเรียนจึงไม่ไปเที่ยวเตร่ที่ไหน แต่จะกลับมาช่วยคุณแม่ที่บ้าน
ศันสนีย์เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสตรีประเทืองวิทย์ และจบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 8 จากโรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง จากนั้นเข้าเรียนต่อคณะมนุษยศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[5] จบปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ยังเป็นภาควิชาอยู่กับคณะมนุษยศาสตร์
การทำงาน
แก้ศันสนีย์เข้าทำงานที่แผนกส่งเสริมรายการของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด (ช่อง 4 บางขุนพรหม) ราวในปี พ.ศ. 2512 ขณะนั้นมีสอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ เป็นหัวหน้า ศันสนีย์เคยเป็นนักแปลนิตยสารไทยโทรทัศน์ เป็นผู้ประกาศของสถานีต่อมากลางปี พ.ศ. 2515 สอาดซึ่งทำงานด้านโทรทัศน์ตัดสินใจกำกับการแสดงภาพยนตร์ให้กับมัณฑนา โมรากุล เรื่อง "มารรัก" ศันสนีย์ถูกสะอาดชักชวนให้มาแสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในบทน้องสาวของนางเอก ต่อมาศันสนีย์ได้แสดงภาพยนตร์อีก 2 เรื่อง "ตลาดอารมณ์" และ "คู่หู" จากนั้นศันสนีย์ก็หันไปทุ่มเทให้กับงานทางด้านโทรทัศน์
ศันสนีย์เคยร่วมแสดงละครยาวของคณะวิชชุประภาส์ เรื่อง "ชลธีพิศวาส" เริ่มเป็นตัวประกอบละครหลายเรื่องแล้วเริ่มแสดงละครเรื่องแรกเรื่อง "เจ้าสาวคืนเดียว" คู่กับสายัณห์ จันทรวิบูลย์ เคยแสดงในละครโทรทัศน์เรื่อง บ้านทรายทอง ทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เมื่อปี พ.ศ. 2520 รับบทเป็นพจมาน สว่างวงศ์ และเคยแสดงในละครโทรทัศน์เรื่อง คู่กรรม รับบทเป็น อังศุมาลิน ต่อมาเริ่มเป็นพิธีกรรายการ เช่น นางฟ้า, คนเด่นคนดัง, เสาร์สนุก, แม่บ้านสมองไว, เพื่อนเด็ก ทั้งโฆษณา จัดรายการ อ่านข่าว และงานพากย์เสียง เริ่มในปี พ.ศ. 2523 โดยแรกมีนักพากย์เพียง 4 คน ได้แก่ นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์, ฉันทนา ธาราจันทร์, เรวัติ ศิริสรรพ และคันสนีย์ วัฒนานุกูล จากปี พ.ศ. 2525 ที่เริ่มทำงานด้วยการใช้เสียง สำหรับเรื่องแรกเป็นการ์ตูนชื่อ "ไดมอส...ยอดขุนพล" รับพากย์เป็นตัวนางเอก ศันสนีย์รับงานพากย์ภาพยนตร์ทั่วไปและพากย์การ์ตูนให้หลายแห่ง
ศันสนีย์ได้กลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ในภาพยนตร์เรื่อง แก๊งชะนีกับอีแอบ และปี พ.ศ. 2552 รับบทเป็น สมพิศ จากภาพยนตร์เรื่อง ความจำสั้นแต่รักฉันยาว ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม 3 รางวัลจาก 3 สถาบัน จากนั้นศันสนีย์จึงมีงานการแสดงเรื่อย ๆ ต่อมา
ชีวิตส่วนตัว
แก้ศันสนีย์สมรสกับชูชาติ วัฒนานุกูล มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 2 คน เป็นชายและหญิงอย่างละคน
ผลงาน
แก้แอนิเมชั่น
แก้- บาว ยอดสุนัขพเนจร (ไรท์ พิคเจอร์) พากย์เสียง ซายากะ
- มูก้า มูก้า ไดโนเสาร์จอมกวน (ไรท์ พิคเจอร์) พากย์เสียง วีบ้า
- เงือกน้อยผจญภัย (วอล์ต ดิสนีย์ พิคเจอร์) พากย์เสียง แอเรียล
- ดราก้อนบอล Z (ช่อง 9) พากย์เสียง บลูม่า, คุริลินตอนเด็ก
- โดราเอมอน (ช่อง 9, Rose) พากย์เสียง โนบิ โนบิตะ,แม่ชิซูกะ
- ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ (ช่อง 9) พากย์เสียง โนริมากิ อาราเล่
- หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ (ช่อง 9) พากย์เสียง แบ็ต, ยูเรีย, มามิย่า
- วิงแมน นักรบแห่งความฝัน (ช่อง 9) พากย์เสียง ยูเมะ อาโออิ
- เจ้าชายอภินิหาร (ช่อง 9) พากย์เสียง โอเรีย (น้า)
- ปริศนาปลาทอง (ช่อง 9) พากย์เสียง ฟูจิโนะมิยะ จิโทเสะ
- ริน สาวน้อยจอมแก่น (ช่อง 9) พากย์เสียง เซล่า รัสเซล
- หนูน้อยอั๊กโกะจัง (ช่อง 9) พากย์เสียง อั๊กโกะ
- เซนต์เซย์ย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส (ช่อง 9) พากย์เสียง เครน ยุสุฮิระ
- มินต์ สาวน้อยมหัศจรรย์ (ช่อง 9) พากย์เสียง มินต์
- คอบร้า เห่าไฟสายฟ้า (ช่อง 9) พากย์เสียง เลดี้ อาเมอร์รอย
- ยูมิ ราชินีแห่งดอกไม้ (ช่อง 9) พากย์เสียง ยูมิ
- ไดตะลุยแดนเวทมนตร์ (ช่อง 9) พากย์เสียง เจ้าหญิงเลโอน่า
- โยโกะ สาวน้อยเสียงสวรรค์ (ช่อง 9) พากย์เสียง โยโกะ
- โปเกมอน (ช่อง 9) พากย์เสียง คาซึมิ มาซาโตะ ฮิคาริ ชูตี้ และ เบลล์
- ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ (ช่อง 9, อามีโก้) พากย์เสียง คุราปิก้า
- ผ่ามิติ เดวิลชิล (ช่อง 9) พากย์เสียง ไค เซ็ตสึนะ
- แม่มดน้อยโดเรมี (ช่อง 9, อามีโก้) พากย์เสียง ฮารุคาเซะ โดเรมี
- เซเลอร์มูน S (ไรท์ พิคเจอร์) พากย์เสียง สึคิโนะ อุซางิ (เซเลอร์มูน)
- เซเลอร์มูน (ช่อง 9 เฉพาะตอนที่ 1-4) พากย์เสียง โอซากะ นารุ, อาจารย์ฮารุนะ
- เซเลอร์มูน (ช่อง 9 ฉายรีรัน 2555) พากย์เสียง มิซุโนะ อามิ (เซเลอร์เมอร์คิวรี่)
- นินจาบอย รันทาโร่ (ช่อง 9, ไรท์ พิคเจอร์) พากย์เสียง รันทาโร่
- เลิฟฮินะ (อามีโก้) พากย์เสียง นารุเซงาวะ นารุ
- โอ้เทพธิดา (อามีโก้) พากย์เสียง เบลล์ดันดี
- เสน่ห์สาวข้าวปั้น (อามีโก้) พากย์เสียง ฮอนดะ โทรุ
- ราชันย์แห่งภูต (อามีโก้) พากย์เสียง มันตะ, รีเซริก ไดเทล
- ดี.เอ็น.แองเจิ้ล (อามีโก้) พากย์เสียง ฮาราดะ ริสะ
- ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ (เด็กซ์) พากย์เสียง คิโนโมโตะ ซากุระ
- เหนือฟ้าใต้พิภพ ข้าเจ๋งสุด (อามีโก้) พากย์เสียง นัตสึเมะ อายะ
- เบย์เบลด ศึกลูกข่างสะท้านฟ้า (ช่อง 9, อนิมีเดีย) พากย์เสียง คิโนมิยะ ทาคาโอะ
- กัชเบล (อามีโก้) พากย์เสียง มิซึโนะ ซุซุเมะ, ม้าเหล็ก, ทีโอ, โกโก้
- มหัศจรรย์สาวน้อยพริตตี้เคียว, มหัศจรรย์สาวน้อยพริตตี้เคียว แมกซ์ฮาร์ต (Dex, ช่อง 9) พากย์เสียง ยูกิชิโระ โฮโนกะ (เคียวไวท์), โปรุน (พากย์ในภาคแมกซ์ฮาร์ต)
- มหัศจรรย์สาวน้อยพริตตี้เคียว สแปลช☆สตาร์ (ช่อง 9) พากย์เสียง มิโช ไม (เคียวอิเกร็ท), (เคียววินดี้)
- ยูอิ มือปราบสาวไซเบอร์ พากย์เสียง คาสึกะ ยูอิ
- แชมเปี้ยนเจปัง สูตรดังเขย่าโลก (เด็กซ์) พากย์เสียง อาซึสะงาวะ สึกิโนะ
- หน้ากากแก้ว 2005 (อามีโก้) พากย์เสียง คิตาจิมะ มายะ
- มิรุโม่ ภูตจิ๋วจอมป่วน (ช่อง 9) พากย์เสียง มินามิ คาเอเดะ
- อันปังแมน ยอดมนุษย์ขนมปัง (การ์ตูนอินเตอร์) พากย์เสียง พี่เนย, มนุษย์ขนมปังแถว
- ร็อคแมนเอ็กเซ่ (ช่อง 9) พากย์เสียง ซากุระอิ เมล, มิโดริคาวะ เคโระ, ฮิคาริ ฮารุกะ, คุณนายมิลเลี่ยน
- ผีซ่าส์กับฮานาดะ (เด็กซ์) พากย์เสียง ฮานาดะ อิจิโระ
- Hellsing แวมไพร์มหากาฬ (อามีโก้) พากย์เสียง เซรัส วิคตอเรีย
- โตเกียวเหมียวเหมียว (ช่อง 9, อามีโก้) พากย์เสียง โมโมมิยะ อิจิโกะ
- ดิจิมอนแอดเวนเจอร์ พากย์เสียง ทาเคโนะอุจิ โซระ, ทาคาอิชิ ทาเครุ, อากูมอน
- ดิจิมอนแอดเวนเจอร์ 02 พากย์เสียง ทาเคโนะอุจิ โซระ, ทาคาอิชิ ทาเครุ, ยางามิ ฮิคาริ
- คิดดี้เกรด (อามีโก้) พากย์เสียง ลูมิแอร์
- ฟุล เมทัล พานิก! (อามีโก้) พากย์เสียง เทเรซ่า เทสทารอสซ่า
- คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ (Dex) พากย์เสียง เนกิ สปริงฟิลด์, นารุทากิ ฟูมิกะ
- สกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน (อามีโก้) พากย์เสียง ซึคาโมโต้ เทนมะ, ซาร่า อาดีเอมัส
- โลกิ ปริศนาแร็กนาร็อก (อามีโก้) พากย์เสียง ไดโดจิ มายูระ, ฮิงาชิยามะ คาซึมิ (เฮมดอลล์)
- Saikano อาวุธสุดท้ายคือเธอ (อามีโก้) พากย์เสียง จิเสะ
- ดิจิมอนเซฟเวอร์ส (ช่อง 9) พากย์เสียง ฟูจิเอดะ โยชิโนะ, คาเมมอน / กวาปปามอน
- บาคุกัน มอนสเตอร์บอลทะลุมิติ (ช่อง 9) พากย์เสียง มารุคุระ โจจิ (มารุโจ), อลิซ เกฮาบิช, มิซากิ ซากิ, เดซี่ เฮย์วาร์ด, คาซามิ ชิโอริ, ฮาร์ปี้, ซิลทิส, ไชอา (ร่างแยก), ไวเวิร์น, ลาซลีออน
- บาคุกัน แบทเทิลบรอว์เลอรส์ นิวเวสโทรเอีย (ช่อง 9) พากย์เสียง มารุคุระ โจจิ (มารุโจ), อลิซ เกฮาบิช, โอเบร่อน
- เจ้าหนูนักซิ่งสิงห์ภูเขา (ช่อง 9) พากย์เสียง ยามาโตะ โช
- นักเตะแข้งสายฟ้า (ช่อง 9) พากย์เสียง คาเซมารุ อิจิโรตะ, ไซเซน โทโกะ / ซูซึโนะ ฟุสุเกะ / กาเซล
- Yes! พรีเคียว 5 / Yes! พรีเคียว 5 GoGo! (ช่อง 9) พากย์เสียง ยูเมฮาระ โนโซมิ (เคียวดรีม)
- เฟรชพรีเคียว! (ช่อง 9) พากย์เสียง โมโมโซโนะ เลิฟ (เคียวพีช)
- การ์ดไฟท์ แวนการ์ด (ช่อง 9) พากย์เสียง เซ็นโด ไอจิ, ทัตสึนากิ ซุยโกะ
- ดิจิมอนครอสวอร์ส (ช่อง 9) พากย์เสียง ฮิโนะโมโตะ อาคาริ, ไอรุ, ยางามิ ไทจิ
- มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ (Mcot Family) พากย์เสียง ทไวไลท์ สปาร์เคิล
- ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส ไพร์ม (Mcot Family) พากย์เสียง อาร์ซี
- เซเลอร์มูน คริสตัล (ช่อง 9) พากย์เสียง ไอโนะ มินาโกะ (เซเลอร์วีนัส) และคุณแม่ของ สึคิโนะ อุซางิ (เซเลอร์มูน)
- ฮาร์ตแคชพรีเคียว! (ช่อง 9) พากย์เสียง ฮานาซากิ สึโบมิ (เคียวบลอสซัม)
- สวีตพรีเคียว (ช่อง 9) พากย์เสียง มินามิโนะ คานาเดะ (เคียวริธึ่ม)
- สไมล์พรีเคียว! (ช่อง 9) พากย์เสียง โฮชิโซระ มิยูกิ (เคียวแฮปปี้)
- โดกิโดกิ! พรีเคียว (ช่อง 9) พากย์เสียง ไอดะ มานะ (เคียวฮาร์ต)
ภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึ
แก้- เจ็ทแมน (ช่อง 9) พากย์เสียงของ โรคุเมคัง คาโอริ หรือ ไวท์สวอน
- จูเรนเจอร์ (ช่อง 9) พากย์เสียงของ เมย์ หรือ พเทร่าเรนเจอร์
ละครและซีรีส์ต่างประเทศ
แก้- พลังรักสองแผ่นดิน พากย์เสียงของ อ้ายซินเจว๋หลัว ฮิโระ (ทาคาโกะ โทกิวะ)
- สงครามชีวิตลิขิตฟ้า พากย์เสียงของ ซูโด โยโกะ (ทุกวัย)
ภาพยนตร์
แก้- มารรัก (2516) ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก
- ตลาดอารมณ์ (2517) รับบทเป็น ผกายกุล (คู่กับ สมบัติ เมทะนี)
- คู่หู (2517) รับบทเป็น เล็ก
- Goal Club เกมล้มโต๊ะ (2544) แสดงเป็น แม่ของเจ
- แก๊งชะนีกับอีแอบ (2549) แสดงเป็น แม่ของแป้ง
- ความจำสั้น แต่รักฉันยาว (2552) แสดงเป็น ป้าสมพิศ (คู่กับ กฤษณ เศรษฐธำรงค์)
ละครโทรทัศน์และซีรีส์
แก้- ชลธีพิศวาส ช่อง 4 (เป็นตัวประกอบ)
- เจ้าสาวคืนเดียว ช่อง 4 รับบทเป็น บุษบา คู่กับ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ (นางเอกเรื่องแรก)
- วิมานไฟ ช่อง 4 รับบทเป็น รินทอง (ร่วมด้วย สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์, กนกวรรณ ด่านอุดม, นันทวัน เมฆใหญ่)
- บันไดเมฆ ช่อง 4 (คู่กับ สุรินทร์ แสงขำ)
- แสงสูรย์ ช่อง 4 ปี 2517 (คู่กับ ภิญโญ ทองเจือ)
- ริษยา ช่อง 4 รับบทเป็น ชนนี (คู่กับ ภิญโญ ทองเจือ)
- ปูลม ช่อง 9 (คู่กับ ภิญโญ ทองเจือ)
- รักประกาศิต ช่อง 9 ปี 2520 รับบท นริศรา (คู่กับ พิศาล อัครเศรณี) [6]
- เสือน้อย ช่อง 9 รับบท สิรินิรันดร์ (คู่กับ พิศาล อัครเศรณี)
- บ้านทรายทอง ช่อง 9 ปี 2521 รับบทเป็น พจมาน สว่างวงศ์ (คู่กับ สมภพ เบญจาธิกุล)
- คู่กรรม ช่อง 9 ปี 2521 รับทเป็น อังศุมาลิน (คู่กับ นิรุตติ์ ศิริจรรยา)
- ฝ้ายแก้มแพร ช่อง 9 ปี 2521 รับบทเป็น ทิพยางค์ (คู่กับ สมภพ เบญจาธิกุล)
- บาปสลาย ช่อง 9 ปี 2523 (คู่กับ นาท ภูวนัย)
- คฤหาสน์ดำ ช่อง 9 ปี 2524 (คู่กับ นาท ภูวนัย)
- ทานตะวัน ช่อง 3 ปี 2540 รับบทเป็น แม่อร (ในบทแม่พระเอก)
- สายลับเดอะซีรีส์ กับ 24 คดีสุดห้ามใจ โมเดิร์นไนน์ทีวี (คดีที่ 20: รักเธอจัง...อังศุมาลิน) รับบทเป็น ยูโกะ
- สาวน้อย โมเดิร์นไนน์ทีวี ปี 2555 รับบทเป็น แม่นิ่ม
- ครอบครัวดวงดาว ช่องรามาแชนแนล ปี 2556 รับบทเป็น คุณยายดวงจันทร์ (คู่กับ กฤษณ์ เศรษฐธำรงค์)
- สุดสายป่าน ช่อง 5 ปี 2556 รับบทเป็น หม่อมเจ้าหญิงลักษมี สูรยกานต์
- รักออกฤทธิ์ ช่อง 3 ปี 2557 รับบทเป็น วรางค์
- ปริศนา ช่องพีพีทีวี ปี 2558 รับบทเป็น อาจารย์สงวน
- สลักจิต ช่องวัน 31 ปี 2559 รับบทเป็น เสด็จพระองค์เจ้าหญิง
- เงาอโศก ช่องวัน 31 ปี 2559 รับบทเป็น ยายเทียม (รับเชิญ)
- Princess Hours Thailand รักวุ่น ๆ เจ้าหญิงจอมจุ้น ช่องทรูโฟร์ยู ปี 2560 รับบทเป็น สมเด็จพระนางหิรัญญิการ์ / พระพันปีหลวง
- สายลับจับแอ๊บ ช่อง 3 ปี 2560 รับบทเป็น คุณหญิงย่านวลจันทร์ มัจฉาตระกูล
- ครอบครัวดวง ช่อง MVTV Five Channel ธันวาคม 2561 รับบทเป็น ดวงจันทร์
- น้ำผึ้งขม ช่อง 3 ปี 256.. รับบทเป็น นมทิม
อื่น ๆ
แก้- โฆษณาวิทยุ อาหารปลาซากุระ พากย์เป็น โนบิตะ (ร่วมกับ ฉันทนา ธาราจันทร์)
- เกม สิบสองหางออนไลน์ พากย์เป็น ลิง
- พิธีกรรายการ แม่บ้านสมองไว (ช่อง9)
รางวัล
แก้- รางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2523 สาขาโฆษกยอดนิยมฝ่ายหญิง
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2533 สาขาพากย์หญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง นางอาย
- รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 7 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ ความจำสั้น แต่รักฉันยาว[7]
- สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2009 ครั้งที่ 8 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ ความจำสั้น แต่รักฉันยาว
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 19 ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ ความจำสั้น แต่รักฉันยาว
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติ ศันสนีย์ สมานวรวงศ์
- ↑ นิตยสารทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 10, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 125
- ↑ รายการ เช้าข่าวข้น "ตอมแมลงวัน" ออกกาศเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2555.
- ↑ Sailor Moon Thailand Fanclub (19 กุมภาพันธ์ 2560). "ทีมพากย์เซเลอร์มูน คริสตัล - งานโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31". ยูทูบ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประวัติ ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ทางชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่อละครที่ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ระหว่างปี 2519 - 2542
- ↑ ""อ๊อฟ"-"ป็อก"คว้านำชาย-หญิงเยี่ยม"คมชัดลึก อวอร์ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นิตยสารทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 10, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 125
- www.kartoon-discovery.
- ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส