พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเดิมของพระราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนี้ นำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่สร้างไม่ทันเสร็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต จึงสร้างต่อแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)[3]จนเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2458 รวมใช้เวลาสร้างทั้งหมด 8 ปี
พระที่นั่งอนันตสมาคม | |
---|---|
พระที่นั่งอนันตสมาคม ถ่ายจากประตูทวยเทพสโมสร | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | ปรับปรุง |
ประเภท | พระที่นั่ง |
สถาปัตยกรรม | นีโอเรอเนสซองส์ |
ที่ตั้ง | แขวงดุสิต เขตดุสิต |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ไทย |
ตั้งชื่อให้ | พระที่นั่งอนันตสมาคม (องค์เดิม) |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2451 |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2458 |
พิธีเปิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2459 |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2560 |
ค่าก่อสร้าง | 15,000,000 บาท |
ผู้สร้าง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เจ้าของ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ในกำกับดูแลของ | สำนักพระราชวัง |
ความสูง | 49.50 เมตร |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | โดมใหญ่ตรงกลาง พร้อมด้วยโดมเล็กย่อยอีก 6 โดม ผนังรับน้ำหนัก (ส่วนใหญ่)[1] |
วัสดุ | หินอ่อน |
จำนวนชั้น | 2 ชั้น |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก |
|
วิศวกร | คาร์โล อัลเลกรี[3] |
กำหนดให้เป็น | ท้องพระโรงของพระราชวังดุสิต |
เป็นที่รู้จักจาก | เป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เป็นพระที่นั่งหินอ่อนเพียงองค์เดียวในประเทศไทย และเป็นอาคารทรงตะวันตก มีโดมขนาดใหญ่โดดเด่นในส่วนกลาง |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | พระที่นั่งอนันตสมาคม |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0005683 |
ปัจจุบันอาคารรัฐสภาไทย ได้ย้ายไปที่รัฐสภาแห่งที่ 2 และแห่งที่ 3 ในปัจจุบัน |
พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นอาคารทรงยุโรปล้วน เป็นพระที่นั่งหินอ่อนเพียงองค์เดียวในประเทศไทย[4] ซึ่งก่อสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวชั้นหนึ่งจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี[5] ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลีนามว่า มาริโอ ตามานโญ มีแรงบันดาลใจมาจากโดม วิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งนครรัฐวาติกัน และโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร งานก่อสร้างทั้งหมดมาจากแรงงานทั้งคนไทยและจีน ส่วนงานภายในที่มีการตกแต่งด้วยศิลปะเฟรสโก เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่าง ๆ มาจากฝีมือช่างจากอิตาลีเป็นส่วนใหญ่[3]
พระที่นั่งอนันตสมาคมมีจุดเด่นที่โดมใหญ่ตรงกลางซึ่งทำจากทองแดงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร[6] และรวมไปถึงโดมย่อยอีก 6 โดม แต่เนื่องจากสนิมทำให้เปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมน้ำเงินในปัจจุบัน
ในอดีตพระที่นั่งอนันตสมาคมเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามารับชมได้ จนในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้ปิดปรับปรุงโดยไม่มีกำหนดมาจนถึงปัจจุบัน[7]
ประวัติ
แก้สืบเนื่องจากพระที่นั่งต่าง ๆ ในพระราชวังสวนดุสิต ซึ่งพระองค์โปรดให้สร้างขึ้น ณ ตำบลสามเสน คับแคบ ไม่กว้างขวางพอแก่การพระราชพิธีต่าง ๆ จึงเห็นควรให้ก่อสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่นี้ และพระราชมณเฑียรหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยของพระบรมชนกนาถ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถจะบำรุงรักษาต่อไปได้ ครั้นจะสร้างขึ้นใหม่ สถานที่ในพระบรมมหาราชวังก็คับแคบ[8] ด้วยเหตุนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้นโดยตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อใช้เป็นสถานที่เสด็จออกมหาสมาคม
พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ซึ่งตรงกับวันประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พร้อมทั้งพระราชทานชื่อพระที่นั่งว่า พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นชื่อพระที่นั่งองค์หนึ่งภายในพระอภิเนาว์นิเวศน์ในพระบรมมหาราชวัง ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยสภาพที่ทรุดโทรมยากแก่การบูรณะจึงได้รื้อลง[9]
พระที่นั่งอนันตมหาสมาคมออกแบบโดยมาริโอ ตามานโญ โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง และมี พระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล) เป็นผู้ช่วย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตก่อนที่พระที่นั่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่งต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2458 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 8 ปี ใช้งบประมาณประมาณ 15 ล้านบาท
สถาปัตยกรรม
แก้
|
พระที่นั่งอนันตมหาสมาคม มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองส์ (Neo Renaissance) และนีโอคลาสสิก (Neo classic)[10] โดยตกแต่งพระที่นั่งด้วยหินอ่อน ซึ่งสั่งมาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี โดยมีจุดเด่น คือ มีหลังคาโดมคลาสสิกของโรมอยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็ก ๆ โดยรอบอีก 6 โดม รวมทั้งสิ้นมี 7 โดม โดยโดมทั้งหมดทำขึ้นจากทองแดง (ต่อมาเกิดสนิมสีเขียวขึ้นตามกาลเวลา) ขนาดขององค์พระที่นั่งฯ ส่วนกว้างประมาณได้ 49.50 เมตร ยาว 112.50 เมตร และสูง 49.50 เมตร [11]
ลักษณะของโดมมีอิทธิพลมาจากโดม วิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งนครรัฐวาติกัน และโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ภายในพระที่นั่ง บนเพดานโดมมีภาพเขียนเฟรสโก เขียนบนปูนเปียก ซึ่งภาพจะติดทนกว่าภาพที่เขียนบนปูนแห้ง (ภาพจิตรกรรมไทยนิยมเขียนแบบปูนแห้ง) เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1-6 จำนวน 6 ภาพ โดยฝีมือเขียนภาพของ นายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์แกลิเลโอ กินี
- เพดานโดมด้านทิศเหนือ เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากราชการทัพที่เขมร
- เพดานโดมด้านทิศตะวันออก เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุปถัมภ์งานศิลปะ
- เพดานโดมด้านทิศตะวันตก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับเบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์ แวดล้อมด้วย พระภิกษุและนักบวชต่างชาติศาสนนิกายต่าง ๆ แสดงนัยแห่งพระราชจรรยา ที่ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาโดยไม่รังเกียจกีดกัน
- เพดานโดมด้านทิศใต้ของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานอภัยทาน และทรงเลิกประเพณีทาส
- เพดานโดมด้านทิศตะวันออกของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พระที่นั่งบุษบกมาลาที่มุขเด็จ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อ พ.ศ. 2454
- เพดานโดมกลาง ซึ่งเป็นโดมใหญ่ที่สุด มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เพดานนับจากจากใต้โดมตลอดทั้งบริเวณท้องพระโรงกลางมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” สลับกัน “วปร.” อันเป็นพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์
แก้เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ เป็นเรือนยอดทรงไทยล้วน ตั้งอยู่ที่ทิศตะวันออกของพระที่อนันตสมาคม สร้างขึ้นโดยสถาบันสิริกิติ์ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จัดสร้างขึ้นในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2557 ถึงเดือนมิถุนายน 2559[12] เรือนยอดนี้ออกแบบมาทั้งหมด 9 ยอด ซึ่งถือเป็นอาคารที่มีจำนวนยอดปราสาทมากที่สุดในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของกรุงรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มี 5 ยอด[13]
เหตุการณ์สำคัญ
แก้พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ ณ อาคารรัฐสภาแห่งที่สอง ซึ่งตั้งอยู่ข้าง ๆ พระที่นั่งองค์นี้ พระที่นั่งอนันตสมาคม ยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี สำคัญ ๆ มากมาย อาทิ รัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และการเสด็จออกมหาสมาคมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรอีก 4 ครั้ง
พระที่นั่งอนันตสมาคม เคยใช้เป็นที่เสด็จออก ดังนี้
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 7)เสด็จออกเนื่องในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(รัชกาลที่ 9)เสด็จออกเนื่องในงานสมโภชเนื่องในการเสด็จนิวัติพระนคร หลังเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2504
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกเนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกเนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา เมื่อวันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 10)เสด็จออกเนื่องในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560
นอกจากนี้ พระที่นั่งอนันตสมาคมยังเคยใช้เป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอดผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค 2003) พ.ศ. 2546[14]
ระเบียงภาพ
แก้-
การประชุมรัฐสภาไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
-
ภายในโถงรับรองนักท่องเที่ยว พระที่นั่งอนันตสมาคม
-
พระที่นั่งอนันตสมาคม ด้านหน้า หันออกสู่ถนนราชดำเนินนอก
-
พระที่นั่งอนันตสมาคมในกลางคืน
-
พระที่นั่งอนันตสมาคม จากลานพระบรมรูปทรงม้า
-
พระที่นั่งอนันตสมาคมและพระบรมบรรพต
อ้างอิง
แก้- ↑ สืบศักดิ์ พรหมบุญ และ ชูเลิศ จิตเจือจุน, ประวัติศาสตร์งานแก้ไขฐานรากในประเทศไทย, เอกสารสัมมนา/บทความทางวิชาการ บ. อินเตอร-คอนซัลท์ จำกัด . สืบค้นเมื่อ 29/12/2559
- ↑ รู้จัก “พระที่นั่งอนันตสมาคม” กับภาพประวัติศาสตร์ที่กลับมาอีกครั้ง เก็บถาวร 2013-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์ .วันที่ 4 ธันวาคม 2555
- ↑ 3.0 3.1 3.2 รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว เก็บถาวร 2017-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 29/12/2559
- ↑ วลัญช์ สุภากร, พระที่นั่งอนันตสมาคม เกร็ดสถาปัตยกรรมคู่ประวัติศาสตร์, กรุงเทพธุรกิจ .วันที่ 29 มิถุนายน 2558
- ↑ พระที่นั่งอนันตสมาคม กับ เจ้าพระยายมราช, oknation .สืบค้นเมื่อ 29/12/2559
- ↑ โปสการ์ดรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม 4[ลิงก์เสีย], เว็บไซต์สำเร็จรูป YouStore .สืบค้นเมื่อ 29/12/2559
- ↑ ไทยรัฐ (30 กันยายน 2560). "ปิดปรับปรุงไม่มีกำหนด พระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งแต่ 1 ต.ค.2560". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ แหล่งท่องเที่ยว พระที่นั่งอนันตสมาคม เก็บถาวร 2017-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กาญจนาภิเษก .สืบค้นเมื่อ 30/12/2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง ให้เรียกนามพระนั่ง ซึ่งจะสร้างขึ้นใหม่ที่วังสวนดุสิตว่าพระที่นั่งอนันตสมาคม, เล่ม ๒๔, ตอน ๔๙, วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐, หน้า ๑๓๒๑
- ↑ รายการ 100 ปี ไกลบ้าน ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- ↑ "พระที่นั่งอนันตสมาคม:ประวัติความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
- ↑ "เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์" อลังการงานศิลป์สุดวิจิตร เฉลิมพระเกียรติปีมหามงคล เก็บถาวร 2017-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์ .สืบค้นเมื่อ 30/12/2559
- ↑ งดงาม “เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์” เฉลิมพระเกียรติในหลวงครองราชย์ 70 ปี, มติชนออนไลน์ .สืบค้นเมื่อ 30/12/2559
- ↑ หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0504/ว.209
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ภาพถ่ายทางอากาศของ พระที่นั่งอนันตสมาคม
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พระที่นั่งอนันตสมาคม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์