นิรัตติศัย กัลย์จาฤก
นิรัตติศัย กัลย์จาฤก ชื่อเล่น ต๊ะ (อังกฤษ: Nirattisai Kaljareuk) เจ้าของฉายา “เล็ก ๆ ต๊ะไม่ ใหญ่ ๆ ต๊ะทำ”[1] (เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2504 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565[2]) เป็นนักแสดง ผู้จัด ผู้ผลิต และผู้กำกับละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ชาวไทย
นิรัตติศัย กัลย์จาฤก | |
---|---|
เกิด | 4 กันยายน พ.ศ. 2504 กรุงเทพฯ |
เสียชีวิต | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (61 ปี) |
บิดา | ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก |
มารดา | สมสุข กัลย์จาฤก |
คู่สมรส | รสริน จันทรา (หย่า) |
อาชีพ | ผู้กำกับ, ผู้ผลิตละครและภาพยนตร์, นักแสดง |
ผลงานเด่น | ภาพยนตร์กาเหว่าที่บางเพลง (2537) ภาพยนตร์คนไททิ้งแผ่นดิน (2554) ละครโทรทัศน์เพชรตาแมว (2542) ละครโทรทัศน์ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน (2544) |
สังกัด | กันตนา ป๊าสั่ง ย่าสอน และ ดราเมจิก กรุ๊ป |
ฐานข้อมูล | |
IMDb |
ประวัติ
แก้นิรัตติศัยเป็นทายาทคนที่ 4 ของประดิษฐ์ กัลย์จาฤกและสมสุข กัลย์จาฤก ผู้ก่อตั้งค่ายละคร กันตนา ซึ่งเป็นบริษัทสร้างสรรค์ผลงานบันเทิงระดับต้น ๆ ของประเทศไทย มีพี่น้องทั้งหมด 5 คนได้แก่ นายสิทธานต์ กัลย์จาฤก นายจาฤก กัลย์จาฤก นางปนัดดา ธนสถิตย์ กัลย์จาฤก นายนิรัตติศัย กัลย์จาฤก และ นางจิตรลดา ดิษยนันท์ กัลย์จาฤก
การศึกษา
แก้นิรัตติศัย กัลย์จาฤก ได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ แผนกช่างภาพ และเข้ารับการอบรมวิชาถ่ายภาพและการจัดแสง กับช่างภาพชาวอังกฤษเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นได้แสวงหาความรู้ โดยการเข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และดูงานกิจการโทรทัศน์และภาพยนตร์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้นำเอาความรู้และประสบการณ์มาพัฒนางานของบริษัทกันตนากรุ๊ป จำกัด มหาชน อยู่ตลอดเวลา
ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสื่อในสถาบันต่าง ๆ และนำมา พัฒนาบุคลากรในวิชาชีพสื่อให้มีความเชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาผลงานจนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง เขาจึงเป็นเสมือน “ครู” ของคนในวงการสื่อ
ด้วยผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา มีมติมอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์ โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละคร เพื่อเป็นเกียรติยศในวงวิชาการและวิชาชีพ
นอกจากนี้ยังเป็นผู้สนใจปฏิบัติธรรม ให้การสนับสนุนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา จนได้รับการยกย่องให้ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย[3]
ประวัติการทำงาน
แก้นิรัตติศัยเติบโตมาในวงการบันเทิง ได้เริ่มงานกับคณะละครวิทยุกันตนา กับคณะละครส่งเสริมศิลปิน ตั้งแต่วัยเยาว์ เขาเริ่มงานเบื้องหลังการถ่ายทำละครโทรทัศน์ครั้งแรก จากการเป็นช่างภาพในกองถ่ายละคร ตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ จากนั้นได้ร่วมบุกเบิกงานละครทั้งในหน้าที่ผู้ตัดต่อ ผู้กำกับภาพ ผู้กำกับรายการ ผู้ช่วยผู้กำกับ จนได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้กำกับการแสดงให้กับละครของบริษัท กันตนา วิดีโอโปรดัคชั่น จำกัด ตลอดจนได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในบริษัท เช่น กรรมการผู้จัดการ บริษัทกันตนาโมชั่น พิกเจอร์ส จำกัด กรรมการบริษัทกันตนา แอนิเมชั่น จำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัท กันตนามูฟวี่ทาวน์ (2002) จำกัด กรรมการบริษัท กันตนากรุ๊ป จำกัด มหาชน[4]
นิรัตติศัยมีผลงานฝากไว้ในประวัติศาสตร์ของวงการบันเทิงไทยมากมายทั้งในฐานะผู้ผลิต ผู้จัด ผู้กำกับ และนักแสดง ผลงานหลายเรือง แม้จะผ่านกาลเวลามาหลายทศวรรษ แต่ยังได้รับการยอมรับ ในฐานะผู้บุกเบิก และดีเลิศในหลายด้าน จนกลายเป็นตำนานของวงการบันเทิงไทย เช่น ละครโทรทัศน์เรื่อง ตี๋ใหญ่ โผน กิ่งเพชร ชาติมังกร มาเฟียซาอุ สารวัตรเถื่อน อรุณสวัสดิ์ ฉก.เสือดำ เพชรตาแมว ดาวหลงฟ้าภูผาสีเงิน กษัตริยา มหาราชกู้แผ่นดิน ปอบผีฟ้า ภาพยนตร์เรื่อง "กาเหว่าที่บางเพลง" (พ.ศ. 2537) ซึ่งเป็นผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก "คนไททิ้งแผ่นดิน" (พ.ศ. 2554) เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชัน เรื่อง "ก้านกล้วย 1" ร่วมกับจาฤก กัลย์จาฤก และเอ็กซัน บินหะซัน และยังได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น รางวัลเมขลา รางวัลดาวเทียมทองคำ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลสุพรรณหงส์ รางวัลพระสุรัสวดี[5]
นิรัตติศัยแยกตัวออกมาจากกันตนาเพื่อเปิดบริษัท ป๊าสั่งย่าสอนและดราเมจิคกรุ๊ป ผลิตรายการและละครของตัวเองโดยให้ลูกชายทั้งสองคน "ยังเติร์ก" คหบดี กัลย์จาฤก และ "จูปีเตอร์" รฤกฤกษ์ กัลย์จาฤก อยู่เบื้องหน้า ส่วนตัวเองดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและอยู่เบื้องหลัง[6] นิรัตติศัยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมตามมาอีกมากมายกับการเปลี่ยนบทบาทมาอยู่เบื้องหลัง เช่น รางวัลเนตรนาคราช ครั้งที่ 2 ประจำปี 2557 - สาขา ผู้จัดละครสร้างสรรค์สังคม ละครดีเด่นเรื่อง 'พายุเทวดา' ซึ่งโดดเด่นในด้านพระธรรมะและความรักครอบครัว
สุขภาพและการเสียชีวิต
แก้นิรัตติศัยเสียชีวิตอย่างสงบจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจโตที่บ้านพัก ด้วยในวัย 61 ปี เมื่อเวลาประมาณ 02:00 น.[7] ของคืนวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ครอบครัวได้จัดพิธีรดน้ำศพ ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16.00 น. ณ ศาลา 10 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สวดพระอภิธรรมในวันที่ 29 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18.00 น. และมีพิธีฌาปณกิจในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.
ผลงานการกำกับการแสดง
แก้ละคร
แก้- ตี๋ใหญ่ (2528)
- ชาติมังกร (2529)
- ป่าสนธยา (2529)
- เปรต (2529)
- โผน กิ่งเพชร (2529)
- มาเฟียซาอุ (2529)
- สารวัตรเถื่อน (2530)
- ตะรุเตา (2531)
- ทูตมรณะ (2533)
- อรุณสวัสดิ์ (2535)
- สารวัตรใหญ่ (2537)
- ฉก เสื่อดำถล่มหินแตก (2539)
- อัศจรรย์ใจไทยแลนด์ (2541)
- ใกล้ไกลหัวใจเดียวกัน (2542)
- ใต้แสงตะวัน วันเกิดพ่อ (2542)
- เพชรตาแมว (2542)
- เพียงแค่ใจเรารักกัน (2542)
- ชาติมังกร (2543)
- ไอ้ค่อม (2543)
- ทายาทอสูร (2544)
- ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน (2544)
- ช้อปปิ้ง ปิ๊งรัก (2545)
- คนส่งกรรม (2545)
- กษัตริยา (2546)
- ทับเทวา (2546)
- ปอบผีฟ้า (2553)
- ลูกผู้ชายไม้ตะพด (2555)
- พายุเทวดา (2557)
- สิงห์รถบรรทุก (2558)
- สวยประหาร (2564)
ผู้จัดละคร
แก้- ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละครบริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัด
ภาพยนตร์
แก้- กาเหว่าที่บางเพลง (2537)
- คนไททิ้งแผ่นดิน (2549 - 2550)
ผลงานด้านการแสดง
แก้- ใกล้ไกลหัวใจเดียวกัน (2542) (รับเชิญ)
- ช้อปปิ้ง ปิ๊งรัก (2545) (รับเชิญ)
- รักของฟ้า (2001)
- Bangkok Dangerous (2008)
- หักลิ้นช้าง (2560) รับบท มิสเตอร์ฮัน(รับเชิญ) และทำหน้าที่ควบคุมการผลิด ตอน 1-4
- เนตรนาคราช ครั้งที่ 2 ประจำปี 2557 สาขา ผู้จัดละครสร้างสรรค์สังคม ละครดีเด่นเรื่องพายุเทวดา ซึ่งโดดเด่นในด้านพระธรรมะและความรักครอบครัว
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.hilightdd.com/news/662
- ↑ "ช็อกวงการบันเทิง "ต๊ะ นิรัตติศัย" เสียชีวิตแล้ว". pptvhd36. 2022-11-27.
- ↑ ประวัติผู้วายชนม์นิรัตติศัยกัลย์จาฤก
- ↑ ประวัติผู้วายชนม์นิรัตติศัยกัลย์จาฤก
- ↑ ประวัติผู้วายชนม์นิรัตติศัยกัลย์จาฤก
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/ent/136052
- ↑ "ช็อกวงการบันเทิง "ต๊ะ นิรัตติศัย" เสียชีวิตแล้ว". pptvhd36. 2022-10-28.