หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์

มหาเสวกตรี หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2517) เป็นพระโอรสองค์ที่ 31 ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ และที่ 2 ในหม่อมทองสุก มีอนุชาและภคินีร่วมพระมารดา 4 องค์ คือ

  1. หม่อมเจ้าจันทรจำรัส เกษมสันต์ (พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2525)
  2. หม่อมเจ้าบุญะฤทธิ์ เกษมสันต์ (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2514)
  3. หม่อมเจ้ากิติเกริกไกร (พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2464)
  4. อรอำไพ โกมารกุล ณ นคร (พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2553)
หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ12 กรกฎาคม พ.ศ. 2437
สิ้นชีพตักษัย6 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (79 ปี)
หม่อมหม่อมคล้อง ณ ระนอง
ธิดาหม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์
หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี ดุละลัมพะ
ราชสกุลเกษมสันต์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
พระมารดาหม่อมทองสุก

พระประวัติ แก้

หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่วัยเด็ก สนองรับใช้ใต้เบื้องพระยุลบาทในตำแหน่ง เลขาธิการกรมบัญชาการมหาดเล็ก (ในช่วงปี พ.ศ. 2462 ถึง 2468) ซึ่งหม่อมเจ้าชัชวลิตได้ทรงพระผนวชเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2462[1] และในระหว่างปี พ.ศ. 2463 - 2465 ทรงรับตำแหน่งเป็นสภานายกคณะฟุตบอลแห่งสยาม

ในปี พ.ศ. 2465 หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี

นอกจากนี้หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)[2] ซึ่งสมาชิกชุดนี้สิ้นสุดสมาชิกภาพเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2494 เนื่องจากมีการประกาศยึดอำนาจการปกครอง และนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้

ครอบครัว แก้

หม่อมเจ้าชัชวลิต ทรงสมรสกับ หม่อมคล้อง (ณ ระนอง) เกษมสันต์ ณ อยุธยา ท.จ.ว. มีธิดา 2 ท่าน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์ หรือ ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ป.ภ.,ท.จ.ว. อดีตราชเลขานุการในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2540 เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เครื่องที่ 2 ได้ประสบอุบัติเหตุตกที่จังหวัดนราธิวาส
  2. หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี เกษมสันต์ หรือ หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี ดุละลัมพะ จ.จ.

พระยศ แก้

  • 25 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - นายหมู่ตรี[3]
  • – นายหมู่โท
  • 1 ตุลาคม 2455 – นายหมู่เอก[4]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2455 - หุ้มแพร[5]
  • 31 พฤษภาคม 2456 – นายกองตรี[6]
  • 30 ธันวาคม 2456 – จ่า[7]
  • 22 ตุลาคม 2458 – นายกองโท[8]
  • นายกองเอก
  • รองหัวหมื่น
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2459 หัวหมื่น[9]
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 นายกองใหญ่[10]
  • มกราคม 2462 – จางวางตรี[11]
  • 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 - นายพลเสือป่า[12]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2464 จางวางโท[13]

ตำแหน่ง แก้

  • 5 พฤศจิกายน 2458 – ราชองครักษ์เวรเสือป่า[14]
  • 25 เมษายน พ.ศ. 2459 - ผู้ช่วยเจ้ากรมเรือยนต์หลวงอีกตำแหน่งหนึ่ง[15]
  • – นายเวรห้องที่พระบรรทม
  • 15 พฤษภาคม 2462 – ผู้ช่วยเลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก[16]
  • 27 มิถุนายน พ.ศ. 2462 เลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข่าวในพระราชสำนัก วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2462
  2. สมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 2https://www.senate.go.th/assets/portals/1/files/list_senate2.pdf
  3. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  4. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  5. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  6. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  7. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  8. พระราชทานยศเสือป่า
  9. พระราชทานยศ (หน้า ๒๗๔๘)
  10. พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๓๓๒๘)
  11. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  12. พระราชทานยศเสือป่า
  13. พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๓๑)
  14. ประกาศตั้งราชองครักษ์เวร
  15. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  16. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  17. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก (หน้า ๘๕๓)
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๔, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามสมาชิกสมาชิกา เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๕, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๘๔, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม ผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๓, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๓๑, ๒๐ กันยายน ๒๔๕๗
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๙๘, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๗, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๕๔

แหล่งข้อมูล แก้