ตลาดอารมณ์
ตลาดอารมณ์ เป็นนวนิยายไทยแนวโรแมนติก ดราม่า เป็นบทประพันธ์ของ อุปถัมภ์ กองแก้ว เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง ที่พยายามทำทุกวิถีทางกลับได้รับสิ่งตอบแทนเป็นการเข้าใจผิดและการเกลียดชัง อีกทั้งยังต้องเผชิญจากเหล่าผู้คนรอบตัวที่ต้องการแย่งชิงสมบัติมหาศาลไปครอบครองไว้แต่เพียงผู้เดียว นวนิยายเรื่องนี้ทำเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาหลายครั้งแล้ว
ตลาดอารมณ์ | |
---|---|
สร้างโดย | เอ็กแซ็กท์ / ซีเนริโอ |
เขียนโดย | บทประพันธ์ : อุปถัมภ์ กองแก้ว บทโทรทัศน์ : ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ |
กำกับโดย | นิพนธ์ ผิวเณร |
แสดงนำ | ชาคริต แย้มนาม ปิยธิดา วรมุสิก ศิริลักษณ์ ผ่องโชค รัฐศาสตร์ กรสูต วรรณรท สนธิไชย แอริน ยุกตะทัต ชนิดาภา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | ไม่เหลืออะไรเลย |
จำนวนตอน | 24 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ถกลเกียรติ วีรวรรณ |
ผู้อำนวยการสร้าง | ถกลเกียรติ วีรวรรณ นิพนธ์ ผิวเณร |
ความยาวตอน | 1 ชั่วโมง / ตอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 |
ออกอากาศ | 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 – 13 เมษายน พ.ศ. 2554 |
ภาพยนตร์ ตลาดอารมณ์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2517 ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. เสียงในฟิล์ม กำกับการแสดงโดย เนรมิต นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ส่งไปประกวดงานมหกรรมหนังเอเชียที่ไต้หวัน ซึ่งได้รับ 2 รางวัล ในสาขานักแสดงนำยอดเยี่ยม (อรัญญา นามวงศ์) และภาพยนตร์ได้รางวัลล้างฟิล์มยอดเยี่ยม[1]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 20.25 น. ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, ปิยธิดา วรมุสิก, ศิริลักษณ์ ผ่องโชค, รัฐศาสตร์ กรสูต, วรรณรท สนธิไชย, แอริน ยุกตะทัต และ ชนิดาภา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ ซึ่งเริ่มออกอากาศ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 สิ้นสุดการออกอากาศ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554
บทประพันธ์สู่ภาพยนตร์
แก้เดิมทีบทประพันธ์ ตลาดอารมณ์ ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ มีรายละเอียดดังนี้
- พ.ศ. 2517 สร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย เนรมิต สร้างโดย ไทยสากลธุรกิจ มีนักแสดงนำดังนี้
- สมบัติ เมทะนี รับบท ตรัส
- อรัญญา นามวงษ์ รับบท บงกช
- เมตตา รุ่งรัตน์ รับบท ชโลธร
- สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ รับบท พิชิต
- ศันสนีย์ วัฒนานุกูล รับบท ผกายกุล
- พ.ศ. 2532 สร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย สุวิทย์ ชุติพงษ์ สร้างโดย พงษ์สุรีย์โปรโมชั่น มีนักแสดงนำดังนี้
- รอน บรรจงสร้าง รับบท ตรัส
- นาถยา แดงบุหงา รับบท บงกช
- ราตรี วิทวัส รับบท ชโลธร
- พิศาล อัครเศรณี รับบท พิชิต
- จอย กิตติยา รับบท ผกายกุล
บทประพันธ์สู่ละครโทรทัศน์
แก้- พ.ศ. 2526 สร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 มีนักแสดงนำดังนี้
- วิฑูรย์ กรุณา รับบท ตรัส
- ดวงชีวัน โกมลเสน รับบท บงกช
- วิยะดา อุมารินทร์ รับบท ชโลธร
- วรารัตน์ เทพโสธร รับบท ผกายกุล [2]
- สุเชาว์ พงษ์วิไล รับบท พิชิต
- พ.ศ. 2528 สร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มีนักแสดงนำดังนี้
- ดิลก ทองวัฒนา รับบท ตรัส
- ลินดา ค้าธัญเจริญ รับบท บงกช
- ธิติมา สังขพิทักษ์ รับบท ชโลธร
- วรารัตน์ เทพโสธร รับบท ผกายกุล
- จีระศักดิ ปิ่นสุวรรณ รับบท พิชิต
- พ.ศ. 2554 สร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สร้างโดย เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ มีนักแสดงนำดังนี้
- ชาคริต แย้มนาม รับบท ตรัส
- ปิยธิดา วรมุสิก รับบท บงกช
- ศิริลักษณ์ ผ่องโชค รับบท ชโลธร
- รัฐศาสตร์ กรสูต รับบท พิชิต
- วรรณรท สนธิไชย รับบท ผกายกุล
นักแสดงนำ
แก้รูปแบบการนำเสนอ | ตรัส วิภาคโยธิน | บงกช | ชโลธร | พิชิต | ผกายกุล |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2517 | สมบัติ เมทะนี | อรัญญา นามวงษ์ | เมตตา รุ่งรัตน์ | สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ | ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526 | วิฑูรย์ กรุณา | ดวงชีวัน โกมลเสน | วิยะดา อุมารินทร์ | สุเชาว์ พงษ์วิไล | วรารัตน์ เทพโสธร |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2528 | ดิลก ทองวัฒนา | ลินดา ค้าธัญเจริญ | ธิติมา สังขพิทักษ์ | จีระศักดิ ปิ่นสุวรรณ | |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2531 | รอน บรรจงสร้าง | นาถยา แดงบุหงา | ราตรี วิทวัส | พิศาล อัครเศรณี | กิติยา โลหะพรรณ |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 | ชาคริต แย้มนาม | ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ | ศิริลักษณ์ ผ่องโชค | รัฐศาสตร์ กรสูต | วรรณรท สนธิไชย |
เรื่องย่อ ภาพยนตร์ พ.ศ. 2517
แก้ไตร วิภาคโยธิน เศรษฐีใหญ่ ที่ได้หญิงสาวข้างถนนมาเป็นภรรยาใหม่ชื่อว่า บงกช (วิภาคโยธิน) ต่อมา ไตร วิภาคโยธินได้เสียชีวิต ตรัส วิภาคโยธิน ลูกชายคนเดียวของไตรเดินทางกลับจากต่างประเทศ เพื่อมาเคารพศพ หลังจากตัดขาดกัน ซึ่งตรัสไม่พอใจในตัวบงกช ซึ่งเป็นแม่เลี้ยงของตน จึงไม่ยอมเข้ายุ่งเกี่ยวกับกิจการ และมรดกต่าง ๆ ของไตร ซึ่งที่บงกชนั้นหวังดีกับตรัสอยู่มาก
ตรัสมีคนรักคือ ชโลธร ลีลาทิพย์ ที่คบกันตั้งแต่เรียนอยู่ที่อเมริกา ชโลธรได้ทำงานที่บริษัทของตระกูลวิภาคโยธิน ชโลธรรู้ว่าตรัสเป็นผู้สืบทอดกิจการทั้งหมด จึงหวังจะแต่งงานด้วย
วันหนึ่ง ตรัสได้ช่วยผกายกุล หรือ กั้ง ซึ่งเป็นหลานสาวของบงกช จากการถูกลวนลาม ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จึงได้ทำให้ตรัส และ กั้ง ได้สนิทกัน แต่ตรัสได้รู้จักกั้งในนามของ ผกายกุล และกั้งรู้จักตรัสในนามของ คุณแมน กั้งรู้ว่าลูกเลี้ยงของบงกชใจร้ายและอยุติธรรมกับบงกชมาตลอด เธอจึงมีอคติกับเขาและไม่อยากจะทำดีกับตรัส
ขณะเดียวกัน พิชิต พิชิตสรเดช หุ้นส่วนบริษัท ที่ต้องการจะเอาบริษัทเป็นของตัวเอง จึงดึงชโลธรมาเป็นพวก โดยยืนข้อเสนอว่าจะช่วยปกปิดเอาไว้ ทำให้ชโลธรยอมทำตามที่พิชิตสั่งทุกอย่าง เพราะที่แท้จริงแล้วชโลธรเป็นแค่เด็กในสลัมที่เป็นเด็กตกยากกำลังเจ็บหนักเพราะเป็นไส้ติ่ง มีแม่เป็นคนขายข้าวแกงอยู่ในซอย และยังมีน้องสาวชื่อว่า ชลาธาร ซึ่งชโลธรทอดทิ้งแม่และน้องสาวไปชุบตัวอยู่ที่เมืองนอก
ตรัสไปพบกั้งอีกครั้งที่เพชรบูรณ์ และกั้ง ถูกคนร้ายจับตัวไป ซึ่งตรัสก็ตามช่วยเหลือทันเวลา แต่กั้งก็ป่วยเข้าโรงพยาบาล บงกชรู้ข่าวก็รีบไปเยี่ยม ทำให้ตรัสรู้ความจริงว่ากั้งคือผกายกุลหลานสาวของบงกช ตรัสจริงเข้าใจผิดคิดว่ากั้งร่วมมือกับบงกชหลอกลวงเขามาตลอด ด้วยความแค้นตรัสจึงประกาศว่าจะกลับมาทำงานที่วิภาคโยธิน โดยมีข้อแม้ว่ากั้งจะต้องมาทำงานกับเขาเท่านั้น
พิชิตนั้นกวาดเรียบทั้ง บงกช ชโลธร และเขาก็หวังในตัวของผกายกุลด้วย แต่บงกชไม่ยอม จึงทำทุกวิถีมางที่จะไม่ให้พิชิตมาแตะต้องกั้งได้ ต่อมาพิชิตได้เข้ามาลวนลามกั้ง บงกชจึงยิงพิชิตตาย ตัวบงกชถูกจับ แต่ตรัสช่วยประกันตัว ระหว่างที่บงกชพักอยู่กับตรัส บงกชจึงเข้ามาปลุกปล้ำตรัส ทำให้กั้งเกิดความอับอายในตัวน้าของเธอ จึงหนีออกจากบ้านไป บงกชรู้ข่าวจึงเกิดความผิดหวังถึงกับกินยาตาย ซึ่งก่อนตายบงกชได้ฝากกับตรัสไว้ว่าฝากกั้งไว้ด้วย ตรัสได้ตามไปเล่าความจริงให้กั้งฟังว่า แท้ที่จริงบงกชเป็นแม่บังเกิดเกล้าของกั้งเอง ซึ่งปิดบังว่าเป็นน้าตลอดมา แต่ก็สายเสียแล้ว[3][4] ต่อมา ตรัสจึงได้แต่งงานกับกั้ง
ละคร พ.ศ. 2554
แก้ล่าสุด ในปี พ.ศ. 2554 ตลาดอารมณ์ ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 20.25 น. ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ
รายละเอียด
แก้- ชื่อละคร ตลาดอารมณ์
- แนวละคร โรแมนติก ดราม่า
- บทประพันธ์ อุปถัมภ์ กองแก้ว
- บทโทรทัศน์ ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์
- กำกับการแสดง นิพนธ์ ผิวเณร
- ผู้ผลิต บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด / บริษัท ซีเนริโอ จำกัด
- ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เวลา 20.25 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 [5]
- เริ่มออกอากาศ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 - 13 เมษายน พ.ศ. 2554
รายชื่อนักแสดง
แก้- ชาคริต แย้มนาม รับบทเป็น ตรัส วิภาคโยธิน
- ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ รับบทเป็น บงกช วิภาคโยธิน
- ศิริลักษณ์ ผ่องโชค รับบทเป็น ชโลธร ลีลาทิพย์
- รัฐศาสตร์ กรสูต รับบทเป็น พิชิต พิชิตสรเดช
- วรรณรท สนธิไชย รับบทเป็น ผกายกุล (กั้ง)
- แอริน ยุกตะทัต รับบทเป็น ชลาธาร
- ชนิดาภา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ รับบทเป็น มัทนา
- ภูษณะ บัวงาม รับบทเป็น วาริน
- ดวงตา ตุงคะมณี รับบทเป็น พวง
- สันติสุข พรหมศิริ รับบทเป็น รักษา ธรรมรัตน์
- ดิลก ทองวัฒนา รับบทเป็น ไตร วิภาคโยธิน
- ด.ช.ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์ รับบทเป็น บุหลิน วิภาคโยธิน
- ด.ญ.ปนัสยา แอนเจลิก้า ดีมากต์ รับบทเป็น นรีรัตน์ ธรรมรัตน์
เพลงประกอบ
แก้- ไม่เหลืออะไรเลย - ขับร้องโดย วิชญาณี เปียกลิ่น
เพลงในละคร
แก้- นิยาย ขับร้องโดย โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์
- ช่างไม่รู้เลย ขับร้องโดย Peacemaker
รางวัล
แก้งานประกาศผลรางวัล | รางวัล | ผู้เข้าชิง | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ปิยธิดา วรมุสิก | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24[6] | เพลงนำละคร เมขลามหานิยมแห่งปี | เพลง ไม่เหลืออะไรเลย ขับร้องโดย วิชญาณี เปียกลิ่น |
ชนะ |
ดาราสมทบหญิง เมขลามหานิยมแห่งปี | ศิริลักษณ์ ผ่องโชค | ชนะ | |
ดารานำหญิงดีเด่นยอดนิยม | ปิยธิดา วรมุสิก | ชนะ | |
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 26 | บทละครโทรทัศน์ดีเด่น | ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น | ศิริลักษณ์ ผ่องโชค | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
แก้- ↑ "กระทู้หนังไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
- ↑ "แตกประเด็นเจาะลึกละครไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
- ↑ "Exact - ตลาดอารมณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
- ↑ ณเดชน์-ชมพู่ คว้ารางวัลเมขลา จากเดลินิวส์