หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) เดิมชื่อ หม่อมราชวงศ์ภิรมย์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ เป็นโอรสของหม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์) กับหม่อมเฉื่อย ทวีวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม จารุจินดา) เป็นอดีตองคมนตรี, ราชองครักษ์พิเศษ, นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์, เลขาธิการพระราชวัง และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
เลขาธิการพระราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) |
ถัดไป | กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา |
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ถัดไป | พูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2444 |
เสียชีวิต | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (69 ปี) |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2444 ณ วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ตำบลแพร่งภูธร (สำราญราษฎร์) จังหวัดพระนคร
เมื่ออายุ 10 ปี บิดาได้นำขึ้นเฝ้าถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยได้ทรงโปรดเกล้าฯให้หม่อมราชวงศ์ภิรมย์เฉลิมลาภเข้าศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
เมื่ออายุราว 13-14 ปี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดให้เข้าไปเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นมหาดเล็กรับใช้ [1] รุ่นแรก คนที่ 5 รับราชการสนองพระเดชพระคุณ และโปรดเกล้าฯ ให้ตัดคำว่า "ภิรมย์" นำหน้าชื่อออก ด้วยทรงพระราชดำริว่าชื่อยาวเกินไป แต่นั้นมาจึงมีชื่อว่า หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ ไปศึกษาเล่าเรียน ณ ประเทศอังกฤษ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
พ.ศ. 2467 ได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปริญญาตรี บี.เอ. เกียรตินิยมทางรัฐศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้มอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เอ็ม.เอ.) ให้อีกวาระหนึ่ง
การรับราชการ
แก้เมื่อสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ ได้กลับมารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวงมหาดไทย เช่น
- ดำรงตำแหน่ง เลขานุการมณฑลภูเก็ต
- 15 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ดำรงตำแหน่ง ผู้รั้งตำแหน่งปลัดจังหวัดภูเก็ต[2]
- 7 มีนาคม พ.ศ. 2472 ดำรงตำแหน่ง ปลัดจังหวัดภูเก็ต[3]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ดำรงตำแหน่ง มหาดไทยมณฑลภูเก็ต[4]
- 7 เมษายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่ง ปลัดกรมการเมือง[5]
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่ง มหาดไทยมณฑลนครศรีธรรมราช[6]
- พ.ศ. 2477 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงตรวจการกรมมหาดไทย
- 16 เมษายน พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ประจวบคีรีขันธ์[7]
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัดนราธิวาส[8]
- 1 มีนาคม พ.ศ. 2482 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัดสงขลา[9]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัด ประจำกระทรวง[10]
- 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัดพระตะบอง[11]
- พ.ศ. 2486 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าที่ปรึกษาประจำกองข้าหลวงใหญ่ 4 รัฐมาลัย
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2489 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมมหาดไทย[12]
- 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์[13]
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 โอนไปรับราชการทางสำนักพระราชวัง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง[14]
- 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อีกตำแหน่งหนึ่ง[15]
- 14 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ราชองครักษ์พิเศษ และนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์[16]
- 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี[17]
รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
แก้หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หม่อมราชนิกุล เป็นหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 [18]
พระราชทานยศพลเรือนและยศทหาร
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้ในปีพ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทานแก่หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์กับหม่อมราชวงศ์ทิพยวดี ชยางกูร ธิดา หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร และ หม่อมเนื่อง ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ นคร) มีธิดา 2 คน
- หม่อมหลวงถวัลย์วดี ทวีวงศ์ สมรสกับนายพูนผล เตวิทย์ มีบุตร ธิดา 2 คน คือ นางนันทนี เตวิทย์ และนายณพาวุธ เตวิทย์
- หม่อมหลวงนราวดี ทวีวงศ์ สมรสกับนายสันชัย ชัยเฉนียน มี ธิดา 2 คน คือ นางจุฑาพร เตชะไพบูลย์ และ นางสาวหนึ่งนุช ชัยเฉนียน
ภายหลังจากที่หม่อมราชวงศ์ทิพยวดี ถึงแก่กรรมแล้วจึงได้สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พรพรรณ ชยางกูร ธิดา หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร และ หม่อมเนื่อง ชยางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2491
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 สิริรวมอายุได้ 69 ปี 81 วัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับการศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานหลายครั้ง ในวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เวลา 17.00 น. ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส [24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[27]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[28]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[29]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 5 (ว.ป.ร.5)[30]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 5 (ป.ป.ร.5)[31]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[32]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[33]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[34]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[35]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2[36]
- ลาว :
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระบรมรูป ชั้นที่ 1[37]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[38]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1[39]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศตั้งนักเรียนมหาดเล็กหลวงเป็นมหาดเล็กรับใช้
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและบรรจุตำแหน่งมหาดไทยมณฑล
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าหลวงประจำจังหวัด
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและโอนข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมมหาดไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเลขาธิการพระราชวัง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ และนายทหารพิเศษ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม ๔๖ หน้า ๒๘๙๕ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๒๙, ๒๙ ตุลาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๗๔, ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๘, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๐๑, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๓๗๑๒, ๒๙ สิงหาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๓๐, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๔, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๗, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
ดูเพิ่ม
แก้