น้ำเซาะทราย
น้ำเซาะทราย เป็นนวนิยายบทประพันธ์โดย กฤษณา อโศกสิน นักเขียนรางวัลซีไรท์และศิลปินแห่งชาติ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ โดยพิมพ์ฉบับรวมเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 เป็นนิยายที่สะท้อนปัญหาครอบครัวและการต่อสู้ของผู้หญิงเพื่อเรียกร้องสิทธิความชอบธรรม และทำให้เห็นภาพอันชัดเจนของคนที่ผิดศีล คือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสามีคนอื่น[1] โดยเป็นเรื่องราวครอบครัวของ ภีม และ วรรณรี ที่มีลูก 2 คนชายและหญิงชื่อ ปอ และ ป่าน แต่เมื่อพุดกรอง ที่ภีมเคยหลงรักตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยจึงทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้นนำเเสดงโดย สุวนันท์ ปุณณกันต์ , เคลลี่ ธนะพัฒน์ , ศรราม เทพพิทักษ์ , โสภิตนภา ชุ่มภาณี , ชนกันต์ พูนศิริวงศ์ , เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค ร่วมด้วย อาทิ ศิริพิชญ์ วิมลโนช , เจจินตัย อันติมานนท์ , สุดารัตน์ เดชากุล , กัญญกร พินิจ , พิมพ์ชนก แก้วลุ่มใหญ่
น้ำเซาะทราย | |
---|---|
ผู้ประพันธ์ | กฤษณา อโศกสิน |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
วันที่พิมพ์ | 2512 |
น้ำเซาะทราย ได้รับการทำเป็นละคร 5 ครั้ง และภาพยนตร์ 2 ครั้ง โดยทำเป็นละครครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 ออกอากาศทางช่อง 4 บางขุนพรหม สร้างครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2522 ทางช่อง 5 สร้างครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2536 ทางช่อง 7 สร้างครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2544 ทางช่อง 3 และครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2560 ทางช่อง 7[2] สำหรับฉบับปี 2560 ได้รับเรตติ้งเฉลี่ย 6.8 โดยตอนที่ทำเรตติ้งดีที่สุดคือตอนจบ ทำได้ 8.2[3] หรือจำนวนผู้ชมกว่า 5.4 ล้านคน[4] สำหรับฉบับภาพยนตร์ สร้างครั้งแรกปี พ.ศ. 2516 กำกับโดยวิจิตร คุณาวุฒิ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9 ในสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[5] ฉบับต่อมากำกับโดยชาลี อินทรวิจิตร ออกฉายปี พ.ศ. 2529[6] ฉบับนี้มีเพลงดังคือ "น้ำเซาะทราย" ขับร้องโดยจำรัส เศวตาภรณ์ ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 18[7]
โครงเรื่อง
แก้พุดกรอง วิบูลย์สิน แอบรักกับภีม ประการพันธ์ มาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย แต่พุดกรองเลือกที่จะแต่งงานกับพร้อม วิบูลย์สิน จนทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันชื่อ จ้าน ทางฝั่งภีมแต่งงานกับวรรณนรี มีอาชีพเป็นครู มีลูกชายหญิงสองคน ลูกสาวชื่อ ภัทรียา และลูกชายชื่อ ภุมวาร ต่อมาพร้อม สามีของพุดกรองเสียชีวิต จนหลังจากนั้น 1 ปี พุดกรอง ได้ไปร่วมงานสังคมกับวรรณนรี ภีม และพงษ์สนิทจิตรกรรม ซึ่งจัดขึ้นโดยคุณหญิงพรรณราย ซึ่งได้แนะนำให้รู้จักกับพิมุข สามีของคุณหญิงพรรณราย ที่เป็นคู่แข่งในการแย่งชิงตำแหน่งคณบดีกับวรรณนรี
เมื่อพุดกรองได้พบกับภีมอีกครั้ง จึงได้มีความรู้สึกดี ๆ ร่วมกัน ภีมก็เริ่มเบื่อวรรณนรีและเริ่มมีปากเสียงกัน จนภีมออกจากบ้านแล้วชวนพุดกรองมาหา ทั้งคู่จึงสภาพกันว่าแอบรักกันมาตั้งแต่เมื่อได้พบกันครั้งแรกแล้ว พุดกรองเริ่มหาวิธีให้มาได้พบกับภีม จนทั้งสองได้เช่าบ้านใช้ชีวิตร่วมกัน เมื่อพงษ์สนิทรู้เรื่องนี้จึงรีบไปบอกวรรณนรี แต่วรรณนรียังไม่เชื่อ พงษ์สนิทได้ยั่วยุให้พุดกรองและภีมมีปากเสียงกัน จนเมื่อวรรณนรีรู้แน่ชัดจึงยื่นคำขาดว่าจะหย่า หากไม่หย่าก็ต้องตัดขาดพุดกรอง ขณะที่พงษ์สนิทอยากให้พุดกรองเลือกตัวเองเป็นคู่ครอง จึงใช้วรรณนรีเป็นเครื่องมือ แต่วรรณนรีเครียดจนเข้าโรงพยาบาล เมื่อภีมและพุดกรองรู้เข้าจึงรู้สึกผิด ในขณะเดียวกันข่าวความสัมพันธ์ของพุดกรองกับภีมก็เป็นเรื่องดัง ประจวบกับพุดกรองตั้งท้องกับภีมด้วย
ต่อมาวรรณนรีรู้จักกับทวยหาญ กาญจนสุรัตน์ ทั้งคู่ไปเที่ยวพร้อมกับลูกของวรรณนรี แต่เมื่อกลับบ้านมาก็พบว่าภีมกลับบ้านมา ซึ่งภีมเองไม่พอใจ วรรณนรีจึงขอหย่า แต่ภีมก็ไม่มาตามนัด จนได้พูดคุยกับภีมอีกครั้งแต่ภีมก็ไม่ยอมหย่า จนในที่สุดพุดกรองคลอดลูกชายชื่อ ปูจ๋า ท้ายสุดภีมยอมหย่าหลังวรรณนรีขอพูดคุยเรื่องหย่าอีกครั้ง
พุดกรองรู้สึกได้ว่าที่ภีมไม่ยอมหย่าเพราะภีมยังรักวรรณนรีอยู่ พุดกรองได้ไปขอโทษขออโหสิกรรมต่อวรรณนรี แต่วรรณนรีไม่สนใจคำขอโทษเพราะคิดว่าพุดกรองเล่นละครอยู่ สุดท้ายภีมไม่เหลือใคร จึงกลับไปหาวรรณนรี แต่วรรณนรีทำตัวเฉยชา ไม่สนใจภีม
นักแสดงนำ
แก้รางวัล
แก้- ภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2516
งานประกาศผลรางวัล | รางวัล | ผู้เข้าชิง | ผลรางวัล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9 | บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[5] | คุณาวุฒิ | ชนะ | |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช | เสนอชื่อเข้าชิง |
- ภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2529
งานประกาศผลรางวัล | รางวัล | ผู้เข้าชิง | ผลรางวัล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 18 | ดนตรีและเพลงประกอบยอดเยี่ยม[8] | จำรัส เศวตาภรณ์ | ชนะ | |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | สินจัย หงษ์ไทย | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | อภิชาติ หาลำเจียก | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | นาถยา แดงบุหงา | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 | ผู้แสดงสมทบฝ่ายชายยอดเยี่ยม | ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม | อภิชาติ หาลำเจียก | เสนอชื่อเข้าชิง |
- ละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2536
งานประกาศผลรางวัล | รางวัล | ผู้เข้าชิง | ผลรางวัล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 8 | ดารานำหญิงดีเด่น | ปรียานุช ปานประดับ | เสนอชื่อเข้าชิง |
- ละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2560
งานประกาศผลรางวัล | รางวัล | ผู้เข้าชิง | ผลรางวัล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
มายา มหาชน 2017 | ดาราสมทบชายขวัญใจมหาชน | เคลลี่ ธนะพัฒน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดารานำชายขวัญใจมหาชน | ศรราม เทพพิทักษ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดารานำหญิงขวัญใจมหาชน | สุวนันท์ ปุณณกันต์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
The Best Come Back Star แห่งปี 2560 | ชนะ | |||
ผู้กำกับละครขวัญใจมหาชน | สยาม สังวริบุตร | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ละครยอดนิยมขวัญใจมหาชน | น้ำเซาะทราย | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดาราอินไซด์ อวอร์ด ครั้งที่ 2 | ละครยอดนิยมดีเด่นแห่งปี | น้ำเซาะทราย | เสนอชื่อเข้าชิง | |
MThai Top Talk-About 2018 | นักแสดงชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด | ศรราม เทพพิทักษ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ละครที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด | น้ำเซาะทราย | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 32 | ผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น[9] | สยาม สังวริบุตร | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดาราเดลี่ อวอร์ดส์ 2017 ครั้งที่ 7 | สีสันที่สุดแห่งปี 2017 | โสภิตนภา ชุ่มภาณี | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงสาขาละครที่สุดแห่งปี 2017 | สุวนันท์ ปุณณกันต์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9 | บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม[10] | นันทนา วีระชน (ปลายปากกา) | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
แก้- ↑ น้ำเซาะทราย ไม่เคยตายไปจากใจ
- ↑ "กองทัพ "ละครรีเมค" ครึ่งปีแรก 2017 เยอะจัง มากันทุกช่อง!!". สนุก.คอม. 16 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ปิดฉาก น้ำเซาะทราย ทำเรตติ้งสูงสุดตั้งแต่ออกอากาศ". สนุก.คอม. 22 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เรตติ้ง"น้ำเซาะทราย"ตอนจบมาแล้วจ้า". คมชัดลึก. 22 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 5.0 5.1 "แกะกล่องหนังไทย". ไทยพีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "น้ำเซาะทราย [2529]". ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ บอน บอระเพ็ด (15 สิงหาคม 2554). "เพลงวาน : "นกเจ้าโผบิน" โผผินสู่ดนตรีบำบัด..."จำรัส เศวตาภรณ์"/บอน บอระเพ็ด". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ประวัติและความเป็นมา
- ↑ "เปิดโผรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 32 อั้ม ลุ้นดารานำหญิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-28.
- ↑ เปิดโผผู้เข้าชิงรางวัลนาฏราชครั้งที่ 9 ดีเดย์ประกาศ 5 ส.ค.