ดรามา (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)

ในภาพยนตร์และโทรทัศน์ ดรามา หรือ นาฏกรรม บ้างเรียก ภาพยนตร์ชีวิต หรือ ละครชีวิต[1][2][3] (อังกฤษ: Drama) เป็นประเภทของเรื่องเล่าบันเทิงคดี (หรือกึ่งบันเทิงคดี) ที่มีความเอาจริงเอาจังกว่าความตลกขบขันเชิงโทน (tone)[4] ดรามาประเภทนี้มักได้รับการยอมรับอย่างเป็นกิจลักษณะด้วยคำศัพท์เพื่ออธิบายความเฉพาะของประเภทย่อยมาก (super-genre), ประเภทย่อยที่หลากหลาย (macro-genre) หรือ ประเภทย่อยน้อย (micro-genre)[5] เช่น ละครชุดชาวบ้าน (soap opera), ดรามาอาชญากรรมตำรวจ, ดรามาการเมือง, ดรามากฎหมาย, ดรามาอิงประวัติศาสตร์, ดรามาครอบครัว (domestic drama), ดรามาวัยรุ่น (teen drama), และ หัสนาฏกรรม (comedy drama, dramedy) คำศัพท์เหล่านี้มีไว้เพื่อชี้ให้เห็นถึงฉากท้องเรื่อง (setting) หรือสาระสำคัญของเรื่องอย่างเจาะจง มิฉะนั้น จะถูกมองเป็นอื่นว่ามีโทนดรามาที่เอาจริงเอาจังกว่าโดยส่วนประกอบที่ส่งเสริมกรอบของอารมณ์ (mood) ที่กว้างกว่า ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบหลักของดรามาคือการเกิดขึ้นของความขัดแย้ง,[6] อารมณ์, สังคม หรือองค์ประกอบอื่น และการแก้ปัญหานั้น ๆ ในลำดับเหตุการณ์ของเนื้อเรื่อง

วิมานลอย เป็นดรามาจินตนิยม (romance drama) ที่มีชื่อเสียง

ภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ทุกรูปแบบที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องบันเทิงคดี (fictional stories) คือหนึ่งในรูปแบบของนาฏกรรมโดยภาพรวมหากการเล่าเรื่องนั้นสำเร็จผ่านนักแสดงผู้ทำหน้าที่แทนเป็น (การจำลอง[6][a]) ตัวละคร ในความหมายที่กว้างขึ้น ดรามาคืออารมณ์ (mode) ซึ่งแตกต่างจากนวนิยาย, เรื่องสั้น, และกวีนิพนธ์เรื่องเล่า (narrative poetry) หรือเพลง[7] ในยุคสมัยใหม่ก่อนการเกิดขึ้นของภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ "ดรามา" ในโรงภาพยนตร์เป็นส่วนหนึ่งในประเภทของละครเวทีซึ่งไม่ใช่ทั้งสุขนาฏกรรมหรือโศกนาฏกรรม ดังนั้นจึงมีการสร้างความหมายให้แคบลงโดยอุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีการจำกัดความสำหรับ "ละครวิทยุ" นั้นสามารถแสดงประเภทของละครเวทีได้ทั้งสองแบบ[8]

รูปแบบของดรามา แก้

อนุกรมวิธานนักประพันธ์บท (Screenwriters Taxonomy) โต้เถียงว่าการแบ่งประเภทภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์นั้นอิงจากบรรยากาศ, ตัวละคร และเรื่องราว[5] ด้วยเหตุนี้การแบ่งประเภทว่าเป็น "ดรามา" และ "สุขนาฏกรรม" นั้นกว้างเกินไปที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นประเภท ดังนั้น อนุกรมวิธานอธิบายว่าดรามาเป็น "รูปแบบ" (type) โดยมีอย่างน้อย 10 รูปแบบย่อย[9] เช่น:

  • ดรามากึ่งสารคดี (docudrama) คือ การแปลงให้เป็นบทละครหรือภาพยนตร์ของเหตุการณ์จริงโดยไม่ได้มีความถูกต้องเสมอไป และข้อเท็จจริงทั่วไปนั้นมีความจริงอยู่มากหรือน้อย[10] ความแตกต่างระหว่างดรามากึ่งสารคดีและสารคดีนั้น สารคดีใช้บุคคลจริงเพื่ออธิบายประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน ขณะที่ดรามากึ่งสารคดีใช้นักแสดงที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญเพื่อสวมบทบาทในเหตุการณ์จริงซึ่งได้่รับการแปลงบทเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น อาชญากรซ่อนเขี้ยว (ค.ศ. 2015) และ ตามล่ารหัสฆ่าฆาตกรอำมหิต (ค.ศ. 2007)
  • บันเทิงคดีอิงเอกสาร (docufiction) ซึ่งแตกต่างจากดรามากึ่งสารคดีที่บันเทิงคดีเอกสารเป็นการรวมกันระหว่างสารคดีและบันเทิงคดีเข้าด้วยกัน โดยมีภาพหรือเหตุการณ์จริงผสมรวมเข้ากับฉากที่สร้างขึ้นใหม่[11]
  • หัสนาฏกรรม (comedy drama) คือ เรื่องเล่าที่มีความจริงจังแต่มีตัวละครบางตัวหรือฉากบางฉากซึ่งน่าตลกขบขันโดยตัวเอง[12] เช่น เดอะเบสต์เอ็กโซติกมาริโกลด์โฮเทล (ค.ศ 2011), ลุกขึ้นใหม่ หัวใจมีเธอ (ค.ศ. 2012) และ ชีวิตมหัศจรรย์ ทรูแมน โชว์ (ค.ศ. 1998)
  • ไฮเปอร์ดรามา (hyperdrama) ได้รับการประดิษฐ์คำโดยศาสตราจารย์ในวงการภาพยนตร์ เค็น ดานซีเกอร์ เพื่ออธิบายเรื่องเล่าที่มีตัวละครหรือสถานการณ์เกิดจริงจนถึงจุดที่กลายเป็นนิทานอุทาหรณ์[6] (fable), ตำนาน หรือเทพนิยาย[6] (fairy tale) เช่น คุณจิ้งจอกจอมแสบ (ค.ศ. 2009) และ มาเลฟิเซนต์ กำเนิดนางฟ้าปีศาจ (ค.ศ. 2014)
  • ไลท์ดรามา (light drama) เรื่องเล่าเบิกบานหรือสบายใจหากแต่มีความเคร่งขรึม[13] เช่น คุณนายตัวดี สาวใช้ตัวดำ (ค.ศ. 2011) และ ด้วยรักและมิตรภาพ (ค.ศ. 2011)
  • ดรามาจิตวิทยา (psychological drama) คือดรามาที่ให้ความสำคัญกับชีวิตเบื้องลึกและปัญหาทางจิตใจของตัวละคร[14] เช่น เคลียร์บัญชีแค้นจิตโหด (ค.ศ. 2003), อาชญากรรม / ความหวัง / การสูญเสีย (ค.ศ. 2006) และ ตีให้ลั่น เพราะฝันยังไม่จบ (ค.ศ. 2014)
  • ดรามาเสียดสี (satire) อาจมีอารมณ์ขันแทรกอยู่ แต่ผลลัพธ์โดยทั่วไปนั้นคือการวิจารณ์สังคมอย่างแหลมคมซึ่งจะไม่ใช่เรื่องตลกแม้แต่น้อย ดรามาเสียดสีมักใช้การแฝงนัย (irony) หรือ การกล่าวเกินจริง เพื่อเปิดเผยความผิดพลาดในสังคมหรือบุคคลผู้มีอิทธิพลต่ออุดมการณ์ของสังคม[15] เช่น อัจฉริยะผ่าโลกเพี้ยน (ค.ศ. 2006) และ กิวฟอร์สโมกกิง (ค.ศ. 2005)

อ้างอิง แก้

  1. พลอยพรรณ มาคะผล. ละครรีเมกกับการถ่ายโยงเนื้อหาในละครโทรทัศน์ไทย
  2. ทิพย์ภาศิริ แก้วเทศ. การเปลี่ยนผ่านละครโทรทัศน์ไทยจากยุคแอนะล็อกสู่ยุคดิจิทัล
  3. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล". "ประเภทของภาพยนตร์ที่โดนใจคนไทยมากที่สุด"
  4. "Drama". Merriam-Webster, Incorporated. 2015. a play, movie, television show, that is about a serious subject and is not meant to make the audience laugh
  5. 5.0 5.1 Williams, Eric R. (2017). The screenwriters taxonomy : a roadmap to collaborative storytelling. New York, NY: Routledge Studies in Media Theory and Practice. ISBN 978-1-315-10864-3. OCLC 993983488.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 ราชบัณฑิตยสถาน. ศัพท์วรรณกรรม (พิมพ์ครั้งที่ ๒ (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๖๑) ราชบัณฑิตยสถาน
  7. Elam (1980, 98).
  8. Banham (1998, 894–900).
  9. Williams, Eric R. (2017). Screen adaptation : beyond the basics : techniques for adapting books, comics, and real-life stories into screenplays. New York: Focal Press. ISBN 978-1-315-66941-0. OCLC 986993829.
  10. "Documentary Is Never Neutral | History". www.documentaryisneverneutral.com. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  11. "Producing Docu-Fiction | Center for Documentary Studies at Duke University". documentarystudies.duke.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  12. Williams, Eric R. (2019). Falling in Love with Romance Movies (Episode #3 Comedy and Tragedy: Age Does Not Protect You ) (ภาษาอังกฤษ). Audible.
  13. Jones, Phil, 1958 April 22- (2007). Drama as therapy : theory, practice, and research (2nd ed.). London: Routledge. ISBN 978-0-415-41555-2. OCLC 85485014.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. "Subgenre - Psychological Drama". AllMovie (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
  15. Williams, Eric R. (2019). Falling in Love with Romance Movies (Episode #8 Satire and Social Commentary) (ภาษาอังกฤษ). Audible.

แหล่งข้อมูล แก้

  • Banham, Martin, ed. 1998. The Cambridge Guide to Theatre. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-43437-8.
  • Cook, Pam, and Mieke Bernink, eds. 1999. The Cinema Book. 2nd ed. London: British Film Institute. ISBN 0-851-70726-2.
  • Elam, Keir. 1980. The Semiotics of Theatre and Drama. New Accents ser. London and New York: Methuen. ISBN 0-416-72060-9.
  • Hayward, Susan. 1996. Key Concepts in Cinema Studies. Key Concepts ser. London: Routledge. ISBN 0-415-10719-9.
  • Neale, Steve. 2000. Genre and Hollywood. London: Routledge. ISBN 0-415-02606-7.
  • Sheehan, Helena. 1987. Irish Television Drama: A Society and Its Stories ISBN 0-86029-011-5.
  • Williams, Eric R. (2017) The Screenwriters Taxonomy: A Roadmap to Creative Storytelling. New York, NY: Routledge Press, Studies in Media Theory and Practice. ISBN 978-1-315-10864-3.