กาเหว่าที่บางเพลง

กาเหว่าที่บางเพลง เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ ผลงานประพันธ์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ช่วงประมาณ พ.ศ. 2530 ตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2532

ฉากภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2537

กาเหว่าที่บางเพลง มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับ หมู่บ้านบางเพลง ที่ถูกอำนาจลึกลับจากนอกโลกครอบงำในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง เกิดพระจันทร์ทรงกลดขึ้นเหนือหมู่บ้าน จากนั้นผู้หญิงทั้งหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นเด็ก หญิงสาว หญิงชรา หรือแม่ชี ต่างก็ตั้งครรภ์ขึ้นมาพร้อมกันอย่างหาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้ เมื่อทารกคลอดออกมา เด็กทั้งหมดที่เกิดมามีอำนาจวิเศษเหนือมนุษย์ คล้ายกับมนุษย์ต่างดาว

กาเหว่าที่บางเพลง นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยเมื่อ พ.ศ. 2537 กำกับโดย นิรัตติศัย กัลย์จาฤก นำแสดงโดย ศรัณยู วงศ์กระจ่าง, หัทยา เกษสังข์, ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, รุ้งทอง ร่วมทอง, จรัล มโนเพ็ชร, สุรัตนา ข้องตระกูล, รุจน์ รณภพ, พรรษวุฒิ เมทะนี และได้รับการนำไปฉายที่เทศการภาพยนตร์นานาชาติโดยในช่วงต้นมีข้อความว่าได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องสั้นในชื่อเดียวกัน แต่ก็เป็นอีกครั้งที่ไม่ได้มีการอ้างถึง The Midwich Cuckoos แต่อย่างใด[1] ภาพยนตร์ทำรายได้ 46.50 ล้านบาท[2]

เมื่อ พ.ศ. 2546 อาร์เอส นำเรื่องกาเหว่าที่บางเพลง สร้างเป็นละครโทรทัศน์ ออกอากาศทางช่อง 3 [3]

ละครโทรทัศน์แก้ไข

แม่แบบ:ขาดอ้างอิง-ส่วน

กาเหว่าที่บางเพลง
 
ประเภทดรามา-แฟนตาซีไซไฟ
สร้างโดยบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน)
เขียนโดยบทประพันธ์: หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
บทโทรทัศน์: ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
กำกับโดยกมล ศรีสวัสดิ์
แสดงนำ
ธีมเปิด"เมื่อวานยังไม่ผ่านไป" - ขับร้องโดย พิมพ์พนัช เหลืองวิพัฒน์, วรชาต์ เล็กวิจิตรธาดา, ภัคดรณ์ ลีนุตพงษ์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน14 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้าง
  • ธราธร ชิวหาวรรณ
  • คมสัน ศรีสวัสดิ์
ความยาวตอน45 นาที / ตอน
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศพ.ศ. 2546

พ.ศ. 2546 กาเหว่าที่บางเพลง' ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์แนวดรามา จากการเขียนบทโทรทัศน์ของ ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ กำกับการแสดงโดย กมล ศรีสวัสดิ์ ผลิตโดย บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 19.00 -19.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา, อาทิตย์ ตั้งสวัสดิ์รัตน์, ฐนิชา ดิษยบุตร

รายชื่อนักแสดงและการสร้างแก้ไข

ปี พ.ศ. 2546
สถานีออกอากาศ ช่อง 3
ผู้สร้าง บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน)
ผู้กำกับการแสดง กมล ศรีสวัสดิ์
บทโทรทัศน์ ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
ผู้ขับร้องเพลงนำ พิมพ์พนัช เหลืองวิพัฒน์
วรชาต์ เล็กวิจิตรธาดา
ภัคดรณ์ ลีนุตพงษ์
วันเวลาออกอากาศ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 19.00 -19.45 น.
ประพันธ์ สรศิวัฒน์ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ครูแก้ว กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา
สมรักษ์ อาทิตย์ ตั้งสวัสดิ์รัตน์
พิม ฐนิชา ดิษยบุตร
เดช ธวัช ทัศนาพลพินิจ
ครูสมศักดิ์ (สามีของครูยุพา) เกรียงไกร อุณหะนันทน์
ครูยุพา (ภรรยาของครูสมศักดิ์) จารุณี สุขสวัสดิ์
สารวัตรสุทัศน์ ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย
ครูจ้อย ชไมพร สิทธิวรนันท์
ครูฟื้น (ครูใหญ่โรงเรียนบางเพลง) ไพโรจน์ ใจสิงห์
อาจารย์ศิริ กลศ อัทธเสรี
หลวงพ่อ สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์
ป้าเชื้อ จันทนา ศิริผล
ลุงผั๋น โกร่ง กางเกงแดง
ยายแม้น พิศมัย ภักดีวิจิตร
ผู้ใหญ่บุญศักดิ์ สุรศักดิ์ ชัยอรรถ
นาง (ภรรยาของผู้ใหญ่บุญศักดิ์)
ตาจง (ภรรยาของยาย) สุพจน์ แกนมีผล
ยาย (สามีของตาจง) นัยนา จันทร์เรือง
แดง แขก แมคด้อก
ปีก แฟรงค์ เจษฎา
สมบูรณ์ (พ่อของครูแก้ว) สุวัจชัย สุทธิมา
ทองอิ่ม (แม่ของครูแก้ว)
พิม (วัยเด็ก) เด็กหญิงลักษมี ทรัพย์ปรุง
แม่แจ่ม จุฑาทิพย์ คิดการดี
แม่ต้อย
แม่จำรูญ
นายแพทย์
ยุวศักดิ์ มณฑล ปริวัฒน์
วิทยา โกมลฐิติกานต์
สมพร เปรมินทร์ วงศ์เบี้ยสัจจ์
สมใจ เบญจณัฏฐ์ อักษรนันทน์
สมหมาย พันธ์ธวัช บูลย์เวช
สมปอง นิลฑิตา ญาณะรักษ์
นักแสดงรับเชิญ
เจิด จตุรงค์ โกลิมาศ
หยาด (ภรรยาของนายเจิด)
ประนอม สรศิวัฒน์ (แม่ของประพันธ์) กิ่งดาว ดารณี
นางไหว ราตรี วิทวัส
ศักดิ์ (ภรรยาของนางชื่น) ไกรลาศ เกรียงไกร
ชื่น (สามีนายศักดิ์) ช้องมาศ พลับพลา
หมอตำแย บุญศรี ยินดี
นางแย้ม
สมชาย
น้าของครูแก้ว
ภูแดง (หลานสาวทองอิ่ม)
แม่สงวน (ผู้ทรงศีล)
นางสะไหล
อาแป๊ะ
เปือก
เฉิ้ม
นายหมู่
จ่ายอด
นาย
นางแกม
พ่อจัน
แม่แตง
แม่ปริก

เพลงประกอบละครแก้ไข

  • เพลง เมื่อวานยังไม่ผ่านไป ขับร้องโดย พิมพ์พนัช เหลืองวิพัฒน์ วรชาต์ เล็กวิจิตรธาดา ภัคดรณ์ ลีนุตพงษ์ (เพลงเปิด)
  • เพลง ดาว ขับร้องโดย ขับร้องโดย พิมพ์พนัช เหลืองวิพัฒน์ วรชาต์ เล็กวิจิตรธาดา ภัคดรณ์ ลีนุตพงษ์ (เพลงปิด)

อ้างอิงแก้ไข

  1. "And You Call Yourself a Scientist! - Cuckoos at Bangpleng (1994)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2009-01-31.
  2. 100 อันดับหนังไทย ที่ทำรายได้สูงที่สุด
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-07-15.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข