รักเร่

ชนิดของพืช
รักเร่ ลักเล่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Coreopsideae[1]
สกุล: Dahlia
Cav.
ชนิด

30 ชนิด, 20,000 สายพันธุ์

ชื่อพ้อง

Georgina Willd.[2] nom. illeg.

รักเร่ เป็นพันธุ์ไม้ดอกในสกุล Dahlia ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก, ทวีปอเมริกากลาง และประเทศโคลอมเบีย ดอกมีรูปทรงและสีสันสวยงามสะดุดตา ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่นเดียวกับกุหลาบ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องมาจากมีชื่อที่ไม่เป็นมงคล เป็นดอกไม้ประจำชาติประเทศเม็กซิโก[3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น

การดูแล และการขยายพันธ์ แก้

รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่มีความชื้นพอเพียง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี บางครั้งจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่ เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่ว เป็นต้น สำหรับการขยายพันธุ์รักเร่นั้น สามารถเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด โดยจะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน

ประโยชน์ แก้

หัวใต้ดิน นำมาต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus แต่สำหรับใบรักเร่ บางพันธุ์มีพิษ ไม่นิยมรับประทาน

เกร็ด แก้

ในอเมริกามีคดีฆาตกรรมดัง ที่ยังเป็นปริศนามาถึงทุกวันนี้อยู่คดีหนึ่งชื่อว่า Black Dahlia (ดอกรักเร่สีดำ)

อ้างอิง แก้

  1. "Genus Dahlia". Taxonomy. UniProt. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  2. "Dahlia Cav". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 1996-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  3. Harvey, Marian (1987). Mexican Crafts and Craftspeople. Associated University Presses. p. 19. ISBN 978-0-87982-512-6.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้