หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร
อำมาตย์โท[1][2] หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430[3] - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 |
สิ้นชีพตักษัย | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (82 ปี) |
ชายาและหม่อม | หม่อมเจ้าเฉลียววรรณมาลา ชยางกูร หม่อมศิลา ชยางกูร ณ อยุธยา |
พระบุตร | 9 คน |
ราชสกุล | ชยางกูร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป |
พระมารดา | หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา |
ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร ประสูติเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 ทรงได้รับทุนพระราชทานส่วนพระองค์จาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมาได้เป็นรับราชการเป็นวิศวกรสังกัดกรมทางหลวง
หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ได้ทรงออกจากราชการมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ[4] ต่อมาทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในเหตุการณ์กบฏบวรเดชในปี พ.ศ. 2476 และถูกจำคุกระยะหนึ่ง[5] เมื่อพ้นโทษแล้วท่านได้กลับเข้ารับราชการในกรมทางหลวงอีกครั้งจนเกษียณอายุราชการ โดยในช่วงประมาณ พ.ศ. 2480-2487 ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายช่างกำกับแขวงการทางอำนาจเจริญ และรับผิดชอบในการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายอุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 และรัฐบาลไทยได้ขนานนามถนนเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านว่า "ถนนชยางกูร" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี[6][7]
หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร สิ้นชีพตักษัยเมื่อ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 สิริชันษา 83 ปี[8]
ครอบครัว
แก้หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าเฉลียววรรณมาลา ชยางกูร (ราชสกุลเดิม กมลาศน์)
- หม่อมราชวงศ์เลอชัย ชยางกูร สมรสกับชาวฟิลิปปินส์
- หม่อมหลวงรัชฎาราศี ชยางกูร
- หม่อมหลวงราศี ชยางกูร
- หม่อมหลวงรูสบีมินดา ชยางกูร
ต่อมาเสกสมรสกับ หม่อมศิลา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วสันตพฤกษ์)
- หม่อมราชวงศ์ขุนพล ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์ไชยพันธุ์ ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์ขันธุ์แข่งแข ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์แก่ชัย ชยางกูร สมรสกับอมรา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม รักษาสัจ)
- หม่อมหลวงพงศ์มหิป ชยางกูร
- หม่อมหลวงอดิศร ชยางกูร
- หม่อมหลวงพีระศักดิ์ ชยางกูร
- หม่อมหลวงสิรินทร ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์วัยวัฒนา ชยางกูร
- หม่อมหลวงศิริวัฒนา ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์สุชาดา มนตรีกุล สมรสกับพงศ์เดช มนตรีกุล ณ อยุธยา
- สาวสุภาวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา
- วรพงศ์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
- สุรภี มนตรีกุล ณ อยุธยา
- สุรพร เกตุจินดา
- หม่อมราชวงศ์สารีบุตร ชยางกูร สมรสกับธนาภา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ขำศิริ)
- หม่อมหลวงวงศ์วริศ ชยางกูร
- หม่อมหลวงกีรติสิทธ์ ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์แสงโสม ชยางกูร สมรสกับพลเรือตรี สุทิน ปูชนีย์
- กนกวรรณ แช่มประชุม
- ศักดิ์สิทธิ์ ปูชนีย์
- ศักดิ์ศิริ ปูชนีย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[9]
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[10]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[11]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/11_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/D/3315_1.PDF
- ↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 154 หน้า. ISBN 9786169092605
- ↑ ท่านวิเศษศักดิ์ โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
- ↑ ประวัติชื่อถนนสายสำคัญของเมืองอุบล คอลัมน์ "อุบลบานเบ่ง/แจ้งขจรไกล" โดย สุวิชช คุณผล วารสารข่าวหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เดือนพฤศจิกายน 2544
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่. เล่ม ๖๗, ตอน ๖๗ ง, ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๓, หน้า ๖๓๗๗.
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/181_2.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐๘๔ หน้า ๔๘, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔