อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Amarin Corporations Public Company Limited; ชื่อเดิม : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited)) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อมรินทร์ (Amarin) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางด้านการรับจ้างพิมพ์งานสิ่งพิมพ์สอดสีให้แก่บริษัท ห้างร้าน หน่วยราชการ และสถาบันเอกชนต่าง ๆ ในรูปของหนังสือ แผ่นพับ แคตตาลอค ปฏิทิน โฟลเดอร์ โปสการ์ด ก่อตั้งโดยชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 ก่อนถูกเข้าซื้อกิจการโดยกลุ่มทีซีซีเมื่อปี พ.ศ. 2559
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
---|---|
การซื้อขาย | SET:AMARIN |
อุตสาหกรรม |
|
ก่อนหน้า | ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ |
ก่อตั้ง | 29 กันยายน พ.ศ. 2519 |
สำนักงานใหญ่ | 378 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน, , |
จำนวนที่ตั้ง | 7 |
พื้นที่ให้บริการ | ไทย |
บุคลากรหลัก | |
ผลิตภัณฑ์ | |
สินทรัพย์ |
|
เจ้าของ | บริษัท อเดลฟอส จำกัด ถือหุ้นทางอ่อมรวม 904,368,591หุ้น หรือคิดเป็น 90.59% ผ่าน 3 บริษัทลูก 1 บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ถือหุ้นอยู่ 602,427,400 หรือคิดเป็น 60.35% 2 บริษัท สิริวัฒนภักดี จำกัด ถือหุ้นอยู่ 163,554,139 หรือคิดเป็น 16.38% 3 บริษัท สิริภักดีธรรม จำกัด ถือหุ้นอยู่ 138,387,052 หรือคิดเป็น 13.86% |
เว็บไซต์ | amarin |
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) มี สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกรรมการ, ฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นรองประธานกรรมการ และศิริ บุญพิทักษ์เกศ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
ประวัติ
แก้อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ที่รากฐานจากการที่ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ รวบรวมเพื่อนร่วมงานและพนักงานไม่กี่คนมาร่วมกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดในชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสารบ้านและสวน" เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2519[1] โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิตนิตยสาร "บ้านและสวน" ฉบับแรกออกวางจำหน่ายในเดือนเดียวกัน แต่ในสมัยนั้นต้องเดินทางไปพิมพ์หนังสือที่โรงพิมพ์ภายนอก เนื่องจากไม่มีโรงพิมพ์ของตัวเอง จึงเกิดความยากลำบาก ปีถัดมาคือเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2520 จึงได้มีการก่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์"[2] เพื่อจัดพิมพ์นิตยสารของตน ขณะเดียวกันก็รับจ้างงานพิมพ์อื่นด้วย
ระยะต่อมา เมื่อกิจการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์ จึงระดมทุนเพิ่ม และต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 ได้จัดตั้งบริษัทจำกัดในชื่อ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด (อังกฤษ: Amornrin Printing Group Co., Ltd.)[3] โดยต่อยอดธุรกิจจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์ และอมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พได้เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในชื่อย่อหลักทรัพย์ APRINT เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 334 ในบทเฉพาะกาล ระบุให้บริษัทจำกัดแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ภายใน 2 ปีนับตั้งแต่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์บังคับใช้ อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พจึงดำเนินการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Amarin Printing and Publishing Public Co., Ltd.) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2536[4]
ในปี พ.ศ. 2536 บริษัทได้ขยายกิจการไปสู่ด้านการจัดจำหน่าย โดยก่อตั้งบริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด เพื่อดูแลการจำหน่ายสิ่งพิมพ์ทั้งหมด รวมถึงจัดตั้งร้านค้าปลีกชื่อ "ร้านนายอินทร์"
ต่อมาปริมาณผู้อ่านนิตยสารมีมากขึ้น และประเภทของผู้อ่านมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงเริ่มผลิตนิตยสารอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อ่าน โดยมีนิตยสารแนวผู้หญิงออกตามมาคือ แพรว และ สุดสัปดาห์ และผลิตนิตยสารอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน[5]
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก APRINT เป็น AMARIN โดยมีผลเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์[6]
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยฐาปน สิริวัฒนภักดี และปณต สิริวัฒนภักดี จากกลุ่มทีซีซี ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำนวน 200,000,000 บาท คิดเป็น 47.62% เพื่อนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติม เช่น ชำระค่าใบอนุญาต เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะการผลิตรายการโทรทัศน์ให้แก่ช่องอมรินทร์ทีวี รวมทั้งชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน[7]
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 คณะกรรมการบริษัทได้บรรจุวาระการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)" ให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณา[8] และเมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติเป็นเอกฉันท์[9] บริษัทจึงได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Amarin Corporations Public Co., Ltd.) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม[10] และมีผลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม[11]
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอันดับสอง ได้ขายหุ้นที่มีของตนที่ถือในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ทั้งหมดจำนวน 138 ล้านหุ้นให้ บริษัท สิริภักดีธรรม จำกัด[12] ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีฐาปนและปณต สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นโดยอ้อม ส่งผลให้ตระกูลสิริวัฒนภักดีถือหุ้นในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ มากกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด[13] และต่อมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม กรรมการและผู้บริหารจากตระกูลอุทกะพันธุ์ ซึ่งเหลืออยู่จำนวน 3 คน คือ เมตตา อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการ, ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และเลขานุการ และ โชคชัย ปัญจรุ่งโรจน์ สามีของระริน ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ได้ขอลาออกจากตำแหน่งทั้งหมดในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ โดยมีผลทันที ทำให้ในปัจจุบันไม่มีบุคลากรจากกลุ่มของผู้ก่อตั้งบริษัทที่ดำรงตำแหน่งในอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ แล้ว และคณะกรรมการบริหารได้แต่งตั้งให้ศิริ บุญพิทักษ์เกศ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เป็นการชั่วคราว[14] ส่งผลให้ในปัจจุบัน อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ อยู่ภายใต้การบริหารของกลุ่มทีซีซีอย่างเต็มรูปแบบ[15]
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่ โดยแต่งตั้งสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานกรรมการและกรรมการอิสระ และศิริ บุญพิทักษ์เกศ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และเลขานุการ[16]
ธุรกิจของบริษัท
แก้- สื่อสิ่งพิมพ์
- บริการงานพิมพ์คุณภาพ
- บริการงานพิมพ์เร่งด่วน
- บริการงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
- บริการผลิตเนื้อหา
- อมรินทร์พับลิชชิ่งเซอร์วิส
- สำนักพิมพ์
- แพรวสำนักพิมพ์
- แพรวเยาวชน
- Springbook
- Rose (เน้น นิยายวาย)
- อรุณ (เน้น นิยายไทย)
- Amarin Howto
- Amarin Kids
- Amarin ธรรมะ
- Amarin สุขภาพ
- Amarin Comic
- Amarin ท่องโลก
- Amarin Cuisine
- Piccolo
- Prism (เน้น นิยายแปลสืบสวน และ สยองขวัญ แปลญี่ปุ่นและเกาหลี)
- Word (เน้น นิยายแปลอังกฤษ)
- นิตยสาร
- บ้านและสวน
- แพรว
- อีเวนท์
- บ้านและสวนแฟร์
- Amarin Baby & Kids Fair
- โทรทัศน์ : บริษัท อมรินทร์เทเลวิชัน จำกัด (อมรินทร์ทีวี)
- ร้านค้า
- ร้านนายอินทร์
- อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
แก้- ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567[17]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | บริษัท วัฒนภักดี จำกัด | 602,427,400 | 60.35% |
2 | บริษัท สิริวัฒนภักดี จำกัด | 163,554,139 | 16.38% |
3 | บริษัท สิริภักดีธรรม จำกัด | 138,387,052 | 13.86% |
4 | โสภณ มิตรพันธ์พานิชย์ | 21,095,900 | 2.11% |
5 | นายสมชัย สวัสดีผล | 15,000,000 | 1.50% |
6 | บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) | 6,449,473 | 0.65% |
7 | นายเฉลิมพล โสภณกิจการ | 4,000,000 | 0.40% |
8 | นางลี่ซา โสภณกิจการ | 3,170,000 | 0.32% |
9 | นายชนะชัย ภู่ระหงษ์ | 1,990,000 | 0.20% |
10 | นายพิเชฐ ตันติศรีเจริญกุล | 1,755,600 | 0.18% |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด วารสารบ้านและสวน". Creden Data. สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด อมรินทร์การพิมพ์". Creden Data. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด". Creden Data. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข้อมูลสรุป บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
- ↑ อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. "เกี่ยวกับอมรินทร์". amarin.co.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "การแจ้งการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์" (PDF). อมรินทร์ คอร์ปอเรชั่นส์. 15 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ไทยรัฐทีวี (25 พฤศจิกายน 2016). "'กลุ่มเจ้าสัวเจริญ' ทุ่ม 850 ล. ฮุบ 'อมรินทร์' เสริมแกร่งทีวีดิจิทัล". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2566 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทฯ และตราประทับของบริษัทฯ และกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 และการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด" (PDF). อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์. 28 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ P"การแจ้งมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566" (PDF). อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์. 27 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แจ้งการแก้ไขชื่อบริษัท" (PDF). อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์. 24 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "การเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทของ AMARIN" (PDF). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 25 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "AMARIN ร่วง 4% สิริภักดีธรรม ของเจ้าสัวเจริญ เข้าถือหุ้นเพิ่มยันไม่กระทบการบริหาร". THAIRATH Money.
- ↑ "หุ้น AMARIN ดิ่งเฉียด 6% หลังกลุ่ม 'เจ้าสัวเจริญ' ซื้อบิ๊กล็อตเพิ่ม 13.86%". THE STANDARD. 2023-10-06.
- ↑ "แจ้งการลาออกของกรรมการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และเลขานุการบริษัท" (PDF). อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์. 17 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ไทยเบฟ'คุมบริหาร ปิดฉากตระกูลอุทกะพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง 'อมรินทร์' ขายหุ้นเกลี้ยงพอร์ต-ลาออกทุกตำแหน่ง". Brand Buffet. 18 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อมรินทร์ เปิดตัวบอร์ดชุดใหม่ หลังตระกูลอุทกะพันธุ์ ขายหุ้นให้เจ้าสัวเจริญ". ประชาชาติธุรกิจ. 8 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 20 มีนาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)