พชร ธรรมมล
พชร ธรรมมล (ชื่อเดิม: ปรมัติ; ชื่อเล่น: ฟลุค) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวไทย มีชื่อเสียงเมื่อเป็นอันดับที่สาม จากการเข้าประกวดร้องเพลง ในรายการโทรทัศน์ "เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวปี 5"
พชร ธรรมมล | |
---|---|
ชื่อเกิด | ปรมัติ ธรรมมล |
รู้จักในชื่อ | ฟลุค |
เกิด | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2531 |
ที่เกิด | เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อาชีพ | นักร้องและนักแสดง |
ค่ายเพลง | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
ประวัติ
แก้พชรเกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ที่กรุงเทพมหานคร[1] เป็นบุตรชายของทรงวุฒิ รมยะพันธุ์[2] แต่มีปัญญา ธรรมมล (ต้อ) ครูชำนาญการ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ซึ่งรับพชรเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เป็นผู้เลี้ยงดูจนเติบโต[1][3] สำเร็จการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนโยนออฟอาร์ค สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[ต้องการอ้างอิง] และศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[1] ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีที่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ในวัยเด็ก พชรแสดงเป็นสมเด็จพระยอดฟ้า ในภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท และแสดงเป็นพระนเรศ ในละครโทรทัศน์เรื่องกษัตริยา
เมื่อปี พ.ศ. 2547 ขณะศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 4 พชรร่วมกับเพื่อนห้าคน ตั้งวงดนตรีชื่อ "ฟลายอิงซูโม" (Flying Sumo) สังกัดค่ายแบ็กยาร์ด (Backyard) และออกอัลบั้มเพลงชื่อ "ทีนสตอรี" (Teen Story)[ต้องการอ้างอิง] และเมื่อมีเวลาว่าง พชรยังร้องเพลงหาเงินช่วยเหลือครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย[4] พชรเข้าประกวดร้องเพลง ในรายการโทรทัศน์ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวปี 5 เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยเป็นอันดับที่สามเมื่อจบการแข่งขัน ทว่าต่อมา เขาขอยกเลิกสัญญากับเอ็กแซ็กท์ แล้วออกมาทำงานเพลงด้วยตนเอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555[3]
เมื่อปี พ.ศ. 2563 ฟลุ๊คพชรได้ทำวงร่วมกับ ชยธร เศรษฐจินดา (ต้น เดอะสตาร์) และ ภูหิรัณย์ หล่อเสถียรธารี (เซน เดอะสตาร์) ในนามวง 456.FourFiveSix และมีผลงานเพลงแรกปล่อยออกมาชื่อว่าเพลง Moon (พระจันทร์) และผลงานเพลงล่าสุดชื่อเพลง Faded (จางหาย)
เมื่อปี พ.ศ. 2566 ฟลุ๊คพชรได้ร่วมทำโปรเจกต์พิเศษร่วมกับ นายนันทชิต สัมฤทธิ์ (นักดนตรีแบ็คอัพศิลปิน วงสวัสดี , คณะหลานยายอิ่ม ฯลฯ) และศิลปินภาคใต้อีกหลากหลายท่าน และต่อมาในปัจจุบันนันทชิตก็ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกนักดนตรีแบ็คอัพให้กับ พชร ธรรมมล หรือ ฟลุ๊ค เดอะสตาร์
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ฟลุคเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักษาชาติ[5] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 50[6] กระทั่งวันที่ 26 กันยายน 2566 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้เขาเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลทันที[7]
ผลงาน
แก้ดนตรี
แก้พ.ศ. | อัลบั้ม | เพลง | วง |
---|---|---|---|
2547 | Teen story | ฟันเหล็กเด็กแนว ปิดเทอมคิดถึง กัดเด่ะ กลับเป็นเพื่อนได้ไหม ไม่ไปเรียนวันนึง เห็นหลังคาก็สุขใจ เด็กใหม่ เกลียด Chat จูงมือ Na Na นะดีกัน |
ฟลายอิ้ง ซูโม่ วงดนตรีแนวป๊อปร็อก |
2552 | The Star 5 | คนไม่เคยถูกรัก | |
Star Voice | ความรู้สึกดีๆ ( ที่ไม่อาจบอกใคร ) เพลงประกอบละคร พรุ่งนี้ก็รักเธอ |
||
2553 | Voice Of Love | Baby Come Back To Me | |
Act Track # 4 |
|
ภาพยนตร์
แก้พ.ศ. | ภาพยนตร์เรื่อง | รับบทเป็น |
---|---|---|
2537 | กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ | อ้น |
กระโปรงบานขาสั้น เทอม 2 ตอน แอบดูบาร์บีคิว | ||
2538 | ประถม มัธยม เปรี้ยวอมหวาน | แล็คเกอร์ |
2539 | คู่กรรม 2 | กลินท์/โยอิจิ(ตอนเด็ก) |
2541 | CC-J แสบฟ้าแลบ | ฟลุค |
2544 | สุริโยไท | สมเด็จพระยอดฟ้า |
ละครโทรทัศน์
แก้
พ.ศ. | เรื่อง | รับบทเป็น | ช่อง |
---|---|---|---|
2535 | ลอดลายมังกร | ช่อง 7 | |
2536 | เรือนแรม | ||
2539 | บ้านสอยดาว | ||
ไม้ดัด | |||
2540 | แก้วจอมแก่น | ช่อง 5 | |
2541 | ผีพยาบาท | ตุ๊ | |
หัวใจทระนง | เถ้ากุหลาบ | ||
2544 | แม่มดยอดยุ่ง | ช่อง 7 | |
2546 | ทีเด็ดครูพันธุ์ใหม่ จิตพิสัยเดือด | ช่อง 3 | |
กษัตริยา | สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (วัยเยาว์) | ช่อง 5 | |
2547 | ชุมทางรัก | ช่อง 7 | |
2552 | พรุ่งนี้ก็รักเธอ | ก้องบดินทร์/ก้อง | ช่อง 5 |
2553 | หัวใจพลอยโจร | ลูกยอด | |
2554 | เซน...สื่อรักสื่อวิญญาณ ตอน เพชรในตม | ชาติ | ช่อง 5 |
พากย์เสียงภาพยนตร์
แก้- แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน พากย์เสียงภาษาไทยเป็น แฮร์รี่ พอตเตอร์ (แดเนียล แรดคลิฟฟ์)
- แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี, แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์, แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม และ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ตอน 1 และ 2 พากย์เสียงภาษาไทยเป็น เนวิลล์ ลองบัตท่อม (แมทธิว ลูว์อิส)
รางวัล
แก้- ท็อปอวอร์ด 2009 ดาวรุ่งชายยอดเยี่ยม จากการแสดงในละครเรื่อง พรุ่งนี้ก็รักเธอ
- จีเมมเบอร์ อวอร์ด 2009 สุดยอดฉากละครเด็ดแห่งปี 2009 จากการแสดงในละครเรื่อง พรุ่งนี้ก็รักเธอ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ผิดด้วยหรือ ที่พ่อผมเป็นตุ๊ด จากใจ "ฟลุค เดอะสตาร์", กระปุกดอตคอม, 17 มิถุนายน 2552.
- ↑ พ่อลั่นตัดขาด "ฟลุค เดอะสตาร์" นานแล้ว บอกรับไม่ได้เหมือนกัน, สนุกดอตคอม, 21 ตุลาคม 2558.
- ↑ 3.0 3.1 เอาแล้ว! พ่อ "ฟลุค เดอะสตาร์" ซัดทีมงาน "เอ็กแซ็กท์" เกลียดลูกชาย?, ที่นี่ดอตคอม, 1 กุมภาพันธ์ 2556.
- ↑ "ฟลุค" ตัวอย่างเยาวชนที่ดี เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, แนวหน้า, 19 พฤศจิกายน 2550.
- ↑ ไม่หวั่นยุบพรรค! ‘ฟลุค เดอะสตาร์’ พาไทยรักษาชาติ หาเสียง ชาวบ้านเชียร์ Link
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
- ↑ เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง