หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498[2]) อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | |
---|---|
ป.ช., ป.ม., ท.จ.ว., ป.ป.ร.3, ร.จ.พ. หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
เจ้ากรมสรรพากรนอก | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2455 |
ข้าหลวง/สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2473 |
ประสูติ | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 |
สิ้นชีพิตักษัย | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (74 ปี) |
ชายาและหม่อม | หม่อมเนื่อง[1] หม่อมเชื้อ หม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร |
พระบุตร | 16 คน |
ราชสกุล | ชยางกูร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป |
พระมารดา | หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา |
ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (อธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก และองคมนตรีในรัชกาลที่ 5) ประสูติแต่หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 มีโสทรอนุชาองค์เดียวคือ หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร ทรงเข้าพระราชพิธีเกษากันต์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2435[3] ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ[4] จากนั้นได้ทรงเข้ารับราชในกรมมหาดเล็ก[5]และกระทรวงมหาดไทย จนได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล
ครอบครัว
แก้ชีวิตส่วนองค์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงผุดผ่องพรรณ ชยางกูร ขนิษฐาต่างหม่อมมารดา หม่อมเชื้อ ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนดิศ) และหม่อมเนื่อง ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ นคร) มีโอรสธิดา 16 คน
สิ้นชีพิตักษัย
แก้หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2498 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระโกศไม้สิบสองเป็นกรณีพิเศษ[6] เนื่องจากทรงรับราชการมายาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โอรสและธิดา
แก้หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 16 คน ดังนี้
- โอรสธิดาในหม่อมเชื้อ (สกุลเดิม โรจนดิศ)
- หม่อมราชวงศ์เดชสิทธิ์ ชยางกูร ต.จ.[7]สมรสกับลัดดา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองมิตร)
- หม่อมหลวงเรืองเดช ชยางกูร
- พลเอก หม่อมหลวงวิชัย ชยางกูร
- หม่อมหลวงเดชา ชยางกูร
- หม่อมหลวงสุดารัตน์ สมรสกับณรงค์ฤทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงภัทราวดี สมรสกับศาสตราจารย์ฟรานซิส เคเนดี
- หม่อมราชวงศ์รุ่งฤทธี ชยางกูร สมรสกับชูศรี ชยางกูร ณ อยุธยา(สกุลเดิม ศศิผลิน)
- หม่อมหลวงรื่นรมย์ บุณยทรรพ
- หม่อมหลวงชาติชาย ชยางกูร
- หม่อมหลวงไพจิตร สมรสกับพลเรือโท นฤดล บุราคำ
- หม่อมราชวงศ์มีชัย ชยางกูร สมรสกับชุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เอี่ยมกระสิทธุ์)
- หม่อมหลวงอังสนา ลีลายนกุล
- หม่อมหลวงจันทราวดี สงกราน
- หม่อมหลวงเผด็จ ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์เชื้อชยาง สมรสกับนายแพทย์มณเฑียร บุนนาค
- มณทิรัช บุนนาค
- ลวลี บุนนาค
- พันเอก(พิเศษ) หม่อมราชวงศ์จุมพล ชยางกูร สมรสกับสุโข ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เกตุพันธุ์)
- หม่อมหลวงพิศเพียงแข สมรสกับพลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์
- หม่อมหลวงพักตร์เพียงเพ็ญ ชยางกูร
- หม่อมหลวงพรรณเพียงเดือน สมรสกับ พันตำรวจโท ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์ เก็บถาวร 2020-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[8]
- หม่อมราชวงศ์ศุภชัย ชยางกูร สมรสกับสุกัญญา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม คาซึโกะ)
- หม่อมหลวงศิริกัญญา ชยางกูร
- หม่อมหลวงนภาศิริ ชยางกูร
- โอรสธิดาในหม่อมเนื่อง[9] (สกุลเดิม ณ นคร)
- หม่อมราชวงศ์ทิพยวดี สมรสกับหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
- หม่อมหลวงถวัลยวดี เตวิทย์
- ท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน[10]
- หม่อมราชวงศ์ศรีสฤษดิ์ สมรสกับหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)
- หม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม สมรสกับหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร สมรสมรสกับอาภัสรา หงสกุล
- หม่อมราชวงศ์สฤษดิ์คุณ กิติยากร ท.จ.ว.[11] สมรสกับหม่อมราชวงศ์เดือนเด่น ชยางกูร (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์)
- ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สมรสกับอาสา สารสิน
- หม่อมราชวงศ์โสมสมร สมรสกับหม่อมหลวงชวนชื่น กำภู
- หม่อมราชวงศ์พรพรรณ สมรสกับหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) (เมื่อหม่อมราชวงศ์ทิพยวดี พี่สาว ถึงแก่กรรมแล้ว)
โอรสธิดาในหม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์ผ่องพรรณแสง ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์แจลงพรรณศรี ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์อภิรมณ์ ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์สรรพจารี ชยางกูร
- ร้อยตำรวจเอก หม่อมราชวงศ์เศวตวรชัย ชยางกูร สมรสกับขวัญเรือน ชยางกูร ณ อยุธยา(สกุลเดิม ใจพรมเมือง)
- ร้อยตำรวจเอก หม่อมหลวงวรชัย ชยางกูร
- หม่อมหลวงชัยสิทธิ์ ชยางกูร
- หม่อมหลวงอมราภรณ์ ชยางกูร พิวจ์
การรับราชการ
แก้- พ.ศ. 2444 - นายเวรกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2445 - เลขานุการมณฑลราชบุรี[12][13]
- พ.ศ. 2446 - ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลราชบุรี[14][15]
- พ.ศ. 2451 - ปลัดมณฑลราชบุรี[16]
- พ.ศ. 2454 - เกณฑ์เมืองรั้งกระทรวงมหาดไทย[17]
- พ.ศ. 2454 - รักษาราชการแทนเจ้ากรมสรรพากรนอก[18]
- พ.ศ. 2455 - ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี[19]
- 18 เมษายน พ.ศ. 2455 – ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี(ภายหลังเรียกสมุหเทศาภิบาล)[20][21]
- พ.ศ. 2459 - สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลจันทบุรี[22][23]
- พ.ศ. 2466 - สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี[24][25]
- พ.ศ. 2469 - สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต[26][27]
- พ.ศ. 2473 - ลาออกจากราชการเนื่องจากมีพระอาการประชวร[28]
องคมนตรี/สมาชิกวุฒิสภา
แก้องคมนตรี
แก้เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[29][30]
ต่อมาวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีต่อไป[31] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[32]
สมาชิกวุฒิสภา
แก้หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[33][34] โดยทรงดำรงตำแหน่งครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496[35]
อื่นๆ
แก้- พ.ศ. 2459 - ได้รับพระราชทานพระแสงราชศาสตราประจำมณฑลราชบุรีจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[36]
- พ.ศ. 2462 - ทรงก่อตั้งโรงเรียนศรียานุสรณ์[37]
- พ.ศ. 2463 - ทรงดำริให้สร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี[38]
พระยศ
แก้ยศพลเรือน
แก้- พ.ศ. 2454 - อำมาตย์เอก[44]
- พ.ศ. 2455 - มหาอำมาตย์ตรี[45]
- พ.ศ. 2458 - จางวางตรี[46]
- พ.ศ. 2467 - จางวางโท[47]
- พ.ศ. 2469 - มหาเสวกโท[48]
- พ.ศ. 2469 - มหาอำมาตย์โท[49]
ยศเสือป่า
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2471 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[57]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[58] (ชื่อเดิม:ประถมาภรณ์มงกุฎสยาม)
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[59]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[60][61] (ชื่อเดิม:จุลวราภรณ์)
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[62] (ชื่อเดิม:จุลสุราภรณ์)
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[63]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[64] (ชื่อเดิม:นิภาภรณ์)
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[65] (ชื่อเดิม:ภัทราภรณ์)
- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[66] (ชื่อเดิม:ทิพยาภรณ์)
- พ.ศ. 2470 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[67][68]
- พ.ศ. 2469 - เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[69]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2469 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[70]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 5 (ร.จ.ท.5)
- พ.ศ. – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
เข็มพระราชทาน
แก้พ.ศ. 2454 - เข็มข้าหลวงเดิม[71]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 28 หน้า 1797 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2454
- ↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์แลโสกันต์เกษากันต์ เล่ม 9 หน้า 4
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1018190.pdf
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/357.PDF
- ↑ http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book2/clra62_0015/mobile/index.html หน้า 71
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 84 ตอนที่ 41 ฉบับพิเศษ หน้า 27 วันที่ 10 พฤษภาคม 2510
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/1837.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 78 หน้า 4 3 พฤษภาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฉบับพิเศษ เล่ม 113 ตอนที่ 7 หน้า 2 4 พฤษภาคม 2539
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 19 หน้า 88 วันที่ 11 พฤษภาคม 2445
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งน่าที่ราชการ เล่ม 19 หน้า 576 วันที่ 12 ตุลาคม 2445
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งน่าที่ราชการ เล่ม 20 หน้า 57 วันที่ 26 เมษายน 2446
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 20 หน้า 64 วันที่ 3 พฤษภาคม 2446
- ↑ ราชกกิจจานุเบกษา,ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เล่ม 27 หน้า 1239 วันที่ 4 กันยายน 2453
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 27 หน้า 2717 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2453
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 28 หน้า 1297 วันที่ 17 กันยายน 2454
- ↑ http://122.154.73.26/data/sueapa/RatchaburiGovernorHouse.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/3108.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศย้ายตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล เล่ม 33 หน้า 200 วันที่ 29 ตุลาคม 2459
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/A/124.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเปลี่ยนตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลบางมณฑล เล่ม 40 หน้า 47 วันที่ 15 กรกฎาคม 2466
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/1780.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ เล่ม 42 หน้า 429 วันที่ 31 มีนาคม 2468
- ↑ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/583.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ ปลด ย้าย และตั้ง สมุหเทศาภิบาล เล่ม 47 หน้า 431 วันที่ 15 มีนาคม 2473
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,รายพระนามแลนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเปนองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
- ↑ ประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 200 วันที่ 17 กรกฎาคม 2475
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ฉบับพิเศษ หน้า 15 ตอนที่ 56 เล่ม 64 22 พฤศจิกายน 2490
- ↑ เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดทาง พระบรมวงศานุวงศ์เข้าสู่การเมือง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา หน้า 1037 ตอนที่ 63 เล่ม 67 21 พฤศจิกายน 2493
- ↑ พระแสงราชศัสตราประจำเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
- ↑ https://www.wongnai.com/reviews/671a54bbf6e447bfb887cafee5992d28
- ↑ https://www.paaktai.com/news_health/detail/499
- ↑ http://www.pattanihos.com/index.php?option=com_content&view=article&id=26&Itemid=40
- ↑ http://www.srd.ac.th/school-history.html ประวัติโรงเรียน
- ↑ https://vajirayana.org/โคลงลิลิตสุภาพตำรับพระบรมราชาภิเษก-เล่มต้น/ภาคผนวก-เล่มต้น/พระนาม-และนาม-พระบรมวงศานุวงศ์-ข้าราชการ
- ↑ https://m.facebook.com/1451876605112634/photos/a.1475437036089924/1716439388656353/?type=3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ พระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เล่ม 28 หน้า 971 วันที่ 20 สิงหาคม 2454
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศแลเลื่อนยศ เล่ม 29 หน้า 266 วันที่ 5 พฤษภาคม 2455
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเปลี่ยนยศอุปราช แลสมุหเทศาภิบาล เล่ม 32 หน้า 357 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2458
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศ เล่ม 41 หน้า 1797 วันที่ 14 กันยายน 2467
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศกรมมหาดเล็กหลวง เล่ม 43 หน้า 38 วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2469
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศ เล่ม 43 หน้า 907 วันที่ 30 พฤษภาคม 2469
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ส่งสัญญาบัตร์เสือป่าไปพระราชทาน เล่ม 29 หน้า 160 วันที่ 21 เมษายน 2455
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตร์เสือป่า เล่ม 29 หน้า 2634 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2455
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ส่งสัญญาบัตร์เสือป่าไปพระราชทาน เล่ม 30 หน้า 533 วันที่ 15 มิถุนายน 2456
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเลื่อนยศนายเสือป่ามณฑลราชบุรี เล่ม 31 หน้า 2676 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2457
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศเสือป่า เล่ม 34 หน้า 3071 วันที่ 20 มกราคม 2460
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชยศเสือป่า เล่ม 36 หน้า 2240 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2462
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศเสือป่า เล่ม 39 หน้า 2626 วันที่ 24 ธันวาคม 2465
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 45 หน้า 3576 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2471
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เล่ม 40 หน้า 3420 วันที่ 7 มกราคม 2466
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เล่ม ๔๐ หน้า ๒๖๒๗ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๗
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา หน้า 33 หน้า 212 วันที่ 30 เมษายน 2459
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/38.PDF
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา หน้า 31 หน้า 2380 วันที่ 10 มกราคม 2457
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๓๐ หน้า ๑๙๖๖ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 29 หน้า 2435 วันที่ 22 มกราคม 2455
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๒๘ หน้า ๑๙๙๖ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เล่ม 43 หน้า 4299 วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2469
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม