พระสุพรรณกัลยา
พระสุพรรณกัลยา หรือพระนามอื่น สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เชื่อว่าพระนามเดิม คือ องค์ทอง[1]
พระสุพรรณกัลยา | |
---|---|
ศาลพระสุพรรณกัลยาที่วัดจันทร์ตะวันออก | |
ประสูติ | พ.ศ. 2095 (ไม่แน่ชัด) |
สิ้นพระชนม์ | ราวปี พ.ศ. 2135 |
พระสวามี | พระเจ้าบุเรงนอง |
พระบุตร | เจ้าหญิงมินอะทเว |
ราชวงศ์ | สุโขทัย |
พระบิดา | สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
พระมารดา | พระวิสุทธิกษัตรีย์ |
ชีวิตในกรุงหงสาวดี
แก้พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระนางปรากฏในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในปี พ.ศ. 2112 เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหาธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครองพิษณุโลก) ได้ถวายพระสุวรรณกัลยา พระชันษา 17 ปี กับบริวารและนางสนมรวม 15 คนแก่พระเจ้าบุเรงนอง[2] โดยพระองค์ได้สถาปนาเป็นเจ้านาง มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ[3][4]
พระนางมีพระธิดา 1 พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้รับพระราชทานพระนามว่า เจ้านางเจ้าภุ้นชิ่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม เจ้านางเมงอทเว ในพระราชพงศาวดารพม่าได้บันทึกว่าพระสุพรรณกัลยาเป็นเจ้านางที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานมาก[5] โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นในพระราชวังกรุงหงสาวดี
ด้วยเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองเสด็จออกราชการสงครามอยู่เสมอ ทำให้พระสุพรรณกัลยารวมทั้งเจ้านางองค์อื่นทรงดำเนินชีวิตในพระราชวังตามปกติ โดยมิได้เสด็จออกงานหรือเห็นโลกภายนอกจนกว่าที่พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จกลับหงสาวดีจึงจะมีการจัดงานสำคัญ โดยในวันเพ็ญเดือนมีนาคม พ.ศ. 2116 มีงานบูชาเจดีย์ชเวดากอง พระสุพรรณกัลยาพร้อมด้วยพระราชธิดาองค์น้อยได้ประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปบำเพ็ญพระราชกุศลนาน 5 วัน นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จออกนอกพระราชฐานมานานว่า 3 ปี
หลังจากงานบูชามหาเจดีย์จบสิ้นลง พระเจ้าบุเรงนองได้นิมนต์พระสงฆ์พม่า มอญ เชียงใหม่ และไทใหญ่ 3,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ เงิน สำริด และปัญจโลหะ อย่างละองค์ ในการนี้พระเจ้าบุเรงนองได้ทำการเฉลิมพระยศพระราชโอรส และพระราชธิดา โดยในการนี้ เจ้านางเจ้าภุ้นชิ่ พระราชธิดาในพระสุพรรณกัลยาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น พิษณุโลกเมียวซา เนื่องจากทรงได้รับสิทธิ์ในภาษีประจำปีที่ได้จากพิษณุโลก นับแต่นั้นมาทุกคนจึงขานพระนามพระราชธิดาพระองค์นี้ว่า เจ้านางพิษณุโลก[6][7]
กรณีการสิ้นพระชนม์
แก้ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2124 พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์แทน ภายหลังจากที่พระมหาอุปราชามังกะยอชวาสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2135 จากการทำสงครามยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งการสิ้นพระชนม์นั้นในพงศาวดารรวมถึงคำให้การต่าง ๆ ทั้งของไทยและพม่าต่างก็ให้ข้อมูลต่างกันออกไปเกี่ยวกับการกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา
หลักฐานของไทย
แก้- คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่า "พระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระพิโรธ รับสั่งให้เอาตัวนายทัพนายกองที่ไปกับพระมหาอุปราชนั้น ใส่คาย่างไฟให้ตายสิ้น แต่เท่านั้นยังไม่คลายพระพิโรธ จึงเสด็จไปสู่ตำหนักพระสุพรรณกัลยา เอาพระแสงฟันพระนางสุพรรณกัลยากับพระราชธิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ทั้ง ๒ พระองค์"
- คำให้การขุนหลวงหาวัด ได้กล่าวใกล้เคียงกัน แต่ต่างที่เป็นพระราชโอรสมิใช่พระราชธิดา ความว่า "ฝ่ายพระเจ้าหงสา ทรงพระพิโรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐานเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศวรนั้นบรรทมให้พระราชโอรสเสวยนมอยู่ในพระที่ พระเจ้าหงสาวดีจึงฟันด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระโอรสทั้งสองพระองค์ ก็ถึงแก่พิราลัยด้วยกันทั้งสองพระองค์ ด้วยพระเจ้าหงสาวดีทรงโกรธยิ่งนัก มิทันจะผันผ่อนได้"
หลักฐานของพม่า
แก้ไม่ปรากฏการสิ้นพระชนม์ในหลักฐานพม่า
อย่างไรก็ตามจากหลักฐานของไทยและพม่าก็ต่างแสดงความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา และประทับอยู่ในหงสาวดีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2112 ขณะมีพระชันษาได้ 17 ปี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2135 ที่เกิดยุทธหัตถี พระองค์จึงน่าจะมีพระชันษา 40 ปี และหากมีพระโอรส-ธิดากับพระเจ้าบุเรงนอง พระโอรสธิดาก็ควรมีพระชันษาราว 8 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งดูจะขัดแย้งกับคำให้การขุนหลวงหาวัด ที่กล่าวถึงการ ให้พระโอรสเสวยนมอยู่ในที่..[8] ส่วนกรณีที่ถูกพระแสงดาบของพระเจ้านันทบุเรงเช่นเดียวกัน เนื่องจากหากพระเจ้าแผ่นดินจะประหารชีวิตใครก็จะบันทึกเรื่องราวไว้โดยละเอียด แต่ในเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยากลับไม่ปรากฏไว้เลย[8] [9]
หลักฐานที่ขัดแย้งกัน
แก้แม้การสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยานั้นจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากแรงโทสะของพระเจ้านันทบุเรง ตามหลักฐานประเภทคำให้การของไทย แต่มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าได้นำเสนอข้อมูลที่แตกต่างออกไป โดยกล่าวถึงเจ้าภุ้นชิ่หรือเจ้าหญิงพิษณุโลกได้ตามเสด็จพระราชมารดาออกมาประทับนอกพระราชวังกัมโพชธานี โดยเจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ได้เสกสมรสกับ เจ้าเกาลัด พระโอรสของเจ้าอสังขยา เจ้าเมืองตะลุป ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ามังรายกะยอชวา โอรสองค์ที่สองของพระเจ้านันทบุเรง และมีพระธิดาด้วยกันคือ เจ้าหญิงจันทร์วดี ซึ่งหมายความว่า ในช่วงสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 พระสุพรรณกัลยามิได้ประทับอยู่ในหงสาวดีแต่ทรงประทับอยู่ในอังวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2137 พระเจ้าตองอู พระเจ้านยองยัน และพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดี พระเจ้านยองยันได้เข้าครองกรุงอังวะที่เจ้าหญิงพิษณุโลก และพระมารดาอาศัยอยู่ อีกทั้งยังเป็นผลดีแก่ทั้งสองพระองค์ด้วย เนื่องจากพระเจ้านยองยันนั้นเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งยังมีความคุ้นเคยกับเจ้าอสังขยาบิดาของเจ้าเกาลัด จึงคาดได้ว่า ภายใต้การปกครองของพระเจ้านยองยันพระสุพรรณกัลยารวมถึงเจ้าหญิงพิษณุโลกก็ยังทรงประทับในนครอังวะอย่างปกติสุขจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ โดยมิได้ถูกปลงพระชนม์แต่อย่างใด[10]
พระนามต่าง ๆ
แก้- สุวรรณกัลยา จากคำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง)
- สุวรรณกัลยา จันทรกัลยา จากคำให้การชาวกรุงเก่า
- พระสุวรรณ จากมหาราชวงศ์
- อะเมี้ยวโยง แปลว่าผู้จงรักภักดีในเผ่าพันธุ์ตน จากมหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ ของมหาสีหตู (Twinthin Taikwun Maha Sithu)
- พระสุพรรณกัลยา จากพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สถานที่เกี่ยวกับพระองค์
แก้- พระอนุสาวรีย์พระสุพรรณกัลยาณี ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (กองทัพภาคที่ 3) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระรูปพระสุพรรณกัลยา ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- พระบรมรูปพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ วัดลาดสิงห์ ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
- พระรูป ณ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- พระเจดีย์ ณ วัดบ้านน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างถวายพระสุพรรณกัลยา และภายในพระเจดีย์ ได้บรรจุเส้นพระเกษาของพระสุพรรณกัลยาไว้ด้วย
- พระอุโบสถ วัดวรเชตุเทพบำรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้มีนักแสดงผู้รับบท พระสุพรรณกัลยา ได้แก่
- รัชนู บุญชูดวง จากละครเรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2530)
- วรัทยา นิลคูหา จากละครเรื่อง กษัตริยา (2546)
- เกรซ มหาดำรงค์กุล จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2550 - 2558)
- พชรณมน นนทภา จากละครเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ (2560 - ปัจจุบัน)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระสุพรรณกัลยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Pasuk Phongpaichit; Chris Baker (2000), Thailand's Crisis, Silkworm Books, pp. 175–176
- ↑ อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์, หน้า 183
- ↑ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 271
- ↑ Taylor (2001), History, Simulacrum and the real, p. 6
- ↑ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 273
- ↑ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 275
- ↑ Maung Aung Myoe (2002), Neither Friend Nor Foe: Myanmar's Relations with Thailand Since 1988, Institute of Defence and Strategic Studies, Nanyang Technological University, p. 146
- ↑ 8.0 8.1 อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์, หน้า 184
- ↑ Chris Baker; Pasuk Phongpaichit (2000), A History of Thailand (Second ed.), Cambridge University Press, p. 262
- ↑ ตำนานนางกษัตริย์. หน้า 293-295
- ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์. พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2550
- สุเจน กรรพฤทธิ์. สารคดีพิเศษ:จากพิษณุโลกสู่เวียงแหง ตามรอยนเรศวรมหาราชนอกกรอบประวัติศาสตร์ "ชาตินิยม". อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ. สมุทรปราการ:มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553 ISBN 978-616-7202-06-8
- มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart). โยเดียกับราชวงศ์พม่า:เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, พ.ศ. 2550
- กิตติ วัฒนะมหาตม์. ตำนานนางกษัตริย์. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553. หน้า 259-307 ISBN 978-974-341-666-8