ชั่วฟ้าดินสลาย
ชั่วฟ้าดินสลาย เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2498 สร้างจากนวนิยายขนาดสั้นเรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย บทประพันธ์ของมาลัย ชูพินิจ (เรียมเอง) [1] ที่ตีพิมพ์ในหนังสือนิกรฉบับวันอาทิตย์เมื่อปี พ.ศ. 2486 [2] ต่อมาจึงได้รับการแก้ไขและขยายเป็นนวนิยายขนาดเล็กในปี พ.ศ. 2494 จัดพิมพ์โดยสำนักงานพิทยาคม และเคยสร้างเป็นละครเวทีโดยคณะศิวารมย์
ชั่วฟ้าดินสลาย | |
---|---|
กำกับ | มารุต |
เขียนบท | บทประพันธ์ เรียมเอง บทภาพยนตร์ ทวี ณ บางช้าง วิจิตร คุณาวุฒิ |
อำนวยการสร้าง | รัตน์ เปสตันยี |
นักแสดงนำ | ชนะ ศรีอุบล งามตา ศุภพงษ์ เอม สุขเกษม ประจวบ ฤกษ์ยามดี |
กำกับภาพ | รัตน์ เปสตันยี |
ตัดต่อ | จุรัย เกษมสุวรรณ |
ดนตรีประกอบ | แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ |
ผู้จัดจำหน่าย | หนุมานภาพยนตร์ |
วันฉาย | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2498 |
ความยาว | 117 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
ภาพยนตร์ชั่วฟ้าดินสลาย ฉบับ พ.ศ. 2498 สร้างโดยบริษัทหนุมานภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดยครูมารุต โดยมีรัตน์ เปสตันยี เป็นผู้อำนวยการสร้าง และกำกับภาพ บันทึกเสียงโดย ปง อัศวินิกุล ถ่ายทำในระบบ 35 มม. สีอีสต์แมนและบันทึกเสียงขณะถ่ายทำ
ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบที่มีความไพเราะมาก คือเพลง ชั่วฟ้าดินสลาย ประพันธ์คำร้องโดย ครูมารุต ผู้กำกับภาพยนตร์ ทำนองโดย แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ขับร้องโดย พูลศรี เจริญพงษ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงเงินพระราชทาน [3]
เรื่องย่อ
แก้ชั่วฟ้าดินสลายเป็นโศกนาฏกรรมรักของชายหนุ่ม-หญิงสาวคู่หนึ่ง ที่เชื่อกันว่าจะรักกันตราบชั่วฟ้าดินสลาย
นายห้างพะโป้ (เอม สุขเกษม) เป็นชายชราเจ้าของปางไม้แห่งจังหวัดกำแพงเพชร เพิ่งแต่งงานใหม่กับ ยุพดี (งามตา ศุภพงษ์) สาวสวยทันสมัยจากในเมือง พะโป้พายุพดีมาอาศัยที่ปางไม้ห่างไกลผู้คน ณ ที่นี้เธอได้พบกับ ทิพย์ (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) คนสนิทของนายห้าง และ ส่างหม่อง (ชนะ ศรีอุบล) หลานชายหนุ่มฉกรรจ์ของพะโป้
ยุพดี ชอบเข้ามาหยอกล้อเล่นหัวกับส่างหม่อง ตามแบบหนุ่มสาว จนเกิดลักลอบเล่นชู้ เพื่อให้เป็นความต้องการของยุพดีที่ว่า เราจะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย จนรู้กันไปทั่วทั้งที่ทิพย์ก็พยายามตักเตือนแล้ว ในที่สุดนายห้างก็เห็นพิรุธ จับได้คาหนังคาเขาที่บังกะโลกลางป่า
พะโป้ออกปากยกยุพดีให้แก่ส่างหม่อง มีข้อแม้ว่า ถ้าพวกเอ็งอยากจะอยู่ด้วยกันทั้งวันทั้งคืน อยากอยู่ด้วยกันชั่วฟ้าดินสลาย ข้าก็จักให้พวกเอ็งได้สมมาตรปรารถนา จับทั้งคู่ล่ามโซ่คล้องแขนไว้ด้วยกันตลอดเวลา
เมื่อทั้งสองต้องมาอยู่ด้วยกันทั้งวันทั้งคืน รักที่หวานชื่นก็ขมขื่น ยุพดีเล่นเปียโนและร้องเพลง ชั่วฟ้าดินสลาย ให้ส่างหม่องฟังด้วยอารมณ์โรแมนติค ถึงความรักที่ไร้สถานะ ไร้กาลเวลา ยั่งยืนชั่วฟ้าดินสลายเหมือนอย่างในเพลง ฝ่ายส่างหม่อง ถูกบังคับให้อยู่แต่ในบ้าน โดยไม่ได้ออกไปทำงาน เขาก็หมดความอดทน สิ้นรัก เมื่อนายห้างพะโป้เสนอทางออกให้ด้วยความตาย เสนอให้ส่างหม่องและยุพดีใช้ลูกปืนเป็นกุญแจไขไปสู่อิสรภาพของทั้งสองคน ส่างหม่องก็ยอมรับทางเลือกนั้น
นักแสดง
แก้- ไสลทิพย์ ตาปนานนท์ รับบท ยุพดี
- ชลิต สุขเสวี รับบท ส่างหม่อง
- สำราญ เหมือนประสิทธิ์เวช รับบท พะโป้
- รงค์ วงษ์สวรรค์ รับบท ทิพย์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติการสร้าง
แก้ภาพยนตร์ชั่วฟ้าดินสลายฉบับ พ.ศ. 2498 นี้เป็นการสร้างครั้งที่สอง โดยก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2496 เคยมีการสร้างเป็นภาพยนตร์สี 16 ม.ม. มาแล้ว อำนวยการสร้างโดย หม่อมราชวงศ์ทันพงศ์ กฤดากร เขียนบทโดย ประหยัด ศ. นาคะนาท และประมูล อุณหธูป กำกับการแสดงโดย หม่อมหลวงต้อย ชุมสาย กำกับภาพโดย ระบิล บุนนาค ภาพยนตร์ฉบับนี้ไม่ได้ออกฉาย เนื่องจากความผิดพลาดในการล้างฟิล์ม ทำให้ฟิล์มภาพยนตร์เสียหายทั้งหมด [4]
เพลง ชั่วฟ้าดินสลาย
แก้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงประกอบ ชื่อ ชั่วฟ้าดินสลาย ประพันธ์คำร้องโดย ครูมารุต ผู้กำกับภาพยนตร์ ทำนองโดย แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ขับร้องโดย พูลศรี เจริญพงษ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงเงินพระราชทาน หลังจากนั้นมีผู้นำเพลงนี้ไปบันทึกเสียงอีกนับครั้งไม่ถ้วน อาทิ สวลี ผกาพันธ์, ธานินทร์ อินทรเทพ, ดนุพล แก้วกาญจน์, กิตติคุณ เชียรสงค์, ศรีไศล สุชาติวุฒิ, ธงไชย แมคอินไตย์, ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์, สุเมธแอนด์เดอะปั๋ง, อรวี สัจจานนท์, อรวรรณ เย็นพูนสุข, เจนนิเฟอร์ คิ้ม เป็นต้น
- ชั่วดินฟ้า รักเธอ เสมอใจ
- ที่ฉันรำพัน ทุกวัน ฝันไป ถึงเธอ
- อยากให้เธอ หวานใจ อยู่ใกล้ พรอดรัก
- ร้อยเรียง ร่วมเคล้าเคียงฉันและเธอ
- ก่อนเข้านอน ฉัน วอน ฝันไป เพ้อครวญ
- ภาพรักหลอน ให้ชวน ละเมอ
- อยากให้เป็น ของเธอ ชั่วฟ้า ดินได้
- อย่ามี อันใดพรากไป ไกลกัน
รางวัล
แก้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ 3 รางวัลสำเภาทอง ในพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ในสาขาบทประพันธ์ยอดเยี่ยม บันทึกเสียงยอดเยี่ยม และถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประเภทฟิล์ม 35 มม.[5]
การดัดแปลง
แก้ในยุคต่อมา ชั่วฟ้าดินสลายยังได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีก 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2553 โดยฉบับปี พ.ศ. 2523 นั้น สร้างโดยจีพีโปรดักชั่น โดยมีชาลี อินทรวิจิตรเป็นผู้กำกับการแสดง[6] อำนวยการสร้างโดย โอภาส รางชัยกุล
ส่วนชั่วฟ้าดินสลายฉบับปี พ.ศ. 2553 สร้างโดย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นผลงานการกำกับการแสดงของ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล[7] เข้าฉายเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 นำแสดงโดย อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม และเฌอมาลย์ บุณยศักดิ์
ในช่วงปี พ.ศ. 2537 สเตอร์ลิ่งท์ ซิลลิฟานท์ นักเขียนบทมือรางวัลจากฮอลลีวู้ด[8] ร่วมมือกับ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล จะนำชั่วฟ้าดินสลายมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดในชื่อ Forever แต่ซิลลิฟานท์ได้เสียชีวิตก่อนทำให้โครงการต้องล้มเลิกไป [6][9]
และยังได้มีการนำเอาเรื่องชั่วฟ้าดินสลายมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีก 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2533
อ้างอิง
แก้- ชั่วฟ้าดินสลาย : ไม่นิรันดร์ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "ชั่วฟ้าดินสลาย" ภาพยนตร์และเพลงอมตะ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชั่วฟ้าดินสลาย : หนังรักชั้นเลิศในประวัติศาสตร์หนังไทย เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ชั่วฟ้าดินสลาย : เรียมเอง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-29. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ ""ชั่วฟ้าดินสลาย" (พ.ศ. 2498) deadly is the female - ประวิทย์ แต่งอักษร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 2012-07-13.
- ↑ "เพลงชั่วฟ้าดินสลาย ได้รับพระราชทานแผ่นเสียงเงิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
- ↑ วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์. หนังกับหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ห้องสมุด, 2552. 286 หน้า. ISBN 978-974-642-677-0
- ↑ รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2500 เก็บถาวร 2011-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน thaifilm.com
- ↑ 6.0 6.1 ตำนาน “ชั่วฟ้าดินสลาย” โดย อัญชลี ชัยวรพร thaicinema.org
- ↑ “หม่อมน้อย” คืนจอภาพยนตร์ครั้งใหญ่ จับ “อนันดา+พลอย” ลง “ชั่วฟ้าดินสลาย” thaicinema.org
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-11-05.
- ↑ A Visit from Hollywood, เดอะเนชั่น, Monday 23 January 1995, Section C .