หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ[1] นามเดิม ประดิษฐ์ สุขุม (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) เป็นเลขาธิการคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการ เป็นผู้ก่อตั้ง การกีฬาแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซึ่งปัจจุบันคือกีฬาซีเกมส์ นอกจากนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม
เสียชีวิต17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 (63 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์ นักวิจัย
คู่สมรสประจวบ สุขุมนัยประดิษฐ
บุตร2 คน

ประวัติ

แก้

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 7 ของมหาอำมาตย์นายกเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม "ณ ป้อมเพชร") ชื่อเดิมของหลวงสุขุมนัยประดิษฐ คือ “ประดิษฐ์” นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ประทานให้ โดยตั้งให้คล้องกับพระนามเดิมของพระองค์ คือ “ดิศวรกุมาร” สมรสกับนางประจวบ สุขุมนัยประดิษฐ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน[2]

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ สำเร็จการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุขุมนัยประดิษฐ ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 23 ปี ในการทำงานราชการ หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นผู้วางรากฐานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ก.พ. คนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 และได้ดำรงตำแหน่งนี้อย่างยาวนาน จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2507 รวมเป็นระยะเวลาถึงกว่า 35 ปี

หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานเสรีไทย อยู่ในสหรัฐอเมริการะหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยดูแลเกี่ยวกับด้านการโฆษณาและการกระจายเสียงทางวิทยุ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อปี พ.ศ. 2488

หลวงสุขุมนัยประดิษฐถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 สิริอายุได้ 63 ปี[3]

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ มีพี่น้องร่วมมารดาดังนี้
  1. พระยาสุขุมนัยวินิต ( สวาสดิ์ สุขุม )
  2. คุณไสว สุขุม
  3. คุณแปลก สุขุม
  4. หลวงพิสิษฐ์สุขุมการ ( ประพาส สุขุม )
  5. พระพิศาลสุขุมวิท ( ประสบ สุขุม )
  6. นายประสาท สุขุม
  7. หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์
  8. นายประวัติ สุขุม
  9. คุณเล็ก สุขุม
  10. คุณหญิงประจวบ รามราฆพ(2453-2540:87 ปี) ภริยา เจ้าพระยารามราฆพ
นอกจากนี้ยังมีพี่น้องต่างมารดาดังนี้
  1. หม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา ใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
  2. คุณประยงค์ สุขุม
  3. คุณประนอม ณ นคร
  4. พลตำรวจตรีนิตย์ สุขุม
  5. คุณปอง นิติพน
  6. คุณประณีต ณ นคร

ท่านได้ทำการสมรสครั้งแรกกับคุณล้วน ( รัตนา ) สุขุม และต่อมากับคุณเพิ่มศิริ มีบุตร-ธิดา ดังรายนามต่อไปนี้

  1. นางสุมน กรรณสูต
  2. นางประจง สารกิจปรีชา
  3. นายประเดิม สุขุม
  4. นางประพาฬ รัตนกนก
  5. นางสาวสำเนา สุขุม
  6. นางสินี ช่วงสุวนิช
  7. นางประดิษฐา พรรธนะแพทย์
  8. นางสาวประดับ สุขุม
  9. นางปราณี การ์เนียร์
  10. นางสาวปาริชาติ สุขุม
  11. นางนฤพร เกรซ
  12. นางกิตติมา สังข์เกษม

การศึกษา

แก้

หลวงสุขุมนัยประดิษฐเข้าศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 4 ขณะอายุได้ 13 ปี จึงไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเดินทางด้วยเรือชื่อ “กัวลา” พร้อมกับพี่ชายซึ่งต่อมาคือพระพิศาลสุขุมวิท ในครั้งนั้นมีผู้ร่วมเดินทางเที่ยวเดียวกันที่สำคัญคือ น.ส.สังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกันเนอรี (Gunnery School) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงของรัฐคอนเนคติกัต สหรัฐอเมริกา และได้เป็นนักกีฬาตัวแทนโรงเรียนหลายประเภทจนถึงนายกสภานักเรียน และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าใหญ่ของโรงเรียน หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบอสตันจนสำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ

  • สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ)
  • สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกันเนอรี (Gunnery School) รัฐคอนเนคติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • สำเร็จการศึกษาสูงสุด สาขา Business Administration จาก มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้
  • เลขานุการสภาการฝิ่น
  • เลขานุการส่วนพระองค์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ (15 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 27 เมษายน พ.ศ. 2474)
  • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คนแรก
  • อธิบดีกรมโฆษณาการ
  • รองประธานการกีฬาแห่งชาติ
  • ผู้ก่อตั้งองค์การกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก
  • ผู้ริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซึ่งต่อมาคือกีฬาซีเกมส์
  • ผู้ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2509

ผลงานด้านการกีฬา

แก้

หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นอดีตนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล บาสเกตบอล และเบสบอลชั้นแนวหน้าของสถาบัน ตั้งแต่ยังศึกษาที่โรงเรียน Gunnery เคยได้รับเสื้อสามารถ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งบริหารองค์กรกีฬา

เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมารับราชการที่ประเทศไทย หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการกีฬาสากลของประเทศไทย โดยเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง หรือเซียพเกมส์ (South East Asian Peninsula Games - SEAP Games) ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อวันที่ 12–17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 และมีการจัดการแข่งขันต่อมาจนกระทั่งเป็นกีฬาซีเกมส์ในปัจจุบัน

หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้รับการเสนอชื่อเข้าเป็นกรรมการโอลิมปิกสากล และต่อมาเป็นผู้ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9–16 ธันวาคม พ.ศ. 2509

นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2507 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)

ผลงานด้านดนตรี

แก้

หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นประธานชมรมดนตรีแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสมาคม เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ทำนองเพลงร่วมกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง นำมาบรรเลงโดยวงสุนทราภรณ์ จำนวน 7 เพลง ได้แก่[4]

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

แก้
  • เป็นกัปตันทีมฟุตบอลโรงเรียน Gunnery ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างโรงเรียน
  • เป็นกัปตันทีมบาสเก็ตบอลและเบสบอลของโรงเรียน Gunnery
  • ได้รับโหวตจากนักศึกษาให้ดำรงตำแหน่งเกียรติยศของโรงเรียน Gunnery หลายตำแหน่ง คือ
    • เป็น President student Council , President Senior Class
    • เป็น Vice President ของ Athletic Association หรือ นายกองค์กรกีฬา
    • เป็น Business Manager of Dramatic Association
    • เป็น President of Daita Beta Society
    • เป็น Assistant Business Manager of Stray Shot
  • เป็นนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล ทีมมหาวิทยาลัยบอสตัน
  • ได้รับเลือกเป็น Editor-in-Chiet (บรรณาธิการ) ของหนังสือ Syllabus หนังสือพิมพ์ Year Book ของมหาวิทยาลัยบอสตัน
  • ประธานกรรมการสภาบริหารมูลนิธิการศึกษาฟุลไบร์ท
  • ประธานกรรมการทุนการศึกษาเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ฯพณฯ จอห์น อี พิวรีฟอย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ท้ังไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๑๑, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
  2. "บันทึกเรื่องของข้าพเจ้าโดยย่อ งานพระราชทางเพลิงศพหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ (ประดิษฐ์ สุขุม) ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ท.จ. ณเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2510". 29 June 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  3. ซุปเปอร์แมน..จากแดนสยาม โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561
  4. "ตอนที่ 82 ประวัติและผลงานหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)". 19 November 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2022.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๐, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔