หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: สุฤทธิ์; 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546) เป็นผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทยในนามบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 กรุงเทพมหานคร |
เสียชีวิต | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (80 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ผู้กำกับการแสดง/อำนวยการสร้างของ ละโว้ภาพยนตร์ ,เจ้าของนิตยสารรายปักษ์ ดรุณี และห้องอาหาร ชาววัง |
มีชื่อเสียงจาก | หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทย |
คู่สมรส | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ |
บุตร | มาลินีมงคล อมาตยกุล ปัทมนรังษี เสนาณรงค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล |
บิดามารดา | หลวงบรรจงธนสาร (บรรจง สุฤทธิ์) อิ่ม สุฤทธิ์ |
ประวัติ
แก้หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ที่จังหวัดปัตตานี เป็นธิดาของหลวงบรรจงธนสาร (บรรจง สุฤทธิ์) กับนางอิ่ม สุฤทธิ์ บิดาเป็นเสมียนตรามณฑลปัตตานี เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ บิดาได้ถวายหม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร สมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี ตั้งชื่อให้ ท่านจึงตั้งชื่อว่า "อุบลตานี" แล้วประทานดูดวงไว้ว่าจะได้เป็นคุณหญิง หม่อมอุบลมีพี่น้อง 4 คน คือ
- จงกล สุฤทธิ์
- หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา
- อุไร เกษมสุวรรณ
- อึ่ง สุฤทธิ์
บิดาได้เสียชีวิตด้วยวัณโรค ซึ่งสมัยนั้นรักษาไม่ได้ มารดาเอาไปฝากญาติที่เป็นครูอยู่ที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร หลังจากนั้นมารดาย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ กับน้องที่เป็นภรรยาของพระอรรถ อิศรภักดี หม่อมอุบลได้มาอยู่ด้วยเพื่อมาเรียนหนังสือต่อที่โรงเรียนลีนะสมิต (เชิงสะพานกษัตริย์ศึก) กรุงเทพฯ
ขณะที่เรียนหนังสือ เพื่อนที่เรียนด้วยกันชื่อยุพินไปสมัครแสดงภาพยนตร์กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ยุพินได้ชักชวนหม่อมอุบลไปเป็นเพื่อนที่บริษัทละโว้ภาพยนตร์ พอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการเห็นหม่อมอุบลก็ทรงโปรด จึงชักชวนให้แสดงภาพยนตร์ด้วยกัน แจ่หม่อมอุบลไม่ชอบการแสดง อยากเรียนหนังสือ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการจึงไปสู่ขอกับมารดา แล้วพามาอยู่วังลดาวัลย์ (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน)
หม่อมอุบลเป็นผู้กำกับการแสดงหญิงคนแรกของเมืองไทย เช่น ม่วยสิ่น, ปักธงไชย, เชลยศักดิ์, ทรชนคนสวย ฯลฯ เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง อาทิ เงิน เงิน เงิน, อีแตน, เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ เขาชื่อกานต์ เป็นต้น และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน อนุบาลยุคลธร, เจ้าของนิตยสารรายปักษ์ ดรุณี และห้องอาหาร ร้านกับข้าวชาววัง (ถนนสุขุมวิท)
หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546 สิริอายุ 80 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ชีวิตสมรส
แก้หม่อมอุบลเป็นหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ มีพระโอรสพระธิดา ได้แก่
- มาลินีมงคล อมาตยกุล พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงมาลินีมงคล ยุคล หรือ ท่านหญิงหยอย (24 มิถุนายน 2483 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ อรุณ อมาตยกุล
- ปัทมนรังษี เสนาณรงค์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงปัทมนรังษี ยุคล หรือ ท่านหญิงเม้า (ประสูติ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2484) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์
- ปัทมศักดิ์ เสนาณรงค์
- ปัทมนิฐิ เสนาณรงค์
- ปัทมวดี เสนาณรงค์
- หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านชายมุ้ย (ประสูติ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) เสกสมรสกับ ศริยา บุษปวณิช มีหม่อมคือ วิยะดา อุมารินทร์, ภรณี สมเจตนา และ หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล หรือ คุณหญิงนุ้ย ในหม่อมศริยา
- หม่อมราชวงศ์เดชาเฉลิม ยุคล ในหม่อมศริยา
- หม่อมราชวงศ์มงคลชาย ยุคล หรือ คุณชายเอี่ยว ในหม่อมวิยะดา
- หม่อมราชวงศ์สุทธิภาณี ยุคล ในหม่อมภรณี
- หม่อมราชวงศ์ศรีคำรุ้ง ยุคล หรือ คุณหญิงแมงมุม ในหม่อมกมลา
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม ในหม่อมกมลา
- พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล หรือ ท่านชายใหม่ (ประสูติ 22 มกราคม พ.ศ. 2490) เสกสมรสครั้งแรกกับ หม่อมศิริพร ยุคล ณ อยุธยา (1 สิงหาคม พ.ศ. 2495 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532) และเสกสมรสครั้งที่สองกับ หม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา ( 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)
- หม่อมราชวงศ์รังษิพันธ์ ยุคล หรือ คุณชายเหมา ในหม่อมศิริพร
- หม่อมราชวงศ์จันทรลัดดา ยุคล หรือ คุณหญิงแอร์ ในหม่อมศิริพร
- หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล สวัสดิ์-ชูโต หรือ คุณหญิงแม้น ในหม่อมอัญชลี
- หม่อมราชวงศ์จันทรนิภา ยุคล หรือ คุณหญิงไหม ในหม่อมอัญชลี
- หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล หรือ ท่านหญิงยุ้ย (ประสูติ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2496)
ผลงานการสร้างภาพยนตร์
แก้- พ.ศ. 2500 ปักธงไชย สมยศ, รัตนาภรณ์
- พ.ศ. 2502 เชลยศักดิ์ อมรา, ประศาสน์
- พ.ศ. 2508 เงิน เงิน เงิน มิตร, เพชรา
- พ.ศ. 2510 ทรชนคนสวย มิตร, มิสจิ้นหลู
- พ.ศ. 2511 อีแตน มิตร, อรัญญา
- พ.ศ. 2512 เกาะสวาท หาดสวรรค์ สมบัติ, อรัญญา
- พ.ศ. 2513 ฟ้าคะนอง ไชยา, อรัญญา, ภาวนา
- พ.ศ. 2514 วิวาห์พาฝัน สมบัติ, อรัญญา
- พ.ศ. 2514 มันมากับความมืด สรพงศ์, นัยนา
- พ.ศ. 2515 บุหงาหน้าฝน สมบัติ, อรัญญา
- พ.ศ. 2515 ไอ้แกละเพื่อนรัก สรพงศ์, นัยนา
- พ.ศ. 2516 เขาชื่อกานต์ สรพงศ์, นัยนา
- พ.ศ. 2516 แหวนทองเหลือง ไชยา, นัยนา
- พ.ศ. 2521 น้องเมีย สรพงศ์, วิยะดา, ลลนา
- พ.ศ. 2523 เครือฟ้า นิรุตติ์, สุพรรษา, วิยะดา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[1]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2532" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (73ง ฉบับพิเศษ): 5. 4 พฤษภาคม 2532. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)