เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)

(เปลี่ยนทางจาก เจ้าพระยารามราฆพ)

พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510) เป็นขุนนางชาวไทย เคยดำรงตำแหน่ง เช่น องคมนตรี สมุหราชองครักษ์ สมุหพระราชวัง[1] ประธานกรรมการพระราชสำนัก นายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ และนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนแรกของประเทศ


เจ้าพระยารามราฆพ
(หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)

เกิด5 ตุลาคม พ.ศ. 2433
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
ถึงแก่กรรม21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 (77 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พระราชทานเพลิง26 ธันวาคม 2510
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ตำแหน่งสมุหราชองครักษ์
วาระ10 พฤศจิกายน 2460 – 1 เมษายน 2469
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนนายพลโท พระยาเทพอรชุน
ผู้สืบตำแหน่งนายพลตรี หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร
ภรรยาเอกคุณหญิงประจวบ พึ่งบุญ ณ อยุธยา (สุขุม)
อนุภรรยา5 คน
บุตร34 คน
ภาพล้อเจ้าพระยารามราฆพ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

ประวัติ

แก้

ปฐมวัย

แก้

เจ้าพระยารามราฆพ เดิมชื่อว่า หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ร.ศ. 109 ที่บ้านถนนจักรเพชร จังหวัดพระนคร เป็นบุตร พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ)[2]กับพระนมทัด (พระนมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพี่ น้องร่วมมารดา 3 คนด้วยกัน คือ

เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เมื่อ พ.ศ. 2448 และได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 ครั้นในงานบรมราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2453 ก็ได้มีหน้าที่เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ยืนหลังที่ประทับตลอดพระราชพิธี ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงจัดตั้งกองเสือป่า จึงพระราชทานธงประจำตัวกองเสือป่า ให้ท่าน เป็นรูปเทพยดา เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ขนพื้นสีแดง (ถ้าไม่มีเชื้อราชตระกูล ใช้รูปมานพ) ตลอดเวลาที่รับราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวยทั้งมื้อกลางวันและกลางคืนตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานเครื่องยศเป็น โต๊ะกาทองคำ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2454 ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี[4]

  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - นายกองโท[5]
  • 30 กันยายน พ.ศ. 2454 - นายกองเอก[6]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายร้อยเอก ในกรมทหารรักษาวัง[7]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2455 - จางวางตรี[8]
  • 28 ธันวาคม พ.ศ. 2456 - จางวางโท[9]
  • 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 - นายพันเอก ในกรมทหารรักษาวัง[10]
  • 7 มีนาคม พ.ศ. 2456 - มหาเสวกโท[11]
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 - นายพลตรี[12]
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - นายพลเสือป่า[13]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2459 - จางวางเอก[14]
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2459 - มหาเสวกเอก[15]
  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 - พระตำรวจตรี[16]
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2461 - นายพลโท[17]
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - นายนาวาเอกพิเศษ[18]
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2467 - นายพลเอก[19]
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2467 - พลเรือโทพิเศษ[20]
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 - พลเรือเอก[21]

บรรดาศักดิ์

แก้
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เป็น นายขัน มหาดเล็กหุ้มแพรต้นเชือกเวรเดช ถือศักดินา ๕๐๐ [22] (อายุ 20 ปี)
  • 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เป็น นายจ่ายง มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา ๖๐๐[23](อายุ 20 ปี)
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 เป็นจมื่นสรรเพธภักดี หัวหมื่นมหาดเล็กต้นเชือกเวรศักดิ์ถือศักดินา ๑๐๐๐[24](อายุ 21 ปี)
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2455 เป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๓๐๐๐ [25](อายุ 22 ปี)

ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 ขณะอายุได้ 31 ปี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาประสิทธิ์ศุภการ ขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฎว่า "เจ้าพระยารามราฆพ พัชรพัลลภมหาสวามิภักดิ์ สมัครพลวโรปนายก สุรเสวกวิศิษฏ์คุณ พึ่งบุญพงศ์บริพัตร นฤปรัตนราชสุปรีย์ ศรีรัตนไตรสรณธาดา เมตตาภิรัตมัทวสมาจาร สัตยวิธานอาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ คชนาม "มีศักดินา 10000[26] กล่าวกันว่าเจ้าพระยารามราฆพเป็นเจ้าพระยาที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแต่งตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์

ตำแหน่งในราชการ และความสำคัญอื่น ๆ

แก้

หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ จึงออกไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึง พ.ศ. 2477 จึงเดินทางกลับประเทศไทย ได้พำนักอยู่ที่บ้านบุญญาศรัย ถนนราชดำริ 1 ปี จึงมาพำนักที่บ้านนรสิงห์ ถึงปี พ.ศ. 2484 ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล แล้วย้ายไปพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม ถึงปี พ.ศ. 2505 จึงขายบ้านท่าเกษมให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (เป็นโรงพิมพ์ธนบัตร ในปัจจุบันนี้) ท้ายที่สุด ในรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านให้พำนัก ที่ถนนเจริญนคร ฝั่งธนบุรี ท่านขนานนามบ้านนี้ว่า "บ้านพระขรรค์ชัยศรี" และพำนัก ณ ที่นี้จนถึงอสัญกรรม

ด้านการเมือง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ คนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยมีพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) เป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ คนแรก

เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีแล้ว เจ้าพระยารามราฆพคงเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นที่ปรึกษาราชการในพระราชสำนักต่อมาจนถึงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสำนักพระราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพ รับราชการในหน้าที่ สมุหพระราชวัง และ ประธานกรรมการพระราชสำนัก นอกจากนั้นท่านยังได้สนองพระเดชพระคุณในหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายหน้าที่ เช่น เป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและอุปนายกในคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย กับยังเป็นประธานกรรมการ ในบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัท ที่สำคัญคือ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธนาคารกรุงเทพ[51]

ครอบครัว

แก้

ด้านชีวิตครอบครัว เจ้าพระยารามราฆพได้รับพระมหากรุณาธิคุณสมรสพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงประจวบ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ต.จ. ธิดาของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร์) ณ พระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2467 และสมรสกับภรรยาท่านอื่น ๆ รวมมีบุตร-ธิดา 34 ท่าน ดังนี้

  • มีบุตร-ธิดา 2 ท่าน กับคุณหญิงประจวบ พึ่งบุญ ณ อยุธยา (สมรสพระราชทาน) ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณรุจิรา อมาตยกุล
    • คุณมานน พึ่งบุญ ณ อยุธยา
  • มีบุตร-ธิดา 7 ท่าน กับคุณนงคราญ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณสุรางค์
    • คุณโสภางค์พึงพิศ
    • คุณจิตอนงค์
    • คุณบุษบงรำไพ
    • คุณอนงค์ในวัฒนา
    • คุณปิยานงราม
    • คุณความจำนงค์
  • มีบุตร-ธิดา 9 ท่าน กับคุณบุญเรือน พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณพัฒนา
    • คุณบุษบานงเยาว์
    • คุณเชาวน์ชาญบุรุษ
    • คุณพิสุทธิอาภรณ์
    • คุณบทจรพายัพทิศ
    • คุณจักร์กฤษณ์กุมารา
    • คุณวนิดาบุญญาวาศ
    • คุณพรหมาศนารายณ์
    • คุณเจ้าสายสุดที่รัก
  • มีบุตร-ธิดา 7 ท่าน กับคุณพิศวาส พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณศิริโสภา
    • คุณดวงสุดาผ่องศรี
    • คุณกุมารีหริลักษณ์
    • คุณทรงจักรวรภัณฑ์
    • คุณรามจันทร์วรพงษ์
    • คุณภุชงค์บรรจถรณ์
    • คุณจันทรรัศมี
  • มีบุตร-ธิดา 6 ท่าน กับคุณถนอม พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณระฆุวงศ์
    • คุณนีละพงษ์อำไพ
    • คุณไกรกรีกูร
    • คุณประยูรกาฬวรรณ
    • คุณนวลจันทร์ธิดาราม
    • คุณโสมยามส่องฟ้า
  • มีบุตร-ธิดา 3 ท่าน กับคุณพยุงวดี พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
    • คุณสู่นคเรศ
    • คุณทักษิณีเขตจรดล
    • คุณอำพลปนัดดา

ปั้นปลายชีวิต

แก้

ในบั้นปลายชีวิต นอกจากการรับราชการแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ ก็ใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน มีกิจวัตรประจำวันคือการจดบันทึก ซึ่งทำมาตั้งแต่อยู่ในมัธยมวัยจนถึงอสัญกรรม นอกจากนี้ก็เพลิดเพลินอยู่กับการบำรุงดูแลเรือ ทั้งเรือยนต์และเรือกล อันเป็นของชอบของท่านตั้งแต่ยังรับราชการ และไปพักตากอากาศที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทุก ๆ ปี

พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ ถึงแก่อสัญกรรมในวันเสาร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 22.15 น. ด้วยเส้นโลหิตแตก สิริอายุได้ 77 ปี 16 วัน ณ ตึกธนาคารกรุงเทพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อบ่ายวันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510 [52]

อนึ่ง ในขณะที่เจ้าพระยารามราฆพ ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์

บ้านนรสิงห์

แก้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบ้านนรสิงห์ พระราชทานแก่พระยาประสิทธิ์ศุภการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้เสนอขายบ้านนี้ให้แก่รัฐบาล เนื่องจากไม่สามารถรับภาระการดูแลบำรุงรักษาได้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เห็นว่าควรซื้อบ้านนรสิงห์เพื่อทำเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง รัฐบาลได้ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ซื้อบ้านหลังนี้ มอบให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล ใช้เป็นสถานที่สำหรับรับรองแขกเมืองและย้ายสำนักนายกรัฐมนตรี จากวังสวนกุหลาบ มาอยู่ที่นี่

บ้านนรสิงห์ เปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบสามัคคีชัย" เมื่อ พ.ศ. 2484 และต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของสำนักนายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบรัฐบาล"

ท่านเจ้าพระยาฯ ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล และย้ายมาพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม จนถึงปี พ.ศ. 2505 ได้ขายบ้านท่าเกษมให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม

แก้

ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2458 มีประกาศราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยการจัดตั้ง "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์[53]" โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการเป็นสภานายกสมาคมฯ คนแรกของวงการลูกหนังไทย และคณะสภากรรมการส่วนใหญ่ คือกรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม พระยาประสิทธิ์ศุภการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลถึง พ.ศ. 2462 จึงลาออกจากตำแหน่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งสมุหพระราชวัง ประธานกรรมการพระราชสำนัก
  2. พระราชทานเพลิงศพ
  3. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  4. พระราชทานเครื่องยศ
  5. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  6. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  7. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  8. แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง เลื่อนยศหัวหมื่นขึ้นเป็นชั้นจางวางตรี
  9. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  10. พระราชทานสัญญาบัตรยศนายทหาร
  11. แจ้งความกระทรวงวัง
  12. พระราชทานยศนายทหารบก
  13. พระราชทานสัญญาบัตรยศนายพลเสือป่า
  14. พระราชทานยศ (หน้า ๒๗๔๘)
  15. พระราชทานยศ
  16. ประกาศกระทรวงวัง เรื่องพระราชทานยศตำรวจพิเศษ
  17. พระราชทานยศนายทหารบก
  18. พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
  19. พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
  20. พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ (หน้า ๓๐๕๓)
  21. "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-03-25.
  22. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๓๘๕)
  23. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๘๖)
  24. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๘๙๖)
  25. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  26. พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา (หน้า ๔๒๖)
  27. https://www.finearts.go.th/performing/categorie/history
  28. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  29. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้ทำการแทนอธิบดีและรองอธิบดีกรมมหาดเล็ก
  30. ประกาศกระทรวงวัง
  31. ประกาศตั้งตำแหน่งผู้ช่วยราชการกระทรวงวัง
  32. แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง ให้จางวางโท พระยาประสิทธิ์ศุภการ เป็นอธิบดีกรมมหาดเล็ก
  33. บรรจุตำแหน่งผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์
  34. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF
  35. ประกาศกรมมหาดเล็ก (หน้า ๑๒๗)
  36. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  37. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งอุปนายกเสือป่า
  38. ประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งจเรทัพบกและการปืนเล็กปืนกล และสมุหราชองครักษ์
  39. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งจเรและผู้ช่วยจเรกรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  40. แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า
  41. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก
  42. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งและย้ายนายทหารรับราชการ
  43. แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
  44. "Product Listing -". sale62.eurseree.com.
  45. https://apps.bangkok.go.th/info/m.info/bmahistory/nakornbma.html
  46. https://www.gsb.or.th/about/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/
  47. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/A/183.PDF
  48. http://www.satriwit3.ac.th/files/1906162020501227_1907110991129.pdf
  49. https://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/63-2017-07-30-11-28-45
  50. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-15. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
  51. digi.library.tu.ac.th/thesis/ec/0815/15ภาคผนวกก.pdf
  52. ข่าวในพระราชสำนัก
  53. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-01.
  54. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๓, ๕ สิงหาคม ๑๓๐
  55. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๗๒, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  56. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๒๒, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
  57. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
  58. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
  59. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  60. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
  61. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๓, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
  62. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  63. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๒๒๗๗, ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๔
  64. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๐๘, ๘ ตุลาคม ๒๔๕๙
  65. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๖๗๓, ๘ พฤษภาคม ๒๔๘๙
  66. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๘ ง หน้า ๒๖๐๘, ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๖
  67. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๗, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  68. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
ก่อนหน้า เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ถัดไป
-   นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม
(พ.ศ. 2458-2462)
  หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์