เทพธิดาโรงแรม (อังกฤษ: Hotel Angel) ภาพยนตร์ไทยแนวสะท้อนสังคมที่สร้างจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของ ณรงค์ จันทร์เรือง สร้างโดย พร้อมมิตรภาพยนตร์ จากการกำกับของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล[1] ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ซาวด์ออนฟิล์ม(บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ) นำแสดงโดย วิยะดา อุมารินทร์[2]และภาพยนตร์เรื่องนี้นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตการแสดงของเธอ และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพระเอกชื่อดังในยุคนั้นอย่าง สรพงศ์ ชาตรี ในการมารับบท โทน ตัวร้ายของเรื่องซึ่งทำงานเป็นแมงดาในซ่องออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2517[3]

เทพธิดาโรงแรม
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บทภาพยนตร์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เนื้อเรื่องณรงค์ จันทร์เรือง
นักแสดงนำวิยะดา อุมารินทร์
สรพงศ์ ชาตรี
สมภพ เบญจาธิกุล
ถ่ายภาพหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ลำดับภาพหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดนตรีประกอบกมล ทัพคัลไลย
สุรพล โทณะวณิก
พีระ ตรีบุปผา
บริษัทผู้สร้าง
วันฉาย2 มีนาคม พ.ศ. 2517
ประเทศ ไทย
ภาษา ไทย

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงชีวิตของ มาลี (วิยะดา) หญิงสาวจากภาคเหนือที่เดินทางมาหางานทำในกรุงเทพพร้อมกับคนรักของเธอแต่คนรักของเธอได้หายตัวไปทำให้เธอต้องหันเหเข้ามาทำงานในซ่องแห่งหนึ่ง

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย ใช้เวลาถึง 9 เดือนในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ซ่องโสเภณี และระหว่างการถ่ายทำได้เกิดการเดินขบวนประท้วงของเหล่า นิสิต นักศึกษา อันเป็นส่วนหนึ่งของ วันมหาวิปโยค ท่านจึงออกไปถ่ายภาพการเดินขบวนประท้วงและนำมาตัดต่อใส่ไว้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์[4] ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกภาพยนตร์ของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2559 และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู

นักแสดง แก้

อ้างอิง แก้

  1. Duthel, Heinz (2015). Duthel Thailand Guide IV.: Chakri Dynasty (ภาษาอังกฤษ). Books on Demand. ISBN 9783734779824.
  2. Yasovant, Janine. "Arts of Thailand - Tan Mui". www.scene4.com. Scene4 Magazine. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  3. Payer, Alois. "Chronik Thailands 1974 / B. E. 2517". www.payer.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  4. "Thai movie". www.thaiworldview.com. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้