แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (ภาพยนตร์)

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (อังกฤษ: Harry Potter and the Prisoner of Azkaban) ภาพยนตร์ลำดับที่ 3 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ คริส โคลัมบัส ผู้กำกับภาคที่ 1 และ 2 กับเดวิด เฮย์แมนเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง นำแสดงโดย แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์, เอ็มม่า วัตสัน โดยในภาพยนตร์ภาคนี้ ไมเคิล แกมบอน ได้เข้ามารับบท อัลบัส ดัมเบิลดอร์ แทน ริชาร์ด แฮร์ริส ที่เสียชีวิตก่อนการเข้าฉายของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน
กำกับอัลฟอนโซ กัวรอน
เขียนบทจากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง
บทภาพยนตร์โดย สตีฟ โคลฟ
อำนวยการสร้างคริส โคลัมบัส
เดวิด เฮย์แมน
นักแสดงนำแดเนียล แรดคลิฟฟ์
รูเพิร์ท กรินท์
เอ็มม่า วัตสัน
ร็อบบี้ โคลเทรน
ไมเคิล แกมบอน
ริชาร์ด กริฟฟิธส์
ไมเคิล แกมบอน
แกรี่ โอลด์แมน
อลัน ริคแมน
ฟิโอน่า ชอว์
แม็กกี้ สมิธ
ทิโมธี สปอลล์
เดวิด ธิวลิส
เอ็มม่า ทอมป์สัน
จูลี่ วอลเตอร์ส
กำกับภาพไมเคิล ซีริซีน
ตัดต่อสตีเวน วิสแบรงค์
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
วันฉาย
  • 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-31)

สหราชอาณาจักร
  • 4 มิถุนายน ค.ศ. 2004 (2004-06-04)

สหรัฐอเมริกา
ความยาว142 นาที
ประเทศสหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
ทำเงิน796.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ก่อนหน้านี้แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ
ต่อจากนี้แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เนื้อเรื่องย่อ

แก้

แฮร์รี่ กำลังปิดเทอมอยู่บ้าน ในขณะนั้นป้ามาร์จ พี่ของลุงเวอร์นอน มาเยี่ยมบ้าน เมื่อมาถึงบ้านป้ามาร์จเริ่มด่าแฮร์รี่ แฮร์รี่พยายามทนเพราะถ้าเขาทำตัวดี ลุงจะเซ็นใบตอบรับการไปฮอกส์มีดของนักเรียนปีสามให้ แต่เมื่อป้ามาร์จเริ่มด่าแฮร์รี่และพูดถึงพ่อแม่เขาต่างๆนานา แฮร์รี่จึงทนไม่ได้เสกคาถาเป่าลมใส่คุณป้าจนลอยออกไป แฮร์รี่ซึ่งรู้ว่ากฎของโรงเรียนคือห้ามใช้เวทมนตร์ต่อหน้ามักเกิ้ลเมื่ออายุยังไม่ถึง 17ปี แฮร์รี่จึงเก็บของและหนีออกนอกบ้านไป

เมื่อแฮร์รี่มาถึงที่ถนนแห่งหนึ่งและพบเขากับหมาดำตัวใหญ่ และพบกับรถเมล์อัศวินราตรี เขารู้เรื่องฆาตกรที่ยังลอยนวลอยู่นั่นคือซิเรียส แบล็ก ที่มีข้อหาฆ่ามักเกิ้ล 13 คน และว่ากันว่าเขาคือลูกน้องมือขวาของลอร์ดโวลเดอมอร์ เมื่อถึงที่ร้านหม้อใหญ่รั่ว เขาพบรัฐมนตรีกระทรวง เขาให้ตัดสินแฮร์รี่ไร้ความผิดและสามารถกลับไปเรียนที่ฮอกวอตส์ได้เหมือนเดิม และเขาก็พบรอนกับเฮอร์ไมโอนี่ที่ร้านหม้อใหญ่รั่ว ในคืนนั้นเองนายวิสลีย์ได้บอกเขาว่าแบล็กต้องการตามล่าและฆ่าแฮร์รี่

ในวันขึ้นรถไฟ เขาและเพื่อนๆนั่งห้องเดียวกันกับอาจารย์วิชาป้องกันตัวจากศาสตร์มืดคนใหม่ รีมัส ลูปิน โดยเขาพบกับผู้คุมวิญญาณ เขาช่วยขับไล่ผู้คุมวิญญาณให้ วันที่เขาเรียนวิชาพยากรณ์ศาสตร์ ถ้วยชาของเขาปรากฏลางมรณะกริมขึ้น ในตอนบ่ายวันนั้นพวกเขาเรียนกับแฮกริด แฮกริดนำตัวฮิปโปกริฟที่ชื่อว่า บัคบีค มาสอน และแฮร์รี่สามารถขึ้นขี่ได้ แต่มัลฟอยไปท้าทายมันและถูกข่วนแขนจนได้รับบาดเจ็บ ในวันที่พวกรอนไปเที่ยวฮอกมีดส์ รูปของสุภาพสตรีอ้วนหายไป และพบเธอ เธอบอกว่าซีเรียสแบล็กกำลังอยู่ในปราสาทแห่งนี้ ในวันที่พวกเขาแข่งควิดดิชแฮร์รี่เห็นกริมและพบกับผู้คุมวิญญาณจู่โจมจนตกจากไม้กวาด ไม้กวาดของเขาปลิวไปตกที่ต้นวิลโลว์ จอมหวดทำให้หักและเสียหาย


เขาขอร้องให้ลูปินสอนคาถาที่ขับไล่ผู้คุมวิญญาณ เขาเรียนกับลูปินเรื่องคาถาที่สามารถขับไล่ผู้คุมวิญญาณได้นั่นคือคาถาผู้พิทักษ์ และเขาสามารถทำได้สำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันบัคบีคถูกตัดสินประหาร ในวันที่ไปฮอกมีดส์ครั้งสุดท้ายเขาพบกับเฟร็ดและจอร์จที่ให้แผนที่ตัวกวนกับเขา แฮร์รี่เดินไปทางลับ และพบกับรอนและเฮอร์ไมโอนี่ แต่เขาก็ได้รู้ว่าซิเรียส แบล็กเคยเป็นเพื่อนกับพ่อแม่เขา และหักหลังพ่อกับแม่ อีกอย่างซิเรียสเป็นพ่อทูนหัวของแฮร์รี่ แฮร์รี่แค้นใจมาก จึงอยากแก้แค้น

วันที่ประหารบัคบีคเขาไปหาแฮกริดและพบกับสแคบเบอร์หนูของรอนที่หายไป หลังจากนั้นพวกเขาออกจากมาจากบ้านแฮรกริด แต่รอนถูกหมาลากเข้าไปในโพรง แฮร์รี่กับเฮอร์ไมโอนี่ตามไปและพบว่าหมาคือซิเรียส แฮร์รี่พยายามฆ่าซิเรียสแต่ลูปินขวางไว้ และเผยความจริงว่าซิเรียสนั้นบริสุทธิ์ แต่คนที่หักหลังพ่อแม่แฮร์รี่คือปีเตอร์ เพ็ตดิกรูว์ซึ่งแปลงร่างเป็นหนูของรอน พวกเขาจับปีเตอร์ได้ แต่ในขณะเดียวกันลูปินแปลงร่างเป็นมนุษย์หมาป่าและทำร้ายซิเรียสจนเขาตกลงไปเจอผู้คุมวิญญาณ แฮร์รี่ไปช่วยแต่ก็ต้านไม่ไหว แต่ก็มีคนมาช่วยแฮร์รี่เสกคาถาผู้พิทักษ์ใส่ผู้คุมวิญญาณ แต่พอแฮร์รี่ฟื้นขึ้นมา ปรากฏว่าซีเรียสถูกจับและกำลังจะถูกมอบจุมพิตจากผู้คุมวิญญาณ พวกเขาจึงใช้เครื่องย้อนเวลาย้อนไปในอดีตเพื่อช่วยบัคบีคและซิเรียส

นักแสดง

แก้

ความสำเร็จของภาพยนตร์

แก้

ถึงแม้ว่าภาคนี้จะได้อัลฟอนโซ กัวรอนผู้กำกับคนใหม่มากำกับให้ก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันก็ยังคงเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้น้อยที่สุดในบรรดาแฮร์รี่ พอตเตอร์ฉบับภาพยนตร์ แต่ถึงกระนั้นแฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคนี้ก็ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยมแต่ภายหลังก็พลาดรางวัลไป

สื่ออื่นๆ

แก้

เกม

แก้

ความสำเร็จจากภาคก่อนทำให้บริษัทElectronic Artได้ผลิตแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันในรูปแบบวิดีโอเกมต่อจากภาคที่แล้ว ซึ่งครั้งนี้ได้เพิ่มเทคนิคสมจริงให้มากว่าเดิมและยังสามารถดำเนินเหตุการณ์ต่างๆตามเนื้อเรื่องได้ คุณสมบัติของภาคนี้ก็คือสามารถต่อสู้กับผู้คุมวิญาณด้วยคาถาผู้พิทักษ์ได้อีกด้วย

ดนตรีประกอบภาพยนตร์

แก้

ถึงแม้ภาพยนตร์จะทำรายได้น้อยที่สุดแต่อัลบั้มดนตรีประกอบภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันกลายเป็นอัลบั้มเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในบรรดาอัลบั้มทุกอัลบั้มของแฮร์รี่ พอตเตอร์ และที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือดนตรีประกอบภาพยนตร์ของเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ได้รับรางวัลออสการ์สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย เพลงในอัลบั้มมีดังนี้

  1. "Lumos! (Hedwig's Theme)" - 1:35
  2. "Aunt Marge's Waltz" - 2:13
  3. "The Knight Bus" - 2:49
  4. "Apparition on the Train" - 2:13
  5. "Double Trouble" - 1:35
  6. "Buckbeak's Flight" - 2:07
  7. "A Window to the Past" - 3:53
  8. "The Whomping Willow and the Snowball Fight" - 2:20
  9. "Secrets of the Castle" - 4:35
  10. "The Portrait Gallery" - 1:58
  11. "Hagrid the Professor" - 2:23
  12. "Monster Books and Boggarts!" - 3:44
  13. "Quidditch, Third Year" - 2:19
  14. "Lupin's Transformation and Chasing Scabbers" - 2:59
  15. "The Patronus Light" - 1:10
  16. "The Werewolf Scene" - 4:24
  17. "Saving Buckbeak" - 6:37
  18. "Forward to Time Past" - 2:31
  19. "The Dementors Converge" - 3:10
  20. "Finale" - 3:24
  21. "Mischief Managed!" - 12:06

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:โลกเวทมนตร์ของเจ. เค. โรว์ลิง