เบย์เบลด
เบย์เบลด (ญี่ปุ่น: ベイブレード; โรมาจิ: Beiburedo; ทับศัพท์: Beyblade) เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของเล่นที่ผลิตโดยบริษัททาคาระ (ปัจจุบันคือ ทาคาระโทมี่) เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1999 มีพื้นฐานมาจากของเล่นพื้นบ้านญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า เบโกมะ
ในชื่อการผลิตสินค้ามีชื่อตามรุ่นต่างๆ โดย รุ่นแรกคือ บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2002, รุ่นที่ 2 คือ เมทัลไฟท์ เบย์เบลด เปิดตัวเมื่อ ปี ค.ศ. 2008, รุ่นที่ 3 คือ เบย์เบลดเบิสต์ เปิดตัวเมื่อ ปี ค.ศ. 2015 และ รุ่นที่ 4 BEYBLADE X เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2023
ทั้งนี้ได้ถูกนำไปทำในสื่อรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่มังงะ และ อนิเมะ
ประวัติ
แก้เบย์เบลดเป็นสินค้าของเล่นที่พัฒนามาจากของเล่นพื้นบ้านญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า เบโกมะ มาประยุกต์ใช้ในแบบรูปแบบที่ทันสมัยทั้งปรับปรุงความสามารถและรูปแบบในการแข่งขัน ซึ่งทาคาระได้นำแนวคิดของ ฟุจิวาระ ชิเกคิ ครีเอทีฟของบริษัทฮัตสันที่ร่วมพัฒนาสินค้าของเล่น บีดาแมน ที่นำของเล่นพื้นบ้านญี่ปุ่นให้กลายเป็นสินค้าของเล่น ซึ่งในขณะนั้นทางคาทาระมีสินค้าตั้งแต่ บีดาแมน, โอฮาจิคิแมน, เมดัลแมน, ซุเกะโกมะ และ ดิจิเค็น ที่ขยายส่วนต่อยอดของสินค้าต่างๆ โดยนำโครงสร้างทั้งวิธีการหมุนและความสามารถในการเล่นมีความคล้ายคลึงกับซุเกะโกมะที่วางจำหน่ายในช่วงครึ่งหลัง
หลังจากบีดาแมนประสบความสำเร็จจากสินค้าของเล่นหมวดหมู่ทาคาระบอยส์ฮ็อบบี้ ทำให้ทาคาระผลิตสินค้าของเล่นประเภทลูกข่างโดยผลิตเป็น 2 ชุดประกอบไปด้วย ซุเกะโกมะ และ แบทเทิลท็อป แต่ว่าสินค้าทั้งสองกลับไม่ได้รับความนิยม ทำให้องค์ประกอบของเล่นดังกล่าวได้ถูกนำไปต่อยอดกลายเป็น เบย์เบลด[1]
ทั้งนี้เบย์เบลดมีจุดแตกต่างกับเบโกมะที่เป็นต้นแบบเพียงจุดเดียวคือ สามารถถอดและใส่เพื่อปรับแต่งจากชิ้นส่วนต่างๆ และมีกฏกติกาการแข่งขันที่ชัดเจน โดยในการแข่งขันนั้นจะใช้สนามบนพื้นแข็ง โดยผู้เล่นใช้เครื่องยิงเบย์เบลดเพื่อทำให้คู่ต่อสู้กระเด็นออกไปหรือหมุนต่อไปให้นานกว่าคู่ต่อสู้
ชิ้นส่วนของเบย์เบลดนั้นทำให้มีสเปคคุณสมบัติและความสามารถที่แตกต่างกันไป ประกอบไปด้วย รูปแบบโจมตี (แอ็คแท็ค), รูปแบบทนทาน (สตามิน่า) และ รูปแบบป้องกัน (ดีเฟนส์) โดยที่ความสามารถหนึ่งเพิ่มขึ้น แต่อีกหนึ่งความสามารถลดลง นอกจากนี้ยังมีรูปแบบสมดุล (บาลานซ์) ซึ่งเป็นรูปแบบระดับกลางไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง
รายชื่อรุ่น
แก้บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด
แก้เบย์เบลดรุ่นแรกที่มีต้นแบบพื้นฐานมาจากสื่อมังงะและอนิเมะทางโทรทัศน์ มีรายละเอียดทั้งระบบและชิ้นส่วนดังต่อไปนี้
- ระบบ
-
- รุ่นแรก (01 - 33)
- วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1999 เป็นรุ่นเริ่มต้นที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนโครงสร้างทั้ง 4 ชั้น ในการประกอบเบื้องต้น ต้องใช้ไขควงเพื่อใช้สกรูติดตั้งด้วย และทิศทางการหมุนเป็นตามเข็มนาฬิกาเท่านั้น
- สปินเกียร์ซิสเท็ม (スピンギアシステム) (34 - 48 / A-1 - A-40)
- ชื่อย่อคือ SG วางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 2000 รุ่นนี้มีการปรับเปลี่ยนส่วนเบย์เบสให้เพิ่มสปินเกียร์ขึ้นมา
- แม็กเน็ตซิสเท็ม (マグネシステム) หรือ นีโอสปินเกียร์ซิสเท็ม (NEOスピンギアシステム) (A-41 - A-88)
- ชื่อย่อคือ MG วางจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 เป็นรุ่นที่มีแม่เหล็กเสริมเข้ามาทั้งตัวเบย์เบลดและสนาม โดยทำให้การหมุนไม่สม่ำเสมอด้วยชิ้นส่วน 2 แบบคือ แม็กเน็ตคอร์ และ เมทัลเวทคอร์
- โดยส่วนเมทัลเวทคอร์เป็นส่วนที่หนักกว่าสปินเกียร์และช่วยเพิ่มเสถียรภาพของเบย์เบลด ส่วนแม็กเน็ตคอร์ทำหน้าที่ใช้ระบบแม็กเน็ตซิสเท็มด้วยการรองรับเสา N ที่ดึงดูดเบย์เบลดฝั่งตรงข้ามพร้อมเพิ่มพลังการป้องกันและทำให้ต้านทานแรงผลัก เสา S ใช้แรงผลักในการโจมตีด้วยการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
- เอนจินเกียร์ซิสเท็ม (エンジンギアシステム) (A-89 - A-129)
- ชื่อย่อคือ EG วางจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2002
- เอนจินเกียร์เทอร์โบซิสเท็ม (エンジンギアターボシステム) (A-112 - A-117)
- ชื่อย่อคือ EGT วางจำหน่ายเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003
- เฮฟวี่เมทัลซิสเท็ม (ヘヴィメタルシステム) (A-123 - A-134 / MA-01- MA-14)
- ชื่อย่อคือ HMS วางจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 รุ่นนี้ได้ปรับเปลี่ยนวัสดุชิ้นส่วนที่มาจากพลาสติกมาเป็นวัสดุที่ทำมาจากโลหะทั้งหมด
- กิมมิคสเปเชียลิตี้ (ギミックスペシャリティ) (MA-15 - MA-24)
- ชื่อย่อคือ GS วางจำหน่ายเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004
- ชิ้นส่วน
-
- บิทชิป (ビットチップ)
- ชิ้นส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ารูปสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หรือสัตว์ในตำนาน ในกฏกติกาบางรูปแบบ มีการตัดสินเกี่ยวกับบิทชิปนั่นก็คือ หากบิทชิปจากเบย์เบลดของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหลุดจากการต่อสู้ ผู้เล่นที่โจมตีบิทชิปถือว่าได้คะแนนไป นอกจากชนะด้วยสปินฟินิช และ โอเวอร์ฟินิช
- บิทชิปคัฟเวอร์ (ビットチップカバー)
- กรอบใสเสริมที่ติดตั้งที่บิทชิปเพื่อป้องกันความเสียหายจากการต่อสู้
- แอ็คแท็คริง (アタックリング)
- ชิ้นส่วนสำหรับรับแรงปะทะจากเบย์เบลดคู่ต่อสู้
- แอ็คแท็คริงแบบคู่ (二重アタックリング)
- เวทดิสก์ (ウエイトディスク)
- ชิ้นส่วนที่เป็นแผ่นถ่วงน้ำหนัก วัสดุทำมาจากเหล็กและมีน้ำหนัก เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนของเบย์เบลดในแง่ของการขับเคลื่อนและสมดุลย์ในการหมุน
- เบลดเบส (ブレードベース)
- ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักของเบย์เบลด เป็นจุดชี้วัดความสมดุลย์ในการหมุนแทบจะทั้งหมดสำหรับเบย์เบลด
- สปินเกียร์ (スピンギア)
- ชิ้นส่วนที่พัฒนามาจากเบลดเบส ช่วยรักษาความสมดุลย์จากฐานและทำงานสอดประสานกับเวทดิสก์หรือในบางครั้งสปินเกียร์เป็นตัวที่สามารถตั้งค่าทิศทางการหมุนได้อีกด้วย
- ซัพพอร์ตพาร์ท (サポートパーツ)
- เอนจินเกียร์คัสตอมเวท (エンジンギアカスタムウエイト)
เมทัลไฟท์ เบย์เบลด
แก้เปิดตัวเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2008 เป็นเบย์เบลดรุ่นที่ 2 โดยเป็นการกลับมาอีกครั้งในรอบเกือบ 3 ปี หลังจากสิ้นสุดการวางจำหน่ายของเบย์เบลดไปเมื่อปี ค.ศ. 2005 จุดเด่นคือวัสดุทุกอย่างเป็นโลหะทั้งหมดเช่นเดียวกับรุ่น HMS แต่ได้มีการปรับปรุงส่วนพลังโจมตี, พลังป้องกัน และความเร็วในการหมุนให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งได้แบ่งประเภทของเบย์เบลดได้ชัดเจน
- ระบบ
-
- รุ่นแรก (BB-01 - BB-27)
- ไฮบริดวีลส์ซิสเท็ม (ハイブリッドウィールシステム)
- 4D ซิสเท็ม (4Dシステム, โฟร์ดีซิสเท็ม)
- ZEROG ซีรีส์ (ZEROGシリーズ, ซีโร่จีซีรีส์)
- ชิ้นส่วน
-
- เฟซ (フェイス)
- วีลส์ (ウィール)
- แทร็ค (トラック)
- บอททอม (ボトム)
เบย์เบลดเบิสต์
แก้เปิดตัวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 เป็นเบย์เบลดรุ่นที่ 3 โดยจุดเพิ่มเติมของรุ่นนี้ คือการเพิ่มส่วนการชนะเบย์เบลดจากฝั่งตรงข้ามจากเดิมที่มี สปินฟินิช (ชนะด้วยการให้เบย์เบลดฝ่ายตรงข้ามหยุดหมุน) และ โอเวอร์ฟินิช (ชนะด้วยการให้เบย์เบลดฝ่ายตรงข้ามกระเด็นออกนอกสนาม) โดยเพิ่ม เบิสต์ฟินิช ที่เป็นการชนะด้วยการกระจายชิ้นส่วนเบย์เบลดจากการต่อสู้ นอกจากนี้ยังมีแอปเสริม "เบย์คลาวด์" ซึ่งเป็นแอพที่ใช้บันทึกข้อมูลของเบย์ล็อกเกอร์ที่เชื่อมโยงกับสมาร์ทโฟน รวมถึงก็อดเลเยอร์และไอเท็มต่างๆ ได้ติดตั้งชิป NFC ที่พัฒนาโดยบริษัทการผลิตมุราตะ เพื่ออ่านและเขียนผลลัพธ์ เช่น ผลการชนะและแพ้ผ่านแอปเบย์คลาวด์ หมายเลขซีเรียลของซีรี่ส์นี้คือ "B-000"
- ระบบ
-
- ซิงเกิลเลเยอร์ซิสเต็ม (シングルレイヤーシステム)
- ดูอัลเลเยอร์ซิสเต็ม (デュアルレイヤーシステム)
- ก็อดเลเยอร์ซิสเต็ม (ゴッドレイヤーシステム)
- โช Z เลเยอร์ซิสเต็ม (超Zレイヤーシステム)
- กาจิงโกะเลเยอร์ซิสเต็ม (ガチンコレイヤーシステム)
- ซูเปอร์คิงเลเยอร์ซิสเต็ม (スパーキングレイヤーシステム)
- ไดนาไมท์แบทเทิลเลเยอร์ซิสเต็ม (ダイナマイトバトルレイヤーシステム)
- เบิสต์อัลติเมทเลเยอร์ซิสเต็ม (バーストアルティメットレイヤーシステム)
- ชิ้นส่วน
-
- เลเยอร์ (レイヤー)
-
- โอเวอร์เลเยอร์ (オーバーレイヤー)
- เลเยอร์คอร์ (レイヤーコア)
- ก็อดชิป (ゴッドチップ)
- เลเวลชิป (レベルチップ)
- กาจิงโกะชิป (ガチンコチップ)
- เลเยอร์เวท (レイヤーウエイト)
- เลเยอร์เบส (レイヤーベース)
- ซูเปอร์คิงชิป (スパーキングチップ)
- ชิปคอร์ (チップコア)
- ริง (リング)
- แชสซี (シャーシ)
- คอร์ (コア)
- เบลด (ブレード)
- BU เบลด (BUブレード)
- อาร์เมอร์ (アーマー)
- ดิสก์ (ディスク)
-
- คอร์ดิสก์ (コアディスク)
- เฟลม (フレーム)
- DB ดิสก์ (DBディスク)
- ไดรเวอร์ (ドライバー)
- เกียร์เสริม (進化ギア)
BEYBLADE X
แก้เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 เป็นเบย์เบลดรุ่นที่ 4 ซึ่งรุ่นนี้ได้เปิดตัวทันทีหลังจากซีรีส์เบย์เบลดเบิสต์สิ้นสุดลง โดยเป็นการนำองค์ประกอบเด่นของเบย์เบลดทั้ง 3 รุ่นก่อนหน้ามาผสมผสานกันตั้งแต่ ตัวละครและที่มาของเบย์เบลดตั้งแต่รุ่นแรก, เมทัลเบลด จากรุ่นที่ 2 และ เบิสต์กิมมิค จากรุ่นที่ 3 อีกทั้งสเตเดี้ยมเบย์เบลดได้มีจุดเพิ่มเติมเติมคือ เอ็กซ์ตรีมไลน์ รางที่อยู่แถวรอบสนามที่สามารถทำให้เบย์เบลดเร่งความเร็วได้ทำให้เกิดระบบ เอ็กซ์ตรีมแดช และมีการเพิ่มเงื่อนไขผลชนะจากเดิมที่มี สปินฟินิช, โอเวอร์ฟินิช, เบิสต์ฟินิช เพิ่มมาเป็น เอ็กซ์ตรีมฟินิช โดยเป็นการออกนอกสนามตำแหน่งตรงกลาง
- ระบบ
-
- เบสิคไลน์ซิสเต็ม (ベーシックラインシステム)
- วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 รหัสสินค้าคือ BX-00 เป็นระบบแรกของเบย์เบลด X ตัวเบลดมีส่วนผสมมาจากเหล็กและพลาสติก
- ยูนีคไลน์ซิสเต็ม (ユニークラインシステム)
- วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 รหัสสินค้าคือ UX-00 เป็นระบบที่ 2 จุดเด่นคือตัวเบลดมีการปรับรายละเอียดส่วนที่เกาะลันเชอร์ปรับเปลี่ยนเป็นพลาสติกเรซินแทนเหล็กและมีรูปร่างที่แตกต่างกันไป ส่วนเหล็กกระจายไปอยู่ด้านนอกของเบลด รวมถึงมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านประสิทธิภาพของเบย์เบลดที่ใช้ตามลักษณะของเบลด
- ชิ้นส่วน
-
- เบลด (ブレード)
- ชิ้นส่วนบนของเบย์เบลด เป็นตัวหลักในการบอกประเภทของเบย์เบลด
- เกียร์ชิป (ギヤチップ)
- ส่วนกลางของเบลด เป็นส่วนสัญลักษณ์ไอคอน โดยมีอ้างอิงมาจากบิทชิปของบาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด และ เฟสของเมทัลไฟท์ เบย์เบลด จุดเด่นคือมีรูปประกอบพร้อมกับโลโก้ BEYBLADE X กำกับไว้ ทั้งนี้ส่วนเบลดได้ทำแบบฝังและไม่สามารถถอดออกได้ เมื่อประกอบเบย์เบลดอย่างถูกต้อง มันจะหมุนไปพร้อมกับบิท และมีบทบาทในการป้องกันไม่ให้บิทเสียหายระหว่างเอ็กซ์ตรีมแดช ทั้งนี้เบย์ BX ตัวชิปจะมีพลาสติกครอบเอาไว้และหมุนได้อิสระจากบิทที่ประกอบ ส่วนเบย์ UX ได้ตัดส่วนกลไกพวกนี้ออก
- แร็ทเช็ท (ラチェット)
- ชิ้นส่วนกลางของเบย์เบลด จุดเด่นคือ จำนวนแง่งใบมีดรอบตัวที่กำหนดไว้รวมถึงขนาดความสูง และการเปลี่ยนรูปแบบโจมตี, ป้องกัน, จุดศูนย์ถ่วง ฯลฯ นอกจากนี้ตัวแง่งใบมีด รองเพื่อการโจมตีและการป้องกัน และเมื่อมีการโจมตีที่รุนแรงจะทำให้เกิดการเบิสต์ขึ้นมา
- บิท (ビット)
- ชิ้นส่วนล่างของเบย์เบลด เป็นตัวชี้วัดทิศทางการหมุนของเบย์เบลดในแต่ละประเภท จุดเด่นคือมีเฟืองที่อยู่รอบๆ เพื่อรองรับกับเอ็กซ์ตรีมไลน์เพื่อทำการเอ็กซ์ตรีมแดช ทั้งนี้มีความทนทานและการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนบิท ยิ่งส่วนก้านตรงกลางหนาก็ยิ่งมีโอกาสเบิสต์ยาก
สินค้านอกรุ่น
แก้- บาคุเท็นเฮ็นเคย์ (爆転変形) หรือ ฮิดเดนสปิริตส์ (Hidden Spirits)
- มาจากสินค้าจากรุ่น บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2000 เป็นเบย์เบลดที่สามารถแปลงร่างเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สามารถนำไปเล่นร่วมกับเบย์เบลดแบบปกติได้ ในสินค้าชุดนี้มีมังงะที่มีเนื้อหาแฟนตาซี ซึ่งสอดคล้องกับสินค้าบีดาแมนในซีรีส์บาคุไกเด็น ทั้งนี้มีชิ้นส่วนเบย์เบสแบบรุ่นแรกและสปินเกียร์เข้ามารวมอยู่ด้วยและได้ถูกนำไปทำในรูปแบบสื่อมังงะในชื่อ บาคุเท็นริว HAYATE
- ไจรอส (ジャイロス)
- มาจากสินค้าจากรุ่น บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 มีชื่อเต็มว่า แบริ่งไจรอส เป็นเบย์เบลดที่ไม่สามารถใช้ในการแข่งขันได้ รูปร่างแตกต่างกันคือริงแอ็คแท็คถูกเปลี่ยนมาเป็นแบริงทรงกลม โดยวิธีการหมุนจะเป็นการหมุนจากตัวเบย์ด้วยการดึงสายแล้วไปที่เสาแท่งวาง ซึ่งแตกต่างต่างจากเบย์เบลดที่ต้องหมุนในพื้นสเตเดี้ยมและปล่อยใช้งานด้วยลันเชอร์ กฏในการเล่นคล้ายกับซึเกะโคมะ
- ซูเปอร์เบย์เบลด (スーパーベイブレード)
- มาจากสินค้าจากรุ่น บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2001 เป็นเบย์เบลดที่มีลูกเล่นแสงและเสียงจากการหมุนและชน ซึ่งเมื่อหมุนและชนกันจะสร้างเสียงเหมือนกับเอฟเฟกต์เสียงจากอนิเมะ ทั้งนี้สินค้าชุดนี้ไม่สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนได้แบบเบย์เบลดทั่วไป และสามารถปล่อยตัวเบย์ออกมาง่ายจากสายดึง อีกทั้งไม่สามารถใช้ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ รหัสสินค้าคือ B-00
- ไฟติ้งท็อป (ファイティングトップ)
- มาจากสินค้าจากรุ่น บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 เป็นเบย์เบลดที่มีลักษณะคล้ายโยโย่ โดยการหมุนนั้นไม่ใช้ชู๊ตเตอร์ในการหมุนแต่ถูกหมุนด้วยเชือกแทน ซึ่งเชือกที่มาแถมพร้อมกับดิสก์ที่มีรูปร่างเหมือนเหรียญห้าเยนซึ่งติดอยู่กับเชือกที่คล้ายกับเบโกมะ ซึ่งสินค้าชุดนี้ไมมีรูปตัวละครเช่นเดียวกับไจรอส รหัสสินค้าคือ FT-00
- RC เบย์เบลด (RCベイブレード)
- มาจากสินค้าจากรุ่น บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002 เป็นเบย์เบลดในรูปแบบบังคับวิทยุ สามารถเปลี่ยนทิศทางและความแรงของการหมุนได้โดยใช้รีโมทคอนโทรลตามคำสั่ง มีคลื่นความถี่ 27MHz และ 45MHz แม้ว่าจะไม่สามารถใช้ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แต่ก็สามารถลงแข่งที่ใช้เฉพาะ RC เบย์เบลด เหมือนกันเท่านั้น ชิ้นส่วนแอ็คแท็คริงและบิทชิปสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่แอ็คแท็คริงบางส่วนที่ลึกไม่สามารถเข้ากับเบย์เบลดตัวอื่นได้ รหัสสินค้าคือ RA-00
- ครอสอาร์มส (クロスアームズ)
- อยู่ในรุ่นของบาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 เป็นเบย์เบลดที่สามารถแปลงร่างเป็นหุ่นยนต์ได้ รหัสสินค้าคือ 00
- เบย์วีลส์ (ベイウィールズ, BeyWheelz)
- มาจากสินค้าจากรุ่น เมทัลไฟท์ เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2012 เป็นการนำเบย์เบลดมาเปลี่ยนรูปร่างจากลูกข่างเบโกมะที่วางแนวนอนมาเป็นล้อรถที่วางบนแนวตั้ง วัสดุของเล่นปรับเปลี่ยนไปใช้เป็นพลาสติกและตัวล้อรอบตัวทำมาจากยาง สินค้าชิ้นนี้ผลิตเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยังถูกสร้างเป็นอนิเมะโทรทัศน์โดยมีทีมงานของคนญี่ปุ่นมาร่วมผลิตอีกด้วย
- เบย์วอร์ริเออร์ส (ベイウォーリアーズ, BeyWarriors Shogun Steel)
- มาจากสินค้าจากรุ่น เมทัลไฟท์ เบย์เบลด วางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2013 เป็นการนำสัตว์มายาที่ปรากกฏในเรื่อง เมทัลไฟท์ เบย์เบลด ZEROG มาปรับเปลี่ยนเป็นการต่อสู้ด้วยฟิกเกอร์ที่ติดไว้อยู่ด้านบนของเบย์เบลด สินค้าชิ้นนี้ผลิตเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
- เบย์วอร์ริเออร์ส เบย์ไรเดอร์ส (ベイウォーリアーズ ベイレイダーズ, BeyWarriors Beyraiderz)
- เบย์วอร์ริเออร์สเวอร์ชันที่ 2 โดยจุดแตกต่างคือเมื่อดึงสาย ตัวมอเตอร์ภายในตัวเบย์จะมีการเคลื่อนไหวจากฟิกเกอร์
- เบย์วอร์ริเออร์ส ไซบอร์ก (ベイウォーリアーズ サイボーグ, BeyWarriors Cyborg)
- เบย์วอร์ริเออร์สเวอร์ชันที่ 3 รุ่นต่อจากเบย์ไรเดอร์ส วางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2014 เฉพาะในอเมริกา
- เบย์เบลดไมครอส (ベイブレード ミクロス, Beyblade Micros)
- มาจากสินค้าจากรุ่น เบย์เบลดเบิสต์ วางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2017 เป็นเบย์เบลดที่มีขนาดเล็กกว่าเบย์เบลดขนาดปกติ วางจำหน่ายเฉพาะในอเมริกา
รายชื่อเบย์เบลด
แก้บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2548)
แก้รหัสสินค้า | ชื่อ | ชื่อสำหรับต่างประเทศ | ชุด | วางจำหน่าย |
---|---|---|---|---|
01 | อัลติเมทดรากูน (アルティメットドラグーン) (สตาร์ทเตอร์) |
Spin Dragoon | แบบแรก | กรกฏาคม พ.ศ. 2542 |
02 | ไซโซ (サイゾー) (สตาร์ทเตอร์) |
Ultimate Saizo | แบบแรก | กรกฏาคม พ.ศ. 2542 |
03 | ฟรอสติกแดรนเซอร์ (フロスティックドランザー) (สตาร์ทเตอร์) |
Ultimate Frostic Dranzer | แบบแรก | กรกฏาคม พ.ศ. 2542 |
04 | เกคิริวโอ (ゲキリュウオウ) (ฟรอสติกแดรนเซอร์รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Gekiryu-Oh | แบบแรก | กรกฏาคม พ.ศ. 2542 |
05 | เมกาโลอาร์ม (メガロアーム) (อัลติเมทดรากูนรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Megaro Arm | แบบแรก | กรกฏาคม พ.ศ. 2542 |
06 | สปาร์คไนท์ (スパークナイト) (ไซโซรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Spark Knight | แบบแรก | กรกฏาคม พ.ศ. 2542 |
07 | พอลต้า (ポルタ) (ไซโซรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Polta | แบบแรก | สิงหาคม พ.ศ. 2542 |
08 | บิสทูล (ビストール) (ฟรอสติกแดรนเซอร์รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Bistool | แบบแรก | สิงหาคม พ.ศ. 2542 |
09 | มาเคนโด (マケンドー) (อัลติเมทดรากูนรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Makendo | แบบแรก | กันยายน พ.ศ. 2542 |
15 | บาคุชินโอ (バクシンオウ) (บูสเตอร์) |
Bakushin-Oh | แบบแรก | พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 |
16 | พัมพ์คิง (パンプキング) (บูสเตอร์) |
Bump King | แบบแรก | พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 |
17 | ดรากูน กริปแอ็คแท็คเกอร์ (ドラグーン グリップアタッカー) (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon Grip Attacker | แบบแรก | ธันวาคม พ.ศ. 2542 |
18 | เมทัลดรากูน แบริ่งสติงเกอร์ (メタルドラグーン ベアリングスティンガー) (บูสเตอร์) |
Bearing Stinger | แบบแรก | ธันวาคม พ.ศ. 2542 |
22 | บาวด์แอ็คแท็คเกอร์ (バウンドアタッカー) (สตาร์ทเตอร์) |
Bound Attacker | แบบแรก | มกราคม พ.ศ. 2543 |
23 | บาวด์ดีเฟนเซอร์ (バウンドディフェンサー) (บูสเตอร์) |
Bound Defenser | แบบแรก | มกราคม พ.ศ. 2543 |
25 | โรลเลอร์แอ็คแท็คเกอร์ (ローラーアタッカー) (สตาร์ทเตอร์) |
Roller Attacker | แบบแรก | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 |
26 | โรลเลอร์ดีเฟนเซอร์ (ローラーディフェンサー) (บูสเตอร์) |
Roller Defenser | แบบแรก | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 |
27 | แดรนเซอร์ ออโต้เชนจ์บาลานเซอร์ (ドランザー オートチェンジバランサー) (สตาร์ทเตอร์) |
Dranzer Auto Change Balancer | แบบแรก | มีนาคม พ.ศ. 2543 |
30 | วิงค์แอ็คแท็คเกอร์ (ウィングアタッカー) (สตาร์ทเตอร์) |
Wing Attacker | แบบแรก | เมษายน พ.ศ. 2543 |
31 | วิงค์ดีเฟนเซอร์ (ウイングディフェンサー) (บูสเตอร์) |
Wing Defenser | แบบแรก | เมษายน พ.ศ. 2543 |
32 | ดราเชล เมทัลบอลดีเฟนเซอร์ (ドラシエル メタルボールディフェンサー) (สตาร์ทเตอร์) |
Draciel Metal Ball Defenser | แบบแรก | พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |
33 | สปาร์คลิ่งแอ็คแท็คเกอร์ (スパークリングアタッカー) (สตาร์ทเตอร์) |
Sparkling Attacker | แบบแรก | มิถุนายน พ.ศ. 2543 |
34 | ดรากูน S (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon S | สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2543 |
35 | ไดรเกอร์ S (ドライガー (สตาร์ทเตอร์) |
Driger S | สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2543 |
36 | เดธไดรเกอร์ (デスドライガー) (บูสเตอร์) |
Shadow Driger | สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2543 |
39 | ไนท์แดรนเซอร์ (ナイトドランザー) (บูสเตอร์) |
Knight Dranzer | สปินเกียร์ | สิงหาคม พ.ศ. 2543 |
40 | เมทัลดราเชล (メタルドラシエル) (สตาร์ทเตอร์) |
Metal Draciel | สปินเกียร์ | กันยายน พ.ศ. 2543 |
44 | บาคุเท็นริว HAYATE (爆転龍HAYATE, บาคุเท็นริวฮายาเตะ) (บูสเตอร์) |
Hayate | บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | ตุลาคม พ.ศ. 2543 |
45 | บาคุเท็นริว ZINRAI (爆転龍ZINRAI, บาคุเท็นริวจินไร) (HAYATE รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Zinrai | บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | ตุลาคม พ.ศ. 2543 |
46 | บาคุเท็นริว RAIDEN (爆転龍RAIDEN, บาคุเท็นริวไรเด็น) (HAYATE รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | ตุลาคม พ.ศ. 2543 | |
47 | คิดส์ดรากูน (キッズドラグーン) (สตาร์ทเตอร์) |
Kid Dragoon | สปินเกียร์ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 |
48 | คิดดราเชล (キッズドラシエル) (บูสเตอร์) |
Kid Draciel | สปินเกียร์ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 |
A-1 | ดรากูน S อนิเมะเวอร์ชัน (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon S | สปินเกียร์ | ธันวาคม พ.ศ. 2543 |
A-2 | แดรนเซอร์ S (ドランザー (สตาร์ทเตอร์) |
Dranzer S | สปินเกียร์ | ธันวาคม พ.ศ. 2543 |
A-3 | กัลออน (ガルオン) (สตาร์ทเตอร์) |
Galeon Attacker | สปินเกียร์ | ธันวาคม พ.ศ. 2543 |
A-6 | เมจิคัลสแตนเดอร์ (マジカルスタンダー) (บูสเตอร์) |
ไจรอส | ธันวาคม พ.ศ. 2543 | |
A-7 | เมจิคัลบาลานเซอร์ (マジカルバランサー) (เมจิคัลแสนเดอร์รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
ไจรอส | ธันวาคม พ.ศ. 2543 | |
A-8 | เมจิคัลเลเยอร์ (マジカルレイヤー) (เมจิคัลแสนเดอร์รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
ไจรอส | ธันวาคม พ.ศ. 2543 | |
A-9 | กัลซ์ลี่ (ガルズリー) (บูสเตอร์) |
Galzzly | สปินเกียร์ | มกราคม พ.ศ. 2544 |
A-10 | กัลแมน (ガルマーン) (บูสเตอร์) |
Galman | สปินเกียร์ | มกราคม พ.ศ. 2544 |
A-11 | วูลบอร์ก (ウルボーグ) (บูสเตอร์) |
Wolborg | สปินเกียร์ | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 |
A-12 | ซีบอร์ก (シーボーグ) (บูสเตอร์) |
Seaborg | สปินเกียร์ | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 |
A-13 | บาคุเท็นริว ชิน HAYATE (爆転龍 真HAYATE, บาคุเท็นริว ชินฮายาเตะ) (HAYATE รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
A-14 | ดราเชล S (ドラシエル (สตาร์ทเตอร์) |
Draciel S | สปินเกียร์ | มีนาคม พ.ศ. 2544 |
A-17 | ไทรเกิล (トライグル) (สตาร์ทเตอร์) |
Trygle | สปินเกียร์ | เมษายน พ.ศ. 2544 |
A-18 | ไทรปิโอ (トライピオ) (บูสเตอร์) |
Trypio | สปินเกียร์ | เมษายน พ.ศ. 2544 |
A-24 | ไดรเกอร์ F (ドライガー (สตาร์ทเตอร์) |
Driger F | สปินเกียร์ | พฤษภาคม พ.ศ. 2544 |
A-25 | ดรากูน F (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon F | สปินเกียร์ | มิถุนายน พ.ศ. 2544 |
A-27 | แดรนเซอร์ F (ドランザー (สตาร์ทเตอร์) |
Dranzer F | สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2544 |
A-28 | กริโฟเลียน (グリフォリオン) (บูสเตอร์) |
Griffolyon | บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2544 |
A-31 | มาสเตอร์ดรากูน (マスタードラグーン) (คิดส์ดรากูนรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Master Dragoon | สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2544 |
A-32 | มาสเตอร์แดรนเซอร์ (マスタードランザー) (เมทัลดราเชลรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Master Dranzer | สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2544 |
A-33 | มาสเตอร์ดราเชล (マスタードラシエル) (คิดส์ดราเชลรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Master Draciel | สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2544 |
A-34 | ซามาเลียน (サラマリオン) (บูสเตอร์) |
Salamalyon | บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | สิงหาคม พ.ศ. 2544 |
A-35 | ดราเชล F (ドラシエル (สตาร์ทเตอร์) |
Draciel F | สปินเกียร์ | กันยายน พ.ศ. 2544 |
SP | ไกอาดรากูน (ガイアドラグーン) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
สปินเกียร์ | ตุลาคม พ.ศ. 2544 | |
A-36 | ไวบอร์ก (ワイボーグ) (สตาร์ทเตอร์) |
Wyborg | สปินเกียร์ | ตุลาคม พ.ศ. 2544 |
A-37 | มาสเตอร์ไดรเกอร์ (マスタードライガー) (ไนท์แดรนเซอร์รุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
Master Driger | สปินเกียร์ | ตุลาคม พ.ศ. 2544 |
A-38 | แบล็คแดรนเซอร์ (ブラックドランザー) (แดรนเซอร์ F รุ่นต่างสี) (เบย์สเตเดียมเซ็ต) |
Black Dranzer | สปินเกียร์ | ตุลาคม พ.ศ. 2544 |
A-39 | วูลบอร์ก 2 (ウルボーグ2) (บูสเตอร์) |
Wolborg 2 | สปินเกียร์ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 |
A-40 | ซีบอร์ก 2 (シーボーグ2) (บูสเตอร์) |
Seaborg 2 | สปินเกียร์ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 |
A-41 | ดรากูน V (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon V | แม็กเน็ต | ธันวาคม พ.ศ. 2544 |
A-42 | เมทัลแดรนเซอร์ (メタルドランザー) (บูสเตอร์) |
Metal Dranzer | แม็กเน็ต | ธันวาคม พ.ศ. 2544 |
SP | การ์เดียนไดรเกอร์ (ガーディアンドライガー) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
Guardian Driger | แม็กเน็ต | ธันวาคม พ.ศ. 2544 |
A-47 | แฟลชเลียวพาร์ด (フラッシュレオパルド) (บูสเตอร์) |
Flash Leopard | แม็กเน็ต | มกราคม พ.ศ. 2545 |
SP | วูลบอร์ก 03 (เอเรียล) (ウルボーグ03(アリエル)) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
Wolborg 3 | แม็กเน็ต | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 |
A-53 | ไดรเกอร์ V (ドライガー (สตาร์ทเตอร์) |
Driger V | แม็กเน็ต | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 |
A-54 | แฟลชเลียวพาร์ด 2 (フラッシュレオパルド2) (สตาร์ทเตอร์) |
Flash Leopard 2 | แม็กเน็ต | มีนาคม พ.ศ. 2545 |
A-56 | แดรนเซอร์ V (ドランザー (สตาร์ทเตอร์) |
Dranzer V | แม็กเน็ต | เมษายน พ.ศ. 2545 |
A-64 | ไซเบอร์ดรากูน (サイバードラグーン) (บูสเตอร์) |
Cyber Dragoon | แม็กเน็ต | พฤษภาคม พ.ศ. 2545 |
SP | กาบริล (ガブリエル) (แรนดอมบูสเตอร์ 7) |
White Gabriel G | แม็กเน็ต (นอกประเทศญี่ปุ่นเป็นเอนจินเกียร์) |
มิถุนายน พ.ศ. 2545 |
SP | สไปค์ลิซาร์ด (スパイクリザード) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
แม็กเน็ต | มิถุนายน พ.ศ. 2545 | |
A-67 | ดราเชล V (ドラシエル (สตาร์ทเตอร์) |
Draciel V | แม็กเน็ต | มิถุนายน พ.ศ. 2545 |
A-69 | ดรากูน V (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon V2 | แม็กเน็ต | กรกฏาคม พ.ศ. 2545 |
SP | ไซเบอร์ดรากูน แบทเทิล SPEC (サイバードラグーン バトルSPEC) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
แม็กเน็ต | กรกฏาคม พ.ศ. 2545 | |
A-75 | ไดรเกอร์ V2 (ドライガー (บูสเตอร์) |
Driger V2 | แม็กเน็ต | สิงหาคม พ.ศ. 2545 |
SP | ดาร์คดรากูน (ダークドラグーン) (รุ่นผลิตจำกัดภาพยนตร์) |
แม็กเน็ต | สิงหาคม พ.ศ. 2545 | |
SP | แอเรียล 2 (アリエル2) ดาร์คแดรนเซอร์ (ダークドランザー) (ดาร์คดรากูนรุ่นต่างสี) ดาร์คไดรเกอร์ (ダークドライガー) (ดาร์คดรากูนรุ่นต่างสี) ดาร์คดราเชล (ダークドラシエル) (ดาร์คดรากูนรุ่นต่างสี) (แรนด้อมบูสเตอร์ 8) |
Capricorn Strike G (4 สัตว์ศักดิ์สิทธ์แห่งความมืดไม่ได้ถูกวางจำหน่าย) |
แม็กเน็ต (นอกประเทศญี่ปุ่นเป็นเอนจินเกียร์) |
กันยายน พ.ศ. 2545 |
A-77 | วอลเท็กซ์เอป (ボルティックエイプ) (บูสเตอร์) |
Vortex Ape | แม็กเน็ต | กันยายน พ.ศ. 2545 |
A-78 | ไกอาดรากูน V (ガイアドラグーン (บูสเตอร์) |
Strata Dragoon V | แม็กเน็ต | กันยายน พ.ศ. 2545 |
SP | บาคุเท็นเฮ็นเคย์ ไกอาดรากูน (爆転変形ガイアドラグーン) (ซามาเลียนรุ่นต่างสี) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
A-81 | แดรนเซอร์ V2 (ドランザー (บูสเตอร์) |
Dranzer V2 | แม็กเน็ต | ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
A-82 | เบิร์นนิงเคลเบรอส (バーニングケルベロス) (บูสเตอร์) |
Howling Spirit | แม็กเน็ต | ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
A-85 | ดราเชล V2 (ドラシエル (บูสเตอร์) |
Draciel V2 | แม็กเน็ต | พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 |
SP | ดาร์คไกอาดรากูน (ダークガイアドラグーン) (ดาร์คดรากูนรุ่นต่างสี) (แถมจากสินค้าสื่อวิดีโอ) |
แม็กเน็ต | ธันวาคม พ.ศ. 2545 | |
SP | บริซซาร์ดออร์โธรอส (ブリザードオルトロス) (ลัคกี้บ็อกซ์บูสเตอร์ 2003) |
Orthros G | แม็กเน็ต (นอกประเทศญี่ปุ่นเป็นเอนจินเกียร์) |
ธันวาคม พ.ศ. 2545 |
A-89 | ดรากูน G (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon G | เอนจินเกียร์ | ธันวาคม พ.ศ. 2545 |
A-94 | ไดรเกอร์ G (ドライガー (บูสเตอร์) |
Driger G | เอนจินเกียร์ | มกราคม พ.ศ. 2546 |
A-95 | เมทัลไดรเกอร์ (メタルドライガー) (บูสเตอร์) |
Metal Driger | เอนจินเกียร์ | มกราคม พ.ศ. 2546 |
SP | ไนท์ไดรเกอร์ (ナイトドライガー) (เมทัลไดรเกอร์รุ่นต่างสี) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
เอนจินเกียร์ | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | |
SP | ไทรเกเตอร์ (トライゲータ) กัลออน 2 (ガルオン2) ไทรเกิ้ล 2 (トライグル2) (แรนดอมบูสเตอร์ 9) |
Trygle 2G (ไทรเกเตอร์และกัลออน 2 ไม่ได้วางจำหน่าย) |
เอนจินเกียร์ | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 |
A-98 | ร็อคไบซัน (ロックバイソン) (บูสเตอร์) |
Rock Bison | เอนจินเกียร์ | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 |
A-99 | แดรนเซอร์ G (ドランザー (สตาร์ทเตอร์) |
Dranzer G | เอนจินเกียร์ | มีนาคม พ.ศ. 2546 |
A-100 | วูลบอร์ก 4 (ウルボーグ4) (บูสเตอร์) |
Wolborg 4 | เอนจินเกียร์ | มีนาคม พ.ศ. 2546 |
SP | เดเซิร์ทสฟิงค์เซอร์ (デザートスフィンクサー) (รุ่นผลิตจำกัดโคโระโคโระคอมมิค) |
เอนจินเกียร์ | เมษายน พ.ศ. 2546 | |
SP | คิลเลอร์อีเกิ้ล (キラーイーグル) รัชชิ่งโบอา (ラッシングボア) เดธการ์กอยล์ (デスガーゴイル) (แรนดอมบูสเตอร์ 10) |
Rapid Eagle Rushing Boar Dark Effigy G |
เอนจินเกียร์ | เมษายน พ.ศ. 2546 |
A-104 | ดราเชล G (ドラシエル (บูสเตอร์) |
Draciel G | เอนจินเกียร์ | เมษายน พ.ศ. 2546 |
A-108 | ไกอาดรากูน G (ガイアドラグーン (บูสเตอร์) |
Strata Dragoon G | เอนจินเกียร์ | พฤษภาคม พ.ศ. 2546 |
A-109 | เฟลมเพกาซัส (フレイムペガサス) (หมุนทั้งสองทาง) (บูสเตอร์) |
Torch Pegasus | เอนจินเกียร์ | พฤษภาคม พ.ศ. 2546 |
A-110 | BBA แอ็คเท็คเกอร์ (BBAアタッカー) (กัลซ์ลี่รุ่นต่างสี) (สตาร์ทเตอร์) |
สปินเกียร์ | พฤษภาคม พ.ศ. 2546 | |
A-111 | BBA บาลานเซอร์ (BBAバランサー) (กัลออนรุ่นต่างสี) (สตาร์ทเตอร์) |
สปินเกียร์ | พฤษภาคม พ.ศ. 2546 | |
A-112 | ดรากูน GT (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon GT | เอนจินเกียร์ | มิถุนายน พ.ศ. 2546 |
A-114 | BBA ดีเฟนเซอร์ (BBAディフェンサー) (ซีบอร์กรุ่นต่างสี) (สตาร์ทเตอร์) |
สปินเกียร์ | มิถุนายน พ.ศ. 2546 | |
A-115 | บาคุเท็นริว จิโอะ (バクテンリュウ ジオ) (บูสเตอร์) |
บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | มิถุนายน พ.ศ. 2546 | |
A-116 | บาคุเท็นริว อเวรอน (バクテンリュウ アベイロン) (จิโอะรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | มิถุนายน พ.ศ. 2546 | |
A-117 | แดรนเซอร์ GT (ドランザー (สตาร์ทเตอร์) |
Dranzer GT | เอนจินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2546 |
SP | แคร็ปไดเวอร์ (クラブダイバー) ออกาไดเวอร์ (オルカダイバー) แมนทาไดเวอร์ (マンタダイバー) (แรนดอมบูสเตอร์ 11) |
Orca Diver Manta Diver (แคร็ปไดเวอร์ไม่ได้วางจำหน่าย) |
เอนจินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2546 |
A-122 | BBA เซอไวเวอร์ (BBAサバイバー) (กัลแมนรุ่นต่างสี) (สตาร์ทเตอร์) |
สปินเกียร์ | กรกฏาคม พ.ศ. 2546 | |
A-123 | ไกอาดรากูน MS (ガイアドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Strata Dragoon MS | เฮฟวี่เมทัล | สิงหาคม พ.ศ. 2546 |
A-124 | ไดรเกอร์ MS (ドライガー (สตาร์ทเตอร์) |
Driger MS | เฮฟวี่เมทัล | สิงหาคม พ.ศ. 2546 |
A-125 | ดราเชล MS (ドラシエル (สตาร์ทเตอร์) |
Draciel MS | เฮฟวี่เมทัล | สิงหาคม พ.ศ. 2546 |
A-126 | ดรากูน MS (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
Dragoon MS | เฮฟวี่เมทัล | กันยายน พ.ศ. 2546 |
A-127 | กิกาส (ギガース) (บูสเตอร์) |
Gigars | เอนจินเกียร์ | กันยายน พ.ศ. 2546 |
A-128 | บาคุเท็นริว เอทันเซล (バクテンリュウ エタンゼル) (กริโฟเลียนรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | กันยายน พ.ศ. 2546 | |
A-129 | ซูส (ゼウス) (บูสเตอร์) |
Zeus | เอนจินเกียร์ | ตุลาคม พ.ศ. 2546 |
A-130 | ไวเวิร์น DJ (ワイバーンDJ, ไวเวิร์นดีเจ) (ดับเบิ้ลชู๊ตเตอร์เซ็ต) |
Wyvern DJ | เฮฟวี่เมทัล | ตุลาคม พ.ศ. 2546 |
SP | อโพลอน (アポロン) วีนัส (ヴィーナス) โพเซดอน (ポセイドン) ธันเดอร์เปกาซัส (サンダーペガサス) (หมุนทั้งสองทาง) (เฟลมเปกาซัสรุ่นต่างสี) (แรนดอมบูสเตอร์ 12) |
Appolon G Venusian G Ocean Wrath G (ธันเดอร์เปกาซัสไม่ได้วางจำหน่าย) |
เอนจินเกียร์ | ตุลาคม พ.ศ. 2546 |
A-131 | แดรนเซอร์ MS (ドランザー (สตาร์ทเตอร์) |
Dranzer MS | เฮฟวี่เมทัล | พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 |
A-135 | บาคุเท็นริว โดนิโทริส (バクテンリュウ ドニトリス) (ซามาเลียนรุ่นต่างสี) (บูสเตอร์) |
บาคุเท็นเฮ็นเคย์ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | |
MA-01 | ดรากูน MS อัลติเมทเวอร์ชัน (ドラグーン (สตาร์ทเตอร์) |
เฮฟวี่เมทัล | ธันวาคม พ.ศ. 2546 | |
SP | ไอน์สไตน์ MS (アインシュタイン (ลัคกี้บ็อกซ์บูสเตอร์ 2004) |
Hopper Attack | เฮฟวี่เมทัล | ธันวาคม พ.ศ. 2546 |
MA-04 | เดธการ์กอยล์ MS (デスガーゴイル (บูสเตอร์) |
Dark Effigy | เฮฟวี่เมทัล | มกราคม พ.ศ. 2547 |
SP | ธันเดอร์ดราก้อน (サンダードラゴン) (HMS แรนดอมบูสเตอร์ 1) |
Thunder Serpent | เฮฟวี่เมทัล | มกราคม พ.ศ. 2547 |
MA-08 | วูลบอร์ก MS (ウルボーグ (บูสเตอร์) |
Wolborg MS | เฮฟวี่เมทัล | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 |
MA-09 | แอดวานซ์อเวเรเซอร์ (アドバンスアヴェレイザー) (สตาร์ทเตอร์) |
Advance Averager | เฮฟวี่เมทัล | มีนาคม พ.ศ. 2547 |
SP | ซีดราก้อน (シードラゴン) (HMS แรนดอมบูสเตอร์ 2) |
Sea Drake | เฮฟวี่เมทัล | มีนาคม พ.ศ. 2547 |
MA-11 | แอดวานซ์การ์เดียน (アドバンスガーディアン) (สตาร์ทเตอร์) |
Advance Guardain | เฮฟวี่เมทัล | เมษายน พ.ศ. 2547 |
MA-12 | แอดวานซ์สไตรเกอร์ (アドバンスストライカー) (สตาร์ทเตอร์) |
เฮฟวี่เมทัล | พฤษภาคม พ.ศ. 2547 | |
MA-14 | แอดวานซ์เอเทอร์เนอร์ (アドバンスエターナー) (สตาร์ทเตอร์) |
เฮฟวี่เมทัล | มิถุนายน พ.ศ. 2547 | |
MA-15 | แฟนธอมฟ็อกซ์ MS (ファントムフォックス (บูสเตอร์) |
Phantom Fox MS | กิมมิคสเปเชียลิตี้ | มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
MA-16 | ดาร์คลีโอพาร์ด MS (ダークレオパルド (บูสเตอร์) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | กรกฏาคม พ.ศ. 2547 | |
SP | ดรากูน MF (ドラグーン (HMS แรนดอมบูสเตอร์ 3) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | กรกฏาคม พ.ศ. 2547 | |
MA-18 | เมจิคัลเอป MS (マジカルエイプ (บูสเตอร์) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | สืงหาคม พ.ศ. 2547 | |
MA-19 | ราวด์เชล MS (ラウンドシェル (บูสเตอร์) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | กันยายน พ.ศ. 2547 | |
MA-20 | ซามูไรเชนเจอร์ MS (サムライチェンジャー (บูสเตอร์) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | ตุลาคม พ.ศ. 2547 | |
SP | แดรนเซอร์ MF (ドランザー (HMS แรนดอมบูสเตอร์ 4) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | ตุลาคม พ.ศ. 2547 | |
MA-21 | แอโร่ไนท์ MS (エアロナイト (สตาร์ทเตอร์) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 | |
MA-22 | จิไรยะ MS (ジライヤ (บูสเตอร์) |
Bearing Survivor | กิมมิคสเปเชียลิตี้ | ธันวาคม พ.ศ. 2547 |
SP | สแลชไลเกอร์ MS (スラッシュライガー (ลัคกี้บ็อกซ์บูสเตอร์ 2005) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | ธันวาคม พ.ศ. 2547 | |
MA-23 | บลัดดี้เดวิล MS (ブラッディデビル (สตาร์ทเตอร์) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | มกราคม พ.ศ. 2548 | |
MA-24 | ไชนิ่งก็อด MS (シャイニングゴッド (สตาร์ทเตอร์) |
กิมมิคสเปเชียลิตี้ | มกราคม พ.ศ. 2548 |
เบย์เบลด X (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
แก้รหัสสินค้า | ชื่อ | ชื่อนอกประเทศญี่ปุ่น | ชุด | วางจำหน่าย |
---|---|---|---|---|
BX-01 | ดรานซอร์ด 3-60F (ドランソード3-60F) (สตาร์ทเตอร์) |
Sword Dran 3-60F | เบสิคไลน์ | 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 |
BX-02 | เฮลส์ไซส์ 4-60T (ヘルズサイズ4-60T) (สตาร์ทเตอร์) |
Scythe Incendio 4-60T | เบสิคไลน์ | 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 |
BX-03 | วิซาร์ดแอโร่ 4-80B (ウィザードアロー4-80B) (สตาร์ทเตอร์) |
Arrow Wizard 4-80B | เบสิคไลน์ | 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 |
BX-04 | ไนท์ชิลด์ 3-80N (ナイトシールド3-80N) (สตาร์ทเตอร์) |
Helm Knight 3-80N | เบสิคไลน์ | 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 |
BX-08 | เฮลส์ไซส์ (ヘルズサイズ3-80B) วิซาร์ดแอโร่ 4-60N (ウィザードアロー4-60N) ไนท์ชิลด์ 4-80T (ナイトシールド4-80T) (3on3 เด็คเซ็ต) |
Arrow Wizard 4-60N | เบสิคไลน์ | 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 |
BX-00 | แดรนเซอร์ สไปรัล 3-80T (ドランザースパイラル3-80T) (บูสเตอร์) |
Dranzer Spiral 3-80T | X-OVER PROJECT | 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 |
BX-13 | ไนท์แลนซ์ 4-80HN (ナイトランス4-80HN) (บูสเตอร์) |
เบสิคไลน์ | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
BX-14 | ชาร์คเอดจ์ 3-60LF (シャークエッジ3-60LF) (แรนด้อมบูสเตอร์ Vol.1) |
Keel Shark 3-60LF | เบสิคไลน์ | 9 กันยายน พ.ศ. 2566 |
BX-00 | โคบอลต์เดรค 4-60F (コバルトドレイク4-60F) (สินค้า B4) |
เบสิคไลน์ | 15 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
BX-15 | เลออนคลอว์ 5-60P (レオンクロー5-60P) (สตาร์ทเตอร์) |
Claw Leon 5-60P | เบสิคไลน์ | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
BX-16 | ไวเปอร์เทล 5-80O (ヴァイパーテイル5-80O) (แรนด้อมบูสเตอร์ ไวเปอร์เทลซีเล็คท์) |
Tail Viper 5-80O | เบสิคไลน์ | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
BX-19 | ไรโนฮอร์น 3-80S (ライノホーン3-80S) (บูสเตอร์) |
Horn Rhino 3-80S | เบสิคไลน์ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
BX-20 | ดรานแด็กเกอร์ 4-60R (ドランダガー4-60R) ชาร์คเอดจ์ 3-80F (シャークエッジ3-80F) ไนท์ชิลด์ 5-80T (ナイトシールド5-80T) (ดรานแด็กเกอร์เด็คเซ็ต) |
Dagger Dran 4-60R Keel Shark 3-80F |
เบสิคไลน์ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
BX-21 | เฮลส์เชน 5-60HT (ヘルズチェイン5-60HT) ไนท์แลนซ์ 3-60LF (ナイトランス3-60LF) วิซาร์ดแอโร่ 4-80N (ウィザードアロー4-80N) (เฮลส์เชนเด็คเซ็ต) |
Chain Incendio 4-80N | เบสิคไลน์ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
BX-23 | ฟินิกซ์วิงก์ 9-60GF (フェニックスウイング9-60GF) (สตาร์ทเตอร์) |
Soar Phoenix 9-60GF | เบสิคไลน์ | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566 |
BX-24 | ไวเวิร์นเกล 5-80GB (ワイバーンゲイル5-80GB) (แรนด้อมบูสเตอร์ Vol.2) |
Gale Wyvern 5-80GB | เบสิคไลน์ | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566 |
BX-26 | ยูนิคอร์นสติง 5-60GP (ユニコーンスティング5-60GP) (บูสเตอร์) |
Sting Unicorn 5-60GP | เบสิคไลน์ | 27 มกราคม พ.ศ. 2567 |
BX-27 | สฟิงคซ์คาวน์ 9-80GN (スフィンクスカウル9-80GN) (แรนด้อมบูสเตอร์ สฟิงคซ์คาวน์ซีเล็คท์) |
เบสิคไลน์ | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | |
UX-01 | ดรานบัสเตอร์ 1-60A (ドランバスター1-60A) (สตาร์ทเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-02 | เฮลส์แฮมเมอร์ 3-70H (ヘルズハンマー3-70H) (สตาร์ทเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-03 | วิซาร์ดร็อด 5-70DB (ウィザードロッド5-70DB) (บูสเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 | |
BX-00 | ไดรเกอร์ 4-80P (ドライガースラッシュ4-80P) (บูสเตอร์) |
X-OVER PROJECT | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | |
BX-31 | ไทแรนโนบีท 4-70Q (ティラノビート4-70Q) (แรนด้อมบูสเตอร์ Vol.3) |
เบสิคไลน์ | 4 เมษายน พ.ศ. 2567 | |
UX-05 | ชิโนบิชาโดว์ 1-80MN (シノビシャドウ1-80MN) (แรนด้อมบูสเตอร์ ชิโนบิชาโดว์ซีเล็คท์) |
ยูนีคไลน์ | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 | |
BX-33 | ไวซ์ไทเกอร์ 3-60U (ヴァイスタイガー3-60U) (บูสเตอร์) |
เบสิคไลน์ | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2567 | |
BX-34 | โคบอลต์ดรากูน 2-60C (コバルトドラグーン 2-60C (หมุนซ้าย) (สตาร์ทเตอร์) |
เบสิคไลน์ | 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2567 | |
BX-35 | แบล็คเชลล์ 4-60D (ブラックシェル 4-60D (แรนด้อมบูสเตอร์ Vol.4) |
เบสิคไลน์ | 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-00 | แอโร่เพกาซัส 3-70 A (エアロペガサス3-70A) (สินค้า B4) |
ยูนีคไลน์ | 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2567 | |
BX-00 | ดรานแด็กเกอร์ 2-80GF (ドランダガー 2-80GP) (สินค้า B4) |
เบสิคไลน์ | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-06 | เลออนเครสต์ 7-60GN (レオンクレスト 7-60GN) (บูสเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-07 | ฟินิกซ์ลัดเดอร์ 9-70G (フェニックスラダー 9-70G) ไวเวิร์นเกล 2-60S (ワイバーンゲイル 2-60S) สฟิงคซ์คาวน์ 1-80GF (スフィンクスカウル 1-80GF) (ฟินิกซ์ลัดเดอร์เด็คเซ็ต) |
ยูนีคไลน์ เบสิคไลน์ |
10 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |
BX-36 | เวลล์เวฟ 5-80E (ホエールウェーブ5-80E) (แรนด้อมบูสเตอร์ เวลล์เวฟซีเล็คท์) |
เบสิคไลน์ | 14 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
BX-00 | ไลท์นิ่งแอลดราโก 1-60F (ライトニングエルドラゴ1-60F) (แรนด้อมบูสเตอร์) |
X-OVER PROJECT | 14 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
BX-37 | แบร์สแครทช์ 5-60F (ベアスクラッチ5-60F) (ดับเบิลเอ็กซ์ตรีมสเตเดียมเซ็ต) |
เบสิคไลน์ | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-08 | ซิลเวอร์วูลฟ์ 3-80FB (シルバーウルフ3-80FB) (สตาร์ทเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-09 | ซามูไรเซเบอร์ 2-70L (サムライセイバー2-70L) (สตาร์ทเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | |
UX-10 | ไนท์เมล 3-85BS (ナイトメイル3-85BS) พเทอร่าสวิง 7-70B (プテラスイング7-70B) ไทแรนโนบีท 1-60RA (ティラノビート1-60RA) (คัสตอมไมซ์เซ็ต U) |
ยูนีคไลน์ เบสิคไลน์ |
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | |
BX-38 | คริมสันการูด้า 4-70TP (クリムゾンガルーダ4-70TP) (บูสเตอร์) |
เบสิคไลน์ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | |
BX-00 | ชิโนบิไนฟ์ 4-60 LF (シノビナイフ4-60LF) (ของแถมจากวิดีโอเกม) |
เบสิคไลน์ | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | |
UX-11 | อิมแพกต์เดรค 9-60LR (インパクトドレイク9-60LR) (สตาร์ทเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | |
UX-12 | โกสต์เซอร์เคิล 0-80GB (ゴーストサークル0-80GB) (แรนด้อมบูสเตอร์) |
ยูนีคไลน์ | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | |
BX-00 | ดราเชลชิลด์ 7-60D (ドラシエルシールド7-60D) (บูสเตอร์) |
X-OVER PROJECT | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | |
BX-00 | ดรากูนสตอร์ม 4-60RA (ドラグーンストーム 4-60RA) สตอร์มเปกาซิส 3-70RA (ストームペガシス 3-70RA) วิคตอรี่วัลคีรี 2-60RA (ビクトリーヴァルキリー 2-60RA) (ครบรอบ 25 ปีเบย์เบลดเซ็ต) |
X-OVER PROJECT | 21 มีนาคม พ.ศ. 2568 |
สื่อรูปแบบอื่น
แก้มังงะ
แก้- บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด (爆転シュート ベイブレード)
- เร็ทส์ เบย์เบลด (レッツ ベイブレード)
- บาคุเท็นชู๊ตไกเด็น เบย์เบลดไดจิ (爆転シュート外伝 ベイブレード大地)
- บาคุเท็นฮีโร่ เบลดเดอร์ DJ (爆転HERO ブレーダーDJ)
- เซย์โทชิ BLADERS เบย์เบลดแบทเทิลสตอรี่ (聖闘士BLADERS -ベイブレードバトルストーリー-)
- เบย์เบลดไทเซ็น เซย์ริวเด็น (ベイブレード大戦 聖龍伝)
- บาคุเท็นริว HAYATE (爆転龍HAYATE)
- เมทัลไฟท์ เบย์เบลด (メタルファイト ベイブレード)
อนิเมะทางโทรทัศน์
แก้- บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด (爆転シュート ベイブレード) (ผลิตโดยสตูดิโอแมดเฮาส์)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2001 ถึงวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2001
- ในประเทศไทยชื่อเรื่องคือ เบย์เบลด ศึกลูกข่างสะท้านฟ้า
- บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด 2002 (爆転シュート ベイブレード 2002) (ผลิตโดยสตูดิโอนิปปอนอนิมีเดีย)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2002 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2002
- ในประเทศไทยชื่อเรื่องคือ เบย์เบลด ศึกลูกข่างสะท้านฟ้า ภาค 2
- บาคุเท็นชู๊ต เบย์เบลด G เรโวลูชัน (爆転シュート ベイブレード Gレボリューション) (ผลิตโดยสตูดิโอนิปปอนอนิมีเดีย)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2003 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2003
- ในประเทศไทยชื่อเรื่องคือ เบย์เบลด ภาค 3 ศึกอวสานลูกข่างสายฟ้า
- เมทัลไฟท์ เบย์เบลด (メタルファイト ベイブレード) (ผลิตโดยสตูดิโอ ทัตสึโนโกะโปรดักชัน)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2009 ถึงวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2010
- เมทัลไฟท์ เบย์เบลด บาคุ (メタルファイト ベイブレード 爆) (ผลิตโดยสตูดิโอ SynergySP)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2010 ถึงวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2011
- เมทัลไฟท์ เบย์เบลด 4D (メタルファイト ベイブレード 4D) (ผลิตโดยสตูดิโอ SynergySP)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2011 ถึงวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2012
- เมทัลไฟท์ เบย์เบลด ZEROG (メタルファイト ベイブレード ZEROG) (ผลิตโดยสตูดิโอ SynergySP)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2012 ถึงวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2012
- เบย์เบลดเบิสต์ (ベイブレードバースト) (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2016 ถึงวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2017
- เบย์เบลดเบิสต์ ก็อด (ベイブレードバースト ゴッド) (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2017 ถึงวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2018
- เบย์เบลดเบิสต์ โจเซ็ทสึ (ベイブレードバースト 超ゼツ) (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2018 ถึงวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019
- BEYBLADE X (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2023
ภาพยนตร์
แก้เว็บอนิเมะ
แก้- เบย์เบลดเบิสต์ กาจิ (ベイブレードバースト GT) (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
- เบย์เบลดเบิสต์ ซูเปอร์คิง (ベイブレードバースト 超王) (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
- เบย์เบลดเบิสต์ ไดนาไมท์แบทเทิล (ベイブレードバースト DB) (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
อนิเมะเฉพาะต่างประเทศ
แก้- เบย์เบลดเบิสต์ คว็อดสไตรค์ (ベイブレードバースト クアッドストライク) (ผลิตโดยสตูดิโอ OLM)
อ้างอิง
แก้- ↑ 海を越えた『ベイブレード伝説』|タカラトミー(2013年12月19日時点のアーカイブ)