จำรัส เศวตาภรณ์

จำรัส เศวตาภรณ์ (ชื่อเล่น: จ๋าย, เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงชาวไทย และอดีตสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ มีชื่อเสียงจากงานเพลงประกอบภาพยนตร์ไทย สารคดี และ พระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ที่ กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี เรียนชั้นประถมที่ โรงเรียนดรุณวิทย์วิทยา (ปัจจุบันเลิกกิจการ) มัธยมที่ โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร[1] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำรัส เศวตาภรณ์
รู้จักในชื่อจ๋าย
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
แนวเพลงเพลงสตริง, เพลงประกอบภาพยนตร์, เพลงบำบัด
อาชีพนักแต่งเพลง นักดนตรี นักร้อง
เครื่องดนตรีเปียโน, คีย์บอร์ด, กีตาร์
อดีตสมาชิกแกรนด์เอ็กซ์
เว็บไซต์เว็บไซต์กรีนมิวสิก

ประวัติ

แก้

จำรัส เริ่มเล่นดนตรีขณะเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยเล่นและร้องเพลงตามห้องอาหาร ไนท์คลับ จนกระทั่งเป็นสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ ในตำแหน่ง กีตาร์ และ นักร้องนำ จากการชักชวนของ ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ[2]โดยออกผลงานซิงเกิล "คู่นก" และอัลบั้ม ลูกทุ่งดิสโก้ ชุด 1-2 ก่อนจะเปลี่ยนให้ ดนุพล แก้วกาญจน์ ทำหน้าที่แทน

ภายหลังลาออกจากแกรนด์เอ็กซ์ จำรัสได้ร่วมงานกับวง เดอะ เรดิโอ โดยออกอัลบั้มเพลงชุด "นกเจ้าโผบิน" จนมีชื่อเสียงโด่งดัง กระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ได้เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทย โดยรับหน้าที่ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์กว่าร้อยเรื่อง ของผู้กำกับภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น มานพ อุดมเดช, เชิด ทรงศรี, หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล โดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่อง "นางนวล" ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเอเชียแปซิฟิก ประจำปี พ.ศ. 2530 และมีเพลงร้องที่เป็นที่รู้จักในช่วงทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ คือ "น้ำเซาะทราย"

ต่อมา จำรัสเริ่มผลิตผลงานเพลงบรรเลงในลักษณะ "ดนตรีบำบัด" (Spa Music) ที่ได้ซึมซับเอาบรรยากาศความงดงามของชีวิต และปรัชญาแห่งสายน้ำมาตั้งแต่วัยเยาว์ มาถ่ายทอดเป็นบทเพลงต่างๆ โดยวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป และยังมีการทำเพลงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอีกด้วย [3]

ในปี พ.ศ. 2549 เพลงบรรเลง "การเดินทางของใจที่เที่ยงแท้" (Journey on the earth) ซึ่งอยู่ในอัลบั้ม "นิพพาน" (Nirvana) ได้ถูกใช้เป็นเพลงประกอบการถ่ายทอดสด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิตในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน โดย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย [4] และอีกครั้งหนึ่งในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555[5]

ปัจจุบัน จำรัสยังคงทำงานด้านดนตรี โดยได้กลับมาทำดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ชั่วฟ้าดินสลาย"[6] แต่ไม่ได้รับทำงานเพลงให้กับศิลปินนักร้องสังกัดค่ายเพลงใด ๆ เลย [3]

ผลงาน

แก้

อัลบั้มเพลง

แก้
  • แกรนด์เอ็กซ์
    • Single คู่นก (2520)
    • ลูกทุ่งดิสโก้ ชุดที่ 1 (2522)
    • บันทึกการแสดงสดที่แมนฮัตตันคลับ (2523)
    • ลูกทุ่งดิสโก้ ชุดที่ 2 (2523)
  • เดอะเรดิโอ
    • “นกเจ้าโผบิน" (2525)
    • “หยาดฝน" (2526)
    • “บทเพลงและความฝัน" (2527)
  • จำรัส เศวตาภรณ์
    • ละครฝัน-น้ำเซาะทราย (2529)
    • แล้วแต่จะนึก..บันทึกไว้ด้วยใจ (2531)
    • บันทึกหลังฉาก (2537)
  • เพลงบรรเลง
    • ในห้วงภวังค์
    • เช้าวันใหม่ Morning
    • ฤดูกาลแห่งชีวิต Season of life
    • เสียงเพรียกจากสายลม Whisper of the wind
    • เพลงใบไม้ Song of leaf
    • บทเพลงแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา Music of the Chaophraya river
    • เปียโนในสวน Piano in the garden
    • เนรัญชรา The Naerunchara river
    • นิพพาน Nirvana

ฯลฯ

เพลงประกอบภาพยนตร์

แก้
  • ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย (2528)
  • ข้างหลังภาพ (2528)
  • หย่าเพราะมีชู้ (2528)
  • โปรดทราบคิดถึงมาก (2529)
  • น้ำเซาะทราย (2529)
  • ปลื้ม (2529)
  • เกมมหาโชค (2529)
  • ขบวนการคนใช้ (2529)
  • หัวใจเดียวกัน (2529)
  • คำมั่นสัญญา (2530)
  • เหยื่อ (2530)
  • พลอยทะเล (2530)
  • กว่าจะรู้เดียงสา (2530)
  • สายน้ำไม่ไหลกลับ (2530)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • นางนวล (2530)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
  • พี่เลี้ยง (2531)
  • ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531)
  • คู่กรรม (2531)
  • อุบัติโหด (2531)
  • ทองประกายแสด (2531)
  • กลิ่นสีและกาวแป้ง (2531)
  • เทวดาตกสวรรค์ (2532)
  • ปุกปุย (2533)
  • ทวิภพ (2533)
  • ความรักไม่มีชื่อ (2533)
  • ฉลุย โครงการ 2 (2533)
  • กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน (2534)
  • แชะ แชะ แชะ เจอแจ๋วแหวว (2534)
  • นายซีอุย แซ่อึ้ง (2534)
  • สยึ๋มกึ๋ย (2534)
  • ไอ้คุณผี (2534)
  • เพียงเรามีเรา (2535)
  • ฝากฝันไว้เดี๋ยวจะเลี้ยวมาเอา (2535)
  • บุญตั้งไข่ (2535)
  • สะแด่วแห้ว (2535)
  • โตแล้วต้องโต๋ (2535)
  • สมศรี 422 อาร์ (2535)
  • โจ๋ไม่โจ๋หัวใจให้โจ๋(2535)
  • ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (2536)
  • สมศรี โปรแกรม B ปีนี้ 2 ขวบ (2536)
  • เพื่อนซื่อพาก๊อง (2536)
  • บันทึกจากลูกผู้ชาย (2537)
  • อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
  • ม.6/2 ห้องครูวารี (2537)
  • โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (2538)
  • สมศรี 422 R โปรแกรม D ปีนี้มีน้อง (2538)
  • กึ๋ยทู สยึ๋มกึ๋ย 2 (2538)
  • บินแหลก (2538)
  • สติแตกสุดขั้วโลก (2538)
  • เพื่อนกันเฉพาะวันหยุด (2539)
  • ม.6/2 ห้องครูวารี เทอม 2 (2539)
  • ดอกไม้ ไนน์มา กับขาหมู (2539)
  • คู่กรรม 2 (2539)
  • เรือนมยุรา (2539)
  • ฝันติดไฟหัวใจติดดิน (2540)
  • เพื่อเพื่อน เพื่อฝัน เพื่อวันเกียรติยศ (2540)
  • ยุกยิกหัวใจหยิกกัน (2540)
  • แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว (2542)
  • ข้างหลังภาพ (2544)
  • โก๋หลังวัง (2545)
  • ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)

คอนเสิร์ต

แก้
  • คอนเสิร์ต ในสวนฝัน (2 - 3 สิงหาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต GREEN CONCERT #18 THE LOST LOVE SONGS ร้อยเพลงรัก..ที่หายไป (29-30 สิงหาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต รวมน้ำใจ เพื่อพี่ใหญ่ วงปะการัง (27 เมษายน 2560)

หนังสือ

แก้
  • Memmory Song Book Vol.1
  • เพลงประทับใจ ฉบับที่2 รวมเพลงยอดนิยมยุค '70 - '90
  • เมโมรี่ ซองบุ๊ค ฉบับที่ 5
  • The Piano Vol.4
  • โน้ตคีย์บอร์ด สเปเชียล

ผลงานแสดงภาพยนตร์

แก้
  • รักใคร่ (2530)
  • ข้างหลังภาพ (2544)

อ้างอิง

แก้
  1. [https://thai.greenmusic.org/ "ʻ� (spa music) : ʻ� �����,����պӺѴ,����� ʻ�,�մ��ŧ ʻ�,�ѧ�ŧ����ŧ���͡�ü�͹������������ ���Ѻ���������٧�ش �� ����� ��ǵ��ó�"]. thai.greenmusic.org. {{cite web}}: replacement character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 2 (help)
  2. "The Last GRAND EX' mini magazine", บทความพิเศษใน นิตยสาร ป็อปมิวสิค 2527
  3. 3.0 3.1 ประวัติและความเป็นมาของ จำรัส เศวตาภรณ์
  4. "ด้วยพระบารมีในหลวง พลิกชีวิตชั่วข้ามคืน" ปีติจากใจ "จำรัส เศวตาภรณ์ บทความจาก หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
  5. สกู๊ป..เตรียมพร้อมถ่ายทอดสดพิธีออกมหาสมาคม สีหบัญชร จาก ครอบครัวข่าว 3[ลิงก์เสีย]
  6. ข้อมูลภาพยนตร์ ชั่วฟ้าดินสลาย(2553) เก็บถาวร 2010-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน movie.mthai.com