อำนวย กลัสนิมิ
อำนวย กลัสนิมิ หรือ ครูเนรมิต (พ.ศ. 2458 − 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ไทยด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2538
เนรมิต | |
---|---|
เนรมิต เมื่อ พ.ศ. 2503 ระหว่างถ่ายทำ เสือเฒ่า | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | พ.ศ. 2458 อำนวย กลัสนิมิ |
เสียชีวิต | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (90 ปี) |
อาชีพ | ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ ละครเวที |
ปีที่แสดง | 2485−2528 |
ผลงานเด่น | ร่วมประพันธ์เพลงน้ำตาแสงไต้ กับ ทวี ณ บางช้าง (ครูมารุต) |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2538 − สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง) |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | พ.ศ. 2535 − รางวัลพิเศษ "เกียรติคุณแห่งความสำเร็จ" |
ThaiFilmDb |
ประวัติ
แก้กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก บ้านไร่นาเรา ที่มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติ สร้างโดยกองภาพยนตร์ทหารอากาศ ตามนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2485
ต่อมากำกับละครเวที ร่วมกับ ทวี ณ บางช้าง (หรือ ครูมารุต) ให้กับคณะละครศิวารมย์ และคณะอัศวินการละครอีกหลายเรื่อง เช่น เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ฯลฯ [1][2][3] รวมทั้งกำกับภาพยนตร์อีกจำนวนมาก
ภาพยนตร์ 16 มม.เด่น ๆ ที่สร้างชื่อเสียงอย่างมาก ได้แก่ โบตั๋น (2498) สามารถทำรายได้ถึงหนึ่งล้านบาท ,หงษ์หยก (2499) ที่มีเก่อ หลานนักแสดงจากฮ่องกง ร่วมแสดงและขับร้องเพลงประกอบ, วรรณกรรมอมตะของยาขอบ ผู้ชนะสิบทิศ (2509−2510) ซึ่งต้องลงทุนสูงใช้ผู้แสดงจำนวนนับร้อยในฉากพลทหารและช้างศึกโจมตีเมือง หรือการรบแบบประจันหน้าในพื้นที่เต็มไปด้วยโคลนกลางทุ่ง ให้บรรยากาศสมจริงของสมรภูมิสมัยโบราณ ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบากทั้งนักแสดงและมุมกล้องทั้งก่อนและระหว่างการถ่ายทำ ฯลฯ
เรื่องอื่น ๆ ล้วนประสบความสำเร็จอย่างดี เช่น สาปสวาท, วิมานไฟ, พระจันทร์แดง, แม่ย่านาง, ค่าของคน, สื่อกามเทพ, ชลาลัย และ ผู้กองยอดรัก เป็นต้น
ผลงานภาพยนตร์
แก้- เจ้าแพร (2512)
- วิมานไฟ (2512)
- รอยพราน (2512)
- ลอยกระทง (2512)
- ขุนทาส (2513)
- คู่สร้าง (2513)
- พระจันทร์แดง (2513)
- แม่ย่านาง (2513)
- ค่าของคน (2514)
- สื่อกามเทพ (2514) - ร่วมกับ ชาลี อินทรวิจิตร
- เหนือพญายม (2514)
- มนต์รักดอกคำใต้ (2515)
- สวนสน (2515) - ร่วมกับ ชาลี อินทรวิจิตร
- สาวขบเผาะ (2515)
- ชลาลัย (2516)
- ผู้กองยอดรัก (2516)
- ส้มตำ (2516)
- กังหันสวาท (2517)
- คุณหญิงนอกทำเนียบ (2517)
- ดอกคูนเสียงแคน (2517)
- ตลาดอารมณ์ (2517)
- รอยมลทิน (2517)
- แดงอังคาร (2519) ร่วมกับ สรพงศ์ ชาตรี
- ไอ้แสบ (2519)
- ผีเพื่อนรัก (2521) ร่วมกับ สรพงศ์ ชาตรี
- ยมบาลจ๋า (2521)
- 2 พยัคฆ์ (2523) ร่วมกับ สรพงศ์ ชาตรี
- ขุนแผน ตอนปราบจระเข้เถรขวาด (2525)
- พันท้ายนรสิงห์ (2525) ร่วมกับ สรพงศ์ ชาตรี
บทภาพยนตร์
แก้- ขุนทาส (2513)
- แดงอังคาร (2519) ร่วมกับ สรพงศ์ ชาตรี
- รอยไถ (2522) ร่วมกับ สรพงศ์ ชาตรี
รางวัล
แก้- รางวัลพิเศษ "เกียรติคุณแห่งความสำเร็จ" รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2535[4]
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้าง-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2538
อ้างอิง
แก้- ประวัติ จาก หออัครศิลปิน เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ใบปิดภาพยนตร์ ที่อำนวย กลัสนิมิ กำกับ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชีวประวัติ อำนวย กลัสนิมิ ที่ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
- ↑ ชีวประวัติ อำนวย กลัสนิมิ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชีวประวัติ อำนวย กลัสนิมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-12. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
- ↑ "ชีวประวัติ อำนวย กลัสนิมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-20. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
- ↑ "รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2535". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.