พันท้ายนรสิงห์ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2559)

พันท้ายนรสิงห์ เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2559 สร้างจากบทประพันธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ที่แต่งขึ้นจากเรื่องเกร็ดในพงศาวดารและประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล อำนวยการสร้างโดย หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา นำแสดงโดย พันเอกวันชนะ สวัสดี, พงศกร เมตตาริกานนท์, พิมดาว พานิชสมัย, สรพงษ์ ชาตรี, นิรุตติ์ ศิริจรรยา

พันท้ายนรสิงห์
เขียนโดยพระนิพนธ์ :
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
บทภาพยนตร์ :
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ด.ร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
แสดงนำพันเอกวันชนะ สวัสดี
พงศกร เมตตาริกานนท์
พิมดาว พานิชสมัย
นิรุตต์ ศิริจรรยา
สรพงษ์ ชาตรี
พิมลรัตน์ พิศลยบุตร
สมภพ เบญจาธิกุล
ดนตรีโดยสง่า อารัมภีร
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องเวิร์คพอยท์
ออกอากาศ4 เมษายน พ.ศ. 2559 –
6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เนื้อเรื่อง

แก้

ในปี พ.ศ. 2231 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอนปลาย ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ที่เมืองลพบุรีและประชวรหนัก หลวงสรศักดิ์ได้จับตัวเจ้าพระยาวิชเยนทร์ไปสำเร็จโทษ และพระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา

ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. 2246 – 2252 บ้านเมืองวุ่นวายเพราะพระยาราชสงครามรีดไถประชาชนด้วยการอ้างพระบรมราชโองการในการเกณฑ์ช้างม้าวัวควายไปเพื่อเป็นภาษี ส่วนสาววัยรุ่นจะนำไปถวายพระเจ้าเสือ เพื่อเป็นนางสนมในพระราชวัง ส่งผลให้ชาวบ้านทุกทั่วหัวระแหงได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกันพระพิชัย เจ้าเมืองวิเศษชัยชาญ ก็ได้ตั้งกลุ่มเพื่อต่อต้านการกระทำของขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ด้วยการตั้งตัวเป็นกองโจรเพื่อปล้นเสบียงและผู้หญิงที่ถูกเกณฑ์ไปในวังหลวง ซึ่งหนึ่งในกองโจรนั้นมี สิน ซึ่งชอบช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน

สินมีเมียรักชื่อ นวล ที่คอยช่วยเหลือทั้งงานบ้านและการต่อสู้กับทหารที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เธอเคยรบเร้าให้สินเลิกเป็นโจรหลายครั้งแต่ไม่เป็นผลเนื่องจากสินต้องการสร้างความยุติธรรมให้กับชาวบ้าน ต่อมาพระเจ้าเสือได้ทรงพระราชดำเนินไปตกปลากับขุนนางคนสนิทเป็นการส่วนพระองค์ โดยปลอมตัวเป็นสามัญชนชื่อว่า ทิดเดื่อ ซึ่งนัยหนึ่งพระองค์ต้องการทราบถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้าน การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้นได้ปะฝีมือเชิงมวยกับสินผู้เป็นชาวบ้านธรรมดา โดยไม่รู้ว่าคนที่ตนกำลังชกอยู่ด้วยเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ไม่ทันได้รู้ผลแพ้ชนะก็มีขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงมาอ่านพระบรมราชองค์การในการเกณฑ์ราษฎรชายไปเป็นทหาร ทำให้พระเจ้าเสือได้รับทราบการทุจริตของข้าราชการและได้พูดคุยกับสินอย่างถูกคอ

หลังจากพระเจ้าเสือเสด็จกลับพระราชวังได้มีรับสั่งให้สินเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคัดท้ายเรือประจำพระที่นั่งเอกไชยและช่วยเหลืองานราชการในการปราบขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยต่อมาคือ พันท้ายนรสิงห์ จนได้รับคำยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัย ครั้นพระเจ้าเสือเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรี ซึ่งจะต้องผ่านตำบลโคกขามซึ่งคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวและแคบ ทำให้พระพิชัย และพระพินิจ ทหารเก่าในสมัยพระนารายณ์ที่เกลียดชังพระเจ้าเสือวางอุบายลอบปลงพระชนม์ได้

ขณะเดียวกันนั้นสินที่ได้ล่วงรู้แผนการนี้จึงให้นวลไปขอร้องกับพระพิชัยแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตนจึงวางแผนบังคับเรือพระที่นั่งให้ชนกับริมตลิ่งเพื่อไม่ให้พระเจ้าเสือเสด็จพระราชดำเนินไปถึงจุดที่กลุ่มชาวบ้านซุ่มอยู่

เมื่อเรือพระที่นั่งเอกไชยมาถึงตำบลโคกขาม สินพยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งจนชนตลิ่ง ทำให้หัวเรือพระที่นั่งเอกไชยหักตกลงไปในน้ำ สินรู้โทษดีว่าความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณีซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหักผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสีย สินจึงกราบทูลขอน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี พระเจ้าเสือทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นเหตุสุดวิสัยมิใช่ความประมาทจึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่สินก็กราบบังคมยืนยันให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมายและเป็นการป้องกันมิให้เกิดข้อติเตียนต่อพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดิน พระเจ้าเสือไม่ต้องการประหารสินจึงทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปสินแล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทน แต่สินยังคงยืนยันขอให้ตัดศีรษะตน โดยขอให้พระเจ้าเสืออภัยโทษให้แก่กลุ่มผู้ที่ลอบปลงพระชนม์

แม้พระเจ้าเสือจะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฏิบัติตามพระราชกำหนด จึงตรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตาและนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้นขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล ทำให้พระพิชัยที่แอบดูอยู่รู้ความจริงว่าพระเจ้าเสือมิได้เลวร้ายอย่างที่คิด จึงถวายตัว รับใช้พระเจ้าเสือด้วยความซื่อสัตย์ตลอดมา

การดัดแปลง

แก้

ในตอนแรกละครเรื่องนี้จะออกอากาศทาง ช่อง 3 เนื่องจาก เต้ย พงศกร ผู้รับบท พันท้ายนรสิงห์ เป็นนักแสดงในสังกัดช่อง 3 แต่ด้วยปัญหาเรื่องช่วงเวลาออกอากาศทำให้หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทรงนำพันท้ายนรสิงห์ไปตัดต่อและฉายเป็นภาพยนตร์ ต่อมา หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม โอรสของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้ตัดสินใจซื้อละครพันท้ายนรสิงห์กลับมาจากช่อง 3 และนำไปออกอากาศทางช่อง โมโน 29 แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้ละครเรื่องนี้ไม่สามารถออกอากาศทางช่องโมโน 29 ได้ทำให้ท่านมุ้ยตัดสินใจนำละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์มาออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ จำนวน 19 ตอน ตอนสุดท้ายวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นักแสดง

แก้

นักแสดงหลัก

แก้
ชื่อนักแสดง ชื่อตัวละคร หมายเหตุ
พงศกร เมตตาริกานนท์ สิน/พันท้ายนรสิงห์ นายท้ายเรือในสมัยพระเจ้าเสือ บุตรบุญธรรมของพระพิชัยเจ้าแขวงวิเศษชัยชาญ มีฝีมือด้านมวยคาดเชือก ได้ต่อยกับทิดเดื่อหรือพระเจ้าเสือจนกลายเป็นเพื่อนร่วมน้ำสาบานกัน ต่อมาเมื่อถูกพระยาราชสงครามจับตัวไว้ได้ ก็ถูกส่งมายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อรับโทษ แต่กลับกลายเป็นว่าได้เป็นพันท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยของพระเจ้าเสือแทน เป็นคนซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน รักนวลสุดหัวใจ ต่อมาเป็นวีรชนคนสำคัญของประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์ต่อกฎหมายบ้านเมือง
พิมดาว พานิชสมัย นวล เมียของพันท้ายนรสิงห์
พันเอกวันชนะ สวัสดี สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) (ทิดเดื่อ) พระราชโอรสลับใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมียศศักดิ์เดิมเป็นหลวงสรศักดิ์ ต่อมาได้ร่วมมือกับพระเพทราชาสังหารเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ และพระปีย์ เพื่อไม่ให้กรุงศรีอยุธยาตกเป็นของชาวฝรั่ง มักปลอมพระองค์ไปประพาสตามบ้านแขวงต่างๆในนามลำลองว่า ทิดเดื่อ
พิมลรัตน์ พิศลยบุตร พระองค์รัตนา พระมเหสีเอกในพระเจ้าเสือ บุตรสาวของพระยาราชสงคราม
สมภพ เบญจาธิกุล สมเด็จพระเพทราชา พระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 28 แห่งกรุงศรีอยุธยา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีบุตรบุญธรรมคือ พระเจ้าเสือ
พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้อภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเพทราชา
ธัญญา โสภณ กรมหลวงโยธาทิพ พระขนิษฐาของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้อภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเพทราชา
สรพงษ์ ชาตรี พระพิชัย เจ้าเมืองวิเศษไชยชาญ เดิมคือทหารเก่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เกลียดชังพระเจ้าเสือมานาน ต่อมาได้ร่วมมือกับพระพินิจ วางแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเสือ (ตัวละครสมมุติ)
วิชชุดา มงคลเขต อำแดงเย็น ภริยาของพระพิชัย (ตัวละครสมมุติ)
นิรุตติ์ ศิริจรรยา พระยาราชสงคราม ในภาพยนตร์เป็นข้าราชการเก่าตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีความทะเยอทะยานอยากเป็นใหญ่ ผลสุดท้ายก็ถูกประหารชีวิต แต่ในประวัติศาสตร์ พระยาราชสงครามเป็นแม่กอง คุมกำลังพลขุดคลองโคกขาม หลังจากที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต
ปริศนา กล่ำพินิจ คุณหญิงเหมือน ภริยาของพระยาราชสงคราม (ตัวละครสมมุติ)
ไพโรจน์ ใจสิงห์ พ่อใหญ่ หนวดเขี้ยว พ่อของนวล (ตัวละครสมมุติ)
เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ บัวเผื่อน แม่ของสิน (ตัวละครสมมุติ)
ปฐมรัตน์ ศิริทรัพย์ นาค แข้งเหล็ก พี่ชายของนวล (ตัวละครสมมุติ)
มรกต หทัยวสีวงศ์ ทับทิม ลูกสาวพระพิชัย (ตัวละครสมมุติ)
ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง หลวงกำแหง ทหารเอกของพระยาราชสงคราม (ตัวละครสมมุติ)
อภิชาติ อรรถจินดา หมื่นชาญ ทหารของพระยาราชสงคราม (ตัวละครสมมุติ)
ทินธนัท เวลส์ช หลวงสำแดง ทหารของพระยาราชสงคราม (ตัวละครสมมุติ)
ต่อลาภ กำพุศิริ หลวงฤทธิ์ ตัวละครสมมุติ
ไกรลาศ เกรียงไกร พระพิจิตร เจ้าเมืองพิจิตร
ชลัฏ ณ สงขลา พระยาราชบังสัน แม่ทัพเรือของพระเจ้าเสือ
สมชาติ ประชาไทย พระพินิจ ทหารเก่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เกลียดชังพระเจ้าเสือเหมือนพระพิชัย ต่อมาได้วางแผนให้พระพิชัยนำกำลังชาวบ้านลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเสือ (ตัวละครสมมุติ)
เขาทราย แกแล็คซี่ ครูเริง ครูมวยจากสิงห์บุรี (ตัวละครสมมุติ)
สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ทองอ่อน มหาดเล็กคนสนิทของพระเจ้าเสือ (ตัวละครสมมุติ)
สุรชัย จันทิมาธร เฒ่าอ่ำ ตัวละครสมมุติ
ประสิทธิ์ เทศทะวงศ์ ตาจุ่น (ตัวละครสมมุติ)
รณ ฤทธิชัย กำนันถึก
วิศว ทัพพะรังสี ถมยา เพื่อนของสิน (ตัวละครสมมุติ)
รุ่งทิวา คงสนุ่น มะลิ เพื่อนของนวล (ตัวละครสมมุติ)
เอกรัตน์ ขลิบเงิน คง เพื่อนของสิน (ตัวละครสมมุติ)
ฝนพา สาทิสสะรัต พิม เพื่อนของนวล (ตัวละครสมมุติ)
รัชรพล พลายด้วง ชิ้น เพื่อนของสิน (ตัวละครสมมุติ)
ณยศ เสาว์ทองหยุ่น ปลอด เพื่อนของสิน (ตัวละครสมมุติ)
อัสนี สุวรรณ จุ่น เพื่อนของสิน (ตัวละครสมมุติ)

นักแสดงรับเชิญ

แก้
ชื่อนักแสดง ชื่อตัวละคร หมายเหตุ
สุเชาว์ พงษ์วิไล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไทยองค์สุดท้ายของราชวงศ์ปราสาททอง
ไชยา มิตรชัย พระปีย์ พระราชโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาถูกหลวงกำแหงและหลวงสำแดง ทหารในสังกัดหลวงสรศักดิ์ จับโยนลงจากกำแพงเมืองจนสิ้นพระชนม์
สเตฟาน เดอร์ ฌานาจ พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เสนาบดีใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้ถูกพระเพทราชาสังหาร
สุรศักดิ์ ชัยอรรถ พระสิริสุธรรมราชา พระมหากษัตริย์แห่งกรุงอังวะ
กฤษณ์ เศรษฐธำรงค์ ทหารติดตามพระสิริสุธรรมราชา
แสงดาว ทรงแสง ส้มป่อย สนมในวัง (ตัวละครสมมุติ)
จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา ฉิมยักษ์ สนมในวัง (ตัวละครสมมุติ)
ราชวัติ ขลิบเงิน ดำ (ตัวละครสมมุติ)

ดูเพิ่ม

แก้