คู่กรรม 2
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คู่กรรม 2 (อังกฤษ: Sunset at Chaophraya 2) นวนิยายของ ทมยันตี ภาคต่อของคู่กรรม เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2539 และละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เมื่อต้นปี พ.ศ. 2547
คู่กรรม 2 | |
---|---|
คู่กรรม 2 | |
กำกับ | บรรจง โกศัลวัฒน์ |
เขียนบท | นวนิยาย : ทมยันตี บทภาพยนตร์ : บรรจง โกศัลวัฒน์ |
นักแสดงนำ | ศิริลักษณ์ ผ่องโชค พล ตัณฑเสถียร ธัญญา โสภณ นาตาชา คอฟแมน สรพงษ์ ชาตรี |
ตัดต่อ | บรรจง โกศัลวัฒน์ |
ดนตรีประกอบ | จำรัส เศวตาภรณ์ |
ผู้จัดจำหน่าย | เอ็นเค เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ |
วันฉาย | 27 กันยายน พ.ศ. 2539 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 50 ล้านบาท |
ก่อนหน้านี้ | คู่กรรม |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
คู่กรรม 2 | |
---|---|
สร้างโดย | เรด ดราม่า |
เขียนโดย | นวนิยาย : ทมยันตี พิง ลำพระเพลิง (บทโทรทัศน์) |
กำกับโดย | นพดล มงคลพันธ์ |
แสดงนำ | วรเวช ดานุวงศ์ มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล พรชิตา ณ สงขลา นันทกา วรวณิชชานันท์ กรุณพล เทียนสุวรรณ เขมสรณ์ หนูขาว |
การผลิต | |
ความยาวตอน | ประมาณ 105 นาที/ตอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2547 |
เนื้อเรื่อง
แก้กลินท์ หรือ โยอิจิ เป็นลูกชายเพียงคนเดียวของอังศุมาลินที่เกิดจากโกโบริ ที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 อังศุมาลินพยายามเลี้ยงดูกลินท์ด้วยความเข้มแข็ง แม้ วนัส เสรีไทยที่ชอบอังศุมาลินอยู่นานจะเปิดเผยความในใจและไม่รังเกียจที่จะอยู่กินกับอังศุมาลิน แต่อังศุมาลินก็ยังคงคบกับวนัสเพียงเป็นเพื่อนที่ดีเท่านั้น เพราะยังมั่นในรักที่มีต่อโกโบริ
อังศุมาลินพยายามปลูกฝังความเป็นโกโบริให้ในตัวกลินท์ แต่กลินท์ไม่ยอมรับและรังเกียจ เมื่อโตขึ้น กลินท์เข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะที่สถานการณ์บ้านเมืองกำลังผันผวนเพราะเป็นยุคเผด็จการทหาร กลินท์เป็นคนหนุ่มหัวสมัยใหม่ เขาเป็นผู้นำนักศึกษาร่วมการประท้วงสินค้าญี่ปุ่น โดยที่ไม่มีใครรู้ถึงประวัติของกลินท์ มีแต่เพียง ชิตาภา อาจารย์สาวร่วมคณะเท่านั้นที่คอยเตือนให้ระวังความปลอดภัย หนึ่งในนักศึกษาที่ร่วมการประท้วงนั้น ศราวณี นักศึกษาสาวปีสามคณะรัฐศาสตร์ เป็นคนที่โดดเด่นมาก กลินท์ประทับใจในตัวเธอ ต่อมาศราวณีรู้ว่ากลินท์ที่แท้ก็เป็นญาติผู้พี่ของเธอ ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นที่เกิดจากอังศุมาลิน ที่ทางครอบครัวของเธอรังเกียจ เพราะอังศุมาลินยอมแต่งงานกับทหารญี่ปุ่นอย่างโกโบริ ศราวณีเลยพลอยรังเกียจกลินท์ไปด้วย(ทั้งๆที่เธอก็รู้ว่าคนในครอบครัวเธอเกลียดครอบครัวกลินท์) และบอกกล่าวประวัติของกลินท์ให้ทุกคนได้รู้หรือเรียกว่า"social bullying" ในสมัยโบราณ ทำให้ทุกคนเริ่มถอยห่างและไม่ไว้วางใจให้กลินท์นำอีกต่อไป ซึ่งมีแต่เพียงชิตาภาซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของศราวณีผู้โง่เขลาเท่านั้นที่เข้าใจกลินท์
ต่อมา ศราวณีถูกจับ กลินท์เข้าไปช่วยและได้รู้ถึงสาเหตุที่ทุกคนรังเกียจตน กลินท์พาศราวณีไปที่บ้านและได้พบกับอังศุมาลิน ศราวณีถึงได้รู้ว่าที่แท้อังศุมาลินรักในตัวโกโบริอย่างแท้จริง และไม่ใช่คนไม่ดีอย่างที่ครอบครัวเธอปลูกฝัง จึงเปลี่ยนทัศนคติและขอโทษ จากนั้นความผูกพันของทั้งคู่ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ
การที่ศราวณีกลับไปคืนดีกับกลินท์ ทำให้ กบ ป้าของศราวณีไม่พอใจ จึงมีปากเสียงกัน ศราวณีหนีออกจากบ้าน ชิตาภาร้อนใจไปหากลินท์ที่บ้าน ขณะเดียวกันนั้นก็ได้เกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยคขึ้น กลินท์คิดว่าศราวณีคงจะไปร่วมชุมนุมด้วย จึงออกตามหาในที่ชุมนุม แต่กลับเจอศราวณีผู้น่าสงสารในสภาพที่บาดเจ็บสาหัสปางตายและเพ้อรำพันที่บ้านสวนอยู่ตลอดเวลาว่า ตนเป็นคนพาเพื่อน ๆ ไปตาย ชิตาภาโทรศัพท์ไปบอกอาการแก่กบ แต่กบไม่รับฟังและเอาแต่โทษชิตาภาต่าง ๆ นานา
หลังจากนี้ รัฐบาลต้องทูลเกล้าลาออกเพราะมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บมากมาย ชิตาภาต้องไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศและพาศราวณีที่อาการปางตายไปรักษาอาการด้วย กลินท์เพิ่งรู้ตัวว่าตัวเองรักชิตาภาอย่างสุดหัวใจ แต่ไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับเธอได้ เพราะชิตาภามีคู่หมั้นแล้วเป็นชาวต่างประเทศ ทั้งคู่ให้คำมั่นสัญญากันว่า จะเป็นกำลังใจให้แก่กันและกัน
ต่อมา อังศุมาลินมีอาการป่วยและบ่นถึงชิตาภาอยู่บ่อย ๆ ว่าเมื่อไหร่จะกลับ เมื่ออาการของอังศุมาลินเจ็บหนัก อังศุมาลินขอให้กลินท์เล่นซามิเซ็งให้ฟัง กลินท์ก็เล่นโดยที่ไม่รู้ว่าโกโบริได้พาอังศุมาลินไปยังทางช้างเผือกแล้วตามสัญญาที่เคยให้ไว้ และกลินท์ต้องเล่นซามิเซ็งแต่เพียงลำพังคนเดียว
ภาพยนตร์
แก้คู่กรรม 2 ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2539 โดย บริษัท เอ็นเค เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด นำแสดงโดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค, พล ตัณฑเสถียร, ธัญญา โสภณ, นาตาชา คอฟแมน, สรพงษ์ ชาตรี กำกับการแสดงโดย บรรจง โกศัลวัฒน์ แต่เนื้อเรื่องได้ถูกเปลี่ยนตอนจบเป็นกลินท์ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากเข้าไปช่วยศราวณี และอังศุมาลินต้องใช้ชีวิตอยู่เดียวดายเพราะผู้ชายที่เธอรักทั้ง 2 คนได้จากไป แทนที่จะจบเหมือนในบทประพันธ์ที่อังศุมาลินตายแล้วโกโบริมารับดวงวิญญาณไปอยู่ด้วยกัน
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้นำภาพยนตร์เรื่องนี้มาออกอากาศเมื่อคืนวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ในรายการแกะกล่องหนังไทย
นักแสดง
- ศิริลักษณ์ ผ่องโชค เป็น ศราวณี
- พล ตัณฑเสถียร เป็น กลินท์
- ธัญญา โสภณ เป็น อังศุมาลิน
- นาตาชา คอฟแมน เป็น ชิตาภา
- สรพงษ์ ชาตรี เป็น วนัส
- พชร ธรรมมล เป็น กลินท์ (ตอนเด็ก)
- พิราวรรณ ประสพศาสตร์ เป็น แม่อร
- มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น คุณยาย
- มานพ อัศวเทพ เป็น หลวงชลาสินธุราช
- สีเทา เป็น ตาผล
- สมพงษ์ พงษ์มิตร เป็น ตาบัว
รางวัลที่ได้รับ
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 20 ประจำปี 2539 สาขาผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ศิริลักษณ์ ผ่องโชค)
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 20 ประจำปี 2539 รางวัลพิเศษ สาขาดาวรุ่งฝ่ายชายยอดเยี่ยม (พล ตัณฑเสถียร)
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2539 ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ธัญญา โสภณ)
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2539 ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม(จำรัส เศวตาภรณ์)
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2539 กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (กลุ่มสหมิตร)
ละครโทรทัศน์
แก้และถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 โดยบริษัท เรด ดราม่า จำกัด บทโทรทัศน์โดย พิง ลำพระเพลิง กำกับการแสดงโดย นพดล มงคลพันธ์ ออกอากาศในเวลา 20.20 น. หลังข่าวภาคค่ำทุกวันจันทร์และอังคาร ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 โดยเนื้อเรื่องดำเนินตามฉบับบทประพันธ์ แต่ต่างจากฉบับภาพยนตร์ตรงที่กลินท์ถูกยิงแต่รอดมาได้ และเรื่องก็ดำเนินต่อไปตามบทประพันธ์จนจบเรื่อง
นักแสดง
- วรเวช ดานุวงศ์ เป็น กลินท์/โยอิจิ
- มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล เป็น ศราวณี
- พรชิตา ณ สงขลา เป็น อังศุมาลิน
- นันทกา วรวณิชชานันท์ เป็น ชิตาภา
- กรุณพล เทียนสุวรรณ เป็น วนัส
- เขมสรณ์ หนูขาว เป็น กบ
- จินตหรา สุขพัฒน์ เป็น แม่อร
- จารุณี สุขสวัสดิ์ เป็น คุณหญิงจิต ชลาสินธุ
- มนตรี เจนอักษร เป็น หลวงชลาสินธุราช
- ค่อม ชวนชื่น เป็น ตาผล
- ถั่วแระ เชิญยิ้ม เป็น ตาบัว
- ศรราม เทพพิทักษ์ เป็น โกโบริ[1]