จารุณี สุขสวัสดิ์

จารุณี สุขสวัสดิ์ (ฝรั่งเศส: แคโรลีน เดส์แน็ช Caroline Desneiges; เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น เปิ้ล เป็นนักแสดงหญิงลูกครึ่งไทย-ฝรั่งเศส ศิลปินและดาวค้างฟ้าตลอดกาล เจ้าของฉายา "ดาราทอง" "ราชินีจอเงิน" "ราชินีนักบู๊" หนึ่งในตำนานนางเอกหนังไทยขวัญใจมหาชน เป็นรองประธานมูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรกรไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีบิดาเป็นชาวฝรั่งเศส ชื่อแฟร์น็อง เดส์แน็ช (Fernand Desneiges) และมารดาเป็นชาวไทย ชื่อระเบียบ สุขสวัสดิ์

จารุณี สุขสวัสดิ์
ชื่อเกิดจารุณี สุขสวัสดิ์
ชื่ออื่นCaroline Desneiges (French)
เกิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (62 ปี)
จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2520–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นพจมาน พินิตนันท์ / สว่างวงศ์บ้านทรายทอง / พจมาน สว่างวงศ์ (2523)
แตงโมลูกสาวกำนัน (2524)
มจ.หญิงรัตนาวดีรัตนาวดี (2528)
คุณหญิงศรีคือหัตถาครองพิภพ (2538)
รุ่งทิพย์ขิงก็รา ข่าก็แรง (2549)
นทีทองนิมิตมาร (2551)
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2525 – ปริศนา
พ.ศ. 2526 – มายาพิศวาส
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2538 – บุญชู 8 เพื่อเธอ
สุพรรณหงส์นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2523 – ช่างเขาเถอะ
พ.ศ. 2525 – สวัสดีไม้เรียว
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2538 – คือหัตถาครองพิภพ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2551 – นิมิตมาร
เมขลานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2531 – ตะรุเตา
คมชัดลึกนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขาละครโทรทัศน์
พ.ศ. 2550 – กรุงเทพฯราตรี

ประวัติ แก้

ก่อนจะเป็นที่รู้จักในวงการบันเทิง จารุณี สุขสวัสดิ์เคยทำงานในสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ (คลองจั่น บางกะปิ) ทำหน้าที่จำหน่ายบัตรผ่านประตูและเครื่องดื่ม บางโอกาสก็แสดงเป็นสโนว์ไวท์ในขบวนพาเหรดของสวนสนุกและยังเคยหารายได้พิเศษด้วยการทำงานรับจ้างเป็นจับกังและคนงานก่อสร้างเพื่อส่งเสียตนเองให้มีโอกาสได้เรียนหนังสือและเจียดเงินส่งให้ครอบครัว

จารุณี แสดงภาพยนตร์ครั้งแรกในสังกัดสีบุญเรืองฟิล์มเรื่อง "สวัสดีคุณครู" เป็นเรื่องแรกภายใต้การกำกับการแสดงของบรมครู "พันคำ" เมื่อปี พ.ศ. 2520 จากการส่งใบสมัครเข้าไป เพื่อต้องการหาเงินมาจุนเจือครอบครัว จนได้รับการคัดเลือก โดยแสดงร่วมกับนางเอกวัยรุ่นอีกคน คือ กาญจนา บุญประเสริฐ และเป็นนางเอกเต็มตัวในภาพยนตร์เรื่องที่สอง "รักแล้วรอหน่อย" (เรื่องเดียวกับ "วนาลี") คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี

พ.ศ. 2523 บ้านทรายทอง กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ แห่งบริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ประสบความสำเร็จท่วมท้น ทำรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 9 ล้านบาทซึ่งถือว่ามหาศาลในยุคนั้น ตามด้วย พจมาน สว่างวงศ์ ซึ่งทำรายได้ถล่มทลายไม่แพ้กัน ทำให้ชื่อของจารุณี สุขสวัสดิ์ เป็นที่ต้องการของบรรดาผู้สร้าง ผู้กำกับ สายหนังและแฟนภาพยนตร์ไทยจนได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่าเป็น "ดาราทอง" นอกจากนี้ จารุณียังเป็นนักแสดงจอเงินเพียงผู้เดียวที่สวมบทบาทเป็นทั้ง "ปริศนา" "เจ้าสาวของอานนท์" และ "รัตนาวดี" จากนวนิยายไตรภาค บทประพันธ์ของหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิตหรือ ว.ณ ประมวญมารค โดยรัตนาวดีถือเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายภายใต้การกำกับการแสดงของรุจน์ รณภพที่จารุณีแสดงให้กับบริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่นในฐานะนักแสดงนำหญิง ก่อนที่หลายปีต่อมา จารุณีจะมารับบทเป็นนักแสดงสมทบให้กับบริษัทไฟว์สตาร์อีกครั้งในเรื่อง "บุญชุ 8 เพื่อเธอ"

ภาพยนตร์ที่จารุณีแสดงโดยเฉพาะในยุคเฟื่องฟูนั้นจะเรียกติดปากโดยอัตโนมัติว่า "หนังจารุณี" ทั้งๆ ที่จารุณีไม่ได้เป็นผู้กำกับการแสดงหรือผู้สร้าง เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นนักแสดงเท่านั้น ภาพยนตร์ที่จารุณีแสดงส่วนใหญ่มักได้รับการพากย์เสียงโดย ดวงดาว จารุจินดา พระเอกในวงการที่ถือเป็นคู่ขวัญของจารุณีมี 3 คน คือ สรพงศ์ ชาตรี พระเอกอันดับหนึ่งแห่งยุค, ทูน หิรัญทรัพย์ พระเอกคู่ขวัญของจารุณีที่ประชาชนให้การชื่นชอบและยอมรับมากที่สุด และพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ที่ถือเป็นพระเอกคู่ขวัญในยุคท้ายของจารุณี

จารุณี สุขสวัสดิ์ มีงานหลั่งไหลเข้ามามากมายจนได้ชื่อว่าเป็น "นางเอกคิวทอง" สามารถแสดงได้ทุกบทบาททั้งชีวิต บู๊ ตลก แก่น เซี้ยว เปรี้ยว ซนและได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนั้น เนื่องจากจารุณีมีรัศมีความเป็นสุดยอดดารา (Superstar) แสดงภาพยนตร์เป็นธรรมชาติ มีฝีมือและเสน่ห์ (charismatic) ในการแสดงที่แพรวพราว หาตัวจับได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นสีหน้าท่าทาง แววตา อารมณ์และความรู้สึก ภาพยนตร์ของเธอทำเงินทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ฟอร์มเล็กหรือฟอร์มใหญ่ ถึงขนาดมีการการันตีว่า "ถ้าหนังเรื่องไหนได้จารุณีเป็นนางเอกแล้ว รับรองไม่มีเจ๊งหรือขาดทุนอย่างแน่นอน" แฟนภาพยนตร์เป็นจำนวนมากที่รักและศรัทธาในตัวจารุณีได้ก่อตั้ง "ชมรมสุขสวัสดิ์" ขึ้นเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน ถือเป็นแฟนคลับยุคแรกๆ ของศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ยุคที่ยังไม่มีระบบสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยเหมือนในยุคปัจจุบัน

แม้ว่าจารุณี สุขสวัสดิ์ จะเป็นนักแสดงมืออาชีพที่มีชื่อเสียงโด่งดังสุดขีดระดับตำนานประวัติศาสตร์ "ราชินีหนังไทย" และ "ราชินีจอเงิน" นับจาก เพชรา เชาวราษฎร์แล้ว ในด้านชีวิตส่วนตัวกลับต้องทำงานหนักตลอดเวลา ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอและประสบมรสุมชีวิตหนักๆ หลายครั้ง เช่น เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งแรกขณะขี่เรือหางยาวเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ลูกสาวกำนัน" จนเกือบเสียชีวิต อุบัติเหตุร้ายแรงครั้งที่สอง ระหว่างเดินทางในกองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง "บ้านสีดอกรัก" ที่เชียงใหม่ จนเกือบต้องพิการตลอดชีวิต และประสบปัญหาด้านสุขภาพ มีอาการตัวบวมเนื่องจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "วันนี้ยังมีรัก" ประกอบกับในช่วงนั้น รายได้และจำนวนการผลิตหนังไทยเริ่มลดลง เป็นผลให้จารุณี สุขสวัสดิ์ ต้องหยุดงานภาพยนตร์ไปช่วงระยะเวลาหนึ่งทั้ง ๆ ที่ยังมีชื่อเสียงอยู่ ในที่สุดจารุณี สุขสวัสดิ์ ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่วงการละครโทรทัศน์ ผลงานละครโทรทัศน์เรื่องแรก คือ ไฟเสน่หา หลังจากนั้นจึงมีผลงานเพลงกับค่ายคีตาและงานบันเทิงด้านต่าง ๆ เช่น พิธีกร ละครเวที เป็นต้น

ในวงการภาพยนตร์ไทย นางเอกภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและมีดีกรีความโด่งดังระดับแม่เหล็กของวงการ เรียกว่าเป็นราชินีจอเงินที่ดังเป็นพลุ มีอยู่ 2 ท่านเท่านั้น คือ เพชรา เชาวราษฎร์ (2504-2513) และจารุณี สุขสวัสดิ์ (2520-2529)

ประสบอุบัติเหตุ แก้

ย้อนกลับเมื่อปี 2524 จารุณีได้ประสบอุบัติเหตุกลางกองถ่าย "ลูกสาวกำนัน" ภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2524 โดยวันที่ 9 กุมภาพันธ์ กองถ่ายทำภาพยนตร์ได้ถ่ายทำที่คลอง 10 รังสิต จังหวัดปทุมธานี ปรากฏว่า เวลา 10.00 น. จารุณี สุขสวัสดิ์ประสบอุบัติเหตุสะเทือนขวัญ เนื่องจากต้องเข้าฉากขับเรือหางยาวผาดโผน โดยขับเรือกระโจนด้วยความเร็วสูงข้ามเรือบดที่จอดขวางอยู่ แต่กราบขวาเรือกลับแหวกทางน้ำกระแทกเสาตอม่อสะพานข้ามคลอง ทำให้สภาพของเรือพังยับเยิน ส่วนผจญ ดวงขจร ซึ่งนั่งอยู่ทางหัวเรือ ถูกแรงอัดจากเสาสะพานเข้าที่ด้านขวาของร่างกาย ร่างของจารุณี และผจญ จึงลอยละลิ่วพลัดตกลงไปในน้ำ อาการบาดเจ็บของจารุณี มีข้อมือขวาแตก ใบหน้าด้านขวามีรอยถลอก ดั้งจมูกหัก ข้อเท้าบวม ต่อมาถูกนำส่งโรงพยาบาลเปาโล เพื่อทำการผ่าตัดฝ่ามือ และดามเส้นลวด พร้อมทั้งเข้าเฝือกที่แขน โดยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานร่วมเดือนจนหายเป็นปกติ[1]

ต่อมาในปี 2527 จารุณีได้ประสบอุบัติเหตุอีกครั้งในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "บ้านสีดอกรัก" เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขณะถ่ายทำที่เชียงใหม่ ซึ่งมีดาราหลายคนที่ร่วมโดยสารไปด้วยและได้รับบาดเจ็บ เช่น จารุณี สุขสวัสดิ์ เนาวรัตน์ ยุกตะนันทน์ ธงไชย แมคอินไตย์ พรพรรณ และ สรพงศ์ ชาตรี ในเหตุการณ์นี้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่สุดคือ จารุณี สุขสวัสดิ์[2]

ผลงานภาพยนตร์ แก้

พ.ศ. 2520
  1. สวัสดีคุณครู
พ.ศ. 2521
  1. รักแล้วรอหน่อย คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี
  2. ครูขาหนูเหงา
พ.ศ. 2522
  1. สลักจิต
  2. ส.ต.ท บุญถึง
  3. เสือภูเขา
  4. สุดห้ามใจรัก
พ.ศ. 2523
  1. บ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์
  2. พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ
  3. 2 พยัคฆ์
  4. ทองผาภูมิ
  5. วัยสวิง
  6. ช่างเขาเถอะ
  7. แผ่นดินแห่งความรัก
  8. มันมือเสือ
  9. นักเลงตาทิพย์
  10. นายอำเภอคนใหม่
พ.ศ. 2524
  1. นางสาวโพระดก
  2. ไอ้ค่อม
  3. สาวน้อย
  4. ลูกสาวกำนัน
  5. แก้วตาพี่
  6. ดำอำมหิต
  7. รักข้ามคลอง
  8. คุณปู่ซู่ซ่า
  9. กำแพงหัวใจ
  10. อาจารย์โกย
  11. เจ้าพ่อภูเขียว
  12. แม่กาวาง
  13. ไอ้แก่น
  14. สุดปรารถนา
พ.ศ. 2525
  1. ปริศนา
  2. แสนซน
  3. ยอดเยาวมาลย์
  4. แม่แตงร่มใบ
  5. แววมยุรา
  6. ดาวพระเสาร์
  7. เทพธิดาโรงงาน
  8. คุณรักผมไหม
  9. ไอ้หนึ่ง
  10. รัตติกาลยอดรัก
  11. สวัสดีไม้เรียว
  12. คุณย่าเซ็กซี่
  13. นักสืบฮาร์ท
  14. สาวจอมกวน
  15. นางแมวป่า
  16. เจ้าสาวของอานนท์
พ.ศ. 2526
  1. นิจ
  2. แม่ดอกกระถิน
  3. มายาพิศวาส
  4. ลูกสาวกำนัน ภาค 2
  5. พยัคฆ์ร้าย 191
  6. อย่าดีกว่า
  7. เลขาคนใหม่
  8. เจ้าสาวเงินล้าน
  9. แม่ยอดกะล่อน
  10. ยอดอนงค์
  11. ไอ้แก้วไอ้ทอง
  12. กำนันสาว
  13. บ้านน้อยกลางดง
  14. มัทรีที่รัก
  15. นางสิงห์แก้มแดง
  16. สามอนงค์
  17. มหาเฮง
  18. มรกตดำ
  19. ครั้งหนึ่งเราเคยรักกัน
  20. รักกันวันละนิด
  21. เพลงรักก้องโลก
พ.ศ. 2527
  1. ลูกทุ่งพเนจร
  2. แรงอธิษฐาน
  3. แล้วเราก็รักกัน
  4. วันนั้นคงมาถึง
  5. รักต้องโกย
  6. โคตรคนจริง
  7. รักสุดหัวใจ
  8. ลูกสาวคนใหม่
  9. เลดี้ฝรั่งดอง
  10. น.ส. ลูกหว้า
  11. บ้านสีดอกรัก
  12. น้ำผึ้งป่า
พ.ศ. 2528
  1. กัลปังหา
  2. นักร้องพ่อลูกอ่อน
  3. หลานสาวเจ้าสัว
  4. รักสองต้องห้าม
  5. ยอดรักยอดพยศ
  6. หมอบ้านนอก
  7. เขยบ้านนอก
  8. ผู้การเรือเร่
  9. วัยเรียนเพี้ยนรัก
  10. รัตนาวดี
  11. มาธาดอร์จอมเพี้ยน
  12. ตำรวจบ้าน
พ.ศ. 2529
  1. ลูกสาวเถ้าแก่เฮง
  2. แด่คุณครูด้วยดวงใจ
  3. เครื่องแบบสีขาว
  4. เจ้าสาวมะลิซ้อน
  5. ราชินีดอกหญ้า
  6. แม่ดอกรักเร่
  7. ยุ่งนักรักซะเลย
  8. ชมพู่แก้มแหม่ม
  9. โกยมหาสนุก
  10. อินทรีสาว
  11. วันนี้ยังมีรัก
  12. สิ้นสวาท
พ.ศ. 2530
  1. ภูตเสน่หา
  2. หัวละแสน
  3. สะใภ้เถื่อน
  4. เมียคนใหม่
  5. เปรอะเจอเปรี้ยว
พ.ศ. 2531
  1. แก่นแก้ว
  2. ทายาทคนใหม่
  3. ดวงพลุแตก
  4. มือปืน 2 ไอ้มือดำ
  5. สวยเหี้ยม
  6. ภูผาทอง
  7. เพชรเหนือเพชร
  8. อินทรีผยอง
  9. สองเกลอเจอทีเด็ด
  10. กองร้อยสอยรัก
  11. เหยื่ออารมณ์
  12. ทองเถื่อน
  13. เหยื่อตัณหา
  14. เกร็ดแก้ว
พ.ศ. 2537
  1. อีสาวโรงงาน
พ.ศ. 2538
  1. บุญชู 8 เพื่อเธอ
  2. ขีดเสันตาย
  3. ผีไม่มีหลุม
พ.ศ. 2551
  1. ปืนใหญ่จอมสลัด

ผลงานละครโทรทัศน์ แก้

พ.ศ. เรื่อง รับบท ออกอากาศ
2530 ไฟเสน่หา ชิดสมัย ช่อง 3
นางสาวโพระดก
2531 ตะรุเตา อรยุพา ช่อง 7
2532 สายลับสองหน้า อาริยา
2533 ทูตมรณะ รติการ
2535 รอยทางแห่งความฝัน ทอฝัน ช่อง 9
2536 ศพ 5 ปี มัลลิกา ช่อง 3
2537 หัวใจลายคราม จามรี ช่อง 5
2538 คือหัตถาครองพิภพ คุณหญิงศรี ช่อง 7
เมื่อหมอกสลาย พวงเพชร
2539 ดั่งดวงหฤทัย พระราชเทวี (แคว้นพันธุรัฐ)
แผ่นดินของเรา สายสวรรค์ ช่อง 5
เข็มซ่อนปลาย เรไร ช่อง 3
ขบวนการเก็บหมอก วารณี
2540 บ้านบุษบาบัณ บุษราคัม ช่อง 7
รักต้องลุ้น ภัทรา ช่อง 3
หวานใจ แม่พุก
ตะวันยอแสง สาย
เขมรินทร์ อินทิรา แอฟ ช่อง 5
2541 บุญชูสระอูยาว มานี
ไฟลวง พรวลัย ช่อง 3
2542 สลักจิต เพียงเพ็ญ
รังหนาว ฟาร่าห์
ยอดยาหยี ทักษิณา
ตามรอยรัก อรเอียด ช่อง 7
2543 ร้ายเดียงสา สายสุดา
น้ำผึ้งขม โรส ช่อง 3
กำแพงรัก เรียมใจ
2544 ปลาร้าทรงเครื่อง มารศรี
เส้นสายลายรัก การะเกด
เลือดหงส์ สร้อย ช่อง 5
ขมิ้นกับปูน ปริก ช่อง 3
ทายาทอสูร สุดาดวง ช่อง 7
2545 ใครกำหนด สมพิศ บทมาลย์บำเรอ (คุณเธอ)
มนต์รักแม่น้ำมูล คำแพง ช่อง 5
2546 ใยเสน่หา เปรมา (คุณหน่อย) ช่อง 3
กาเหว่าที่บางเพลง ยุพา
เจ้านายวัยกระเตาะ รตี เพชรรุ่งเรือง
2547 คู่กรรม คุณหญิงชื่นจิต ชลาสินธ์
คู่กรรม 2
แฝดพี่ฝาดน้อง คุณหญิงปราศรัย
เสน่ห์จันทร์ สาย ช่อง 5
ไฟในวายุ ธรา ช่อง 7
2548 สาทรดอนเจดีย์ วรกาญจน์ ช่อง 3
กุหลาบสีดำ ปัทมา
แก้วลืมคอน น้อย ช่อง 5
รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร แม่ธนัญญา
2549 ขิงก็รา ข่าก็แรง รุ่งทิพย์ ช่อง 7
2550 ฟ้ามีตะวัน หัวใจฉันมีเธอ เนตรเสลา
กรุงเทพฯ ราตรี ผกา ช่อง 3
2551 นิมิตมาร นทีทอง ชัยวรรธนา
2552 หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น ไขแสง
สายสืบดิลิเวอรี่ โรส
2553 เจ้าสาวริมทาง พักตร์พิไล ช่อง 7
มาลัยสามชาย จรวย ช่อง 5
2555 ดอกโศก มิสซิสเบนส์
แม่ยายคงกระพัน อุ่นเรือน ช่อง 3
2556 แผนร้ายพ่ายรัก คุณหญิงแสงสุดา
ปีกมาร สลัก ช่อง 5
2557 อนิลทิตา แม่เฒ่านายิกี
ฝันเฟื่อง คุณหญิงหิรัญญิการ์ ช่องวัน
2558 เล่ห์รตี คุณหญิงมาริสา สุทธกานต์
บัลลังก์เมฆ ร้อยกรอง ดิเรกวิทยา
ครอบครัวตึ๋งหนืดตืดขั้นเทพ แช่อิ่ม ช่อง 7
รักเร่ นิตยา
2560 แต่ปางก่อน หม่อมพเยีย ช่องวัน 31
โซ่เสน่หา คุณนายลิ้นจี่ ช่อง 7
2561 พ่อมดเจ้าเสน่ห์ คุณนายตลับ
2562 พยัคฆ์ร้ายสายสลับ เจน วัลลภา True4U
ภูตพิศวาส คุณมณี กสิกรรม ช่องวัน 31
2563 เศรษฐีตีนเปล่า คุณนายลำไย มะติ่งแดง ช่อง 7
2564 ตุ๊กตา สมร
2565 ทายาทพันธุ์ข้าวเหนียว บัวเรียน คำแพงกุล ช่องวัน 31
2566 ไฟลวง งามพิศ Amarin TV

พิธีกร แก้

รายการ 2 ป. ขอเล่าเรื่อง คู่กับ อัญชะลี ไพรีรัก ช่อง ท็อปนิวส์ รายการ Top Health Story สุขภาพแบบท็อป ๆ ช่อง เจเคเอ็น 18

ละครสั้น แก้

  • ตะกายดาว ตอน น้ำตาดาว (ช่อง 9/2533) (รับเชิญ)
  • ครูซ่อนกลิ่น (ช่อง 7/2537) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • ผ้าไหมผืนใหม่ (ช่อง 7/2538) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • เตียงวิวาห์ (ช่อง 7/2538) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • บุพเพสันนิวาส (ช่อง 7/2538) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • ละครเทิดพระเกียรติชุดใต้แสงตะวัน ตอน ดวงประทีป (ช่อง 7/2542)
  • ละครเทิดพระเกียรติ เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ (ช่องวัน 31/2559)

ผลงานเพลง แก้

คอนเสิร์ต แก้

  • คอนเสิร์ต แบบ เบิร์ด เบิร์ด ตอน จะบินไปให้ไกลสุดขอบฟ้า (2533)

มิวสิกวิดีโอ แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

สาขานำหญิง

  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ปี 2523 จากภาพยนตร์เรื่อง "ช่างเขาเถอะ"
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ปี 2525 จากภาพยนตร์เรื่อง "สวัสดีไม้เรียว"
  • รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2525 จากภาพยนตร์เรื่อง "ปริศนา"
  • รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2526 จากภาพยนตร์เรื่อง "มายาพิศวาส"
  • รางวัลเมขลา ปี 2531 จากละครโทรทัศน์เรื่อง "ตะรุเตา"
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2538 จากละครโทรทัศน์เรื่อง "คือหัตถาครองพิภพ"

สาขาสมทบหญิง

  • รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2538 ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง "บุญชู 8 เพื่อเธอ"
  • คมชัดลึกอวอร์ด ปี 2550 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง "กรุงเทพฯราตรี"
  • ดาราภาพยนตร์อวอร์ด 2007 ปี 2550 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง "ฟ้ามีตะวัน หัวใจฉันมีเธอ"
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2551 ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น จากละครโทรทัศน์เรื่อง "นิมิตมาร"

สาขาอื่น ๆ

  • รางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน 2524 (หนังสือพิมพ์ บ้านเมือง)
  • ดาราทอง ปี 2523-2525
  • โล่ห์เกียรติยศ "โลกดารา" จาก แก้วตาพี่ ลูกสาวกำนัน
  • วิก 07 ทองคำ (Popular Vote)
  • ดาราหญิงที่ประทับใจ (Popular Vote) จากบันทึกรักหน้าเหลือง 2539
  • รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ด้านส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประจำปี 2550
  • รางวัลเทพทอง ปี 2550
  • รางวัล ตำแหน่ง Most of Actress ปี 2554 เนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปี นิตยสารเปรียว
  • รางวัลเกียรติยศนักแสดงภาพยนตร์สาขาแอ็คชั่น ปี 2554
  • รางวัลโลตัสอวอร์ด (Lotus Award for Life Time Achievement 2013) เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2556
  • รางวัลเมขลา นางเอกราชินีภาพยนตร์ไทย ปี 2557

อ้างอิง แก้

  1. "ลูกสาวกำนัน (2524)". ไทยบันเทิง.
  2. "บ้านสีดอกรัก (2527)". ไทยบันเทิง.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้