กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467

กฎหมายไทย

กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 เป็นกฎหมายกำหนดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย สำหรับการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี เรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นที่ถกเถียงกันโดยเฉพาะในสมัยอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24

กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันตรา10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
วันประกาศ10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
วันเริ่มใช้11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (มาตรา 20-21)
ภาพรวม
สืบราชบัลลังก์ของประเทศไทย

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เพื่อให้การสืบราชบัลลังก์มีความชัดเจน โดยส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะขจัดความคลุมเครือเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์และเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบ

ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ส่งผลให้สยามเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุก ๆ ฉบับ ได้มีการระบุการสืบราชสันตติวงศ์ โดยยังคงยึดหลักกฎมณเฑียรบาลข้างต้นไว้ แต่มีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียด

ปูมหลัง

กฎมณเฑียรบาลฉบับเดิมซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1903[1] ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสืบราชสันตติวงศ์ ไม่มีระบบที่ชัดเจนในการกำหนดผู้สืบราชสันตติวงศ์เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต โดยทั่วไปแล้ว กษัตริย์องค์ใหม่จะเป็นพระราชโอรสของอดีตกษัตริย์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีหรือพระสนม หรือหนึ่งในพระเชษฐา/พระอนุชาของพระองค์[2] กฎหมายยังกำหนดให้บุคคลที่ไม่ใช่พระราชโอรสหรือพระเชษฐา/พระอนุชาของอดีตกษัตริย์สามารถขึ้นครองราชย์ได้[3]

อย่างไรก็ตาม กฎมณเฑียรบาลไม่ได้รับประกันการสืบทอดที่ราบรื่นเสมอไป อย่างน้อยหนึ่งในสามของการสืบราชสันตติวงศ์ของกรุงศรีอยุธยาจบลงด้วยการนองเลือด เนื่องจากเกิดการแย่งชิงอำนาจบ่อยครั้งระหว่างสมาชิกราชวงศ์และขุนนางซึ่งขัดขวางความปรารถนาสุดท้ายของกษัตริย์ที่เพิ่งจากไป

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งสยามพระองค์ใหม่โดยสิทธิของผู้ชนะ หลังจากที่พระองค์พิชิตกองทัพพม่าในยุทธการที่ค่ายโพธิ์สามต้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 อย่างไรก็ตาม พระองค์สนับสนุนคณะสงฆ์เพื่อรักษาความชอบธรรมในการครองราชย์ แต่ในที่สุด พระองค์ก็ถูกโค่นราชบัลลังก์ด้วยการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพไปยังกัมพูชาเพื่อปราบปรามการก่อจลาจลและยกสมาชิกราชวงศ์เขมรผู้สนับสนุนสยามขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา เมื่อทราบถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรงเต็มทีแล้ว พระองค์จึงได้ยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและโค่นล้มสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และก่อตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นในปี พ.ศ. 2325 ภายหลังพระองค์ได้รับสั่งให้ราชบัณฑิตรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สูญหายและกระจัดกระจายภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายใหม่[4] กฎมณเฑียรบาลเป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตรัสไว้ว่า เพราะกฎหมายเก่ามักคลาดเคลื่อนและนำไปสู่ความอยุติธรรม

การส่งต่อราชบัลลังก์ในราชวงศ์จักรีซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายตราสามดวงแทบไม่มีการนองเลือดเลย ส่วนหนึ่งคือการยึดถือแนวความคิดที่ว่าผู้สืบราชสันตติวงศ์ควรเป็นบุคคลที่ฉลาดและมีความสามารถมากที่สุด ทำให้การสืบราชบัลลังก์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีการนองเลือด

การแก้ไขกฎมณเฑียรบาล

มีการบัญญัติการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลไว้ทั้งในตัวกฎมณเฑียรบาลเองและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนี้

  • ในกฎมณเฑียรบาล มีระบุไว้ในมาตรา 19 ว่า ให้พระมหากษัตริย์พระองค์ถัดมาทุก ๆ พระองค์ ทรงคำนึงถึงพระอุปการะคุณของพระผู้ทรงตรากฎมณเฑียรบาล คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้ปฏิบัติตามมาตรา 20 คือ ให้ทรงเรียกประชุมคณะองคมนตรี ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนองคมนตรีทั้งหมด จากนั้นพระราชทานข้อความในกฎมณเฑียรบาลที่พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะให้แก้ไขหรือเพิกถอน เพื่อให้คณะองคมนตรีปรึกษาและถวายความคิดเห็น หากมีจำนวนองคมนตรีให้ความเห็นชอบไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนองคมนตรีทั้งหมด จึงจะมีพระบรมราชโองการให้แก้ไขหรือเพิกถอนข้อความดังกล่าวได้
  • ในรัฐธรรมนูญ เริ่มมีระบุไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 แต่ระบุไว้ว่า ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลได้ ต่อมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ได้ระบุให้สามารถแก้ไขกฎมณเฑียรบาลได้ โดยใช้วิธีเดียวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือพิจารณาโดยที่ประชุมร่วมรัฐสภา และต่อมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ได้มอบพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์ในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลโดยเฉพาะ โดยหากมีพระราชดำริ ให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติม แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย หากมีพระราชวินิจฉัยแล้วทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีแจ้งผ่านประธานรัฐสภาให้รัฐสภารับทราบก่อน จากนั้นจึงให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งเนื้อหานี้ยังคงระบุไว้จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในปัจจุบัน

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • Aryan, Gothan (15 – 16 September 2004), Thai Monarchy, International Institute for Democracy and Electoral Assistance, Retrieved on 5 July 2006, presented in Kathmandu, Nepal
  • Grossman, Nicholas (EDT) and Faulder, Dominic (2011) King Bhumibol Adulyadej : A Life's Work: Thailand's Monarchy in Perspective. Editions Didier Millet (Succession: p. 325–333).
  • The Constitution of the Kingdom of Thailand (1997), Section 20
  1. Wales, H. G. Quaritch (14 April 2005) [1931]. "Pt. III, Ch. VI, 1. Succession". Siamese state ceremonies. London: Bernard Quaritch. p. 67. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012. The Succession to the Throne of Siam is, in theory, regulated by the law of A.D. 1360....
  2. Voraporn Pupongpunt (2005) "Phap Luk Sataban Kasat Nai Kot Monthien Ban" (The Image of the Monarchical Institution Through Palace Law), Bangkok: Thailand Research Fund p. 211.
  3. This could occur, for instance, when the god Indra provided such person with "the quintet of royal objects", or when someone sought out came from a rich Brahman family or possessed high abilities in warfare, Voraporn, p. 212.
  4. Lingat, R. (1950). "Evolution of the Conception of Law in Burma and Siam" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol. 38.1c (digital): 20–22. สืบค้นเมื่อ 17 March 2013. The technical process by which this combination was effected is well known to us thanks to a text preserved in the Siamese Code of 1805 and called The Law in 36 articles. ... [T]he Siamese appear to have been early provided with a real code of laws, a fact which they may be proud of. ... [A] king, at least theoretically, could not legislate by himself. He was bound to feign a restoration of the original text in order to introduce in the body of laws changes necessitated by variations of social as well as moral ideals.

แหล่งข้อมูลอื่น