สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
เนื้อหาในบทความนี้ไม่ถูกต้องแม่นยำ โปรดช่วยกันตรวจสอบ และปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพิ่มแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ด้วย |
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ[1][2] หรือ พระเจ้าช้างเผือก หรือพระนามเดิม พระเทียรราชา เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 แห่งอาณาจักรอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ. 2091 - 2111 พระองค์ขึ้นครองบัลลังก์จากการสนับสนุนของ ขุนพิเรนทรเทพ และขุนนางผู้สนับสนุนของเขาซึ่งได้ทำรัฐประหารโดยการสังหารผู้แย่งชิงบัลลังก์คือ ขุนวรวงศาธิราช และแม่หยัวศรีสุดาจันทร์[3]: 37–39
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ | |
---|---|
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2091-2111 (20 ปี) |
ราชาภิเษก | พ.ศ. 2091 |
ก่อนหน้า | ขุนวรวงศาธิราช |
ถัดไป | สมเด็จพระมหินทราธิราช |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2048 |
สวรรคต | พ.ศ. 2111 (63 พรรษา) |
พระอัครมเหสี | พระสุริโยทัย |
พระราชบุตร | พระราเมศวร พระวิสุทธิกษัตรีย์ สมเด็จพระมหินทราธิราช พระบรมดิลก พระเทพกษัตรีย์ พระแก้วฟ้า พระศรีเสาวราช |
ราชวงศ์ | สุพรรณภูมิ |
พระราชบิดา | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จพระราชสมภพราว พ.ศ. 2048 ทรงมีพระนามเดิมว่า พระเทียรราชา สันนิษฐานว่าเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 อันประสูติจากพระสนม และเป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดากับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และสมเด็จพระไชยราชาธิราช[4]
ด้านชีวิตครอบครัว ได้อภิเษกสมรสกับพระสุริโยทัย และมีพระราชโอรสธิดา 5 พระองค์คือ พระราเมศวร พระวิสุทธิกษัตรีย์ สมเด็จพระมหินทราธิราช พระบรมดิลก และพระเทพกษัตรี นอกจากนี้ยังอาจจะมีพระสนมอีก เพราะปรากฏพระนาม พระศรีเสาวราช พระแก้วฟ้า เป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ด้วยในชั้นหลัง
ปี พ.ศ. 2089 หลังถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระไชยราชาธิราชแล้ว พระเทียรราชาทรงลี้ภัยออกผนวชอยู่วัดราชประดิษฐานตลอดรัชสมัยสมเด็จพระยอดฟ้าและขุนวรวงศาธิราช ครั้งนั้นขุนพิเรนทรเทพได้ร่วมกับขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา (ในราชการ) และหลวงศรียศ ปรึกษากันว่าแผ่นดินเป็นทุรยศ ควรจับขุนวรวงศาธิราชไปประหารชีวิตเสีย แล้วให้พระเทียรราชาซึ่งทรงผนวชอยู่เป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเทียรราชา กราบทูลแผนการให้ทรงทราบ ก็ทรงเห็นด้วย ฝ่ายเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ เห็นว่าควรเสี่ยงเทียนว่าพระเทียรราชามีพระบารมีมากกว่าขุนวรวงศาธิราชหรือไม่ ขุนพิเรนทรเทพไม่เห็นชอบ แต่พระเทียรราชาทรงเห็นด้วย ค่ำวันนั้นทั้งหมดจึงไปยังพระอุโบสถวัดป่าแก้วเพื่อทำพิธีเสี่ยงทาย[5] เมื่อจุดเทียนแล้วปรากฏว่าเทียนของขุนวรวงศาธิราชยาวกว่า ขุนพิเรนทรเทพจึงโกรธว่าห้ามแล้ว ยังขืนทำอีก แล้วคายชานหมากทิ้ง บังเอิญไปถูกเทียนขุนวรวงศาธิราชดับลง ทั้ง 5 คนจึงยินดีอย่างยิ่ง[6] ขณะนั้นมีพระภิกษุลึกลับเข้ามาในอุโบสถ ให้พรว่าที่ปรารถนานั้นจะสำเร็จแน่ ออกจากอุโบสถก็หายตัวไป[7]
เมื่อขุนวรวงศาธิราชเสด็จฯ ทางชลมารคไปทรงคล้องช้างเผือก ขุนพิเรนทรเทพกับพวกได้จัดกองเรือออกสกัด เข้าจับขุนวรวงศาธิราช นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชโอรส ฆ่าเสียทั้งหมด เอาศพไปเสียบประจานไว้ ณ วัดแร้ง เว้นชีวิตไว้แต่พระศรีสิน[7] แล้วเข้ายึดพระราชวัง ให้ส่งเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ไปรับพระเทียรราชาซึ่งลาสิกขาบทแล้วมาราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ครองกรุงศรีอยุธยาแทน[1]
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล ได้ออกพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช รามินทรธิบดินทราเชน สุริเยนทรยโสดมราไชสวรรยาธิปัต
พระราชกรณียกิจ
แก้ในระหว่างปี พ.ศ. 2092 - 2106 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิม ยุทธศาสตร์ในการป้องกันคือ ใช้พระนครเป็นที่มั่น
- เมื่อ พ.ศ. 2092 ทรงให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยาก่ออิฐถือปูนตามแบบฝรั่งเป็นครั้งแรก จากเดิมที่ถมดินเป็นเชิงเทินแล้วปักเสาไม้ระเนียดด้านบน
- โปรดให้รื้อกำแพงเมืองหน้าด่านชั้นนอกออก 3 เมืองคือ สุพรรณบุรี ลพบุรี และนครนายก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น
- โปรดให้ขุดคลองมหานาคเป็นคูเมืองออกไปถึงชายทุ่งภูเขาทอง คาดว่าเริ่มขุดตั้งแต่ศึกพระสุริโยทัยขาดคอช้างแต่เพิ่งมาเสร็จ
- โปรดให้สำรวจบัญชีสำมะโนครัวใหม่ ตามหัวเมืองชั้นในทุกหัวเมือง ทำให้ทราบจำนวนชายฉกรรจ์ที่สามารถทำการรบได้
- ทรงตั้งเมืองใหม่ขึ้น 3 เมือง เพื่อให้เป็นที่รวมพลและง่ายต่อการเกณฑ์เข้าพระนคร
- ยกตลาดขวัญเป็น เมืองนนทบุรี
- ยกบ้านท่าจีนเป็น เมืองสาครบุรี
- แบ่งเอาเขตเมืองราชบุรีกับเมืองสุพรรณบุรีเป็น เมืองนครชัยศรี
- พ.ศ. 2095 โปรดให้แปลงเรือแซ (เรือยาวตีกรรเชียง ใช้คนพาย ประมาณ 20 คน) เป็นเรือชัย (เรือที่มีปืนใหญ่ยิงได้ที่หัวเรือ) และหัวสัตว์ คือการพัฒนาเรือรบนั่นเอง ซึ่งก็คือเรือที่ใช้ในพระราชพิธีปัจจุบัน
- โปรดให้จับช้างเข้ามาใช้ในราชการ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสามารถจับช้างเผือกได้ถึงเจ็ดเชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก อีกพระนามหนึ่ง
พ.ศ. 2106 สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีพระราชประสงค์เป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา จึงส่งทูตมาขอพระเทพกษัตรี พระราชธิดาพระองค์เล็กไปเป็นพระชายา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงรับไมตรีแต่ตอนนั้นพระเทพกษัตรีทรงพระประชวร พระองค์จึงส่งพระแก้วฟ้าไปถวายแทน
เมื่อพระไชยเชษฐาทรงทราบว่าไม่ใช่พระเทพกษัตรีจึงถวายพระแก้วฟ้าคืนใน พ.ศ. 2107 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงส่งพระเทพกษัตรีย์ไปยังล้านช้างแต่พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเข้าจึงส่งทหารไปชิงตัวพระเทพกษัตรีมา
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบก็ทรงเสียพระทัย จึงเสด็จไปประทับที่วังหลัง ให้พระมหินทร์พระโอรสว่าราชการแทน เมื่อพระชนมายุประมาณ 59 พรรษา ต่อมาได้เสด็จออกผนวชใน พ.ศ. 2109 โดยมีข้าราชการออกบวชด้วยจำนวนมาก
พระมหินทร์ ทรงได้ว่าราชการแทนในช่วงหนึ่ง ต่อมาทรงมีเรื่องกินแหนงแคลงใจกับพระมหาธรรมราชา จนเกิดความร้าวฉานระหว่างพิษณุโลกกับกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากพระองค์สมคบพระไชยเชษฐาไปตีเมืองพิษณุโลก จนพระองค์มิอาจรั้งราชการแผ่นดินจึงทูลเชิญให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาผนวชหลังจากที่ผนวชได้ไม่นาน แล้วกลับมาว่าราชการตามเดิม
พระองค์กับพระมหินทร์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปหงสาวดีแล้วนำพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระเอกาทศรถมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงให้ไปเข้ากับหงสาวดีอย่างเปิดเผย
เมื่อ พ.ศ. 2111 ระหว่างสงครามกับอาณาจักรตองอู สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพระประชวรหนักประมาณ 25 วัน และเสด็จสวรรคตในขณะที่ทัพพม่าดีปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ สิริพระชนมพรรษา 63 พรรษา ครองสิริราชสมบัติได้ 20 ปี
ราชการสงคราม
แก้ศึกพระสุริโยทัยขาดคอช้าง
แก้ในปี พ.ศ. 2091 หลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งนี้เป็นที่กระฉ่อนไปทั่ว จนทราบไปยังพระกรรณพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าทรงพระราชดำริว่า ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังกรุงศรีอยุธยา จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี (บางพงศาวดารบอกว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้เสด็จมาทอดพระเนตรกำแพงเมืองอยุธยาก่อนหน้านี้มาครั้งหนึ่งแล้ว เพื่อประเมินกำลังศึก) โดยตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง ทัพพระมหาอุปราชาบุเรงนองตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ์
ในวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง พร้อมกับพระสุริโยทัย พระราเมศวร และพระมหินทร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร ช้างพระที่นั่งเสียที พระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทร์ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร
ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำปืนใหญ่นารายณ์สังหาร ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำโจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่ายพม่าล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบ จึงปรึกษากับแม่ทัพนายกองจะยกทัพกลับ แม่ทัพทั้งหลายเห็นควรจะยกทัพกลับทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) แต่พระเจ้าตเบ็งชเวตี้เห็นว่าทางที่ยกมานั้น ทรงทำลายเสบียงอาหารเสียหมดแล้ว ถ้ายกไปทางนี้จะประสบปัญหาขาดแคลน และจะถูกทหารไทยยกมาซ้ำเติมลำบากอยู่ จึงทรงให้ยกทัพขึ้นไปทางด่านแม่ละเมา (ตาก) เพื่อตีทัพของพระมหาธรรมราชาด้วยไพร่พลนั้นน้อยนัก และจะได้แย่งเสบียงมา เมื่อปะทะกับกองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร ไล่ติดตามไปจนเกือบถึงเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลังไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพกรุงศรีอยุธยาถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรงขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือกคือ พลายศรีมงคลกับพลายมงคลทวีป จากนั้นกองทัพพม่าก็ถอยกลับไปยังหงสาวดี
ส่วนการพระศพพระสุริโยทัยนั้นเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง ณ สวนหลวง และให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงเป็นพระอารามเพื่ออุทิศ พระราชกุศลพระราชทาน แด่สมเด็จพระอัครมเหสี ประกอบด้วยพระเจดีย์ พระวิหาร แล้วพระราชทานนามพระอารามอันเป็นพระราชานุสรณ์แห่งพระสุริโยทัยแห่งนี้ว่า วัดสบสวรรค์ ในปัจจุบันชื่อ วัดสวนหลวงสบสวรรค์
สงครามกับเขมร
แก้พ.ศ. 2099 ในเดือน 12 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้แต่งทัพไปตีเมืองละแวก พระยาองค์ (โอง) สวรรคโลก (เชื่อว่าเป็นคนเดียวกับพระยาสวรรคโลกที่กำจัดขุนวรวงศาธิราช) เป็นทัพหลวง ยกทัพ 30,000 ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ให้พระยาเยาวเป็นแม่ทัพเรือ แต่ลมพัดไม่เป็นใจทัพเรือจึงตามทัพบกไม่ทัน พระยารามลักษณ์แม่ทัพบกได้เข้าตีเขมรในตอนกลางคืน แต่เสียทีถอยหนีมาถึงทัพใหญ่ ในศึกนี้เสียพระยาองค์ (โอง) สวรรคโลกกับไพร่พลอีกจำนวนมาก
สงครามช้างเผือก
แก้พระเจ้าบุเรงนองผู้ครองราชย์เป็นพระเจ้าหงสาวดีต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ทราบเรื่องช้างเผือก จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือกสองช้าง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เหตุผลเชิงปฏิเสธเพราะทรงเห็นด้วยกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงคราม พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2106 ด้วยกำลังพลสองแสนคน จัดเป็นทัพกษัตริย์หกทัพ ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกสอาสาสมัคร 400 คน เป็นทหารปืนใหญ่ ให้เมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เปลี่ยนเส้นทางเดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยมาตามลำดับเพื่อตัดกำลังที่จะยกมาช่วยกรุงศรีอยุธยา
ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเตรียมตัวป้องกันพระนคร โดยคาดว่าพม่าจะยกกำลังมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตีเมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลกได้ ครั้นลงมาถึงเมืองชัยนาท กองทัพพม่าก็ได้ปะทะกับกองทัพกรุงศรีอยุธยาของพระราเมศวร แต่ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาต้านทานไม่ได้ต้องถอยกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎรได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง ที่พลับพลาบริเวณตำบลวัดหน้าพระเมรุ กับวัดหัสดาวาส ยอมเป็นไมตรี โดยได้มอบช้างเผือก 4 ช้าง พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงครามให้แก่พม่า โดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงต่อรองขอดินแดนของอยุธยาทั้งหมดที่พระเจ้าบุเรงนองยึดไว้คืน พระเจ้าบุเรงนองก็ถวายคืนแต่โดยดี จากนั้นพม่าก็ถอยกลับไปหงสาวดี
สงครามเสียกรุง
แก้ใน พ.ศ. 2111 พม่าได้ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพโดยมีทัพเมืองพิษณุโลกอยู่ด้วย มีกำลังห้าแสนคน เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน โดยมุ่งตีหักเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซี่งเป็นด้านที่คูเมืองแคบสุด และใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยติดต่อกับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศ
ความไม่สงบภายใน
แก้กบฏพระศรีศิลป์
แก้ประมาณ พ.ศ. 2098 พระศรีศิลป์ พระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราชกับนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ มีพระชันษาได้ 14 ปี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้ผนวชเป็นสามเณรอยูที่วัดราชประดิษฐาน แต่พระศรีศิลป์กลับวางแผนก่อกบฏและถูกจับได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงไม่ประหารแต่ให้คุมตัวไว้ที่วัดธรรมิกราช
จนถึง พ.ศ. 2104 พระศรีศิลป์มีพระชันษาครบ 20 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจะให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ (พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ กล่าวว่าตอนนั้นบวชอยูที่วัดมหาธาตุ แต่พระศรีศิลป์หนีไปซุ่มพลอยู่ตำบลม่วงมดแดง จึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีไปตาม
ฝ่ายพระศรีศิลป์แม้ได้ฤกษ์จากพระพนรัตน์ป่าแก้วแล้ว แต่ตัดสินพระทัยนำกองกำลังเข้ากรุงศรีอยุธยาก่อนกำหนด ในวันพฤหัสบดี แรม 14 ค่ำ เดือน 8 วันรุ่งขึ้นพระศรีศิลป์เข้าพระราชวังได้ครั้งนั้นได้ แต่พระศรีศิลป์ต้องพระแสงปืนสิ้นพระชนม์ในพระราชวัง ผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อการทั้งหมดถูกนำไปประหารชีวิตเหตุการณ์จึงเข้าสู่ภาวะปกติ
กบฏปัตตานี
แก้หลังสงครามช้างเผือก มุซาฟาร์ ชาฮฺ สุลต่านแห่งปัตตานี ยกทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยา เมื่อกองทัพปัตตานีมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปรากฏว่ากองทัพพม่าได้ล่าถอยออกไปแล้ว สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺได้นำกองทัพชาวมลายูเข้าไปพักในกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่พักอยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้นได้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างกองทัพมลายูปัตตานีกับกองทัพกรุงศรีอยุธยา จึงได้เกิดการสู้รบกันขึ้น สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺ นำกองทัพเข้ายึดพระราชวังได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงต้องเสด็จหนีไปที่เกาะมหาพราหมณ์แล้วจึงรวบรวมกำลังเข้าตีตอบโต้ กองทัพปัตตานีต้องถอยร่นออกมาถึงปากอ่าว สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮฺ สิ้นพระชนม์ขณะยกทัพกลับพระศพถูกฝังไว้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากอ่าว
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้แก่
- สมภพ เบญจาธิกุล จากละครเรื่อง สมเด็จพระสุริโยทัย (2535)
- ศรัณยู วงษ์กระจ่าง จากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544)
- มานพ อัศวเทพ จากละครเรื่อง กษัตริยา (2546)
- ศรัณยู วงษ์กระจ่าง จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (2550)
- ศุกล ศศิจุลกะ จากละครเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา (2560)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 70
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามแลพระนามผู้ที่ทำลับแลไฟ ทรงพระราชอุทิศในพระเจ้าแผ่นดิน ในพระราชกุศลบรรจบรอบเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๒๕ ปี, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๐ หน้า ๓๑๙, ๒๒ ตุลาคม ๑๑๒
- ↑ Chakrabongse, C., 1960, Lords of Life, London: Alvin Redman Limited
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 105
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 67
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 68
- ↑ 7.0 7.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 69
- บรรณานุกรม
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- ประชุมพงศาวดารภาคที่ 82 เรื่องพระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2, กรมศิลปากร, 2537. 423 หน้า. ISBN 974-419-025-6
- พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์, 2558. 558 หน้า. หน้า (38)-(39), (41). ISBN 978-616-92351-0-1
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ขุนวรวงศาธิราช (พ.ศ. 2091) |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2091-2108 (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2110/2111-2111 (ครั้งที่ 2)) |
สมเด็จพระมหินทราธิราช (พ.ศ. 2111-2112) |